เอ็นร้อยหวาย (อังกฤษ: Achilles tendon, heel cord) หรือ เอ็นส้นเท้า (calcaneal tendon) เป็นเอ็นกล้ามเนื้อด้านหลังขาส่วนล่าง เอ็นร้อยหวายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อที่หนาที่สุดในร่างกายมนุษย์[1][2][3][4][5][6][7] ทำหน้าที่ยึดกล้ามเนื้อแพลนทาริส กล้ามเนื้อแกสตรอคนีเมียส (น่อง) และกล้ามเนื้อโซเลียสเข้ากับกระดูกส้นเท้า เอ็นร้อยหวายทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อเหล่านี้ในการเหยียดข้อเท้า (plantar flexion) และการงอเข่า (ไม่รวมกล้ามเนื้อโซเลียส)

เอ็นร้อยหวาย
เอ็นร้อยหวายยึดกล้ามเนื้อแกสตรอคนีเมียส
และกล้ามเนื้อโซเลียส
รายละเอียด
ที่ตั้งด้านหลังขาส่วนล่าง
ตัวระบุ
ภาษาละตินtendo calcaneus, tendo Achillis
MeSHD000125
TA98A04.7.02.048
TA22662
FMA51061
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ความผิดปกติของเอ็นร้อยหวายรวมถึงเอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นร้อยหวายเสื่อม เอ็นร้อยหวายฉีกขาด หรือมีคอเลสเตอรอลสะสมจนเป็นกระเหลืองที่ผิวหนัง

คำว่า Achilles tendon ปรากฏในค.ศ. 1693 ตามชื่ออคิลลีส วีรบุรุษในเทพปกรณัมกรีก[8]

โครงสร้าง แก้

เอ็นร้อยหวายเชื่อมกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูกเช่นเดียวกับเอ็นกล้ามเนื้ออื่น ๆ มีตำแหน่งอยู่ที่ด้านหลังขาส่วนล่าง เอ็นร้อยหวายเชื่อมกล้ามเนื้อแกสตรอคนีเมียสและกล้ามเนื้อโซเลียสเข้ากับปุ่มกระดูกส้นเท้า[9] โดยมีจุดเริ่มใกล้ส่วนกลางของน่อง ก่อนจะสอดเข้าส่วนกลางหลังกระดูกส้นเท้า และมีส่วนปลายล่างของเอ็นที่แผ่ออก

เอ็นร้อยหวายคลุมด้วยพังผืดและผิวหนัง มองเห็นได้ชัดที่ด้านหลังกระดูกขาส่วนล่าง บริเวณที่เป็นช่องว่างประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบางและเนื้อเยื่อไขมัน มีถุงน้ำไขข้อ (synovial bursa) วางตัวระหว่างเอ็นกับส่วนบนของกระดูกส้นเท้า เอ็นร้อยหวายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อที่หนาที่สุดในร่างกายมนุษย์[10] สามารถรองรับความเค้นภาระ (load stress) ได้ 3.9 เท่าของน้ำหนักตัวขณะเดิน และ 7.7 เท่าของน้ำหนักตัวขณะวิ่ง[11]

หน้าที่ แก้

เอ็นร้อยหวายทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อแกสตรอคนีเมียสและกล้ามเนื้อโซเลียสในการเหยียดข้อเท้าผ่านเส้นประสาททิเบียล[12] นอกจากนี้เอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อแกสตรอคนีเมียสยังทำงานร่วมกับกล้ามเนื้ออื่น เช่น แฮมสตริง กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ ฟีเมอริส และกล้ามเนื้อป็อปลิเทียสในการงอเข่า

เนื่องจากเส้นใยเอ็นร้อยหวายขดเป็นเกลียวประมาณ 90 องศา เส้นใยจากกล้ามเนื้อแกสตรอคนีเมียสจึงโน้มไปยึดกับส่วนนอกของกระดูก ขณะที่เส้นใยจากกล้ามเนื้อโซเลียสเอนไปยึดใกล้กับแนวกลางของกระดูก[10]

ที่มา แก้

ฟิลิป เวอร์เฮเยน นักกายวิภาคศาสตร์ชาวเฟลมิชบันทึกถึงเอ็นร้อยหวายในชื่อ "the cord of Achilles" ในตำรา Corporis Humani Anatomia (ค.ศ. 1693)[13][14] โดยอิงจากตำนานของอคิลลีส วีรบุรุษที่เมื่อครั้งยังเป็นทารกถูกธิทีส ผู้เป็นมารดาจุ่มในแม่น้ำสติกซ์เพื่อให้ร่างกายแข็งแกร่ง แต่ส้นเท้าไม่ได้สัมผัสน้ำ จึงกลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เขาถูกสังหารในสงครามกรุงทรอย อย่างไรก็ตามฮิปพอคราทีส แพทย์ชาวกรีก กล่าวถึงเอ็นร้อยหวายเป็นครั้งแรกในชื่อ "tendo magnus" (เอ็นใหญ่) และนักกายวิภาคศาสตร์ก่อนเวอร์เฮเยนเรียกเอ็นนี้ว่า "เอ็นฮิปพอคราทีส" (chorda Hippocratis)[14]

เอ็นร้อยหวายรู้จักอีกชื่อคือเอ็นส้นเท้า (calcaneal tendon) ซึ่งเป็นชื่อที่บรรยายในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยคำว่า calcaneal มาจาก calcaneus ที่หมายถึงกระดูกส้นเท้า[15]

อ้างอิง แก้

  1. Doral MN, Alam M, Bozkurt M, Turhan E, Atay OA, Dönmez G, Maffulli N (May 2010). "Functional anatomy of the Achilles tendon". Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc. 18 (5): 638–43. doi:10.1007/s00167-010-1083-7. PMID 20182867. S2CID 24159374.
  2. Louise Spilsbury; Richard Spilsbury (2017-07-15). The Science of the Skeleton and Muscles. Gareth Stevens Publishing LLLP. pp. 32–. ISBN 978-1-5382-0699-7.
  3. Tobias Gibson Richardson (1854). Elements of human anatomy: general, descriptive, and practical. Lippincott, Grambo, and Co. pp. 441–.
  4. E. Dalton McGlamry; Alan S. Banks (2001-06-01). McGlamry's comprehensive textbook of foot and ankle surgery. Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 978-0-683-30471-8.
  5. Gerard Thorne; Phil Embleton (1997). Robert Kennedy's Musclemag International Encyclopedia of Bodybuilding: The Ultimate A-Z Book on Muscle Building!. Musclemag International. ISBN 978-1-55210-001-1.
  6. Robert Schleip; Thomas W. Findley; Leon Chaitow; Peter Huijing (2013-02-26). Fascia: The Tensional Network of the Human Body: The science and clinical applications in manual and movement therapy. Elsevier Health Sciences. pp. 218–. ISBN 978-0-7020-5228-6.
  7. Carol Ballard (2003-06-27). Muscles. Heinemann Library. ISBN 978-1-4034-3300-8.
  8. Taylor, Robert B. (2017). The Amazing Language of Medicine: Understanding Medical Terms and Their Backstories (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 2. ISBN 9783319503288.
  9. Ort, Bruce Ian Bogart, Victoria (2007). Elsevier's integrated anatomy and embryology. Philadelphia, Pa.: Elsevier Saunders. p. 225. ISBN 978-1-4160-3165-9.
  10. 10.0 10.1 Standring S, Borley NR, บ.ก. (2008). Gray's anatomy : the anatomical basis of clinical practice. Amis A, Bull A, Gupte CM (40th ed.). London: Churchill Livingstone. p. 1451. ISBN 978-0-8089-2371-8.
  11. Giddings, VL; Beaupré, GS; Whalen, RT; Carter, DR (2000). "Calcaneal loading during walking and running". Medicine and Science in Sports and Exercise. 32 (3): 627–34. CiteSeerX 10.1.1.482.4683. doi:10.1097/00005768-200003000-00012. PMID 10731005.
  12. Drake, Richard L.; Vogl, Wayne; Tibbitts, Adam W.M. Mitchell; illustrations by Richard; Richardson, Paul (2005). Gray's anatomy for students. Philadelphia: Elsevier/Churchill Livingstone. p. 546. ISBN 978-0-8089-2306-0.
  13. Veheyen, Philip (1693), Corporis humani anatomia, Leuven: Aegidium Denique, p. 269, สืบค้นเมื่อ 12 Mar 2018, Vocatum passim chorda Achillis, & ab Hippocrate tendo magnus. (Appendix, caput XII. De musculis pedii et antipedii, p. 269)
  14. 14.0 14.1 Klenerman, L. (April 2007). "The early history of tendo Achillis and its rupture". The Journal of Bone and Joint Surgery. British Volume. 89-B (4): 545–547. doi:10.1302/0301-620X.89B4.18978. PMID 17463129.
  15. "Definition of "calcaneal"". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.