แนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชา

แนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (เขมร: រណសិរ្សសាមគ្គីសង្គ្រោះជាតិកម្ពុជា รณสิรฺสสามคฺคีสงฺเคฺราะชาติกมฺพุชา; อังกฤษ: Kampuchean United Front for National Salvation: KUFNS; ฝรั่งเศส: Front Uni National pour le Salut du Kampuchéa: FUNSK) หรือในประเทศไทยเป็นที่รู้จักว่า แนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา[2] เป็นศูนย์กลางของระบบใหม่ในกัมพูชาที่ต่อมาได้สถาปนาสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา[3] แนวร่วมนี้ก่อตั้งเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ในเวียดนาม โดยชาวกัมพูชาที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลเขมรแดงของพล พต เป็นองค์กรทางการเมืองและการทหารของชาวกัมพูชาที่มีบทบาทระหว่างการรุกรานกัมพูชาของเวียดนามที่ทำให้การปกครองของกัมพูชาประชาธิปไตยต้องสิ้นสุดลง และนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ องค์นี้มีหลายชื่อตามแต่ละช่วงในประวัติศาสตร์

แนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชา
រណសិរ្សសាមគ្គីសង្គ្រោះជាតិកម្ពុជា
Front Uni National pour le Salut du Kampuchéa (FUNSK)
ตราของแนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชาในอดีตสำนักงานภายในกรุงพนมเปญ
ปีที่ปฏิบัติการ2 ธันวาคม ค.ศ. 1978
ขอบเขตปฏิบัติการกัมพูชา
แนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์
ลัทธิมากซ์-เลนิน
การโจมตีเด่นการโจมตีกัมพูชา
สถานะเปลี่ยนเป็นแนวร่วมปลดปล่อยเพื่อการพัฒนามาตุภูมิกัมพูชา (2006–ปัจจุบัน)
แนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชาได้นำธงของสมาคมเขมรอิสระในสมัยต่อต้านฝรั่งเศส มาใช้เป็นธงชาติของสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา[1]

ประวัติศาสตร์ แก้

แนวร่วมปลดปล่อย (พ.ศ. 2521 – 2524) แก้

ในทางการเมืองแนวร่วมปลดปล่อยเป็นองค์กรของกลุ่มนิยมเวียดนามที่มีชื่อว่าพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา การก่อตั้งแนวร่วมนี้ในกัมพูชาเกิดขึ้นในบริเวณจังหวัดกระแจะ ซึ่งเป็นเขตปลดปล่อยของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาที่ไม่เข้าร่วมกับนโยบายการต่อต้านเวียดนามและเน้นความรุนแรงของพล พต ที่นำไปสู่การนองเลือดในภาคตะวันออกของกัมพูชาใน พ.ศ. 2520[4] วันประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการของแนวร่วมคือ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นวันที่นักสังคมนิยมชาวกัมพูชาเรียกว่าการประชุมเพื่อปรับความร่วมมือใหม่[5] เป้าหมายของแนวร่วมคือต้องการโค่นล้มรัฐบาลของพล พต ต้องการปรับรูปแบบของประเทศโดยใช้โครงสร้างแบบโซเวียตเพื่อคงไว้ซึ่งการปฏิวัติที่เป็นกลาง มีความเป็นไปได้จริง และเห็นคุณค่าของมนุษย์มากกว่าแบบของเขมรแดง แม้ว่าจะมีกลุ่มที่ไม่นิยมคอมมิวนิสต์เข้าร่วมด้วย

การติดต่อประสานงานเพื่อจัดตั้งขบวนการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มหลัก ๆ 5 กลุ่ม คือกลุ่มของเฮง สำรินและเจีย ซีม ที่มีอิทธิพลทางตะวันออกของกัมพูชา กลุ่มของบู ทอง ผู้นำการปฏิวัติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อ พ.ศ. 2518 กลุ่มของแปน โสวัณณ์ เจีย สต และจัน ซี เป็นกลุ่มปัญญาชนที่ผ่านการฝึกฝนจากเวียดนาม กลุ่มของฮุน เซน และกลุ่มของเตีย บัญกับใส่ ภู่ทอง ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านเขมรแดงของชาวไทยเกาะกงที่ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย โดยมีเวียดนามทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงาน โดยผู้แทนของเวียดนามที่เกี่ยวข้องคือเล ดึ้ก เถาะ และเล ดึ๊ก อัญ [6]

แนวร่วมแห่งชาติกัมพูชาเพื่อการสร้างชาติและการปกป้อง (พ.ศ. 2524 – 2549) แก้

สองปีหลังจากการปลดปล่อยพนมเปญ แนวร่วมปลดปล่อยได้เปลี่ยนชื่อเป็นแนวร่วมแห่งชาติกัมพูชาเพื่อการสร้างชาติและการปกป้อง (ภาษาอังกฤษ: Kampuchean United Front for National Construction and Defence; ภาษาฝรั่งเศส: Front d'union pour l'édification et la défense de la patrie du Cambodge)[7] แนวร่วมนี้เป็นองค์กรหลักของสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา มีบทบาทสำคัญในรัฐธรรมนูญมาตรา 3

แนวร่วมปลดปล่อยเพื่อการพัฒนามาตุภูมิกัมพูชา (พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน) แก้

ในการประชุมครั้งที่ 5 ของแนวร่วมเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2549 แนวร่วมได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น แนวร่วมปลดปล่อยเพื่อการพัฒนามาตุภูมิกัมพูชา (ภาษาอังกฤษ: Solidarity Front for Development of the Cambodian Motherland; ภาษาฝรั่งเศส: Front de solidarité pour le développement de la Patrie du Cambodge)[8]

องค์กรย่อย แก้

 
ผู้นำสมาคมสตรีปฏิวัติกัมพูชา นุต คิม เลย และเรส สีวันนา ในเยอรมันตะวันออก ในการประชุมพันธมิตรสตรีประชาธิปไตยแห่งเยอรมัน เมื่อ พ.ศ. 2530

องค์กรย่อยที่เกี่ยวข้องกับแนวร่วมนี้ ได้แก่

  • สหพันธ์กัมพูชาเพื่อสหภาพการค้า มีสมาชิก 62,000 ใน พ.ศ. 2526 โดยเป็นโรงเรียนฝึกหัดสำหรับคนงานด้านเศรษฐกิจและการจัดการ
  • สหภาพเยาวชนปฏิวัติประชาชนกัมพูชา เป็นโรงเรียนลัทธิมาร์กสำหรับเยาวชนอายุ 15 - 26 ปี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2530 มีสมาชิกมากกว่า 50,000 คนในหมู่บ้าน โรงงาน โรงพยาบาล โรงเรียนและกองทัพ
  • สมาคมเยาวชนปฏิวัติกัมพูชา เป็นโรงเรียนลัทธิมาร์กสำหรับเด็กอายุ 9-16 ปี มีสมาชิกราว 800,000 คน
  • องค์กรอาสาสมัครเยาวชนกัมพูชา มีสมาชิก 450,000 คน เป็นกลุ่มผู้ฝึกสอนและให้คำแนะนำต่อสหภาพเยาวชนปฏิวัติประชาชนกัมพูชาและสมาคมเยาวชนปฏิวัติกัมพูชา
  • สมาคมสตรีปฏิวัติกัมพูชา กล่าวอ้างว่าเคยมีสมาชิกถึง 923,000 คนเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526

วันสำคัญ แก้

  • วันมิตรภาพกัมพูชา-เวียดนาม ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์
  • วันแห่งความเกลียดชัง เป็นวันแห่งการต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของ พล พต เอียง ซารี เขียว สัมพัน และกลุ่มของพระนโรดม สีหนุและซอน ซาน ตรงกับ 20 พฤษภาคม
  • วันมิตรภาพทหาร-ประชาชน ตรงกับ 19 มิถุนายน

อ้างอิง แก้

  1. Margaret Slocomb, The People's Republic of Kampuchea, 1979-1989: The revolution after Pol Pot ISBN 9789749575345
  2. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 5. บ้านพระอาทิตย์. 2552
  3. David P. Chandler, A history of Cambodia, Westview Press; Allen & Unwin, Boulder, Sydney, 1992
  4. Michael Vickery, Cambodia 1975-1982
  5. Kathleen Gough, Interviews in Kampuchea; Bulletin of Concerned Asian Scholars, Vol. 14, 1982[ลิงก์เสีย]
  6. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 5. บ้านพระอาทิตย์. 2552
  7. Library of Congress / Federal Research Division / Country Studies - Cambodia - Major Political and Military Organizations
  8. Vietnamese News Agency - Cambodge: Le PPC veille à la grande union nationale 29 April 2006 -- 22:04(GMT+7)

บรรณานุกรม แก้

  • Bekaert, Jacques, Cambodian Diary, Vol. 1: Tales of a Divided Nation 1983-1986, White Lotus Press, Bangkok 1997, ISBN 974-8496-95-3,
  • Gottesman, Evan, Cambodia after the Khmer Rouge: Inside the politics of Nation Building.
  • Vickery, Michael, Cambodia : 1975-1982, Boston: South End Press, 1984

แหล่งข้อมูลอื่น แก้