แกนแห่งความชั่วร้าย

แกนแห่งความชั่วร้าย (อังกฤษ: Axis of evil) มีที่มาจากประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในการกล่าวสุนทรพจน์ประจำปีของประธานาธิบดีสหรัฐ ในวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2002 และมีการกล่าวซ้ำอยู่บ่อยครั้งเมื่อเขายังดำรงอยู่ในตำแหน่ง โดยเขากล่าวโทษว่ารัฐบาลประเทศอิหร่าน อิรัก แล เกาหลีเหนือ มีส่วนช่วยในการก่อการร้ายและจัดหาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง

"แกนแห่งความชั่วร้าย" ของบุชประกอบไปด้วยอิหร่าน อิรัก และเกาหลีเหนือ (สีแดง) "แกนแห่งความชั่วร้ายถัดไป" ประกอบไปด้วยคิวบา ลิเบีย และซีเรีย (สีส้ม) สหรัฐอเมริกาสีน้ำเงิน
  1.  อิรัก
  2.  เกาหลีเหนือ
  3.  อิหร่าน
  1.  คิวบา
  2.  ลิเบีย
  3.  ซีเรีย
  1.  เบลารุส
  2.  ซิมบับเว
  3.  พม่า

ต้นกำเนิด แก้

เดวิด ฟรัม แก้

ถ้อยคำนี้น่าจะมาจากผู้ร่างสุนทรพจน์ของบุช เดวิด ฟรัม (David Frum) โดยมีที่มาจากคำว่า แกนแห่งความเกลียดชัง (axis of hatred) และ ชั่วร้าย (evil) ฟรัมอธิบายเหตุผลของการสร้างถ้อยคำ แกนแห่งความชั่วร้าย ไว้ในหนังสือของเขา The Right Man: The Surprise Presidency of George W. Bush เรื่องเริ่มขึ้นในตอนปลายเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 เมื่อหัวหน้านักร่างสุนทรพจน์ ไมค์ เกอร์สัน (Mike Gerson) ให้ฟรัมร่างคำพูดสักสองสามประโยคสำหรับขับไล่รัฐบาลของซัดดัม ฮุสเซนในอิรักในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาของประธานาธิบดีสหรัฐ ฟรัมกล่าวว่าเขาเริ่มอ่านสุนทรพจน์ "วันซึ่งที่จะมีชีวิต​อยู่ในความอัปยศ​-date which will live in infamy" ของประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ที่กล่าวไว้ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 หลังจากประเทศญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์อย่างที่ไม่มีใครคาดคิด ในขณะที่ชาวอเมริกันไม่ต้องการจะเชื่อว่าต้องสงครามกับประเทศญี่ปุ่น โรสเวลต์เห็นว่าภัยคุกคามร้ายแรงต่อสหรัฐอเมริกากำลังมาจากนาซีเยอรมนี และการตัดสินของเขาทำให้เกิดการต่อสู้ในสงครามสองมหาสมุทร

จุดที่ฟรัมชี้ให้เห็นในหนังสือของเขาคือประโยคที่โดนมองข้ามบ่อยๆในสุนทรพจน์ของโรสเวลต์ในส่วน "...เราจะไม่เพียงแต่ปกป้องตัวเองอย่างสุดกำลังแต่เราจะทำให้แน่ใจว่าภัยคุกคามนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อเราอีกครั้ง" ฟรัมแปลความหมายของคำปราศรัยของโรสเวลต์ดังนี้: "สำหรับโรสเวลต์ เหตุการณ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ไม่ใช่เป็นเพียงการโจมตีเท่านั้น มันยังเป็นการเตือนต่ออนาคตถึงการโจมตีที่รุนแรงจากประเทศอื่น หรือแม้แต่ศัตรูที่เป็นอันตราย" ประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่มีปริมาตรอุตสาหกรรมแค่หนึ่งในสิบของอเมริกา ต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหาร และกำลังทำสงครามกับประเทศจีน ได้เสี่ยงเข้าโจมตีสหรัฐอเมริกา ความเสี่ยง "ที่ทำให้ฝ่ายอักษะคุกคามต่อสันติภาพของโลก" ฟรัมกล่าว สงครามสองสงครามกับประเทศอิหร่านและคูเวตของซัดดัม ฮุสเซนเป็นความเสียง ฟรัมเชื่อและแสดงว่าจะเป็นภัยคุกคามสันติภาพของโลกเช่นกัน

ในหนังสือ ฟรัมเปรียบเทียบความสัมพันธ์ที่คล้ายกันมากระหว่างฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 2 และ"รัฐก่อการร้าย" เขาเขียนว่า "ฝ่ายอักษะเกลียดและไม่วางใจซึ่งกันและกัน" "ถ้าอักษะชนะสงครามด้วยวิธีใดก็ตาม สมาชิกจะหันมาเผชิญหน้ากันเองอย่างรวดเร็ว" แม้ว่า อิหร่าน อิรัก อัลกออิดะฮ์ และฮิซบุลลอฮ์ จะทะเลาะเบาะแว้งกันเอง แต่ "ทั้งหมดก็ไม่พอใจในอำนาจของชาติตะวันตกและประเทศอิสราเอลและยังดูแคลนในคุณค่าของประชาธิปไตย" นอกจากนั้นฟรัมยังเห็นความเชื่อมโยงร่วมกันระหว่าง "รัฐก่อการร้ายและองค์กรการก่อการร้ายที่ก่อให้เกิดแกนของความเกลียดชังต่อสหรัฐอเมริกา"

ฟรัมกล่าวว่าเขาได้ส่งบันทึกที่มีข้อความข้างต้นและยังอ้างถึงการกระทำที่โหดร้ายบางเรื่องของรัฐบาลอิรักอีกด้วย เขาคาดว่าคำพูดของเขาจะโดนสับแยกและเปลี่ยนแปลงไปจนเกินยอมรับเช่นเดียวกับชะตากรรมร่างสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีส่วนมาก แต่คำพูดของเขาถูกคงไว้ตามเดิมเกือบทุกคำ แม้ว่าบุชจะเปลี่ยนคำว่า "แกนแห่งความเกลียดชัง" เป็น "แกนของความชั่วร้าย" เกาหลีเหนือถูกเพิ่มเข้ามาในรายชื่อ เขาพูดว่าเพราะเกาหลีเหนือได้พยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ มีประวัติแข็งกร้าวที่สุ่มเสี่ยง และ "ต้องการรู้สึกถึงมือที่แข็งแกร่ง"[1]

หลังจากนั้น ภรรยาของฟรัมก็นำบทประพันธ์ของเขาเปิดเผยต่อสาธารณชน[2]

โยส์เซฟ โบเดนสคี แก้

10 ปีก่อนการกล่าวสุนทรพจน์ประจำปี ค.ศ. 2002 ของประธานาธิบดีสหรัฐ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์การเมืองการปกครอง โยส์เซฟ โบเดนสคี (Yossef Bodansky) เขียนบทความเรื่อง "Tehran, Baghdad & Damascus: The New Axis Pact (เตหะราน แบกแดด และ ดามัสกัส: สนธิสัญญาอักษะใหม่)" [3] ขณะยังเป็นผู้อำนวยการของคณะกรรมการเฉพาะกิจแห่งรัฐสภาในเรื่องการก่อการร้ายและสงครามนอกแบบของสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา แม้ว่าเขาจะไม่ได้ใช้คำว่า ชั่วร้าย อย่างโจ่งแจ้งในคำว่าอักษะใหม่ของเขา แกนของโบเดนสคีก็ยังทำให้ระลึกถึงแกนของฟรัม โบเดนสคีรู้สึกว่าแกนใหม่นี้เป็นการพัฒนาที่อันตรายมาก ใจความสำคัญในเหตุผลของโบเดนสคีคือ ประเทศอิรัก อิหร่าน และ ซีเรีย ได้จัดตั้ง"พันธมิตรไตรภาคี" เป็นผลมาจากสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก และพันธมิตรนี้มีทีท่าใกล้เป็นภัยคุกคาม ทางเดียวที่จะรับมือคือการบุกอิรักครั้งที่ 2 และการโค่นล้มซัดดัม ฮุสเซน

พัฒนาการ แก้

โบลทอน: "แกนแห่งความชั่วร้ายถัดไป" แก้

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002 ตัวแทนแห่งสหรัฐอเมริกาในสหประชาชาติ จอห์น อา. โบลทอน กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง "แกนแห่งความชั่วร้ายถัดไป" ในนั้นเขาเพิ่มอีกสามประเทศไปในกลุ่มรัฐอันธพาล (rogue states) ที่กล่าวไว้แล้ว คือ: ลิเบีย ซีเรีย และ คิวบา หลักเกณฑ์ในการรวมกลุ่มคือ "รัฐสนับสนุนการดำเนินการการก่อการร้ายหรือใครที่มีศักยภาพในการดำเนินการเรื่องอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD) หรือมีขีดความสามารถที่จะละเมิดพันธกรณีของสนธิสัญญา" สุนทรพจน์เป็นการขยายจากแกนแห่งความชั่วร้ายเดิม

ไรซ์: ด่านหน้าแห่งทรราชย์ แก้

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 ตอนที่บุชได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองใหม่ๆ คอนโดลีซซา ไรซ์ที่เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์เป็นคำใหม่ ด่านหน้าแห่งทรราชย์ ที่ประกอบไปด้วยหกประเทศที่ถือว่าควรปราบปรามที่สุด โดยประกอบไปด้วยประเทศคิวบา เบลารุส ซิมบับเว พม่า และ 2 ประเทศแกน

กูล: สหรัฐอเมริกาเป็นแกนแห่งความชั่วร้าย แก้

วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2010 พลโท (ปลดเกษียณ) ฮามิด กูล (Hamid Gul) เรียกสหรัฐอเมริกาว่า "แกนแห่งความชั่วร้าย" ในภูมิภาค (น่าจะเป็นเอเชียใต้และเอเชียกลาง) ในการให้สัมภาษณ์กับฟารส์ นิวส์ เอเจนซี่ (Fars News Agency)[4]

อ้างอิง แก้

  1. "Axis of Evil" Authorship Settled! It was Frum and Gerson, and definitely not Bush. Jan. 9, 2003
  2. "Proud wife turns 'axis of evil' speech into a resignation letter", Matthew Engel, The Guardian, February 27, 2002
  3. Yossef Bodansky & Vaughn S. Forrest on behalf of the House Republican Research Committee (1992-08-10). "Tehran, Baghdad & Damascus: The New Axis Pact". สืบค้นเมื่อ 2007-05-22.
  4. http://english.farsnews.ir/newstext.php?nn=8812191452[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้