แฮร์ทา มึลเลอร์

(เปลี่ยนทางจาก เฮอร์ทา มึลเลอร์)

แฮร์ทา มึลเลอร์ (เยอรมัน: Herta Müller) (17 สิงหาคม ค.ศ. 1953 - ปัจจุบัน) แฮร์ทา มึลเลอร์เป็นนักเขียน กวี และนักเขียนบทความคนสำคัญชาวเยอรมันที่เกิดในประเทศโรมาเนีย แฮร์ทา มึลเลอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 2009 งานเขียนที่มีชื่อเสียงของมึลเลอร์เป็นงานเขียนที่เกี่ยวกับสภาวะอันทารุณของชีวิตในสาธารณรัฐประชาชนโรมาเนีย (Communist Romania) ภายใต้การปกครองอันกดขี่ของรัฐบาลของนีกอลาเอ ชาวูเชสกู, เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เยอรมนีในภูมิภาคบานัท (Banat) ในยุโรปกลาง และ การทำร้ายชาวเยอรมันเชื้อสายโรมาเนียโดยกองทหารโซเวียตที่ยึดครองโรมาเนียของสตาลิน

แฮร์ทา มึลเลอร์
Herta Müller
แฮร์ทา มึลเลอร์ ค.ศ. 2007
เกิด17 สิงหาคม ค.ศ. 1953
ประเทศโรมาเนีย
สัญชาติชาวเยอรมัน, ชาวโรมาเนีย
อาชีพนักเขียน
ยุคสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20–ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21
ตำแหน่งนักเขียน
รางวัลรางวัลโนเบล ค.ศ. 2009
นักเขียนชาวเยอรมัน

ชีวิตและอาชีพ แก้

มึลเลอร์เกิดที่ Niţchidorf (เยอรมัน: Nitzkydorf) ซึ่งเป็นเมืองที่พูดภาษาเยอรมันในภูมิภาคบานัททางตะวันตกของโรมาเนีย เป็นบุตรสาวของเกษตรกร ครอบครัวของมึลเลอร์เป็นชนกลุ่มน้อยชาวโรมาเนียเชื้อสายเยอรมัน บิดารับราชการเป็น Waffen SS[1] และมารดารอดชีวิตมาได้จากการถูกกักในค่ายกรรมกรในยูเครนในสหภาพโซเวียตอยู่เป็นเวลาห้าปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2[2] ปู่ของมึลเลอร์เคยเป็นพ่อค้าและเกษตรกรผู้มีฐานะดี มึลเลอร์เรียนเยอรมันศึกษา และ วรรณกรรมโรมาเนียที่มหาวิทยาลัยตะวันตกแห่ง Timişoara

ในปี ค.ศ. 1976 มึลเลอร์ก็เริ่มทำงานเป็นนักแปลสำหรับโรงงานวิศวกรรม แต่ถูกปลดในปี ค.ศ. 1979 เพราะไม่ยอมร่วมมือกับ Securitate ซึ่งเป็นกองตำรวจลับของพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย หลังจากถูกปลดมึลเลอร์ก็ไปทำงานเป็นครูสอนเด็กอนุบาลและสอนภาษาเยอรมันเป็นการส่วนตัว หนังสือเล่มแรกที่เขียนเป็นภาษาเยอรมันตีพิมพ์ในโรมาเนียในปี ค.ศ. 1982 เป็นฉบับที่ได้รับการตัดทอนโดยรัฐบาลเช่นเดียวกับงานเขียนอื่นๆ ในคอมมิวนิสต์โรมาเนียขณะนั้น การเซ็นเซอร์งานวรรณกรรมขณะนั้นไม่รุนแรงเท่ากับการถูกเซ็นเซอร์เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่มึลเลอร์ก็เป็นสมาชิกของกลุ่มปฏิกิริยาบานัท (Aktionsgruppe Banat) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเขียนผู้ใช้ภาษาเยอรมันผู้สนับสนุนเสรีภาพการพูดและการเขียนที่ถูกควบคุมภายใต้การควบคุมของรัฐบาลของชาวูเชสกู งานเขียนก็รวมทั้ง The Land of the Green Plums (ไทย: ดินแดนลูกพลัมดิบ) ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญหาที่นักเขียนต้องประสบและความสัมพันธ์ของนักเขียนกับการเซ็นเซอร์งานของรัฐบาล[3][4]

มึลเลอร์ย้ายจากโรมาเนียมายังเบอร์ลินตะวันตกพร้อมกับสามีริชาร์ด วากเนอร์ผู้เป็นนักเขียนเช่นกันในปี ค.ศ. 1987 จากความกดดันของรัฐบาลโรมาเนีย ในช่วงสองสามปีต่อมามึลเลอร์ก็รับตำแหน่งเป็นผู้ปาฐกในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเยอรมนีและต่างประเทศ ในปัจจุบันมึลเลอร์พำนักอยู่ในเบอร์ลิน มึลเลอร์ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของสถาบันเยอรมันสำหรับภาษาและการเขียน (Deutsche Akademie für Sprache und Dichtung) ในปี ค.ศ. 1995 และตำแหน่งอื่นๆ ที่ตามมา ในปี ค.ศ. 1997 มึลเลอร์ถอนตัวจากศูนย์องค์การนักเขียนนานาชาติ (International PEN) แห่งเยอรมนีในการประท้วงเมื่อองค์การรวมตัวกับสาขาที่เดิมเป็นสารธารณรัฐประชาชนเยอรมัน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 มึลเลอร์ก็เขียนจดหมายวิพากษ์เปิดผนึกไปถึง Horia-Roman Patapievici ประธานสถาบันวัฒนธรรมโรมาเนีย (Romanian Cultural Institute) ในการประท้วงการสนับสนุนขององค์การทั้งทางจริยธรรมและทางการเงินให้แก่อดีตสายลับในหมู่นักเขียน (informant) ขององค์การลับของรัฐบาลสองคนที่โรงเรียนโรมาเนีย-เยอรมันสำหรับฤดูร้อน[5]

ในปี ค.ศ. 2009 นวนิยาย Atemschaukel (ไทย: ทุกอย่างที่เป็นเจ้าของอยู่กับตัว) ได้รับการเสนอสำหรับรางวัลหนังสือเยอรมัน (Deutscher Buchpreis) และเป็นหนึ่งในหกเล่มที่เข้ารอบสุดท้าย ในหนังสือเล่มนี้มึลเลอร์บรรยายการเดินทางของชายหนุ่มไปยังค่ายกักกันกูลาก (Gulag) ในสหภาพโซเวียตที่เป็นตัวอย่างของชะตาของประชากรชาวเยอรมันที่อยู่ในทรานสซิลเวเนียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 งานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ของกวีออสคาร์ พาสติออร์ (Oskar Pastior) ที่มึลเลอร์บันทึกเรื่องราวที่ออสคาร์เล่าให้ฟัง ผสมกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับมารดาของตนเอง

สถาบันสวีเดนมอบรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมให้แก่มึลเลอร์ ในปี ค.ศ. 2009 โดยบรรยายว่าเป็นนักเขียนผู้จาก "งานกวีนิพนธ์มากมายและงานเขียนร้อยแก้วอย่างเปิดใจ บรรยายภูมิทัศน์ของผู้ไร้ดินแดน"[1] ก่อนที่จะได้รับรางวัลมึลเลอร์ก็แทบจะไม่เป็นที่รู้จักกันเท่าใดนักนอกเยอรมนี และแม้แต่ในเยอรมนีเองก็เฉพาะในกลุ่มปัญญาชนและนักวิพากษ์วรรณกรรมเท่านั้น ซึ่งทำให้ถูกวิจารณ์ว่าคณะกรรมการผู้พิจารณามีทัศนคติที่ลำเอียงในการนิยมมอบรางวัลให้แก่ชายยุโรป (Eurocentric)[6]

งานเขียน แก้

  • Niederungen, เรื่องสั้น, ฉบับเซนเซอร์พิมพ์ในบูคาเรสต์ในปี ค.ศ. 1982. ฉบับเต็มพิมพ์ในเยอรมนีในปี ค.ศ. 1984. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ Nadirs ในปี ค.ศ. 1999 โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเนบราสกา[7]
  • Drückender Tango (ไทย: แทงโกแห่งความกดดัน), รวมเรื่อง, บูคาเรสต์, ค.ศ. 1984
  • Der Mensch ist ein großer Fasan auf der Welt, เบอร์ลิน ค.ศ. 1986. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ The Passport, Serpent's Tail, ค.ศ. 1989 ISBN 978-1-85242-139-7
  • Barfüßiger Februar (ไทย: เท้าเปล่าในเดือนกุมภาพันธ์), เบอร์ลิน ค.ศ. 1987
  • The Absolute Wasteman นวนิยายขนาดสั้น, เบอร์ลิน ค.ศ. 1987
  • Reisende auf einem Bein, เบอร์ลิน ค.ศ. 1989. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ Traveling on One Leg (ไทย: เดินทางด้วยขาเดียว), ค.ศ. 1992[8]
  • Wie Wahrnehmung sich erfindet (ไทย: ความเข้าใจค้นพบตัวเอง), พาเดอร์บอร์น ค.ศ. 1990
  • Der Teufel sitzt im Spiegel (ไทย: ปีศาจนั่งอยู่ในกระจก), เบอร์ลิน ค.ศ. 1991
  • Der Fuchs war damals schon der Jäger (ไทย: แม้ว่าในสมัยนั้น หมาจิ้งจอกก็ยังเป็นผู้ล่า), ค.ศ. 1992
  • Eine warme Kartoffel ist ein warmes Bett (ไทย: หัวมันฝรั่งอุ่นในเตียงอุ่น), แฮมบวร์ก ค.ศ. 1992
  • Der Wächter nimmt seinen Kamm (ไทย: ยามฉวยหวี), ค.ศ. 1993
  • Angekommen wie nicht da (ไทย: มาถึงเหมือนไม่ได้มา), ค.ศ. 1994
  • Herztier, ค.ศ. 1994. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ The Land of Green Plums, ค.ศ. 1996[9]
  • Hunger und Seide (ไทย: ความหิวและไหม), บทความ ค.ศ. 1995
  • In der Falle (ไทย: ในกับดัก), เกิททิงเกน ค.ศ. 1996
  • Heute wär ich mir lieber nicht begegnet, ค.ศ. 1997. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ The Appointment (ไทย: นัดหมาย) ค.ศ. 2001
  • Der fremde Blick oder das Leben ist ein Furz in der Laterne ค.ศ. 1999
  • Im Haarknoten wohnt eine Dame, กวีนิพนธ์, ค.ศ. 2000
  • Heimat ist das, was gesprochen wird, ค.ศ. 2001
  • A good person is worth as much as a piece of bread (ไทย: คนดีมีค่าพอกับขนมปังหนึ่งแผ่น), คำนำที่พิมพ์ในหนังสือที่เขียนโดยเคนท์ คลิค Children of Ceausescu ค.ศ. 2001
  • Der König verneigt sich und tötet (ไทย: กษัตริย์ก้มพระเศียรแล้วสังหาร), บทความ, ค.ศ. 2003
  • Die blassen Herren mit den Mokkatassen (ไทย: ชายผิวบางกับแก้วกาแฟเอ็กเพรซโซ), ค.ศ. 2005
  • Atemschaukel, ค.ศ. 2009. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ Everything I Possess I Carry With Me, ค.ศ. 2009.[10]

บรรณาธิการ แก้

  • ทีโอดอร์ เครเมอร์: Die Wahrheit ist, man hat mir nichts getan (ไทย: ความจริงแล้วก็ไม่มีใครทำอะไรฉัน), ค.ศ. 1999
  • Die Handtasche (ไทย: กระเป๋าถือ), ค.ศ. 2001
  • Wenn die Katze ein Pferd wäre, könnte man durch die Bäume reiten (ไทย: ถ้าแมวเป็นม้า ก็จะขี่เข้าป่า), ค.ศ. 2001

รางวัล แก้

  • 1981 Adam-Müller-Guttenbrunn Sponsored Prize the Temeswar Literature Circle
  • 1984 Aspekte Literature Prize
  • 1985 Rauris Literature Prize
  • 1985 Encouragement Prize of the Literature Award of Bremen
  • 1987 Ricarda-Huch Prize of Darmstadt
  • 1989 Marieluise-Fleißer Prize of Ingolstadt
  • 1989 German Language Prize, together with Gerhardt Csejka, Helmuth Frauendorfer, Klaus Hensel, Johann Lippet, Werner Söllner, William Totok, Richard Wagner
  • 1990 Roswitha Medal of Knowledge of Bad Gandersheim
  • 1991 Kranichsteiner Literature Prize
  • 1993 Critical Prize for Literature
  • 1994 Kleist Prize
  • 1995 Aristeion Prize
  • 1995/96 City-writer of Frankfurt-Bergen-Enkheim
  • 1997 Literature Prize of Graz
  • 1998 Ida-Dehmel Literature Prize and the International IMPAC Dublin Literary Award for Herztier / The Land of Green Plums
  • 2001 Cicero Speaker Prize
  • 2002 Carl-Zuckmayer-Medaille of Rhineland-Palatinate
  • 2003 Joseph-Breitbach Prize (together with Christoph Meckel and Harald Weinrich)
  • 2004 Literature Prize of Konrad-Adenauer-Stiftung
  • 2005 Berlin Literature Prize
  • 2006 Würth Prize for European Literature und Walter-Hasenclever Literature Prize
  • 2009 รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

ดูเพิ่ม แก้

  • Norbert Otto Eke (Ed.): Die erfundene Wahrnehmung ("The Invented Perception"), Paderborn 1991
  • Herta Müller, Berlin 1992
  • Herta Haupt-Cucuiu: Eine Poesie der Sinne ("A Poetry of the Senses"), Paderborn 1996
  • Ralph Köhnen (Ed.): Der Druck der Erfahrung treibt die Sprache in die Dichtung ("The Pressure of Experience Forces Language Into Poetry"), Frankfurt am Main [u.a.] 1997
  • Brigid Haines (ed.): Herta Müller, Cardiff 1998
  • Grazziella Predoiu: Faszination und Provokation bei Herta Müller ("Fascination and Provocation in Herta Müller's Work"), Frankfurt am Main (and elsewhere) 2000
  • Nina Brodbeck: Schreckensbilder ("Terrifying Images"), Marburg 2000
  • Herta Müller, Munich 2002
  • Carmen Wagner: Sprache und Identität ("Language and Identity"), Oldenburg 2002
  • Martin A. Hainz: Den eigenen Augen blind vertrauen? Über Rumänien. ("Do You Trust Your Eyes Blindly? On Romania") From: Der Hammer – Die Zeitung der Alten Schmiede, Nr. 2, Nov. 2004, S.5-6
  • Thomas Daum (Ed.): Herta Müller, Frankfurt am Main 2003
  • Diana Schuster: Die Banater Autorengruppe: Selbstdarstellung und Rezeption in Rumänien und Deutschland, Hartung-Gorre-Verlag Konstanz 2004

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "The Nobel Prize in Literature 2009". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
  2. Mueller wins Nobel literary prize. BBC News. 8 October 2009.
  3. Nagorski, Andrew (2001), "Nightmare or Reality?(Review)", Newsweek International
  4. "The Land of the Green Plums."", Quadrant, 43 (6): 83, June 1999
  5. "EVZ.ro - Scandal românesc cu securişti, svastică şi sex, la Berlin şi New York". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-25. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  6. Jordan, Mary. Author's Nobel Stirs Shock-and-'Bah'. Washington Post. Friday, October 9, 2009.
  7. Google Books Retrieved on 7 October 2009
  8. On Google Books Retrieved on 7 October 2009
  9. Review Retrieved on 7 October 2009
  10. Everything I Possess I Carry With Me, (New books in German).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้