เอมอมาลี ราห์มอน

เอมอมาลี ราห์มอน (ทาจิก: Эмомалӣ Раҳмон, [e̞mɔ̝mäˈli ɾähˈmɔ̝̃n], ชื่อเกิด เอมอแมลี แชรีพอวิช แรฮ์มอนอฟ (ทาจิก: Эмомалӣ Шарӣпович Раҳмонов, อักษรโรมัน: Emomalī Sharīpovich Rahmonov, [emɔmæˈliː ʃærīpɔβɪtʃ ɾæhˈmɔːnɔβ]); เกิด 5 ตุลาคม 1952) เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษชาวทาจิกผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีทาจิกิสถานคนที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 ในอดีตเขาเคยดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาสูงสุดทาจิกิสถาน ในฐานะประมุขแห่งรัฐโดยพฤตินัยในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 ถึง 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 (ในเวลานั้นตำแหน่งประธานาธิบดีถูกยุบชั่วคราว) และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยของประชาชนตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1998 ณ วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1999 เขาได้รับเลือกเป็นรองประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหนึ่งสมัย

เอมอมาลี ราห์มอน
ราห์มอนใน ค.ศ. 2021
ประธานาธิบดีทาจิกิสถานคนที่ 3
เริ่มดำรงตำแหน่ง
16 พฤศจิกายน 1994
นายกรัฐมนตรีแอบดูแจลีล แซแมดอฟ
แจมเชด แครีมอฟ
ยาฮ์โย แอซีมอฟ
ออคิล ออคีลอฟ
คอฮีร์ ราซุลซอดา
ก่อนหน้าแรฮ์มอน แนบียอฟ
แอกแบร์โช อีสแกนดรอฟ (รักษาการ)
หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยของประชาชน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม 1994
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ประธานสมัชชาสูงสุดทาจิกิสถาน
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤศจิกายน 1992 – 16 พฤศจิกายน 1994
นายกรัฐมนตรีแอกแบร์ มีร์ซอเยฟ
แอบดูแมลิก แอบดูลลอจอนอฟ
แอบดูแจลีล แซแมดอฟ
ก่อนหน้าแอกแบร์โช อีสแกนดรอฟ
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เอมอแมลี แชรีพอวิช แรฮ์มอนอฟ

(1952-10-05) 5 ตุลาคม ค.ศ. 1952 (72 ปี)
Danghara, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก สหภาพโซเวียต
(ปัจจุบันคือประเทศทาจิกิสถาน)
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปไตยของประชาชน (1994–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคคอมมิวนิสต์
(1990–1994)
คู่สมรสแอซีซโม แอแซดูลลอเยวอ (แต่งคริสต์ทศวรรษ 1970)
บุตร
ดูรายชื่อ
  • บุตร:

    บุตรี:

    • Firuza
    • Ozoda
    • Zarina
    • Tahmina
    • Parvina
    • Rukhshona
    • Farzona
บุพการีSharif Rahmonov
Mayram Sharifova
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติทาจิก
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
สังกัด
ประจำการ
  • 1971–1974
  • 1992–ปัจจุบัน
ยศ พลเอกแห่งกองทัพ

เขากลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางใน ค.ศ. 1992 หลังยุบตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศในช่วงเริ่มต้นของสงครามกลางเมือง (ค.ศ. 1992–1997) เขากลายเป็นประธานสภาสูงสุดของสหภาพโซเวียต (รัฐสภา) แห่งทาจิกิสถานในฐานะผู้สมัครประนีประนอมระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์และนีโอคอมมิวนิสต์ กับฝ่ายเสรีนิยม-ประชาธิปไตย, ชาตินิยม และกองกำลังลัทธิอิสลาม (United Tajik Opposition)

ราห์มอนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ไม่เป็นประชาธิปไตย 5 ครั้ง (1994, 1999, 2006, 2013 และ 2020) นอกจากนี้ เขายังขยายและปฏิรูปอำนาจของเขาตามผลการลงประชามติรัฐธรรมนูญของประเทศในปี 1999 และ 2003

ราห์มอนนำระบอบอำนาจนิยมพร้อมกับองค์ประกอบของลัทธิบูชาบุคคลมาใช้ในประเทศทาจิกิสถาน ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองถูกกดขี่ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพอย่างรุนแรง การเลือกตั้งไม่เสรีและเป็นธรรม และการทุจริตกับคติเห็นแก่ญาติอยู่ในระดับรุนแรง[1][2][3][4] สมาชิกครอบครัวของเขาดำรงตำแหน่งสำคัญทางราชการหลายตำแหน่ง เช่น Rustam Emomali บุตรอายุ 35 ปีที่ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาและนายกเทศมนตรีประจำเมืองหลวงดูชานเบ[5][6][7]

อ้างอิง

แก้
  1. "Tajikistan's eternal ruler Emomali Rakhmon | DW | 12.10.2020". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Deutsche Welle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  2. "World Report 2019: Rights Trends in Tajikistan". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 15 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  3. "The world's enduring dictators: Emomali Rahmon, Tajikistan". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). CBS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  4. "Tajikistan: Nations in Transit 2020 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  5. "Nepotism And Dynasty In Central Asian Politics". RadioFreeEurope/RadioLiberty (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  6. Benevento, Chris. "Tajikistan: President's Daughter Gets Plum Ministry Job". www.occrp.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Organized Crime and Corruption Reporting Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  7. "The Happiest Member Of The Rahmon Family". RadioFreeEurope/RadioLiberty (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้