เอลีซาเบธ (อังกฤษ: Elizabeth หรือ Elisabeth; ฮีบรู: אֱלִישֶׁבַע, อักษรโรมัน: Elišévaʿ, แปลตรงตัว'พระเจ้าของเราคือความอุดมสมบูรณ์'; กรีกโบราณ: Ἐλισάβετ, อักษรโรมัน: Elisábet) เป็นมารดาของยอห์นผู้ให้บัพติศมา, ภรรยาของเศคาริยาห์ และญาติของมารีย์มารดาพระเยซู ตามที่ระบุในพระวรสารนักบุญลูกาและในประเพณีของศาสนาอิสลาม เอลีซาเบธตั้งครรภ์และให้กำเนิดยอห์นขณะที่อยู่ในวัยชรา เอลีซาเบธได้รับการนับถือในฐานะนักบุญโดยคริสตจักรโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์, ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ และลูเทอแรน นอกจากนี้ยังเป็นบุคคลที่ได้รับการนับถืออย่างสูงในศาสนาอิสลามด้วย

เอลีซาเบธ
Medieval painting of Elizabeth.
นักบุญเอลีซาเบธ โดยชาวพรอว็องส์นิรนาม (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15)
ผู้ชอบธรรม
เกิดศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล
เนินเขาแห่งหนึ่งในยูเดีย
เสียชีวิตศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล (หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1)
นับถือ ใน
การประกาศเป็นนักบุญPre-Congregation
วันฉลอง
  • 5 พฤศจิกายน (โรมันคาทอลิก)
  • 5 กันยายน (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์, ลูเทอแรน, แองกลิคัน)
องค์อุปถัมภ์หญิงตั้งครรภ์

เรื่องเล่าในคัมภีร์ไบเบิล

แก้

พระวรสารนักบุญลูกาบทที่ 1 ระบุว่าเอลีซาเบธ "อยู่ในตระกูลอาโรน" เอลีซาเบธและเศคาริยาห์ผู้เป็นสามี "เป็นคนชอบธรรมต่อพระเจ้าและดำเนินตามบัญญัติและกฎหมายทั้งปวงขององค์พระผู้เป็นเจ้าไม่มีที่ติเลย" (ลูกา 1:5 -7) แต่ไม่มีบุตร ระหว่างที่เศคาริยาห์อยู่ในพระวิหารขององค์พระผู้เป็นเจ้า (ลูกา 1:8 -12) ทูตสวรรค์กาเบรียลได้มาเยือนเศคาริยาห์:

แต่ทูตสวรรค์องค์นั้นกล่าวแก่ท่านว่า "เศคาริยาห์เอ๋ย อย่ากลัวเลย เพราะพระองค์ทรงฟังคำอธิษฐานของท่านแล้ว นางเอลีซาเบธภรรยาของท่านจะให้กำเนิดบุตรชาย ท่านจงตั้งชื่อบุตรนั้นว่ายอห์น ท่านจะมีความยินดีและเปรมปรีดิ์ และคนจำนวนมากจะชื่นชมยินดีที่บุตรนั้นเกิดมา เพราะว่าเขาจะเป็นใหญ่เฉพาะพระพักตร์องค์พระผู้เป็นเจ้า เขาจะไม่ดื่มน้ำองุ่นหมักและเหล้าเลยและเขาจะเต็มเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา"

— ลูกา 1:13–15

นักเทววิทยาอาดัม ซี. อิงลิช (Adam C. English) ระบุว่าวันที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น "คือ 24 กันยายน อิงจากการคำนวณจากปฏิทินยิว ตามเลวีนิติ 23 ที่เกี่ยวกับวันลบมลทิน"[1]

เศคาริยาห์สงสัยว่าตนจะรู้แน่ได้อย่างไรเนื่องจากทั้งตนและภรรยาชรามากแล้ว ทูตสวรรค์บอกว่าตนคือกาเบรียลและบอกเศคาริยาห์ว่าเขาจะ "เป็นใบ้ พูดไม่ได้" จนกว่าถ้อยคำเหล่านี้จะสำเร็จ เพราะเศคาริยาห์ไม่เชื่อถ้อยคำ เมื่อเศคาริยาห์หมดเวรในพระวิหารก็กลับไปบ้าน (ลูกา 1:16 -23)

ภายหลังนางเอลีซาเบธภรรยาของท่านตั้งครรภ์ และอยู่กับบ้านอย่างเงียบๆ ห้าเดือน นางกล่าวว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงทำเช่นนี้แก่ข้าพเจ้าในวันที่พระองค์ทอดพระเนตร เพื่อว่าความอดสูของข้าพเจ้าที่มีอยู่ท่ามกลางคนทั้งปวงจะหมดสิ้นไป"

— ลูกา 1:24–25

ตามที่ระบุในเรื่องเล่า ภายหลังทูตสวรรค์กาเบรียลถูกส่งไปเมืองนาซาเร็ธในแคว้นกาลิลีไปหาญาติของเอลีซาเบธ[2] คือมารีย์ ซึ่งเป็นหญิงพรหมจารีที่หมั้นหมายกับชายชื่อโยเซฟ แล้วแจ้งกับมารีย์ว่าเธอจะตั้งครรภ์โดยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์ และจะให้กำเนิดบุตรชายที่ได้รับการตั้งชื่อว่าเยซู มารีย์ยังได้รับแจ้งว่า "นางเอลีซาเบธญาติของเธอ" ก็ตั้งครรถ์ได้ 6 เดือนแล้ว มารีย์เดินทางไปยัง "เมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้นยูเดีย" เพื่อเยี่ยมเยือนเอลีซาเบธ (ลูกา 1:26 -40)

เมื่อนางเอลีซาเบธได้ยินคำทักทายของมารีย์ ทารกในครรภ์ของนางก็ดิ้น และนางเอลีซาเบธก็เต็มเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ จึงร้องเสียงดังว่า "ในบรรดาสตรีเธอได้รับพรมาก และทารกในครรภ์ของเธอก็ได้รับพระพรด้วย ทำไมฉันถึงได้รับความโปรดปรานเช่นนี้ คือมารดาขององค์พระผู้เป็นเจ้าของฉันมาหา นี่แน่ะ พอเสียงทักทายของเธอเข้าถึงหูของฉัน ทารกในครรภ์ของฉันก็ดิ้นด้วยความเปรมปรีดิ์ ความสุขเป็นของสตรีที่เชื่อว่าสิ่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสกับเธอนั้นจะสำเร็จ"

— ลูกา 1:41–45
 
ภาพจิตกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แสดงเหตุการณ์การกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมา โดยเอลีซาเบธอยู่ด้านซ้ายของภาพ

มัททิว เฮนรี (Matthew Henry) ให้ความเห็นว่า "มารีย์รู้ว่าเอลีซาเบธตั้งครรภ์ แต่ไม่ปรากฏว่าเอลีซาเบธได้รับการบอกเล่าว่ามารีย์ญาติของเธอได้รับการกำหนดให้เป็นพระมารดาของพระเมสสิยาห์ ดังนั้นสิ่งที่เอลีซาเบธรู้ดูเหมือนจะมาจากการสำแดงของพระเจ้า ซึ่งนำความชื่นชมชมยินดีอย่างมากมาสู่มารีย์"[3] หลังมารีย์ได้ยินคำอวยพรของเอลีซาเบธ ก็กล่าวถ้อยคำที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันว่าเป็นเพลงสรรเสริญของมารีย์ หรือ Magnificat (ลูกา 1:46 -55)

มารีย์อาศัยอยู่กับนางเอลีซาเบธประมาณสามเดือน แล้วจึงกลับไปยังบ้านของตน
เมื่อถึงเวลาที่นางเอลีซาเบธจะคลอดบุตร นางก็คลอดบุตรชาย เมื่อเพื่อนบ้านและญาติพี่น้องของนางได้ยินว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสำแดงพระเมตตาแก่นางอย่างมาก เขาทั้งหลายก็พากันชื่นชมยินดี
พอถึงวันที่แปด เขาก็พากันมาให้ทารกนั้นเข้าสุหนัต และเขาจะตั้งชื่อทารกว่าเศคาริยาห์ตามชื่อบิดา แต่มารดาตอบว่า "ไม่ได้ ต้องตั้งชื่อว่ายอห์น"
พวกเขาตอบนางว่า "ไม่มีใครในพวกญาติของท่านที่มีชื่ออย่างนั้น"
แล้วพวกเขาจึงทำบุ้ยใบ้กับบิดาถามว่าท่านอยากจะให้บุตรนั้นชื่ออะไร บิดาจึงขอกระดานชนวนมา เขียนว่า "ชื่อของเขาคือยอห์น" คนทั้งหลายก็ประหลาดใจ ทันใดนั้นปากและลิ้นของท่านก็กลับเป็นปกติพูดได้อีก แล้วท่านกล่าวสรรเสริญพระเจ้า

— ลูกา 1:56–64

นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่มีการกล่าวถึงเอลีซาเบธ ซึ่งไม่ถูกกล่าวถึงอีกในบทอื่น ๆ ของคัมภีร์ไบเบิล เรื่องราวในบทนี้ดำเนินต่อไปด้วยคำเผยพระวจนะโดยเศคาริยาห์ (รู้จักในคำเรียกว่าคำพยากรณ์ของเศคาริยาห์หรือ Benedictus) และจบลงด้วยความว่ายอห์น "เจริญวัยขึ้น และจิตวิญญาณก็มีกำลังทวีขึ้น ท่านไปอาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร" จนกระทั่งยอห์นเริ่มทำพันธกิจในอิสราเอล จึงไม่ทราบว่าเอลีซาเบธและสามีมีชีวิตอีกนานเท่าใดหลังจากนั้น (ลูกา 1:65 -80)

ตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมา คำกล่าวของเอลีซาเบธที่ว่า "ในบรรดาสตรีเธอได้รับพรมาก และทารกในครรภ์ของเธอก็ได้รับพระพรด้วย" ได้กลายมาเป็นส่วนที่ 2 ของบทสวดอธิษฐานวันทามารีย์[4]

"หลุมศพเอลีซาเบธ" ตามประเพณีตั้งอยู่ในอารามนักบุญยอห์นในถิ่นทุรกันดารของคณะฟรันซิสกันใกล้กรุงเยรูซาเล็ม

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. English, Adam C. (October 14, 2016). Christmas: Theological Anticipations (ภาษาEnglish). Wipf and Stock Publishers. pp. 70–71. ISBN 978-1-4982-3933-2. First, we should examine the biblical evidence regarding the timing of the conception. [...] The angel Gabriel appeared to Zechariah, husband of Elizabeth and father of John the Baptizer, on the day he was chosen by lot to enter the sanctuary of the Lord and offer incense (Luke 1:9) Zechariah belonged to the tribe of Levi, the one tribe especially selected by the Lord to serve as priests. Not restricted to any one tribal territory, the Levite priests dispersed throughout the land of Israel. Nevertheless, many chose to live near Jerusalem in order to fulfill duties in the Temple, just like Zechariah who resided at nearby Ein Karem. Lots were cast regularly to decide any number of priestly duties: preparing the altar, making the sacrifice, cleaning the ashes, burning the morning or evening incense. Yet, given the drama of the event, it would seem that he entered the Temple sanctuary on the highest and holiest day of the year, the Day of Atonement, Yom Kippur. There, beside the altar of the Lord, a radiant angel gave news of the child to be born to Elizabeth. The date reckoned for this occurrence is September 24, based on computations from the Jewish calendar in accordance with Leviticus 23 regarding the Day of Atonement. According to Luke 1:26, Gabriel's annunciation to Mary took place in the "sixth month" of Elizabeth's pregnancy. That is, Mary conceives six months after Elizabeth. Luke repeats the uniqueness of the timing in verse 36. Counting six months from September 24 we arrive at March 25, the most likely date for the annunciation and conception of Mary. Nine months hence takes us to December 25, which turns out to be a surprisingly reasonable date for the birthday. [...] In Palestine, the months of November mark the rainy season, the only time of the year sheep might find fresh green grass to graze. During the other ten months of the year, animals must content themselves on dry straw. So, the suggestion that shepherds might have stayed out in the fields with their flocks in late December, at the peak of the rainy season, is not only reasonable, it is most certain.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. ลูกา 1:36
  3. Matthew Henry's Whole Bible Commentary เก็บถาวร 2011-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Thurston, Herbert. "Hail Mary." The Catholic Encyclopedia. Vol. 7. New York: Robert Appleton Company, 1910. 10 Jan. 2021

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้