แบตเทิลเซอร์กิต

แบตเทิลเซอร์กิต (ญี่ปุ่น: バトルサーキット; อังกฤษ: Battle Circuit) เป็นเกมแอ็กชันแนวบีตเอ็มอัป ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยแคปคอม สำหรับฮาร์ดแวร์อาร์เคดซีพีเอส-2 สำหรับประเทศญี่ปุ่นและทวีปยุโรปใน ค.ศ. 1997 เกมนี้อุบัติขึ้นในอีกโลกหนึ่งของโลก โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มนักล่าเงินรางวัลที่ต้องจับตัวนักวิทยาศาสตร์บ้าที่ชื่อ ดร.แซตเทิร์น และรักษาดิสก์คอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนซึ่งมีโปรแกรมที่เรียกว่า "ศิวะซิสเตม" เกมดังกล่าวมีตัวละครที่เหมือนคอมิกในฉากนิยายวิทยาศาสตร์ล้ำยุค แบตเทิลเซอร์กิตเป็นเกมแนวบีตเอ็มอัปเกมสุดท้ายของแคปคอมที่พัฒนาขึ้นสำหรับระบบอาร์เคด เกมดังกล่าวได้รับการเปิดตัวในระบบคอนโซลตามบ้าน (และทวีปอเมริกาเหนือ) ในแคปคอมบีตเอ็มอัปบันเดิลเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2018 แบบดิจิทัลสำหรับเพลย์สเตชัน 4, นินเท็นโด สวิตช์, เอกซ์บอกซ์วัน และไมโครซอฟท์ วินโดวส์[2]

แบตเทิลเซอร์กิต
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
อำนวยการผลิตโนริตากะ ฟูนามิซุ
โยชิกิ โอกาโมโตะ
ออกแบบเค็งคุง
โทโมชิ ซาดาโมโตะ
แต่งเพลงชุง นิชิอากิ
เครื่องเล่นอาร์เคด
วางจำหน่าย
แนวบีตเอ็มอัป
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น 4 คน
ระบบอาร์เคดซีพี ซิสเตม II[1]

รูปแบบการเล่น แก้

 
ภาพหน้าจอรูปแบบการเล่นแบบสี่ผู้เล่น

ตู้อาร์เคดแบตเทิลเซอร์กิตให้การสนับสนุนผู้เล่นพร้อมกันสูงสุดสี่คน ซึ่งแต่ละคนสามารถสวมบทบาทเป็นตัวละครที่เลือกเป็นได้ห้าตัว[3] ผู้เล่นจะต้องผ่านด่านต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยหน้าจอเลื่อนฉากแนวนอนที่เต็มไปด้วยตัวละครศัตรู ที่ต้องเอาชนะโดยใช้การผสมระหว่างความสามารถในการโจมตีและการเคลื่อนไหวที่ตัวละครแต่ละตัวใช้ ตัวละครทุกตัวจะได้รับตัวเลือกความสามารถเหล่านี้ ซึ่งสามารถขยายได้ตามความคืบหน้าในการเล่นเกมโดยการจัดซื้อ "ดิสก์อัปเกรด" พิเศษหลังจากเสร็จสิ้นแต่ละเลเวล โดยใช้เหรียญที่ได้รับจากการกำจัดศัตรู[4] เทคนิคเหล่านี้มักเป็นการผสมระหว่างปุ่มแอ็กชันสองปุ่มและก้านควบคุม รวมถึงสามารถเพิ่มความหลากหลายให้กับคลังแสงของตัวละครที่กำหนดได้ ผู้เล่นต้องโจมตีศัตรูจนกว่าพลังของพวกมัน (ระบุโดยแถบด้านล่างของผู้เล่นเมื่อศัตรูถูกโจมตี) จะลดลงเหลือศูนย์ และพวกมันจะถูกทำให้น็อกเอาต์ หากแถบพลังของผู้เล่นหมดลง พวกเขาจะถูกน็อกเอาต์และต้องใช้ชีวิตในเกมหนึ่งชีวิตเพื่อดำเนินการต่อ หากชีวิตของผู้เล่นหมดลงในลักษณะนี้ เกมจะสิ้นสุดลงเว้นแต่จะมีการจัดซื้อเครดิตเพิ่ม

การกดปุ่มการกระทำทั้งสองปุ่มขณะอยู่บนพื้นจะเป็นการเคลื่อนไหวขั้นสุดยอดที่สิ้นเปลืองชีวิตเมื่อสัมผัส แต่เมื่อผู้เล่นสองคนทำท่าสุดยอดพร้อมกัน พวกเขาจะสร้างการโจมตีแบบร่วมทีมซึ่งให้การควบคุมมหาชนที่มากกว่า นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคพิเศษที่เรียกว่า "แบตเทิลดาวน์โหลด" ซึ่งสามารถใช้ได้โดยการกดปุ่มการกระทำทั้งสองปุ่มในขณะกระโดด ส่งผลให้ผู้เล่นและพันธมิตรของเขา (ถ้ามี) ได้รับคุณลักษณะบางอย่าง ซึ่งมีผลเฉพาะกับตัวละครแต่ละตัว[5] ตัวอย่างเช่น ไซเบอร์บลู สามารถใช้แบตเทิลดาวน์โหลด "เพาเวอร์อัป" เพื่อเพิ่มปริมาณความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีได้ ในขณะที่ "สปีดอัป" ของเยลโลว์ไอริสจะเพิ่มความเร็วในการโจมตี หนึ่งตัวละครจะเริ่มต้นด้วยเทคนิคสองอย่างนี้ต่อชีวิต และสามารถรับเพิ่มเติมจากแคปซูลที่กระจัดกระจายไปตามเลเวล สูงสุดห้าแคปซูล

ไอเทมต่าง ๆ สามารถพบได้ในวัตถุที่ทำลายได้ เช่น ถังและลัง และสามารถให้ผู้เล่นได้รับพลังเพิ่มเติมหรือเพิ่มคะแนนให้แก่คะแนนรวมของพวกเขา เมื่อคะแนนของผู้เล่นถึงจำนวนที่กำหนด พวกเขาจะได้รับรางวัลเป็นชีวิตพิเศษที่จะให้โอกาสพวกเขาอีกครั้งในการดำเนินการต่อจากจุดที่ถูกน็อกเอาต์โดยศัตรู

โครงเรื่อง แก้

แบตเทิลเซอร์กิตอุบัติขึ้นใน ค.ศ. 20XX ในอนาคต โดยเป็นการกระทำที่กล้าหาญของกลุ่มนักล่าเงินรางวัลที่มีพลังพิเศษ ตามที่พวกเขาต้องการจับกุมอาชญากร (ซึ่งระบุด้วยหมายเลขซีเรียลพิเศษ) ในเมืองนีโอโคบะ เกมเริ่มต้นด้วยผู้เล่นที่พยายามจับกุมอาชญากร 9696X นักวิทยาศาสตร์ชื่อดอกเตอร์ แซตเทิร์น และเพื่อนสนิทที่เหมือนหยด บนยานอวกาศของเขาที่โคจรรอบโลก หลังจากการต่อสู้ ตัวละครที่เลือกโดยผู้เล่นจะกลับไปหาแฮร์รี นายจ้างของเขา และได้รับมอบหมายให้จับจอห์นนี สมาชิกของ "ดีลีตแก๊ง" ผู้ซึ่งถือฟลอปปีดิสก์อันมีค่าไว้ในครอบครอง จากนั้น นักล่าเงินรางวัลเผชิญหน้ากับจอนนีที่แหล่งดิสโกที่ซ่อนของเขา และได้รู้ว่าแผ่นดิสก์มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นอันตรายซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ศิวะ (เท็นเท) ซิสเตม" ซึ่งสามารถควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในโลกได้ หลังจากเลือกหนึ่งในตัวละครที่มีอยู่แล้ว ผู้เล่นจะต้องเดินทางผ่านด่านต่าง ๆ - ต่อสู้ผ่านศัตรูที่หลากหลายจากดีลีตแก๊ง - เพื่อรับแผ่นดิสก์และรับเงินรางวัล

ตัวละคร แก้

แบตเทิลเซอร์กิตมีตัวละครห้าตัวให้ผู้เล่นเลือก โดยแต่ละตัวมีการโจมตีและความสามารถในแบตเทิลดาวน์โหลดของตัวเอง แม้ว่าชื่อจริงของตัวละครแต่ละตัวจะถูกกล่าวถึงในโปรไฟล์ของตัวละครแต่ละตัวในระหว่างการสาธิตตอนเริ่มต้น แต่ส่วนใหญ่จะอิงตามชื่อรหัส ซึ่งแต่ละชื่อบ่งบอกถึงคุณลักษณะทางกายภาพและสีที่สัมพันธ์กัน

  • ไบรอัน บรูโน หรือไซเบอร์บลู: เป็นนักล่าเงินรางวัลผู้มากประสบการณ์พร้อมการผูกติดไซเบอร์เนติกหลายอย่างไปยังร่างกายของเขา ทำให้เขามีความสามารถในการปล่อยกระแสไฟฟ้าและปล่อยพลังงานจากหมัดของเขา นอกจากนี้ ไซเบอร์บลูได้ปรากฏเป็นตัวประกอบในโปรเจกต์ครอสโซน 2 ในการโจมตีโซโลยูนิตของกัปตันคอมมานโด
  • อันเดรย์ มีชูซิน หรือกัปตันซิลเวอร์: เป็นนักล่าเงินรางวัลที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ผู้สามารถยืดและปรับรูปร่างของเขาได้ตามต้องการ พลังของเขาทำให้เขามีความสามารถในการฉายอนุภาคน้ำแข็งออกจากร่างกาย รวมทั้งสร้างวัตถุจำนวนหนึ่งจากชุดของเขา เนื่องจากธรรมชาติของพลังที่มากมาย พวกมันจะคุกคามจนถึงครอบงำเขาหากเขาสูญเสียความจดจ่อ
  • ไดอานา มาร์ทีนส์ หรือเยลโลว์ไอริส ซึ่งได้รับการเรียกว่าเยลโลว์บีสต์ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม: เป็นนางแบบแฟชันพาร์ตไทม์ ผู้มีรูปลักษณ์ที่ดุร้าย ซึ่งทำให้เธอเข้าถึงเทคนิคการใช้กรงเล็บและความคล่องตัวจำนวนหนึ่ง เธอยังมีทักษะในการใช้แส้ และมาพร้อมกับสุนัขจิ้งจอกซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของเธอที่ชื่อ "ฟิน" นอกจากนี้ เยลโลว์ไอริสได้ปรากฏเป็นตัวประกอบในอัลติเมตมาร์เวล vs. แคปคอม 3 ในฐานะชุดจากเนื้อหาที่ดาวน์โหลดได้สำหรับเฟลิเซีย[6]
  • พิงกี หรือพิงก์ออสทริช: เป็นนกกระจอกเทศสีชมพูเพศเมียตัวใหญ่และอารมณ์ดี กับผ้าปิดตาและสร้อยคออัญมณี ซึ่งมักจะมาพร้อมกับเจ้าของของมัน ที่เป็นเด็กสาวชื่อโพลา อับดุล (เล่นคำตามพอลลา อับดุล) โดยอ้างว่ามันเป็น "นกกระจอกเทศเพียงตัวเดียวในโลกที่บินได้" รวมถึงโจมตีด้วยเทคนิคทางอากาศและการหมุนที่หลากหลาย
  • ไม่มีชื่อ หรือเอเลียนกรีน: เป็นสัตว์ประหลาดเอเลียนที่ไม่ทราบที่มาซึ่งมีลักษณะคล้ายกาบหอยแครงขนาดใหญ่ที่มีรากเหมือนขา, มีขนคล้ายกิ้งก่าขนาดเล็กที่คอ และมีนัยน์ตาขนาดใหญ่ในช่องท้อง การโจมตีโดยส่วนใหญ่จะเน้นที่แขนคล้ายเถาวัลย์ ซึ่งสามารถเหวี่ยงอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างลมหมุน รวมทั้งจับคู่ต่อสู้แล้วกระแทกกับพื้น

การพัฒนา แก้

แบตเทิลเซอร์กิตได้รับการพัฒนาโดยโนริตากะ ฟูนามิซุ และโยชิกิ โอกาโมโตะ ผู้เป็นโปรดิวเซอร์ของทีมงานผลิตเกมอาร์เคดของบริษัทแคปคอมเมื่อต้น ค.ศ. 1997[7] และแม้ว่าโครงสร้างจะคล้ายกันมากกับเกมแอ็กชันแบบเลื่อนหน้าจอช่วงแรกของบริษัทดังกล่าวอย่างไฟนอลไฟต์ และเอเลียน vs. เพรดเตเทอร์ แต่แบตเทิลเซอร์กิตนั้นแยกจากกันอย่างมีรูปแบบ โดยใช้แนวทางบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์รูปแบบมังงะเข้ากับเรื่องราวและงานศิลปะของตัวละคร เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลป์ดูแลโดยโอนิชิ ฮิโรกิ และยามาโมโตะ โคจิ[7] ได้สร้างกลุ่มตัวละครที่ชวนให้นึกถึงตัวละครในแคปคอมที่เก่ากว่า และองค์ประกอบในหนังสือการ์ตูนที่ไม่จำเป็น

เกมดังกล่าวมีความพยายามในการแปลอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้เกมสามารถหาได้ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและบางส่วนของทวีปยุโรปในวันเดียวกัน แม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างในการเล่นเกมระหว่างเกมเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ แต่บทสนทนาภาษาญี่ปุ่นบางส่วนก็ถูกละเว้นจากการเปิดตัวในยุโรป โดยเกมนี้ไม่ได้รับการเปิดตัวในระบบอาร์เคดในทวีปอเมริกาเหนือหรือส่วนอื่นของโลก[ต้องการอ้างอิง] ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่วางจำหน่ายในระบบอาร์เคดดังกล่าว ทางบริษัทแคปคอมได้แถลงว่าไม่มีแผนที่จะวางจำหน่ายเกมสำหรับเครื่องเล่นภายในบ้าน[5] กระทั่งเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2018 ได้มีการเปิดตัวแคปคอมบีตเอ็มอัปบันเดิลแบบดิจิทัลสำหรับเพลย์สเตชัน 4, นินเท็นโด สวิตช์, เอกซ์บอกซ์วัน และไมโครซอฟท์ วินโดวส์[8]

ดนตรีประกอบของแบตเทิลเซอร์กิตเรียบเรียงโดยชุง นิชิอากิ จากแคปคอมอาร์เคดซาวด์ทีม และมีธีมป็อปกับอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นประจำตลอดทั้งเกม มีการบันทึกดนตรีดังกล่าวโดยใช้เสียงที่สร้างจากคอมพิวเตอร์สังเคราะห์เท่านั้น ซึ่งเป็นสื่อบันทึกทั่วไปสำหรับเกมอาร์เคดบนซีพีเอส-2 ส่วนซาวด์แทร็กอย่างเป็นทางการชื่อแบตเทิลเซอร์กิตออริจินัลซาวด์แทร็ก (หมายเลขแคตตาล็อกวีไอซีแอล-60056) วางจำหน่ายในญี่ปุ่นโดยบริษัทวิกเตอร์เอนเตอร์เทนเมนต์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 และจำหน่ายในราคา 2,205 เยน[9]

การตอบรับ แก้

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ได้ระบุว่าแบตเทิลเซอร์กิตเป็นเกมอาร์เคดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับแปดของปี โดยมีประสิทธิภาพเหนือกว่าเกมอย่างสตรีทไฟเตอร์ อีเอกซ์ พลัส และแมจิเคิลดรอป III[10]

อ้างอิง แก้

  1. "Battle Circuit". Sega Saturn Magazine. No. 19. Emap International Limited. May 1997. p. 92.
  2. Capcom Unity: Capcom Beat ‘Em Up Bundle Arrives on September 18 Featuring Seven Classic Games in One!
  3. "Battle Circuit" at Killer List of Videogames. URL accessed on November 19, 2006.
  4. "AOU". Electronic Gaming Monthly. No. 93. Ziff Davis. April 1997. p. 78.
  5. 5.0 5.1 "Battle Circuit: Side-Scrolling Mayhem". Electronic Gaming Monthly. No. 94. Ziff Davis. May 1997. p. 80.
  6. "The Animal Pack: Felicia - Ultimate Marvel vs. Capcom 3: The Final Breakdown on GameSpot เก็บถาวร พฤศจิกายน 19, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" at GameSpot. URL accessed on November 20, 2011.
  7. 7.0 7.1 In-game credits for Battle Circuit, English-language version. 1997
  8. "Battle Circuit Arcade Info เก็บถาวร ตุลาคม 21, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" at VGMuseum. URL accessed on November 19, 2006.
  9. "Battle Circuit Original Soundtrack เก็บถาวร ตุลาคม 30, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" at Game Music Revolution. URL accessed on November 19, 2006.
  10. "Game Machine's Best Hit Games 25 - TVゲーム機ーソフトウェア (Video Game Software)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 542. Amusement Press, Inc. 1 June 1997. p. 21.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้