เอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค

เอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค หรือ เอเลเฟ่น เนเจอร์ พาร์ค (อังกฤษ: Elephant Nature Park) เป็นที่สำหรับสัตว์อาศัยและศูนย์ช่วยเหลือช้างในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 60 กิโลเมตร (37 ไมล์) ที่ก่อตั้งโดยแสงเดือน ชัยเลิศ (ชื่อเล่น: เล็ก)[1][2] ส่วนใน พ.ศ. 2556 เอราวัณ เอลลิเฟนท์ รีไทร์เม้นท์ ปาร์ค ได้เปิดทางภาคตะวันตกของประเทศไทยในฐานะสาขา กระทั่งภายใน พ.ศ. 2559 ได้มีปางช้างสาขาในจังหวัดสุรินทร์และในกัมพูชา รวมถึงมีแผนจะเปิดสวนช้างแห่งที่ห้าในจังหวัดภูเก็ต จากนั้นจึงได้ประสานงานกับมูลนิธิรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม

เอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค
วันที่เปิดคริสต์ทศวรรษ 1990
ที่ตั้งจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พิกัด19°12′51″N 98°51′30″E / 19.2141°N 98.8584°E / 19.2141; 98.8584
พื้นที่250 เอเคอร์ (100 เฮกตาร์)[1]
เว็บไซต์www.elephantnaturepark.org
หน้าหวาน ซึ่งเกิดที่สวนแห่งนี้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 อยู่กับแสงเดือน ชัยเลิศ ผู้ก่อตั้ง
ช้างเพศเมีย (ดอกเงิน อายุ 15 ปี กับดอกไม้ ที่เกิดใหม่ (23 วัน))

สวนธรรมชาติแห่งนี้เป็นสถานที่พักพิงสำหรับช้าง ที่ได้รับการช่วยเหลือและดำเนินการภายใต้รูปแบบธุรกิจ ที่นักท่องเที่ยวจ่ายเงินเพื่อเยี่ยมชมและช่วยดูแลสัตว์ และสามารถอยู่ได้นานขึ้น

ประวัติ แก้

แสงเดือน ชัยเลิศ เริ่มทำงานอนุรักษ์ช้างใน พ.ศ. 2539[3] ไม้สักซึ่งใช้ช้างจำนวนมากถูกห้ามในประเทศไทยใน พ.ศ. 2532 และช้างเหล่านั้นถูกทิ้งหรือขายเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหรือขอทานในเมือง[4] รวมถึงช้างยังได้รับบาดเจ็บหลังจากลักลอบนำงาช้างไป[5]

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลไทยได้ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวสร้างรายได้ 350 ล้านดอลลาร์ใน พ.ศ. 2540 และเป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด โดยแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นที่ถกเถียงกับชนเผ่าพื้นเมืองที่นั่น[6]

ใน พ.ศ. 2541 องค์การที่เรียกว่ากรีทัวร์ที่ดำเนินการโดยอดัม ฟลิน ได้ก่อตั้งเอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสงวนพันธุ์ช้าง ที่ได้รับการช่วยเหลือในหุบเขาทางเหนือที่เดินทางจากเทศบาลนครเชียงใหม่ประมาณหนึ่งชั่วโมง[6] โดยมีแสงเดือน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินบางส่วนและเช่าบางส่วนจากรัฐบาลไทย[7] ในขณะนั้น สวนธรรมชาติดังกล่าวได้มีการแสดงช้างทุกวัน โดยช้างจะแสดงการเล่นตลกต่าง ๆ เช่น ทรงตัวบนขาข้างหนึ่ง, เล่นฟุตบอล และรวมถึงการให้ขี่ช้าง[4] เธอได้สานต่อส่วนที่แยกจากกันต่อไปบนหนึ่งในภูเขาที่อยู่รายรอบสำหรับสัตว์ที่ได้รับความเสียหายโดยเฉพาะ ซึ่งเธอเรียกว่า "สวรรค์ของช้าง"[4] สวนธรรมชาตินี้มีช้างที่ได้รับการช่วยเหลือ 34 เชือก[4] เป้าหมายของเธอคือการยุติการแสดงในท้ายที่สุด และดำเนินการเพื่อสงวนพันธุ์เท่านั้น[4]

เมื่อ พ.ศ. 2545 แสงเดือนเป็นที่รู้จักในด้านการรณรงค์ต่อต้านการทำให้ช้างสยบ[8] และในช่วงนั้น ได้มีการเผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อช้างในประเทศไทยที่มีผลงานของแสงเดือน ซึ่งในการตอบสนอง องค์การพิทักษ์สัตว์ได้เรียกร้องให้คว่ำบาตรประเทศไทยจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข[9]

ใน พ.ศ. 2548 การรณรงค์คว่ำบาตรได้ทำให้แสงเดือนอึดอัดต่อรัฐบาลไทย และนำไปสู่การขู่ฆ่า รวมถึงมูลนิธิเพื่อนช้าง ซึ่งเป็นองค์การที่ได้รับทุนจากรัฐบาลซึ่งทำงานเพื่อปรับปรุงสภาพของช้าง ต้องยุติการจัดหาเงินทุนสำหรับงานของแสงเดือน[9] แสงเดือนได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน "ฮีโรของเอเชีย" ในนิตยสารไทม์ฉบับเอเชีย ฉบับพิเศษหลังเกิดสึนามิ พ.ศ. 2548[10] ภายใน พ.ศ. 2548 ช้าง 17 เชือกที่แสงเดือนช่วยชีวิตนั้นโตแล้ว และเธอยังได้เปิดองค์การท่องเที่ยวในเชียงใหม่[7] ถึงเวลานี้ สวนธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เปิดการแสดงอีกต่อไป และได้เปลี่ยนไปใช้รูปแบบธุรกิจที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาช่วยดูแลช้างได้[9]

ใน พ.ศ. 2553 สวนธรรมชาตินี้มีช้าง 33 เชือก และผู้เยี่ยมชมสามารถมาได้ถึง 28 วัน โดยจ่ายเงิน 400 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์[11]

ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2556 เอราวัณ เอลลิเฟนท์ รีไทร์เม้นท์ ปาร์ค ได้เปิดทางทิศตะวันตกของประเทศไทยบนเนื้อที่ 50 เฮกตาร์ข้างแม่น้ำแคว ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากเมืองกาญจนบุรี 1 ชั่วโมง โดยเป็นส่วนขยายของสวนธรรมชาติเดิมและใช้รูปแบบธุรกิจเดียวกัน สถานที่ดังกล่าวเปิดตัวด้วยช้างห้าเชือก ทว่าหนึ่งในนั้นได้เสียชีวิตในปีแรก[12] ส่วนใน พ.ศ. 2557 มีช้าง 37 เชือกที่เอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค[12]

ณ พ.ศ. 2559 แสงเดือนได้ช่วยชีวิตช้างที่ทุกข์ทรมานรวมแล้ว 200 เชือก นับตั้งแต่เธอเริ่มใน พ.ศ. 2539[3] และมีปางช้างสาขาในจังหวัดสุรินทร์รวมถึงในกัมพูชา ตลอดจนมีแผนจะเปิดสวนธรรมชาติแห่งที่ห้าในจังหวัดภูเก็ต[13] ซึ่งความพยายามนี้ได้รับการประสานงานโดยมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริหารงานโดยคนกลุ่มเดียวกัน[14]

การยอมรับและการปรับปรุง แก้

สำหรับผลงานของเธอ แสงเดือนได้รับรางวัลและการยอมรับจำนวนมาก เช่น “ฮีโรออฟแพลเนต” ของมูลนิธิฟอร์ด (พ.ศ. 2544),[15] ฮีโรออฟเอเชียของนิตยสารไทม์ (พ.ศ. 2548),[15] หนึ่งในหกวีรสตรีแห่งการอนุรักษ์โลก (พ.ศ. 2553)[15][16] และรางวัลความรับผิดชอบของประเทศไทยสำหรับสวัสดิภาพสัตว์ (พ.ศ. 2561)[17] นอกจากช้างแล้ว แสงเดือนยังจัดหาที่พักให้สุนัขกว่า 400 ตัว,[18] แมว, นก และควายน้ำ[19] ที่สวนธรรมชาติดังกล่าว[20] เธอยังโน้มน้าวให้ที่พักอิสระหลายแห่งปรับปรุงชีวิตของช้าง และห้ามนักท่องเที่ยวขี่มันผ่านโครงการขยายที่ชื่อแซดเดิลออฟ! ของเธอ[21]

ใน พ.ศ. 2554 ด้วยความช่วยเหลือของเอลลิแฟนท์เอดอินเตอร์เนชันแนลได้มีการจัดทำรายงานเพื่อช่วยดูแลช้างในเอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค (เพื่อแก้ไขโรคเท้า, การฝึกควาญช้าง และการจัดการ แก้ไขอาหารของช้าง, สุขอนามัย, การออกกำลังกาย รวมถึงระดับความเครียด ตลอดจนไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวสัมผัสช้างโดยตรง)[22]

ทั้งนี้ ช้างอาบน้ำด้วยตัวเอง โดยตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ช้างมีการติดต่อใกล้ชิดกับอาสาสมัครและผู้มาเยือนน้อยลง ช้างอาบน้ำเองโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้มาเยี่ยมเยือน นี่เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนต่อไปของเอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค เพื่อให้ช้างมีโอกาสได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Lillian Cunningham for The Washington Post via the Oakland Press. Nov 11, 2013. At one with the elephants at a Thailand sanctuary
  2. Kane, John. "Day Nine – Elephant Nature Park". Thai-Di-ary . January 26, 2013.
  3. 3.0 3.1 Garcia, Luisa. "Meet Thailand's elephant whisperer". CBS News. สืบค้นเมื่อ 10 June 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Michael Gebicki for The Sun-Herald (Sydney, Australia). (Nov. 29, 1998). Elephant lady's jumbo job
  5. Hile, Jennifer (17 October 2002). "Reporter's Notebook: Elephants Heal at Thai "Heaven"". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2006-02-06.
  6. 6.0 6.1 Inter Press Service 9 Nov. 1998. Development Thailand: Locals Say Ecotourism is Destruction
  7. 7.0 7.1 Douglas H. Chadwick for National Geographic. October 1, 2005. Thailand's urban Giants เก็บถาวร 2008-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Jennifer Hile for National Geographic Today October 16, 2002 Activists Denounce Thailand's Elephant "Crushing" Ritual
  9. 9.0 9.1 9.2 King, Robert. The Elephant Whisperer. The Ecologist 35.9 (Nov/Dec 2005): 48–54.
  10. Zabriskie, Phil (2005-10-03). "Asia's Heroes 2005, Sangduen "Lek" Chailert Thailand's Elephant Woman". Time Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2005. สืบค้นเมื่อ 2006-02-06.
  11. Danielle Lancaster for the Sunday Herald Sun [Melbourne, Victoria, Australia] 25 Apr. 25, 2010. Elephant walk Thailand Jumbo-sized adventure.
  12. 12.0 12.1 Margie Maccoll for the Herald Sun (Melbourne). September 25, 2014 Volunteer at the Erawan Elephant Retirement Park is Southwestern Thailand
  13. Julia Jacobo for ABC News. May 24, 2016 in Thailand Falls Asleep 'Every Time' Caretaker Sings Her a Lullaby
  14. Save the Elephant Foundation
  15. 15.0 15.1 15.2 "Our Founder". Save Elephant Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
  16. "Elephants Are Tortured and Trafficked to Entertain Tourists in Thailand". Time (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
  17. "Ms. Lek Chailert, Elephant Nature Park (Chiang Mai), winner of Responsible Thailand Awards 2018, Animal Welfare category". TAT Newsroom (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
  18. "Home – Dog Project – Elephant Nature Park" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
  19. "Sharing Space at Elephant Nature Park". Elephant Nature Park (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
  20. Springer, Kate (2017-11-21). "The sanctuary saving Thailand's disappearing elephants". CNN Travel (ภาษาอังกฤษ). Video by Amanda Sealy and Beau Molloy. สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
  21. "Visit & Volunteer – Elephant Nature Park Booking System". www.elephantnaturepark.org. สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
  22. Carol Buckley, Elephant Aid International. May 1, 2011 Letter to Elephant Nature Park

แหล่งข้อมูลอื่น แก้