แทมมารีน ธนสุกาญจน์

นักเทนนิสหญิงชาวไทย

ร้อยตำรวจเอกหญิง แทมมารีน ธนสุกาญจน์ (โรมัน: Tamarine Tanasugarn; ชื่อเล่น: แทมมี่; เกิด: 24 พฤษภาคม 2520 — ) เป็นอดีตนักเทนนิสหญิงมือ 1 ของไทย และเคยมีอันดับโลกสูงสุดอันดับ 19 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และประเภทคู่อันดับโลกสูงสุด อันดับ 15 เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2547

แทมมารีน ธนสุกาญจน์
แทมมารีนในการแข่งยูเอส โอเพน ค.ศ. 2011
ประเทศ (กีฬา) ไทย
ถิ่นพำนักกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
วันเกิด24 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 (47 ปี)
ลอสแอนเจลิส​, สหรัฐอเมริกา
ส่วนสูง1.65 m (5 ft 5 in)
เทิร์นโปรพ.ศ. 2537
ถอนตัวพ.ศ. 2559
การเล่นขวา; แบ็กแฮนด์สองมือ
เงินรางวัลUS$ 3,488,278
เดี่ยว
สถิติอาชีพ534–416
รายการอาชีพที่ชนะ4 WTA, 14 ITF
อันดับสูงสุดอันดับ 19 (13 พฤษภาคม 2545)
อันดับปัจจุบันอันดับ 426 (17 มีนาคม 2557)
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพน4R (1998)
เฟรนช์โอเพน3R (2002)
วิมเบิลดันQF (2008)
ยูเอสโอเพน4R (2003)
การแข่งขันอื่น ๆ
Olympic Games2R (2000)
คู่
สถิติอาชีพ279–246
รายการอาชีพที่ชนะ8 WTA, 7 ITF
อันดับสูงสุดอันดับ 15 (13 กันยายน 2004)
อันดับปัจจุบันอันดับ 70 (17 มีนาคม 2014)
ผลแกรนด์สแลมคู่
ออสเตรเลียนโอเพน3R (2000)
เฟรนช์โอเพน3R (2012)
วิมเบิลดันSF (2011)
ยูเอสโอเพนQF (2004)
การแข่งขันคู่อื่น ๆ
Olympic GamesQF (1996, 2000)
คู่ผสม
รายการอาชีพที่ชนะ0
ผลแกรนด์สแลมคู่ผสม
Wimbledon2R (2009)
การแข่งขันแบบทีม
Hopman CupF (2000)
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 27 มีนาคม 2014
แทมมารีน ธนสุกาญจน์
เหรียญรางวัล
เทนนิส
ตัวแทนของ  ไทย
เอเชียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2014 อินช็อน หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2010 กว่างโจว ทีมหญิง
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2010 กว่างโจว คู่ผสม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2002 ปูซาน หญิงเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 1998 กรุงเทพฯ หญิงเดี่ยว
แทมมารีน ธนสุกาญจน์
เหรียญรางวัล
เทนนิส
ตัวแทนของ  ไทย
ซีเกมส์
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2019 ฟิลิปปินส์ หญิงคู่
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2019 ฟิลิปปินส์ คู่ผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2009 เวียงจันทน์ หญิงคู่
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2009 เวียงจันทน์ คู่ผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2007 นครราชสีมา หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2007 นครราชสีมา คู่ผสม
แทมมารีน ธนสุกาญจน์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)
ยศ ร้อยตำรวจเอกหญิง[1]

ประวัติ

แก้

แทมมารีนเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรของคุณวีระชัย และคุณสุเนตรา ธนสุกาญจน์ มีพี่สาวสองคนและน้องชายหนึ่งคน แทมมารีนเล่นเทนนิสตั้งแต่วัยเด็กเพราะเล่นเทนนิสกันทั้งครอบครัว สำเร็จการศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (รุ่น 33 / ปีที่สำเร็จการศึกษา 2542)[2]

แทมมารีนเริ่มเล่นอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2537 โดยมีบิดาเป็นผู้ฝึกสอนซึ่งได้ลาออกจากงานประจำและพาแทมมารีนออกตระเวนแข่งขันในต่างประเทศด้วยทุนส่วนตัว ต่อมาแทมมารีนได้รองชนะเลิศประเภทเยาวชนในรายการเทนนิสวิมเบิลดัน เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยแพ้ Aleksandra Olsza จากโปแลนด์ 7-5, 7-6 (6) ในรอบชิงชนะเลิศ

แทมมารีนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในการแข่งขันนัดแรกของ สนามอาร์เธอร์ แอช เซ็นเตอร์คอร์ตที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่อาร์เธอร์ แอช นักเทนนิสผิวดำชาวอเมริกันผู้เคยเป็นมือหนึ่งของโลกช่วงทศวรรษ 1970 ในการแข่งขันยูเอสโอเพน 1997 นัดเปิดสนามเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2540 ก่อนการแข่งขันมีการแสดงดนตรีโดยวิตนีย์ ฮิวสตัน เป็นที่คาดหมายกันว่า ผู้เล่นในนัดแรกควรจะเป็นนักเทนนิสผิวดำ คือ วีนัส วิลเลียมส์ และชานดา รูบิน (Chanda Rubin) นักเทนนิสดาวรุ่งสหรัฐ แต่แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงตารางผู้เล่นจากวิลเลียมส์เป็นแทมมารีนแทน ผลการแข่งขันปรากฏว่าแทมมารีนเอาชนะรูบินได้ 6-4, 6-0 อย่างพลิกความคาดหมายและกลายเป็นข่าวใหญ่ การแข่งขันครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่แทมมารีนได้เล่นในเซ็นเตอร์คอร์ตของรายการใหญ่และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก [3][4][5]

แทมมารีนเป็นนักเทนนิสที่แม้จะเคลื่อนที่ได้ไม่ว่องไวและเสิร์ฟไม่แรง แต่เธอควบคุมลูกได้แม่นยำโดยเฉพาะในสนามคอร์ตหญ้า เธอเคยทำผลงานได้ดีในรายการเทนนิสวิมเบิลดัน ผ่านเข้ารอบ 4 ได้เข้าไปเล่นในสัปดาห์ที่สองติดต่อกันถึง 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2541 ถึง 2545 (เว้นปี 2546 ซึ่งตกรอบแรกและทำได้อีกครั้งในปี 2547) ซึ่งเป็นผลงานที่เธอภาคภูมิใจมาก

เธอเคยจับคู่เล่นเทนนิสประเภทคู่กับมาเรีย ชาราโปวา และได้แชมป์ประเภทคู่ 2 รายการ ที่โตเกียว และลักเซมเบิร์ก เมื่อ พ.ศ. 2546 (ในปีนั้น มาเรีย ชาราโปวา ได้แชมป์ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ ในรายการเจแปนโอเพน ที่โตเกียว และเป็นแชมป์ดับเบิลยูทีเอแรกในการเล่นอาชีพของชาราโปวา)

หลังต้องเผชิญกับปัญหาอาการบาดเจ็บรุมเร้าในช่วงปี พ.ศ. 2549-2550 จนทำท่าว่าจะแขวนแร็กเก็ต แต่ทว่าในปี พ.ศ. 2551 แทมมารีนก็กลับมาสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่นอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงกลางฤดูกาลแข่งขัน เมื่อตัดสินใจปรับโปรแกรมการแข่งขัน ลดรายการบนคอร์ตดินและลดระดับตัวเองลงไปแข่งในรายการระดับชาลเลนเจอร์บนคอร์ตหญ้า แทนรายการระดับดับเบิลยูทีเอทัวร์ในช่วงฤดูกาลบนคอร์ตดิน และก็สามารถคว้าแชมป์หญิงเดี่ยวมาครองได้ ในรายการที่จิฟู ประเทศญี่ปุ่น ต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551

แทมมารีน กล่าวถึงสาเหตุที่กลับมาเล่นได้ดีอีกครั้ง ส่วนหนึ่งคงจะมาจากการที่ตัดสินใจจ้าง นายฐิติพันธุ์ ทรัพย์กล้า อดีตนักกีฬาวิ่งข้ามรั้วมหาวิทยาลัยศรีปทุม มาเป็น เทรนเนอร์ส่วนตัว ตั้งแต่ช่วงการแข่งขันเทนนิสในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่ จ.นครราชสีมา ทำให้สภาพร่างกายกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้น น้ำหนักตัวลดลง ความคล่องตัวมีสูงขึ้นกว่าเดิม

จากนั้นแม้ว่าเธอจะตกรอบแรกในรายการคอร์ตดิน ที่โรลังด์ การ์รอส ประเทศฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความมั่นใจของเธอสูญเสียไป แทมมี่วางโปรแกรมแข่งขันเทนนิสบนคอร์ตหญ้า ก่อนถึงรายการวิมเบิลดันในปีนี้ไว้ 3 รายการ และ 2 รายการแรก ที่เซอร์บิตัน และเบอร์มิงแฮม สามารถเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ก่อนการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน แทมมารีนคว้าแชมป์ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเอาชนะ ดินารา ซาฟินา มือวางอันดับ 3 ของรายการ มืออันดับ 9 ของโลก และรองแชมป์เฟรนช์โอเพน 2008 ด้วยคะแนน 7-5, 6-3 ซึ่งแทมมารีนเข้าไปเล่นเมนดรอว์ในฐานะผู้เล่นจากรอบคัดเลือก นับเป็นแชมป์ดับเบิลยูทีเอรายการที่สองและเป็นแชมป์แรกบนคอร์ตหญ้า[6]

ในการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน แทมมารีนสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นนักเทนนิสชาวไทยคนแรกที่เข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในรายการแกรนด์แสลม ด้วยการเอาชนะเยเลนา แยนโควิช มือวางอันดับ 2 ของรายการ ก่อนไปแพ้ให้กับวีนัส วิลเลียมส์[7] หลังจากนั้นแทมมารีนได้รับเชิญไปแข่งโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งจัดขึ้นที่ปักกิ่ง แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะได้รับการปฏิเสธและไม่มีชื่อของแทมมารีนในรายชื่อตัวสำรอง นับเป็นการเข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 4 ของแทมมารีน[8]

แทมมารีนเคยเขียนบทความชื่อ แทมมี่ค่ะ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันอาทิตย์ เล่าถึงประสบการณ์ในการเล่นเทนนิสอาชีพในต่างประเทศ [9]

หลังเลิกเล่น แทมมารีนได้รับการประดับยศเป็น ร้อยตำรวจตรีหญิง (ร.ต.ต.หญิง) สังกัดกองการเงิน สำนักงานงบประมาณและการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยผ่านหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนมาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร รุ่นที่ 40 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2558 โดยใช้โควต้านักกีฬาในการสมัคร[10]

สถิติการแข่งขันอาชีพ

แก้

ประเภทเดี่ยว

แก้

ระดับดับเบิลยูทีเอทัวร์

แก้
ชนะเลิศ (4)
แก้
ระดับ: ก่อนปี พ.ศ. 2552 ระดับ: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
แกรนด์สแลม (0)
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ (0)
เทียร์ 1 (0) พรีเมียร์ แมนดาทอรี (0)
เทียร์ 2 (0) พรีเมียร์ 5 (0)
เทียร์ 3 (1) พรีเมียร์ (0)
เทียร์ 4 & 5 (1) อินเตอร์เนชันแนล (2)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (2)
หญ้า (2)
ดิน (0)
พรม (0)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 9 กุมภาพันธ์ 2546   ไฮเดอราบัด, อินเดีย คอนกรีต $140K   ไอโรดา ตุลยากาโนวา 6–4, 6–4
2. 21 มิถุนายน 2551   เฮอร์โตเกนบอช, เนเธอร์แลนด์ หญ้า Euro370K   ดินารา ซาฟินา 7–5, 6–3
3. 20 มิถุนายน 2552   เฮอร์โตเกนบอช, เนเธอร์แลนด์ (2) หญ้า $220K   ยานีนา วิคเมเยอร์ 6–3, 7–5
4. 17 ตุลาคม 2553   โอซากา, ญี่ปุ่น คอนกรีต $220K   คิมิโกะ ดาเตะ ครุมม์ 7–5, 6–7(4), 6–1
รองชนะเลิศ (7)
แก้
ระดับ: ก่อนปี พ.ศ. 2552 ระดับ: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
แกรนด์สแลม (0)
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ (0)
เทียร์ 1 (0) พรีเมียร์ แมนดาทอรี (0)
เทียร์ 2 (0) พรีเมียร์ 5 (0)
เทียร์ 3 (4) พรีเมียร์ (0)
เทียร์ 4 & 5 (2) อินเตอร์เนชันแนล (1)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (6)
หญ้า (1)
ดิน (0)
พรม (0)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 24 พฤศจิกายน 2539   พัทยา, ไทย คอนกรีต $107.5K   รูซานดรา ดราโกเมียร์ 7-6(4), 6–4
2. 18 มิถุนายน 2543   เบอร์มิงแฮม, สหราชอาณาจักร หญ้า $170K   ลิซา เรย์มอนด์ 6–2, 6–7 (7), 6–4
3. 7 ตุลาคม 2544   โตเกียว, ญี่ปุ่น คอนกรีต $170K   โมนิกา เซเลส 6–3, 6–2
4. 13 มกราคม 2545   แคนเบอร์รา, ออสเตรเลีย คอนกรีต $110K   แอนนา สแมชโนวา 7–5, 7–6(2)
5. 17 กุมภาพันธ์ 2545   โดฮา, กาตาร์ คอนกรีต $170K   โมนิกา เซเลส 7–6(6), 6–3
6. 15 ตุลาคม 2549   กรุงเทพฯ, ไทย คอนกรีต $200K   วาเนีย คิง 2–6, 6–4, 6–4
7. 14 กุมภาพันธ์ 2553   พัทยา, ไทย (2) คอนกรีต $220K   เวรา ซโวนาเรวา 6–4, 6–4

ระดับไอทีเอฟ

แก้
ชนะเลิศ (11)
แก้
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 12 ธันวาคม 2536   มะนิลา, ฟิลิปปินส์ คอนกรีต $10K   Ju-Yeon Choi 6-2, 6-3
2. 10 มีนาคม 2539   วอร์นามบูล, ออสเตรเลีย หญ้า $10K   Jane Taylor 6-4, 6-1
3. 24 มีนาคม 2539   โวดองกา, ออสเตรเลีย หญ้า $10K   Kristine Kunce 4-6, 6-4, 7-6(5)
4. 3 พฤศจิกายน 2539   ซะงะ, ญี่ปุ่น หญ้า $25K   Kazue Takuma 6-4, 6-1
5. 8 มิถุนายน 2540   เซอร์บิตัน, สหราชอาณาจักร หญ้า $25K   Aleksandra Olsza 5-7, 7-6(5), 5-0 (ret.)
6. 7 มิถุนายน 2542   เซอร์บิตัน, สหราชอาณาจักร (2) หญ้า $25K   Surina de Beer 6-4, 5-7, 6-2
7. 10 ตุลาคม 2542   ซะงะ, ญี่ปุ่น (2) หญ้า $25K   Vanessa Webb 6-3, 6-3
8. 7 พฤษภาคม 2543   กิฟุ, ญี่ปุ่น หญ้า $50K   ชิโนบุ อาซาโกเอะ 7-5, 6-4
9. 13 พฤศจิกายน 2548   เซินเจิ้น, จีน คอนกรีต $50K   Miho Saeki 6-2, 6-4
10. 5 พฤศจิกายน 2549   เซี่ยงไฮ้, จีน คอนกรีต $50K   อัคกุล อมานมูราโดวา 6-3, 6-3
11. 4 พฤษภาคม 2551   กิฟุ, ญี่ปุ่น (2) หญ้า $50K   คิมิโกะ ดาเตะ ครุมม์ 4-6, 7-5, 6-2
รองชนะเลิศ (6)
แก้
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 16 สิงหาคม 2535   ไทเป, ไต้หวัน คอนกรีต $10K   Park Sung-hee 6-3, 6-1
2. 17 มีนาคม 2539   แคนเบอร์รา, แคนาดา หญ้า $10K   Kristine Kunce 6-4, 6-0
3. 31 มีนาคม 2539   นิวเซาท์เวลส์, ออสเตรเลีย หญ้า $10K   Kristine Kunce 6-2, 6-1
4. 11 สิงหาคม 2539   จาการ์ตา, อินโดนีเซีย คอนกรีต $50K   Ludmilla Varmuza 6-2, 6-4
5. 3 ตุลาคม 2542   โซล, เกาหลีใต้ คอนกรีต $50K   ไอโรดา ตุลยากาโนวา 6-0, 6-2
6. 11 มิถุนายน 2543   เซอร์บิตัน, สหราชอาณาจักร หญ้า $25K   Louise Latimer 7-5, 6-3

ประเภทคู่

แก้

ระดับดับเบิลยูทีเอทัวร์

แก้
ชนะเลิศ (7)
แก้
ระดับ: ก่อนปี พ.ศ. 2552 ระดับ: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
แกรนด์สแลม (0)
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ (0)
เทียร์ 1 (0) พรีเมียร์ แมนดาทอรี (0)
เทียร์ 2 (0) พรีเมียร์ 5 (0)
เทียร์ 3 (3) พรีเมียร์ (0)
เทียร์ 4 & 5 (2) อินเตอร์เนชันแนล (2)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (7)
หญ้า (0)
ดิน (0)
พรม (0)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 11 มกราคม 2541   โอคแลนด์, นิวซีแลนด์ คอนกรีต $107.5K   Nana Miyagi   Julie Halard-Decugis
  Janette Husarova
7-6(1), 6-4
2. 22 ตุลาคม 2543   เซี่ยงไฮ้, จีน คอนกรีต $140K   Lilia Osterloh   Rita Grande
  Meghann Shaughnessy
7-5, 6-1
3. 24 กันยายน 2544   บาหลี, อินโดนีเซีย คอนกรีต $170K   Evie Dominikovic   Janet Lee
  Wynne Prakusya
6-7(4), 6-2, 6-3
4. 5 ตุลาคม 2546   โตเกียว, ญี่ปุ่น คอนกรีต $170K   มาเรีย ชาราโปวา   Ashley Harkleroad
  Ansley Cargill
7-6(1), 6-0
5. 26 ตุลาคม 2546   ลักเซมเบิร์ก คอนกรีต (i) $225K   มาเรีย ชาราโปวา แม่แบบ:Country data เยอรมัน Marlene Weingartner
  Elena Tatarkova
6-1, 6-4
6. 15 กุมภาพันธ์ 2552   พัทยา, ไทย คอนกรีต $220K   ยาโรสลาวา ชเวโดวา   Yulia Beygelzimer
  วิทาเลีย เดียตเชนโก
6–3, 6–2
7. 14 กุมภาพันธ์ 2553   พัทยา, ไทย (2) คอนกรีต $220K   มารินา อิราโควิช   แอนนา ชัคเวทัดเซ
  เคซเนีย เพอร์วัค
7–5, 6–1
รองชนะเลิศ (6)
แก้
ระดับ: ก่อนปี พ.ศ. 2552 ระดับ: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
แกรนด์สแลม (0)
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ (0)
เทียร์ 1 (1) พรีเมียร์ แมนดาทอรี (0)
เทียร์ 2 (2) พรีเมียร์ 5 (0)
เทียร์ 3 (2) พรีเมียร์ (0)
เทียร์ 4 & 5 (1) อินเตอร์เนชันแนล (0)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (6)
หญ้า (0)
ดิน (0)
พรม (0)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 16 สิงหาคม 2541   ลอสแอนเจลิส, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต $450K   Elena Tatarkova   มาร์ตินา ฮิงกิส
  Natasha Zvereva
6-4, 6-2
2. 27 กุมภาพันธ์ 2543   โอคลาโฮมา, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต $170K   Elena Tatarkova   Kimberly Po-Messerli
  Corina Morariu
6-4, 4-6, 6-2
3. 14 ตุลาคม 2544   เซี่ยงไฮ้, จีน คอนกรีต $140K   Evie Dominikovic   Lenka Nemeckova
  ลีเซล ฮูเบอร์
6-0, 7-5
4. 21 กันยายน 2546   เซี่ยงไฮ้, จีน (2) คอนกรีต $585K   ไอ ซูกิยามา   Emilie Loit
  Nicole Pratt
6-3, 6-3
5. 8 สิงหาคม 2547   มอนทรีออล, แคนาดา คอนกรีต $1300K   ลีเซล ฮูเบอร์   ไอ ซูกิยามา
  ชิโนบุ อาซาโกเอะ
6-0, 6-3
6. 2 พฤศจิกายน 2551   เกแบ็ก, แคนาดา คอนกรีต (i) $140K   จิลล์ เครย์บาส แม่แบบ:Country data เยอรมัน แอนนา เลนา กรอนเฟลด์
  วาเนีย คิง
7-6(3), 6-4

ระดับไอทีเอฟ

แก้
ชนะเลิศ (3)
แก้
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 24 กันยายน 2538   สมุทรปราการ, ไทย คอนกรีต $10K   เบญจมาศ แสงอร่าม   Agustine Limanto
  Maria Widyadharma
7-5, 1-6, 6-4
2. 3 พฤศจิกายน 2539   ซะงะ, ญี่ปุ่น หญ้า $25K   Danielle Jones   Hiroko Mochizuki
  Yuka Tanaka
6-2, 6-3
3. 28 พฤษภาคม 2549   ปักกิ่ง, จีน คอนกรีต $50K   ชวง เชีย จุง   Nina Bratchikova
  Liga Dekmeijere
4-6, 6-2, 6-3
รองชนะเลิศ (4)
แก้
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 7 กุมภาพันธ์ 2536   บันดาร์เซอรีเบอกาวัน, บรูไน คอนกรีต $10K   วราลี สุรีพงษ์   Romana Tedhakusuma
  Suzanna Wibowo
6-3, 6-1
2. 25 กันยายน 2537   หาดใหญ่, ไทย คอนกรีต $10K   ศศิธร ตั้งเที่ยงกุล   สุวิมล ดวงจันทร์
  พิมพิศมัย กาญสุทธิ
6-3, 7-5
3. 3 ตุลาคม 2542   โซล, เกาหลีใต้ คอนกรีต $50K   Park Sung-hee   Kim Eun-Ha
  Catherine Barclay-Reitz
4-6, 6-4, 6-2
4. 11 มิถุนายน 2549   เซอร์บิตัน, สหราชอาณาจักร หญ้า $25K   Hsieh Su-wei   Trudi Musgrave
  เคซีย์ เดลลัคคัว
6-3, 6-3

การเอาชนะนักเทนนิส 10 อันดับแรกของโลก

แก้
อันดับ1 ปี รายการ, ประเทศ พื้นสนาม คู่แข่งขัน อันดับ2 รอบที่พบกัน ผลการแข่งขัน
44 2541   ออสเตรเลียนโอเพน, เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย คอนกรีต   อีวา มาโยลี 6 รอบ 3 6-2, 6-0
33 2544   อีสต์บอร์น, สหราชอาณาจักร หญ้า   นาตาลี โทซีอา 10 ? 6-7(1), 7-6(3), 6-3
31 2544   วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร หญ้า   อเมลี มัวเรสโม 6 รอบ 3 6-4, 6-4
39 2546   ยูเอสโอเพน, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต   ดาเนียลา ฮันตูโชวา 9 รอบ 3 6-2, 6-4
85 2551   เฮอร์โตเกนบอช, เนเธอร์แลนด์ หญ้า   ดินารา ซาฟินา 6 รอบชิงชนะเลิศ 7-5, 6-3
60 2551   วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร หญ้า   เยเลนา แยนโควิช 3 รอบ 4 6-3, 6-2
47 2552   เฮอร์โตเกนบอช, เนเธอร์แลนด์ หญ้า   ดินารา ซาฟินา 1 รอบรองชนะเลิศ 7-5, 7-5

ตารางสถิติการแข่งขันอาชีพประเภทเดี่ยวในรายการสำคัญ

แก้

ตารางนี้จะช่วยอธิบายความหมายของแต่ละข้อความรวมทั้งอักษรย่อ

ตารางเพื่อสร้างความเข้าใจในข้อความและอักษรย่อ
ชนะเลิศ / เข้าร่วม อัตราส่วนของจำนวนครั้งที่ชนะเลิศ
ต่อจำนวนครั้งที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้น
ชนะ-แพ้ จำนวนแมตช์ที่ชนะ-แพ้
รายละเอียดของแต่ละอักษรย่อ
NM5 รายการนั้นไม่นับเป็นรายการทั้งระดับ
พรีเมียร์แมนดาทอรี และระดับพรีเมียร์ 5
NT1 รายการนั้นไม่ใช่รายการระดับเทียร์ 1
อีกต่อไป
NH ไม่มีการจัดการแข่งขันรายการนั้น A ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้น
LQ ตกรอบคัดเลือก #R 1R = ตกรอบแรก, 2R = ตกรอบที่สอง
3R = ตกรอบที่สาม, 4R = ตกรอบที่สี่
(RR = ตกรอบ Round Robin)
QF ตกรอบก่อนรองชนะเลิศ (8 คนสุดท้าย) SF ตกรอบรองชนะเลิศ (4 คนสุดท้าย)
F รองชนะเลิศ (รองแชมป์) W ชนะเลิศ (แชมป์เปี้ยน)


รายการ 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 ชนะเลิศ /
เข้าร่วม
รวม
ชนะ-แพ้
แกรนด์สแลม
ออสเตรเลียนโอเพน A LQ1 LQ2 3R 4R 1R 3R 3R 3R 3R 1R 2R 1R5 1R 1R5 1R 0 / 15 14–13
เฟรนช์โอเพน A LQ2 A 2R 1R 1R 2R 1R 3R 1R 1R 1R A 2R 1R 2R 0 / 12 6–12
วิมเบิลดัน A LQ2 A 3R 4R 4R 4R 4R 4R 1R 4R 2R 3R1 1R QF 1R 0 / 14 27–13
ยูเอสโอเพน A LQ2 A 3R 1R 2R 3R 1R 2R 4R 1R 1R LQ1 1R 1R 1R 0 / 13 9–12
ชนะเลิศ / เข้าร่วม 0 / 0 0 / 4 0 / 1 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 2 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 50 N/A
ชนะ-แพ้ 0–0 0–4 0–2 7–4 6–4 4–4 8–4 5–4 8–4 5–4 3–4 2–4 2–2 1–4 4–4 1–4 N/A 56–50
แชมป์เปี้ยนชิพส่งท้ายปี
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ A A A A A A A A A A A A A A A A 0 / 0 0–0
โอลิมปิกเกมส์
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Not
Held
A Not Held 2R Not Held 1R Not Held 1R Not
Held
0 / 3 1–3
ดับเบิลยูทีเอ พรีเมียร์ แมนดาทอรี
อินเดียน เวลส์ A A A 1R 2R 1R 1R 3R 3R 3R 1R 1R LQ2 2R A 1R 0 / 12 8–11
คีย์ บีสเคยน์ A 3R3 A 2R 3R 1R 2R 4R 3R 3R 2R 1R A 1R6 1R6 2R 0 / 13 15–13
มาดริด Not Held 1R 0 / 1 0–1
ปักกิ่ง Not Held Not Tier I A 0 / 0 0–0
ดับเบิลยูทีเอ พรีเมียร์ 5
ดูไบ Not Tier I A 0 / 0 0–0
โรม A A A 1R A A A A 1R A A A A LQ1 A A 0 / 3 0–2
ซินซินเนติ Not Held Not Tier I A 0 / 0 0–0
มอนทรีออล / โทรอนโต A A A 2R 1R A 1R 2R 2R 1R 2R A A A 2R A 0 / 8 5–8
โตเกียว A A A 2R 1R A 1R A QF QF 1R A LQ2 LQ2 LQ1 A 0 / 8 5–6
อดีตดับเบิลยูทีเอ เทียร์ 1 (ปัจจุบันไม่ได้เป็นทั้งระดับพรีเมียร์แมนดาทอรีและระดับพรีเมียร์ 5)
ชาร์ลสตัน A A A 1R 1R A A A A 1R 1R A A 1R A NM5 0 / 5 0–5
มอสโคว Not
Held
Not
Tier I
A A A A A A A A A A A A A 0 / 0 0–0
โดฮา Not Held Not Tier I 3R4 Not
Held
0 / 1 2–1
เบอร์ลิน A A A 1R 2R A A A 2R A A A A A A 0 / 3 2–3
ซาน ดิเอโก Not Tier I 1R4 A A 2R A 0 / 2 1–2
ซือริช A A A A A A A A A A A A A A A 0 / 0 0–0
ฟิลาเดลเฟีย A A Not Tier I Not Held 0 / 0 0–0
สถิติการแข่งขันเทนนิสอาชีพ
รายการที่ลงทำการแข่งขัน 12 12 16 26 23 21 27 22 26 24 26 24 27 24 22 7 N/A 339
รายการที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ 0 0 7 1 0 3 2 1 2 1 0 1 2 1 3 1 N/A 24
รายการที่ชนะเลิศ 0 0 3 1 0 2 1 0 0 1 0 1 1 0 2 1 N/A 13
อันดับโลกเมื่อสิ้นปี 294 209 79 46 37 72 29 29 28 34 66 132 75 124 35 111 N/A
  • 1 แพ้ในรอบคัดเลือกรอบที่ 2
  • 2 แพ้ในรอบคัดเลือกรอบที่ 1
  • 3 ชนะในรอบคัดเลือก 2 แมตซ์ และแพ้ 1 แมตซ์ เพื่อเข้าไปสู่รอบเมนดรอว์ ก่อนที่จะไปแพ้ในรอบที่ 3
  • 4 ชนะในรอบคัดเลือก 2 แมตซ์ เพื่อเข้าไปสู่รอบเมนดรอว์
  • 5 ชนะในรอบคัดเลือก 3 แมตซ์ เพื่อเข้าไปสู่รอบเมนดรอว์
  • 6 ชนะในรอบคัดเลือก 1 แมตซ์ และแพ้ 1 แมตซ์ เพื่อเข้าไปสู่รอบเมนดรอว์ ก่อนที่จะไปแพ้ในรอบที่ 1
  • 7 สถิติการชนะ-แพ้รวมทุกแมตซ์ของเธอ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์ของดับเบิลยูทีเอ ทัวร์ เก็บถาวร 2006-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งสถิตินี้นับรวมทั้งรายการไอทีเอฟเซอร์กิต และ เฟดคัพ[ลิงก์เสีย]
  • 8 แมตซ์การแข่งขันรอบคัดเลือกไม่ได้ถูกนับรวมไปในสถิติการชนะ-แพ้ของเธอ

โทรทัศน์

  • พ.ศ. 25 : ทุกวัน เวลา น.-น. ทางช่อง () ร่วมกับ

ออนไลน์

  • พ.ศ. 25 : ทางช่อง YouTube:Tamarine Channel

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี​ เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร​, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๓๘๗, ๑๙ กันยายน ๒๕๖๒
  2. รู้จักศิษย์เก่า - คุณแทมมารีน ธนสุกาญจน์
  3. "This Day in U.S. Open History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-03. สืบค้นเมื่อ 2006-11-10.
  4. This Day in SlamTennis97 (1)[ลิงก์เสีย]
  5. This Day in SlamTennis97 (2)[ลิงก์เสีย]
  6. "Tanasugarn takes down Safina for Ordina title". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-10-10.
  7. AP, Tanasugarn first Thai in Grand Slam quarterfinal เก็บถาวร 2009-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 1 กรกฎาคม 2551
  8. Daily Xpress, Beijing calling เก็บถาวร 2008-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 23 กรกฎาคม 2551
  9. "อ่านคอลัมน์ แทมมี่ค่ะ ตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-13. สืบค้นเมื่อ 2006-11-11.
  10. หน้า 15 กีฬา, 'หมวดสาวป้ายแดง' แทมมารีน ธนสุกาญจน์. "คุยนอกสนาม" โดย เยาวพา ดาวเรือง. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,300: วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558 แรม 3 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๓๕, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้