แนนซี่ โฮล์ท (อังกฤษ: Nancy Holt) เป็นศิลปินคนสำคัญของลัทธิธรณีศิลป์ ซึ่งเป็นกลุ่มศิลปินที่แตกแขนงรูปแบบงานออกมาจากลัทธิจุลนิยมและศิลปะเชิงแนวคิดที่เป็นศิลปะกระแสหลักในช่วงปี ค.ศ.1960-1969 ผลงานของเธอมักเกี่ยวกับความทรงจำและการรับรู้ถึงพื้นที่และเวลา เช่นเดียวกับศิลปินธรณีศิลป์คนอื่นๆ โฮลท์มักจะใช้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นทั้งสื่อกลางนำเสนอผลงานและ เป็นหัวข้อผลงาน ซึ่งมีความหลากหลายมากกว่าการทำผลงานลงบนผ้าใบ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์, ประติมากรรม และอินสตอลเลชั่น โฮลท์นั้นมีความสนใจเกี่ยวกับท้องฟ้า และจักวาล โดยเฉพาะครีษเหมายัน และนอกจากนั้นยังสนใจการปรับสภาพที่ดินและการนำมาใช้ใหม่

แนนซี่ โฮล์ท
เกิด5 เมษายน ค.ศ. 1938(1938-04-05)
วอร์เชสเตอร์ , แมสซาชูเซตส์
สัญชาติสหรัฐอเมริกา
ขบวนการธรณีศิลป์

ประวัติ แก้

แนนซี่ โฮลท์เกิดปี ค.ศ.1938 ที่วอร์เชสเตอร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เธอเติบโตในนิวเจอร์ซี่ย์ ซึ่งครอบครัวของเธอย้ายมาอยู่อาศัยเมื่อเธอยังเด็ก บิดาของเธอเป็นวิศวกรเคมี มารดาของเธอเป็นแม่บ้าน โฮลท์จบการศึกษาจากคณะชีววิทยามหาวิทยาลัยทัฟส์ ใกล้บอสตันในปี ค.ศ.1956 ค.ศ.1962 บิดาและมารดาของเธอเสียชีวิต มารดาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง บิดาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ปีต่อมาเธอย้ายไปอยู่ห้องใต้หลังคาในหมู่บ้านแมนฮัตตันตะวันตกกับ โรเบิร์ต สมิธสันที่เคยพบกันเมื่อยังเด็ก พวกเขาพบกันอีกครั้งที่นิวยอร์กปี ค.ศ.1959 และได้แต่งงานกันเมื่อฤดูร้อน ค.ศ.1963 โฮล์ทและสมิธสันได้เดินทางไปทั่วโลก ช่วยกันสร้างผลงานธรณีศิลป์มากมาย จนกระทั่ง วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1973 สมิธสันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกด้วยวัยเพียง 35 ปี ขณะที่กำลังสำรวจพื้นที่สำหรับสร้างงานธรณีศิลป์ชิ้นใหม่ที่เท็กซัส หลังจากเหตุการณ์นี้โฮล์ทก็ได้ตัดสินใจสร้าง “อุโมงตะวันฉาย” ผลงานธรณีศิลป์ที่สร้างชื่อเสียงให้เธอไปทั่วโลก ปัจจุบันโฮล์ทอาศัยและทำงานอยู่ที่กาลิสเทโอ(Galisteo) รัฐนิวแม็กซิโก ซึ่งเป็นสถานที่เล็กๆ ใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์จากเมืองหลวงซานตาเฟเพียงครึ่งชั่วโมง โฮล์ทย้ายจากนิวยอร์กมาอยู่ที่นี่ ค.ศ.1995 เช่าบ้านและสตูดิโอใกล้เมืองหลวงซานตาเฟ เพราะที่แห่งนั้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของศิลปิน และแน่นอนว่ามีบางคนที่ย้ายมาจากนิวยอร์กเหมือนเธอ เช่น แฟชั่นดีไซด์เนอร์ชื่อดัง ทอม ฟอร์ด โฮล์ทไม่ได้แต่งงานใหม่หลังจากสมิธสันถึงแก่กรรม เธออาศัยอยู่คนเพียงลำพังกับ “คารุม่า” แมวของเธอ แม้จะไม่มีบุตรแต่สำหรับเธอมีเพียงศิลปะก็เพียงพอแล้ว

ธรณีศิลป์ แก้

ธรณีศิลป์เป็นกลุ่มศิลปินที่นิยมสร้างผลงานท่ามกลางธรรมชาติ ใช้ระเบิดไดนาไมท์และรถบูลโดเซอร์แทนพู่กัน ใช้ภูเขาไฟและสันเขาแทนกระดาษและผืนผ้าใบ ผลงานของศิลปินธรณีศิลป์มักมีขนาดใหญ่ เนื่องจากไม่ต้องการให้ผลงานของตนเองกลายเป็นวัตถุตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ ผลงานมักถูกปล่อยทิ้งไว้ให้ผุพังไปตามกาลเวลา และอีกลักษณะเฉพาะตัวของธรณีศิลป์คือ ตำแหน่งที่ตั้งเฉพาะจุด ศิลปินคิดผลงานในพื้นที่เฉพาะจุดจะลงมือสร้างสรรค์ผลงานลงบนพื้นที่นั้นโดยตรง ศิลปินจึงต้องปรับพื้นผิว โครงสร้าง ตลอดจนคุณลักษณะทางกายภาพเพื่อสลักผลงานลงบนความทรงจำแห่งพื้นที่นั้นๆ ตัวผลงานที่สร้างขึ้นจึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้อีก ผลงานส่วนมากถูกสร้างอยู่แถบชนบทนอกเมืองใหญ่ ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของศิลปินกลุ่มนี้ที่ต้องการให้ผู้ชมได้เดินทางออกจากเมืองเพื่อสัมผัสบรรยากาศของธรรมชาติ

แรงบันดาลใจ แก้

ช่วงวัยรุ่นการอยู่กับบ้านทำให้โฮล์ทเบื่อมาก เธอจึงได้ไปทำงานพิเศษเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการวรรณกรรมของนิตยสารนิตยสารฮาร์เปอร์ส บาซาร์(Harper’s Bazaan) โฮลท์และสมิธสันมีการติดต่อกับเหล่าศิลปิน เช่น คาร์ล อันเดร และ โซล เลวิทท์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือเธอในเรื่องการถ่ายภาพและการแต่งกวี ผลจากการทำงานพิเศษ การคบค้าสมาคมกับศิลปิน การถ่ายภาพและแต่งกวี กลายเป็นแรงผลักดันให้ความสามารถทางศิลปะของเธอเปล่งประกาย ทว่าโฮล์ทก็เกิดความลังเลที่จะทำงานเป็นศิลปิน ในฤดูร้อน ค.ศ.1968 โฮล์ทเดินทางไปอเมริกันตะวันตกครั้งแรกกับสมิธสัน ขณะที่เธอเดินออกมาจากเครื่องบินที่ลาสเวกัส ภาพสนามบินกลางทะเลทรายที่เห็นทำให้เธอรู้สึกว่าตัวเองหลอมรวมกับธรรมชาติ ความรู้สึกที่โฮล์ทได้รับในตอนนั้นมันยิ่งใหญ่มาก ซึ่งมันส่งผลต่อการตัดสินใจทำงานเป็นศิลปินและผลงานของเธอล้วนสร้างมาจากความรู้สึกที่ได้รับในช่วงเวลานั้น

อุโมงตะวันฉาย แก้

แนนซี่ โฮล์ท ใช้เวลาตั้งแต่ ค.ศ.1973 ถึง 1976 เพื่อสร้างผลงาน อุโมงตะวันฉาย ในทะเลทรายเกรทเบซินซึ่งอยู่ลึกเข้าไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐยูท่าห์ โฮล์ทค้นพบสถานที่ขนาด 16 เฮกตาร์นี้ในปี ค.ศ.1974 เธอได้นำท่อคอนกรีตเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 6 เมตร จำนวน 4 ชิ้น มาวางขวางกันเป็นรูปกากบาท เงาของผลงานอุโมงตะวันฉายทอดตามแนวขวางเหนือเส้นขอบผ้าในฤดูร้อนและฤดูหนาวในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด นั่นคือช่วงระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึงวันที่ 21 ธันวาคม แสงอาทิตย์จะส่องเกือบเต็มแนวอุโมงค์คอนกรีต นอกจากนั้นการที่โฮล์ทเจาะรูตามแนวอุโมงคอนกรีตในขนาดต่างๆ กันโดยเรียงตามลักษณะของกลุ่มดาวสี่แบบด้วยกัน คือ กลุ่มดาวมังกร กลุ่มดาวเพอร์ซิอุส กลุ่มดาวนกเขา และกลุ่มดาวแพะทะเล ทำให้ในเวลากลางวันแสงอาทิตย์จะส่องผ่านรูที่เจาะไว้เกิดเป็นเงารูปวงกลมหรือวงรีที่ด้านล่างของอุโมงค์ การสร้างผลงานนี้ขึ้นมาโฮล์ทได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลหลากหลายสาขาทั้ง นักดาราศาสตร์ วิศวกร นักสำรวจ ช่างไม้ ผู้เชี่ยวชาญในการเจาะคอนกรีตและเหล่าช่างจากบริษัทผลิตท่อคอนกรีต ช่างกล้อง นักบิน รวมถึงพนักงานร้านอัดรูป ทั้งหมดเพื่อที่จะ “ทำให้ความกว้างใหญ่ไพศาลของทะเลทรายกลับมาอยู่ในสายตาของมนุษย์อีกครั้ง”

ศิลปินหญิงที่มีผลงานแนวธรณีศิลป์ แก้

อ้างอิง แก้

  • จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. โลกศิลปะศตวรรษที่ 20 (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ),2545, หน้า 251-252
  • มิชาเอล ไลลัค. แลนด์อาร์ต. อนิมา ทัศจันทร์ แปลจาก Land Art (เชียงใหม่ : ไฟน์อาร์ท), 2552, หน้า 6-25 และ 58-61

แหล่งข้อมูลอื่น แก้