เอิร์ธไรซ์ (อังกฤษ: Earthrise) เป็นชื่อของภาพถ่ายโลกที่ถ่ายโดยนักบินอวกาศ วิลเลียม แอนเดอร์ส ระหว่างภารกิจอะพอลโล 8 ใน 100 ภาพถ่ายที่เปลี่ยนโลกของนิตยสารไลฟ์ ช่างถ่ายภาพถิ่นทุรกันดาร กาเลน โรเวลล์ เรียกภาพนี้ว่า "ภาพถ่ายธรรมชาติที่ทรงอิทธิพลที่สุดเท่าที่เคยมีมา"[1]

"เอิร์ธไรซ์" ถ่ายเมื่อ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1968

รายละเอียด

แก้

เอิร์ธไรซ์เป็นชื่อที่ตั้งให้แก่ภาพนาซา เอเอส 8-14-2383 ถ่ายโดยนักบินอวกาศวิลเลียม แอนเดอร์ส ระหว่างภารกิจอะพอลโล 8 เที่ยวบินที่มีมนุษย์โดยสารเที่ยวบินแรกที่ถูกส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์[2][3]

ในตอนแรก ก่อนหน้าที่แอนเดอร์สจะพบฟิลม์สี 70 มม. ที่เหมาะสม ผู้บัญชาการภารกิจ แฟรงก์ บอร์แทน ได้ถ่ายภาพขาวดำของฉากเดียวกัน[4] โดยเส้นแบ่งกลางวันและกลางคืนของโลกสัมผัสเส้นขอบฟ้าพอดี โดยตำแหน่งส่วนใหญ่ของพื้นดินและรูปแบบเมฆในภาพดังกล่าวเหมือนกันกับภาพถ่ายเอิร์ธไรซ์[5]

ภาพถ่ายดังกล่าวถ่ายจากวงโคตรรอบดวงจันทร์เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1968 ด้วยกล้องแฮสเซลแบลด นอกจากนี้ ยังมีการบันทึกเสียงของเหตุการณ์ดังกล่าว[6] พร้อมทั้งการถอดเสียง[7] ซึ่งทำให้เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถติดตามได้โดยข้อความที่คัดมาอย่างใกล้ชิด:

แอนเดอร์ส: โอ้พระเจ้า! ดูภาพที่อยู่ตรงนั้นสิ นั่นโลกกำลังขึ้นมา ว้าว นั่นสวยใช่ไหม
บอร์แมน: เฮ้ อย่าถ่าย มันไม่ได้อยู่ในกำหนดการ (ล้อเล่น)
แอนเดอร์ส: (หัวเราะ) คุณมีฟิลม์สีไหม จิม ?
            ส่งม้วนฟิลม์สีให้ผมหน่อยเร็ว ได้ไหม
โลเวล: โอ้ ให้ตายสิ เยี่ยมมาก!

มินิซีรีส์ทางโทรทัศน์ ฟรอมดิเอิร์ธทูเดอะมูน โดยสร้างจากหนังสือ อะแมนออนเดอะมูน โดย แอนดรูว์ ไชกิน ได้มีความเห็นเกี่ยวกับคำกล่าว "มันไม่ได้อยู่ในกำหนดการ" ของบอร์แมน (ในตอนที่สี่ "1968" ที่เวลา 41' 57") อย่างไรก็ตาม สิ่งบ่งชี้ต่อแอนเดอร์สชัดเจนจากบันทึกเสียง อันที่จริงแล้ว หากบอร์แมนในฐานะผู้บังคับการภารกิจได้กล่าวเช่นนั้น ภาพถ่ายสีก็จะไม่มีโอกาสได้เกิดขึ้นเลย

มีภาพถ่ายหลายภาพที่ได้ถ่าย ณ จุดนั้น เทปเสียงภารกิจได้ระบุว่ามีการถ่ายภาพหลายครั้งตามคำสั่งของบอร์แทน โดยได้รับความเห็นด้วยอย่างกระตือรือร้นจากทั้งโลเวลล์และแอนเดอร์ส แอนเดอร์สถ่ายภาพสีช็อตแรก จากนั้นเป็นโลเวลล์ผู้ซึ่งบันทึกค่าเป็น 1/250 ของวินาทีที่อัตราส่วนโฟกัส f/11) ตามด้วยแอนเดอร์สซึ่งถ่ายอีกสองภาพในมุมมองแสงที่แตกต่างกัน

ภาพที่ได้รับการถ่ายโดยแฟรงก์ บอร์แมนเกือบจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับความสัมพันธ์ต่อแนวขอบฟ้า โดยที่ปกติมักมีคนระบุว่าเป็นภาพถ่ายของแอนเดอร์สเช่นกัน แต่ภาพดังกล่าวอาจเป็นไปได้ที่จะถ่ายจากวงโคจรที่ต่างตำแหน่งกัน เพราะรูปแบบเมฆมีความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับภาพเอิร์ธไรซ์สี

การทำซ้ำภาพของบอร์แมนแบบขาวดำขนาดเกือบเต็มหน้าสามารถพบได้ในหน้า 164 ของอัตชีวประวัติของเขาที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1988 โดยมีคำบรรยายใต้ภาพว่า: "หนึ่งในภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติการถ่ายภาพ - ถ่ายหลังจากผมฉวยกล้องไปจากบิล แอนเดอร์ส" บอร์แมนเป็นผู้บัญชาการภารกิจและหมายเหตุ (หน้า 212) ว่านี่เป็นภาพที่ "บริการไปรษณีย์ใช้ในแสตมป์ และมีภาพถ่ายอื่นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการทำซ้ำมากกว่าภาพนี้"

ภาพถ่ายในฉบับสแตมป์ได้ทำซ้ำเมฆ สี และรูปแบบของปล่องภูเขาไฟจากภาพของแอนเดอร์ส แอนเดอร์สได้รับการอธิบายโดยบอร์แมน (ในหน้า 193) ว่าสำเร็จ "ปริญญาโทด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์" จึงได้รับมอบหมายให้เป็น "สมาชิกลูกเรือทางวิทยาศาสตร์ ... นอกจากนี้ยังมีภารกิจด้านการถ่ายภาพซึ่งจะมีความสำคัญต่อลูกเรืออะพอลโลผู้ซึ่งลงจอดบนดวงจันทร์อย่างแท้จริง"

อ้างอิง

แก้
  1. "100 Photographs that Changed the World by Life - The Digital Journalist". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ 2010-12-23.
  2. The Earthrise Photograph
  3. APOD: 24 December 2005 - Earthrise
  4. Australian Broadcasting Corporation
  5. Poole, Robert. Earthrise: How Man First Saw the Earth. New Haven, CT, USA: Yale University Press. ISBN 0300137664.
  6. NASA audio tape encoded in MP3
  7. "PBS "American Experience"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-04. สืบค้นเมื่อ 2010-12-23.