แท้ ประกาศวุฒิสาร
แท้ ประกาศวุฒิสาร เป็นผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ แห่งบริษัทภาพยนตร์ไทยไตรมิตร ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2542
แท้ ประกาศวุฒิสาร | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 บุญแท้ เหมะบุตร จังหวัดราชบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 (100 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
อาชีพ | ช่างภาพ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ |
ผลงานเด่น | สุภาพบุรุษเสือไทย, สาวเครือฟ้า, เห่าดง, สี่คิงส์, เสือเฒ่า, เมืองแม่หม้าย, แก้วสารพัดนึก |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2542 - สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) |
ประวัติ
แก้แท้ ประกาศวุฒิสาร เดิมชื่อ บุญแท้ เหมะบุตร เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2461 ที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรคนโตของขุนประกาศวุฒิสาร (เท้ง เหมะบุตร) กับนางท้อ เหมะบุตร จบการศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี และโรงเรียนเพาะช่าง แผนกฝึกหัดครูวาดเขียน เริ่มงานภาพยนตร์เป็นช่างถ่ายภาพนิ่งให้กับบริษัทปฏิภาคภาพยนตร์ ของขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต ในภาพยนตร์เรื่องกะเหรี่ยงไทรโยค จากนั้นรับราชการเป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ข่าวทหารบก และกองภาพยนตร์ทหารอากาศ
ร่วมอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องแรก สุภาพบุรุษเสือไทย (2492) ในนาม ปรเมรุภาพยนตร์ โดยทำหน้าที่ช่างกล้องด้วย และหลายเรื่องต่อมาส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จด้านรายได้
เคยถ่ายทำเหตุการณ์สำคัญในอดีต เช่น น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ 2485,รัฐประหาร 8 พฤศจิกา 2490 ,ไทรโยค 2499, รถรางวันสุดท้าย 2512, เบื้องหลังงานสร้างหนังเรื่องยาว ฯลฯ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้รวบรวมจัดทำเป็นวีดิทัศน์ชุดพิเศษในโอกาส 88 ปี แท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ (ผู้สร้างภาพยนตร์)
แท้ ประกาศวุฒิสาร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561 เวลาประมาณ 18.05 ณ โรงพยาบาลรามคำแหง เขตบางกะปิ กทม. เนื่องจากหัวใจวาย สิริรวมอายุ 100 ปี 3 เดือน[1]
ผลงาน
แก้อำนวยการสร้าง
แก้- สุภาพบุรุษเสือไทย (2492)
- เสือดำ (2494)
- อวสานเสือใบ (2494)
- สาวเครือฟ้า (2496)
- ปาหนัน (2500)
- เห่าดง (2501)
- สี่คิงส์ (2502)
- เสือเฒ่า (2503)
กำกับการแสดง
แก้- เมืองแม่หม้าย (2512)
- แก้วสารพัดนึก (2514)
- เจ้าลอย (2515)
บันทึกภาพยนตร์
แก้- น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ (2485)
- รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน (2490)
- หลังกล้อง สุภาพบุรุษเสือไทย (2492)
- วันพระราชทานปริญญาแพทย์ศิริราช (2493)
- หลังกล้อง สาวเครือฟ้า (2496)
- ย้อนอดีตหาดสุรินทร์ ภูเก็ต (2496)
- ไทรโยค (2499)
- หลังกล้อง เห่าดง (2501)
- หลังกล้อง สี่คิงส์ (2502)
- หลังกล้อง เสือเฒ่า (2503)
- ฉากเพลงเสริมในหนังเยอรมัน มือเสือ (2505)
- รถรางวันสุดท้าย (2512)
- หอภาพยนตร์แห่งชาติ (2548)
- นำเที่ยวพุทธมณฑล (2549)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[2]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ อาลัย“แท้ ประกาศวุฒิสาร” ผู้สร้างหนังสาวเครือฟ้า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๖ ข หน้า ๒๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิกรณีสงครามมหาเอเชียบูรพา เก็บถาวร 2021-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๖, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
- แท้ ประกาศวุฒิสาร เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วีดิทัศน์ หนังแท้ มูลนิธิหนังไทย ,2549 เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน