แก้วเจ้าจอม
แก้วเจ้าจอม | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | พืชดอก (Magnoliophyta) |
ชั้น: | พืชใบเลี้ยงคู่ (Magnoliopsida) |
อันดับ: | แซปินแดลิส (Sapindales) |
วงศ์: | วงศ์โคกกระสุน (Zygophyllaceae) |
สกุล: | Guaiacum |
สปีชีส์: | G. officinale |
ชื่อทวินาม | |
Guaiacum officinale L. |
แก้วเจ้าจอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Guaiacum officinale) เป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นแคริบเบียน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำพันธุ์ไม้ชนิดนี้เข้าสยามจากชวา (อินโดนีเซีย) ครั้งเสด็จประพาส แล้วทรงนำมาปลูกในเขตพระราชอุทยานวังสวนสุนันทา ปัจจุบันมีเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่เป็นต้นดั้งเดิม บริเวณด้านหลังเนินพระนางหรือพระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี ซึ่งปัจจุบันมีการเพาะขยายปลูกตามส่วนต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย โดยภายหลังได้กลายมาเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
แก้วเจ้าจอมมีใบจำนวนหลายแบบเช่น แก้วเจ้าจอม 4ใบ แก้วเจ้าจอม 6ใบ แก้วเจ้าจอม 8ใบ บางท้องตลาดพบเจอ 10ใบ แต่4ใบนั้นเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมและโตช้าจึงไม่เป็นที่นิยมเท่าไร กลีบดอกสีม่วง-คราม จำนวน 5-6 กลีบ เกสรสีเหลือง เป็นต้นไม้ที่ต้องการแสงแบบรำไร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้ทำป้องยาสูบ ที่บดยา ที่บดกาแฟ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ สำนักงานหอพรรณไม้ พรรณไม้เด่นประจำเดือนมกราคม: แก้วเจ้าจอม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ราชบัณฑิตยสถาน. (2547). อนุกรมวิธานพืชอักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขเพิ่มเติม หจก. อรุณการพิมพ์ กรุงเทพฯ หน้า 396-397.