เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร (อังกฤษ: maritime southeast asia) เป็นภูมิภาคของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบไปด้วย บรูไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซียตะวันออก, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, และติมอร์-เลสเต[1] บางครั้งเรียกว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนที่เป็นเกาะ หรือ หมู่เกาะบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในศตวรรษที่ 16 รู้จักในชื่ออินเดียตะวันออก ส่วนในศตวรรษที่ 19 รู้จักในชื่อกลุ่มเกาะมลายูซึ่งเป็นศัพท์ความหมายเดียวกัน[2]

หนึ่งในเกาะที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ของฟิลิปปินส์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรประกอบด้วยกลุ่มเกาะขนาดใหญ่ 2 กลุ่ม และมีที่ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย, ทะเลจีนใต้และแปซิฟิกตะวันตก

คำว่า "นูซันตารา" ในอินโดนีเซียและมาเลเซียมีความหมายพ้องกับคำว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร แต่ว่าความเป็นชาตินิยมทำให้มีการกำหนดเขตแดนต่างกัน แต่ถึงอย่างนั้นส่วนใหญ่ก็มักหมายถึงคาบสมุทรมลายู, หมู่เกาะซุนดา, หมู่เกาะโมลุกกะและบางครั้งนับรวมนิวกินีตะวันตกด้วย ไม่ได้นับรวมฟิลิปปินส์และปาปัวนิวกินี[3][4]

ภูมิภาคนี้ทอดตัวยาวหลายพันกิโลเมตร มีเกาะและกลุ่มเกาะมากมาย อีกทั้งยังมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ทะเลมากที่สุดในโลก

ประชากรในภูมิภาคต่างจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ตรงที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวออสโตรนีเซียน ที่นี้มีพื้นที่ความเป็นเมืองหลายแห่ง เช่น กรุงจาการ์ตาและปริมณฑล, เมโทรมะนิลา, เกรเทอร์กัวลาลัมเปอร์และประเทศสิงคโปร์ แต่ถึงอย่างนั้นเกาะส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่

ภูมิศาสตร์ แก้

ภูมิภาคนี้ครอบคลุมพื้นที่ราว 2 ล้านตารางกิโลเมตร[5] และมีเกาะมากมายกว่า 25,000 เกาะ[6]

มีกลุ่มหลักคือ

 
อาณาเขตชีวภูมิศาสตร์เมเลเซีย

เกาะใหญ่สุดเจ็ดเกาะคือ เกาะนิวกินี, เกาะบอร์เนียว, เกาะสุมาตรา, เกาะซูลาเวซี และ เกาะชวาของอินโดนีเซีย; และ เกาะลูซอน และ เกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์

สำหรับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติจะเรียกภูมิภาคเหล่านี้ว่า ทวีปภาคพื้นสมุทร ภูมิภาคอยู่ในพื้นที่ชีวภูมิศาสตร์เมเลเซีย เพราะมีการกระจายของสปีชีส์และระบบนิเวศคล้ายคลึงกัน

ในทางธรณีวิทยา เกาะเหล่านี้เป็นพื้นที่ ๆ มีกิจกรรมทางภูเขาไฟมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่นี้มีภูเขาไฟสูงกว่า 3,000 เมตรเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นในเกาะชวา, เกาะสุมาตราและหมู่เกาะซุนดาน้อย การยกตัวของสัณฐานก่อให้เกิดภูเขาขนาดใหญ่มากมาย เช่น เขากีนาบาลู สูง 4,095 เมตร หรือ ปุนจักจายาที่มีความสูงกว่า 4,884 เมตร ทำให้เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภูมิภาคนี้

ที่นี้มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเนื่องจากตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร

วัฒนธรรมและประชากร แก้

ใน พ.ศ. 2560 ภูมิภาคนี้มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 540 ล้านคน โดยมีเกาะชวาเป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุด ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวออสโตรนีเซียนและพูดภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย ภุมิภาคนี้มีความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมกับทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่และชาวออสโตรนีเซียนกลุ่มอื่นในแปซิฟิก ประชากรในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนประชากรในฟิลิปปินส์และติมอร์-เลสเตจะนับถือศาสนาคริสต์ นอกจากนี้ยังมีผู้นับถือศาสนาพุทธ, ศาสนาฮินดูและวิญญาณนิยมด้วย

ในอดีตภูมิภาคนี้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียสูงมาก ดูได้จากหนังสือ Indianized States of Southeast Asia ซึ่งมีการอ้างถึง "เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้";[7]

ประวัติศาสตร์ แก้

การค้าในมหาสมุทรอินเดียยุคโบราณ แก้

เส้นทางสายไหมทางทะเล แก้

อ้างอิง แก้

  1. Tarling, Nicholas (1999). The Cambridge history of Southeast Asia, Volume 1, Part 1 (2nd ed.). Cambridge University Press. p. 304. ISBN 978-0-521-66369-4.; RAND Corporation. (PDF); Shaffer, Lynda (1996). Maritime Southeast Asia to 1500. M.E. Sharpe. ISBN 978-1-56324-144-4.; Ciorciar, John David (2010). The Limits of Alignment: Southeast Asia and the Great Powers Since 197. Georgetown Univeffrsity Press. p. 135. ISBN 978-1589016262.; Nichiporuk, Brian; Grammich, Clifford; Rabasa, Angel; DaVanzo, Julie (2006). "Demographics and Security in Maritime Southeast Asia". Georgetown Journal of International Affairs. 7 (1): 83–91.
  2. "Maritime Southeast Asia เก็บถาวร 2007-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Worldworx Travel. Accessed 26 May 2009.
  3. Evers, Hans-Dieter (2016). "Nusantara: History of a Concept". Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. 89 (1): 3–14. doi:10.1353/ras.2016.0004. S2CID 163375995.
  4. Gaynor, Jennifer L. (2007). "Maritime Ideologies and Ethnic Anomalies". ใน Bentley, Jerry H.; Bridenthal, Renate; Wigen, Kären (บ.ก.). Seascapes: Maritime Histories, Littoral Cultures, and Transoceanic Exchanges. University of Hawaii Press. pp. 59–65. ISBN 9780824830274.
  5. Moores, Eldridge M.; Fairbridge, Rhodes Whitmore (1997). Encyclopedia of European and Asian regional geology. Springer. p. 377. ISBN 0-412-74040-0. สืบค้นเมื่อ 30 November 2009.[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
  6. Philippines : General Information. Government of the Philippines. Retrieved 2009-11-06; "World Economic Outlook Database" (Press release). International Monetary Fund. April 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-10-05.; "Indonesia Regions". Indonesia Business Directory. สืบค้นเมื่อ 2007-04-24.[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
  7. Coedes, G. (1968) The Indianized States of Southeast Asia Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Canberra: Australian National University Press. Introduction... The geographic area here called Farther India consists of Indonesia, or island Southeast Asia....