ล็อกฮีด มาร์ติน เอฟ-35 ไลท์นิง 2

(เปลี่ยนทางจาก เอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2)

เอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 (อังกฤษ: F-35 Lightning II) "เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 จากโครงการ Joint strike fighter ของสหรัฐ หรือ JSF ที่ไม่ได้มีดีแค่ Steath ที่หลายๆประเทศต่างต้องการมีไว้ประจำการในกองทัพของตัวเอง [6][7]

เอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2
บทบาทเครื่องบินขับไล่ล่องหนหลากบทบาท
บริษัทผู้ผลิตล็อกฮีด มาร์ติน
นอร์ทธรอป กรัมแมน
บีเออี ซิสเต็มส์
บินครั้งแรก15 ธันวาคม พ.ศ. 2549[1]
เริ่มใช้พ.ศ. 2555 (ของนาวิกโยธิน[2]) พ.ศ. 2559 (ตามที่กำหนดไว้)[3]
สถานะอยู่ในการผลิตและทดลองโดยสหรัฐและอังกฤษ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
กองนาวิกโยธินสหรัฐ
กองทัพเรือสหรัฐ
กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2546-ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต13 ลำ เป็นเครื่องบินทดสอบ;[4][5]
15 ลำ เป็นเครื่องบินที่สั่งสร้างก่อนการผลิต
มูลค่าเอฟ-35เอ: $122 ล้าน
เอฟ-35บี: $150 ล้าน
เอฟ-35ซี: $139.5 ล้าน
(หมายเหตุ: ไม่รวมค่าพัฒนา)
พัฒนามาจากล็อกฮีด มาร์ติน เอ็กซ์-35

การพัฒนา แก้

 
การทดสอบแบบจำลองของเอฟ-35 ในอุโมงค์ลมที่ศูนย์พัฒนาวิศวกรรมอาร์โนลด์ในสหรัฐ

F-35 เป็นผลผลิตของโครงการเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม JSF หรือ Joint strike fighter ที่เป็นการร่วมโครงการเครื่องบินขับไล่หลายๆโครงการตั้งแต่ยุค 1980  จนถึงยุค 1990 ต้นกำเนิดโครงการ JSF เริ่มมาจากโครงการ Advanced Short takeoff/Vertical landing หรือ ASTOVL ที่ดำเนินการโดย Data ตั่งแต่ปี 1983 ถึง 1994 เพื่อหาเครื่องบินทดแทน Harrier Jump Jet ของนาวิกโยธินสหรัฐและกองทัพเรืออังกฤษ อย่าง McDonnell Douglas AV-8B HARRIER II  โดยหนึ่งในโครงการลูกของ ASTOVL  มีชื่อว่า Supersonic Fighter หรือ SSF ที่วิจัยและพัฒนาโดยที่งานของ SkunkWorks ของ Lockheed โดยมีเป้าหมายเป็นการสร้างเครื่องบินที่มาสามารถขึ้นลงในทางวิ่งที่สั่นและสามารถลงจอดในแนวดิ่งได้ เพื่อนำมาใช้งานทั่งกองทัพอากาศและนาวิกโยธินสหรัฐ แต่ในปี 1993 โครงการASTOVL ได้มีการเปลี่ยนชื่อไป เป็น Common Affordable lightweight Fighter  หรือ CAIF อีกโครงการหนึ่งก็มีชื่อว่า Joint Advanced Strike Technology หรือ JAST ถูกก่อตั่งในปี 1993 จากการที่ยกเลิกโครงการ MRF ของกองทัพอากาศ และ โครงการ AXF ของกองทัพเรือ โดยโครงการ JAST นัน ไม่ได้เน้นการพัฒนาเครื่องบินแบบใหม่ แต่เป็นความต้องการของเทคโนโลยีและคอนเซปการโจมตีทางอากาศขั่นเก้าหน้า ทั่งโครงการ JAST   และ CALF ต่างมีคอนเซป โครงการที่คล้ายกัน จึงมีการร่วมทั่งสองโครงการในปี 1994 ในชื่อ JAST โดยทั่งโครงการนี้จะออกแบบเครื่องบินให้ทั่งกองทัพอากาศ,กองทัพเรือ และนาวิกโยธินสหรัฐ และหลังจากนันในปีถัดมา ในปี 1995 โครงการ นี้ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครังเป็น JSF หรือ Joint strike fighter โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมโครงการได้แก่ Lockheed Martin Boeing McDonnell Douglas และ Northrop Grumman โครงการ JSF เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่มาก โดยที่เป้าหมายที่จะมาพัฒนาเครื่องบินขับไล่ เพื่อมาทดแทนเครื่องบินแบบเดิมทั่ง F-16  F/A-18 AV-8B HARRIER II  A-10  และ F-117 ถึงแม้ในช่วงเวลานันเองจะมีการพัฒนาเคริ่องบินขับไล่ล่องหนอย่าง  Lockheed Martin F-22A Raptor  แต่ก็ถูกออกแบบมาเพื่อประจำการอย่าง F-15 ของกองทัพอากาศสหรัฐเท่านัน ส่วนเครื่องบินในโครงการ JSF นี้ จะถูกนำไปใช้ในวงกว้าง เพื่อเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีที่ทำภารกิจได้หลากหลาย โครงการ JSF นี้ไม่ได้มีแค่สหรัฐเป็นผู้พัฒนาหลัก แต่มีผู้เข้าร่วมจากต่างชาติด้วยเช่น อังกฤษที่เคยร่วมพัฒนาตั่งแต่ โครงการ ASTOVL โดยครั้งนี้อังกฤษได้เซ็นสัญญาร่วมพัฒนาในปี 1995 โดนสนับสนุนเงินทุน 200 ล้านเหรียญสหรัฐหรือราวๆ10 เปอร์เซ็นต์ของ การสาธิตคอนเซป หลังจากนันในปี 1997 แคนาดาก็ลงนามด้วยเช่นเดียวกันด้วยเงินทุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

การศึกษาโครงการที่เริ่มต้นมาตั่งแต่ 1993 มีบริษัทออกแบบอากาศยาน 4 บริษัทได้เสนอแบบมาดังนี้

1. MCDONNELL Douglas ที่ใช้เครืองยนต์แบบ RHTTF และชุดใบพัดกังหันแก็สแยกส่วนในกาาสร้างแรงยกของโหมด STOVL
2. Northrop Grumman ออกแบบเครื่องบินที่มีเครื่องยนต์แบบ DT ที่จะสร้างแรงยกในทอพับ แบบคู่
3. Lockheed Martin นำเสนอเครื่องบินที่มีเครื่องยนต์ RHTTF พร้อมชุดกังหันเสริม โดยมีการแกนเพลาขับที่เชือมต่อกัน โดยการออกแบบนี้สำไปสู่เครืองยนต์  F-135 PW600 ของ F-35B
4. Boeing  ได้ตัดสินใจไม่เพิ่มแรงขับ ในการลงจอดทางดิ่ง โดยการออกแบบนี้ จะใช้การปรับแต่งโหมดเครื่องยนต์ ให้มีท่อไอพ่นขนาดเล็กที่ด้านล่าง เพื่อใช้งานเมือต้องการลงจอดทางดิ่ง

ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 1996 การแข่งขันได้ถูกประการให้เหลือเพียง 2 บริษัท นันก็คือ  Lockheed Martin  และ  Boeing โดนทั่งสองบริษัทจะต้องสร้างอากาศยานทดสอบที่จะสาธิตการใช้งานทั่ง 3 รูปแบบ

1. ขึ้นลงแบบปกติ Conventional take off and landing หรือ CTOL
2. เครื่องบินสำหรับลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน
3.  และเครื่องบินที้ใช้ทางวิ่งขึ้นสั่น Short takeoff and Vertical landing หรือ STOVL

ต้นแบบของ Lockheed Martin มีชื่อว่า X-35 โดยต้นแบบลำแรกทำการบิน ในวันที่ 24 ตุลาคม ปี 2000 หลังจากมำการบินทดสอบไป 28 เที่ยวบิน มันได้ถูกดัดแปลงมาเป็น X-35B ที่มีกาติดตั่งชุดกังหัน เชื่อมต่อเพลากับเครื่องยนต์หลัก และทดการลงจอดทางดิ่งในปีถัดมา ส่วน X-35C ต้นแบบสำหรับขึ้นและลงบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ได้ทำการบินครั่งแรกในเดือนธันวาคม ปี 2000

ในส่วนของ Boeing เครื่องบินต้นแบบมีชื่อว่า X-32 มันมีปีกแบบ Deltawing และท่อดูดอากาศขนาดใหญ่ โดย X-32A เป็นรุ่นที่ขึ้นลงแบบปกติ และใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน โดยทำกาาบินครั่งแรกในวันที่ 18 กันยายน ปี 2000 และ X-32B เป็นรุ่น Short takeoff and Vertical landing หรือ STOVL ทำหาาบินคร้งแรกในว้นที้ 29 มีนาคม ปี 2001

ผลของการแข่งขัน ในวันที่ 26 ตุลาคม ปี 2001 ผู้ที่ชนะการแข่งขันคือเครืองบินต้นแบบของ Lockheed Martin X-35 ที่จะกล้ายมาเป็นเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ ของกองทัพสหรัฐจาก F-22A RAPTOR ที่แรกจะมีการตั่งชื่อรหัสเป็น F-24 แต่ภายหลักได้ตั่งชื่อเป็น F-35

โครงการ JSF ได้เข้าสู่ขั่นตอนของ System Development and Demonstration หรือ SDD หรือการพัฒนาและสาธิตระบบ ลำตัวได้มีการปรับเปลี่ยนให้รองรับกับการติดตั่งอุปกรณ์ ต่างๆ ของ แพนด้าได้ปรับแต่ง นอกจากนี้ยังมีการออกแบบที่ติดตั่งอาวุธภายในลำตัวทั่ง 3 รุ่น ทั่ง F-35A F-35B และ F-35C ให้มีรูปแบบการติดต้งเดียวกัน จากการที่เครื่องบินต้นแบบ X-35 นันไม่ได้ออกแบบจุดติดตั่งอาวุธภายใน ส่งผลต่อน้ำหนักโดนรวมของเครื่องบินที่เพิ่มมากขึ้น และส่งผลต่อการออกแบบ F-35B ที่ต้องลงจอดในทางดิ่ง ที่ต้องออกแบบใหม่และส่งผลทำให้โครงการล่าช้าไปอีก 18 เดือน และงบประมาณที่สูงถึง  6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Lockheed Martin  เป็นผู้รับเหมาหลักในการผลิตเครื่องบิน F-35 จะรับผิดชอบในการประกอบขั่นสุดท้ายรวมถึงการบรูณาการระบบต่างๆระบบ MS ไปจนถึงการผลิตอากาศยานในส่วนหน้า ปีก และระบบควบคุมการบิน ส่วนบริษัทรับเหมาช่วงจะประกอบไปด้วย Northrop Grumman  ที่ดูแล้วทั่งระบบตรวจจับ ทั่ง เรดาห์ ระบบ OC ระบบการสื่อสาร,นำทางและการพิสูจน์ฝ่าย อีกทั่งยังผลิตลำตัวในส่วนกลาง ชุดตะขอเกี่ยวและช่องเก็บอาวุธภายใน ทางด้าน บริษัท BAE System จะพัฒนาทั้ง  ซอฟท์แวร์ ระบบสงครามอิสทอนิก ระบบในการดีดตัวและช่วยเหลือชีวิตนักบินและการผลิตลำตัวในส่วนท้าย รวมถึงชุดแพนดางด้วย ในส่วนของบริษัท Alenia  จะรับผิดชอบประกอบอากาศที่ใช้งานในอิตาลีและในกลุ่มประเทศยุโรป  ยกเว้นอังกฤษ และตุรกี

ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์  ปี 2006 F-35A ลำแรกของ Lockheed Martin  ได้เปิดตัวออกมาให้สาธารณะได้รับชมโดยมีรหัสว่า AA-1 และทำการบินครั่งแรกในวันที่ 15 ธันวาคม ปี 2006 ในปีเดียวกันนันมันได้รับชื่อต่อท้ายว่า Lighting II ในเฟสของกาาพัฒนาและสาธิตระบบ หรือ SDD มีการพัฒนา ซอฟแวร์ของเครื่องบิน ที่ได้มีการพัฒนามาถึง 6 ครั่ง หรือที่เรียกว่า Block โดย 2 บล็อกแรก 1A และ 1D ถูกใช้งานสำหรับการฝึกนักบิน และการรักษาความปลอดภัยหลายระดับชั่น บล็อก 2A เป็นการปรับปรุง ขีความสามารถในการฝึก  ในขณะที่ Block 2B เป็นแบบแรกที่สามารถทำการรบได้ โดยมันถูกนำมาใช้โดนขั่นตอนของ ขีความสามารถในการปฎิบัติการขั่นต้น หรือ IOC สำหรับ นาวิกโยธินสหรัฐ Block 3i ย้งคงขีความสามารถของ Block 2B แต่ประการใช้ ฮาว์แวฟใหม่บ้างตัว และวางแผนนำมาใช้กับกองทัพอากาศ และขั่นตอนสุดของการ SDD คือ บล็อก 3F จะมีขีดความสามารถพื่นฐานของการบินและการรบทั่งหมดและเครื่องบินในสายการผลิตเริ่มต้น อัตราการผลิตตาม LRIP หรือ Low-Rate Initial Production บ้างชุด จะมีการส่งมอบเครืองบิน ที่ได้ซอฟแวร์บล็อกเก่าๆที่จะได้รับการปรับปรุงเป็นบล็อก3F ในภายหลังเช่นกันการทดสอบ SDD  มีการทำการบินมากกว่า 17000 ชั่วโมงบิน และสำเร็จขั่นตอนนี้เมือปี 2018 แต่ทว่าระหว่างที่ดำเนินการนัน ปัญหาที่ตรวจพบต่างๆทั่งจุดรอยราวบนเครื่องบิน F-35B และปัญหาตะขอเกี่ยวของ F-35C รวมถึงอีกหลายๆปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้โครงการมีความล่าช้า และค่าใช้การใช้จ่ายในการพัฒนาบานปลายเป็นจำนวนมาก จากเดิมที่มาการค่าเดาโครงการอยู่ที่ 2 แสนล้านเหรียญ จนในปี 2017 มูลค่านี้ได้มีการเพิ่มไปถึง 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปัญหาต่างๆและความล่าช้านี้ ทำให้สายการผลิตแบบเต็มอัตราถูกเลื่อนออกไปจนถึงปี 2021

เครื่องบินขับไล่ F-35  นี้ ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับปรุง ซอฟแวร์ได้ตลอดอายุของการใช้งาน โดยโครงการอัปเกรดแรกนี้มีชื่อว่า Proposed Weapon Growth C2D2 เริ่มต้นในปี 2019  และมีแผนเริ่มต้นใช้งานในปี 2024 โดยจะมีชื่อว่า Block 4 ประกอบไปด้วยการตัดแต่งระบบ AO ตามที่กองทัพอากาศในต่างประเทศการปรับปรุงระบบ ESM และระบบอื่นๆ

การออกแบบ แก้

 
เอฟ-35เอที่ถูกจัดแสดงในพิธีเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

เอฟ-35 ดูเหมือนว่าจะมีขนาดเล็กกว่า สะดวกกว่าเอฟ-22 แร็พเตอร์ที่มีสองเครื่องยนต์ การออกแบบท่อไอเสียนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจเนรัล ไดนามิกส์ โมเดล 200 ซึ่งเป็นอากาศยานขึ้น-ลงในแนวดิ่งในปีพ.ศ. 2515[8] เพื่อทำให้การพัฒนาเอฟ-35บีรุ่นพิเศษที่เป็นอากาศยานขึ้น-ลงในแนวดิ่ง ทางล็อกฮีดจึงปรึกษากับสำนักงานออกแบบยาโกเลฟ โดยการซื้อแบบมาจากการพัฒนาของยาโกเลฟ ยัค-141[9][10]

การพัฒนาที่เหนือกว่าเครื่องบินขับไล่ยุคปัจจุบันได้แก่

  • เทคโนโลยีการล่องหน
  • ระบบอิเลคทรอนิกผสานและเซ็นเซอร์ซึ่งใช้ข้อมูลร่วมกัน ทั้งจากนอกและในเครื่องบิน เพื่อเพิ่มความระมัดระวังตัวให้กับนักบินและเพิ่มการระบุเป้าหมาย การยิงอาวุธ และส่งข้อมูลให้กับศูนย์บัญชาการได้รวดเร็วขึ้น
  • เครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงไออีอีอี 1394 บิต[11] และช่องทางไฟเบอร์[12]

เครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ๆ ไม่สามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ไปได้ทุกครั้ง แต่สำหรับเอฟ-35 มันจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงอย่างมาก

ไม่เหมือนกับเอฟ-22 และเอฟ/เอ-18 ตรงที่เอฟ-35 นั้นไม่มีปีกเสริมส่วนหน้า แต่มันใช้ส่วนปีกเสริมที่เหมือนกับเอสอาร์-71 แบล็คเบิร์ดแทน[13]

ห้องนักบิน แก้

เอฟ-35 มีจุดเด่นที่จอแสดงผลที่กว้างมากโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 28x8 นิ้ว[14] ระบบจดจำเสียงของห้องนักบินมีไว้เพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้งานเครื่องบินของนักบินได้มากกว่าเครื่องบินแบบทั่วไป เอฟ-35 จะเป็นเครื่องบินปีกนิ่งลำแรกของสหรัฐที่ใช้ระบบนี้ แม้ว่าระบบที่ใกล้เคียงกันจะมีอยู่ในเอวี-8บีและเอฟ-16 วิสต้า[15] ในการพัฒนาระบบจะทำโดยบริษัทอดาเซล ซิสเทมส์[16] นักบินจะบินโดยใช้คันบังคับทางขวามือและซ้ายมีจะเป็นคันเร่ง

หมวดติดจอแสดงผลจะถูกใช้กับเอฟ-35 ทุกรุ่น หมวกที่มีกล้องมองตามนั้นได้ถูกนำไปใช้กับเอฟ-15 เอฟ-16 และเอฟ/เอ-18 เรียบร้อยแล้ว[17] ในขณะที่เครื่องบินขับไล่บางลำมีหมวกติดจอแสดงผลพร้อมกับหน้าจอฮัด สิ่งนี้จะเป็นครั้งแรกในหลายทศวรรษที่เครื่องบินขับไล่แนวหน้าจะไม่มีหน้าจอฮัด[18]

เก้าอี้ดีดตัวของมาร์ติน-เบเกอร์รุ่นยูเอส16อีถูกนำมาใช้กับเอฟ-35 ทุกรุ่น[19] ที่นั่งยูเอส16อีนั้นมีความสมดุลในด้านการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยที่คำนึงถึงขีดจำกัดของสภาพแวดล้อม น้ำหนักของนักบิน และขนาดตัวของนักบิน มันใช้ระบบคันดีดคู่ซึ่งจะอยู่ที่ส่วนท้าย[20]

เซ็นเซอร์ แก้

 
ระบบจับเป้าอิเลคโทร-ออพติคอลใต้ส่วนจมูกของเอฟ-35

เอฟ-35 มีชุดเซ็นเซอร์ที่ทรงพลังและก้าวหน้า[21] เซ็นเซอร์หลักคือเรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-81 ซึ่งออกแบบโดยนอร์ทธรอป กรัมแมน อิเลคทรอก ซิสเทมส์[22] มันจะทำงานร่วมกับระบบจับเป้าอิเลคโทร-ออพติคอลหรืออีโอทีเอส (Electro-Optical Targeting System, EOTS) ที่ติดตั้งอยู่ใต้ส่วนจมูกของเครื่องบินซึ่งออกแบบโดยล็อกฮีด มาร์ติน[23] สิ่งนี้ทำให้มันมีความสามารถเหมือนกับล็อกฮีด มาร์ติน สไนเปอร์ เอ็กซ์อาร์โดยไม่เป็นการเผยตัวของเครื่องบิน[24] รุ่นอื่นๆ ของอีโอทีเอสยังถูกใช้โดยเจเนรัล อะตอมมิกส์ อเวนเจอร์

เซ็นเซอร์เพิ่มเติมอีกหกอย่างถูกติดตั้งทั่วเครื่องบินเพื่อเป็นระบบช่วยเอเอ็น/เอเอคิว-37 ของนอร์ทธรอป กรัมแมน ซึ่งทำหน้าที่คล้ายระบบเตือนขีปนาวุธ มันจะรายงานตำแหน่ง ตรวจจับ และติดตามขีปนาวุธหรืออากาศยานรอบๆ เอฟ-35 และเข้ามาแทนที่กล้องมองกลางคืนแบบเดิม ทิ่งเหล่านี้จะทำงานพร้อมๆ กัน ในทุกทิศทาง และทุกเวลา ระบบสงครามอิเลคทรอนิกเอเอ็น/เอเอสคิว-239 ของเอฟ-35 ถูกออกแบบโดยเบและนอร์ทธรอป กรัมแมน[25] การสื่อสาร การนำร่อง และการะระบุถูกออกแบบโดยนอร์ทธรอป กรัมแมน เอฟ-35 จะเป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่มีการผสมผสานของเซ็นเซอร์ซึ่งมีทั้งคลื่นความถี่วิทยุและอินฟราเรดติดตามสำหรับการตรวจจับเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและการระบุในทุกทิศทาง ซึ่งจะแบ่งข้อมูลกันโดยไม่เผยตัวตนขณะล่องหน[26]

เครื่องยนต์ แก้

เครื่องยนต์หลักของเอฟ-35 คือแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ135 ส่วนเครื่องยนต์เจเนรัล อิเลคทริก/โรลส์-รอยซ์ เอฟ136 นั้นกำลังอยู่ภายใต้การพัฒนาเพื่อใช้เป็นเครื่องยนต์ทางเลือก[27] สำหรับเครื่องบินที่เป็นแบบขึ้น-ลงในแนวดิ่งนั้นจะใช่ระบบยกของโรลส์-รอยซ์ ระบบดังกล่าวคล้ายคลีงกับยัค-141 ของรัสเซียและวีเจ 101ดี/อีของเยอรมนี[28] ดังนั้นการออกแบบเครื่องบินขึ้น-ลงในแนวดิ่งรุ่นต่อๆ มา อย่างแฮร์ริเออร์ จัมพ์ เจ็ท ใช้ใบพัดของเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เพกาซัส เพราะพบว่ามันไม่ง่ายนักที่จะออกแบบใบพัดอันเดียวที่ใหญ่พอจะผลักผ่านลมความเร็วต่ำเพื่อยกตัวขึ้นและใขณะเดียวกันต้องใหญ่พอที่จะทำความเร็วเหนือเสียง[ต้องการอ้างอิง]

ลิฟท์ซิสเทมประกอบด้วยใบพัดยก ชาฟท์ขับเคลื่อน แท่นหมุนสองแท่น และ 3บีเอสเอ็ม (3 Bearing Swivel Module, 3BSM).[29] 3บีเอสเอ็มเป็นท่อไอเสียแบบขยับได้ซึ่งทำให้ท่อไอเสียของเครื่องยนต์หลักสามารถสะท้อนลงไปที่หางของเครื่องบิน ใบพัดยกที่อยู่ใกล้กับส่วนหน้าของเครื่องบินทำให้เกิดแรงขับที่สมดุล ใบพัดยกจะทำงานโดยเครื่องยนต์แรงดันต่ำผ่านทางชาฟท์ขับเคลื่อนและกระปุกเกียร์ การควบคุมการหมุนในตอนที่บินช้าๆ นั้นจะต้องสลับอากาศแรงดันสูงจากเครื่องยนต์แรงดันต่ำผ่านทางปีกที่มีท่อไอเสียแบบขยับติดตั้ง ซึ่งเรียกว่าแท่นหมุน (Roll Posts)[30]

ใบพัดยกของเอฟ-35บีต้องพบกับผลกระทบจาก flow multiplier เช่นเดียวกับแฮร์ริเออร์ เหมือนกับเครื่องยนต์ยกคือโครงสร้างที่เพิ่มเข้าไปนี้เป็นการเพิ่มน้ำหนักขณะทำการบินตามแนวนอน แต่สร้างความสามารถในการยกตัวมากขึ้น ท่อไอเสียเย็นของใบพัดยังลดความร้อน ลมความเร็วสูงที่พุ่งลงด้านล่างขณะขึ้นในแนวดิ่ง (ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับลานวิ่งและดาดฟ้าเรือ) แม้ว่าจะซับซ้อนและเสี่ยง ระบบยกก็ทำงานได้ในระดับที่ผ่านการทดสอบ

ปัจจุบันเครื่องยนต์เอฟ136 นั้นใช้ทุนมากในส่วนอื่นของโครงการ การลดจำนวนของอากาศยานที่จะผลิต และเพิ่มมูลค่าของพวกมัน[31] อย่างไรก็ตามทีมสร้างเอฟ136 อ้างว่าเครื่องยนต์ของพวกเขามีค่าแตกต่างของอุณหภูมิมากกว่า ซึ่งพิสูจน์ว่าเป็นปัญหากับการใช้ในแนวดิ่งในสภาพที่ร้อนและสูง[32]

อาวุธ แก้

 
ช่องเก็บอาวุธของเอฟ-35

เอฟ-35 มีปืนกลอากาศจีเอยู-22/เอสี่ลำกล้องขนาด 25 ม.ม.[33] ในเอฟ-35เอปืนใหญ่อากาศจะติดตั้งอยู่ภายในพร้อมกระสุน 180 นัด ในเอฟ-35บีและซีจะมีกระสุนในกระเปาะภายในเพิ่มอีก 220 นัด[34][35] แท่นปืนสำหรับบีและซีนั้นจะเป็นแบบเก็บเพื่ออำพราง แท่นนี้จะสามารถถูกใช้สำหรับอุปกรณ์ที่แตกต่างออกไปในอนาคต[36]

ภายในจะมีขีปนาวุธอากาศสู่อากาศสองลูกและอาวุธอากาศสู่อากาศหรืออากาศสู่พื้นสองชิ้น (ระเบิดขนาด 2,000 ปอนด์ สองลูกในแบบเอและซี ระเบิดขนาด 1,000 ปอนด์สองลูกในแบบบี)[37]สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน[38] นั่นอาจเป็นเอไอเอ็ม-120 แอมแรม เอไอเอ็ม-132 แอสแรม เจแดม ระเบิดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กโดยใช้มากสุดได้อย่างละ 4 ในแต่ละช่องเก็บอาวุธ ขีปนาวุธบริมสโตนและชุดระเบิดพวง[38] ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเอ็มบีดีเอ เมเทโอร์กำลังถูกนำมาใช้เพื่อเติมเต็มช่องเก็บอาวุธ สหราชอาณาจักรได้วางแผนเอาไว้ว่าจะใส่เอไอเอ็ม-132 แอมแรมเข้าไปสี่ลูก แต่ก็เปลี่ยนเป็นติดตั้งทั้งด้านในและด้านนอกอย่างละสองแทน[39] ยังมีการกล่าวอีกด้วยว่าช่องเก็บอาวุธจะถูกดัดแปลงเพื่อให้รับแอมแรมได้ 6 ลูก[40]

เมื่อเรดาร์สามารถตรวจจับสิ่งใดก็ตามที่ยื่นออกจากเครื่องบิน ขีปนาวุธ ระเบิด และถังเชื้อเพลิงมากมายซึ่งติดบนปีกหรือปลายปีกจึงลดความสามารถในการอำพรางลง สองตำแหน่งที่ปลายปีกสามารถติดตั้งเอไอเอ็ม-9เอ็กซ์ได้เท่านั้น จุดอื่นๆ สามารถติดตั้งเอไอเอ็ม-120 แอมแรม สตอร์ม ชาโดว์ เอจีเอ็ม-158 แจสม์ ระเบิดนำวิถี ถังเชื้อเพลิงขนาด 480 และ 600 แกลลอน[41] ช่องเก็บอาวุธภายในสามารถเก็บเอไอเอ็ม-120 แปดลูกและเอไอเอ็ม-9 สองลูก[38][42] ด้วยความสามารถในการบรรทุกเอฟ-35 สามารถขนอาวุธได้มากกว่าเครื่องบินขับไล่แบบอื่นๆ รวมทั้งเอฟ-22 แร็พเตอร์[43] เลเซอร์ของแข็งกำลังถูกพัฒนาเพื่อเป็นอาวุธทางเลือกสำหรับเอฟ-35 ในปีพ.ศ. 2545[44][45][46]

ระบบศูนย์เล็งติดหมวก แก้

เอฟ-35 ใช้การต่อสู้แบบใหม่ทั้งหมด แทนที่จะใช้การขับเคลื่อน ปีกเสริม หรือซูเปอร์ครูซเพื่อไล่ตามเป้าหมาย เอฟ-35 กลับใช้การผสมของคลื่นความถี่วิทยุกับอินฟราเรดเพื่อติดตามอากาศยานทุกลำที่อยู่ใกล้ๆ อย่างต่อเนื่อง หมวกติดจอแสดงผลของนักบินจะแสดง เลือกเป้าหมาย และยิงอาวุธเพื่อทำลายเป้าหมาย เพราะสิ่งนี้เองเอฟ-35 จึงไม่ต้องมีจอฮัดที่เครื่องบินขับไล่รุ่นก่อนหน้ามี เพราะมันไม่จำเป็นที่จะต้องหันเครื่องบินไปทางเป้าหมายอีกต่อไป[47][48]

ความกังวลเกี่ยวกับการทำงาน แก้

การทำงานของเอฟ-35 ถูกแสดงให้เห็นจากรายงานของการจำลองซึ่งเครื่องบินซุคฮอยของรัสเซียจำนวนมากเอาชนะเอฟ-35 จำนวนหนึ่งได้ด้วยการไม่เติมเชื้อเพลิงทางอากาศ[49] จากผลที่ได้รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของออสเตรเลียโจเอล ฟิทซ์กิบบอนได้ร้องขอผลรายงานอย่างเป็นทางการจากคอมพิวเตอร์จำลองการบิน มันกล่าวว่ารายงานจากการจำลองการบินนั้นไม่แม่นยำ และไม่สามารถเทียบได้กับการทำงานของเอฟ-35 ต่อเครื่องบินลำอื่น[50]

คำวิจารณ์ต่อเอฟ-35 ได้ถูกทำลายโดยเพนตากอนและบริษัทผู้ผลิต[49][51] กองทัพอากาศสหรัฐได้จัดให้มีการประเมินการทำงานในอากาศของเอฟ-35 เมื่อต้องต่อสู้กับเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 4 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และได้พบว่าเอฟ-35 มีประสิทธิภาพมากกว่าอย่างน้อย 4 เท่า นายพลชาร์ลส อาร์ เดวิส นายทหารที่ดูแลโครงการเอฟ-35 ได้กล่าวว่าเอฟมีอัตราการสังหารที่เหนือกว่าข้าศึกทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งซุคฮอย[51] รัสเซีย อินเดีย จีน และประเทศอื่นๆ มากมายล้วนใช้ซุคฮอย ซู-27/30

ความรับผิดชอบด้านการผลิต แก้

ล็อกฮีด มาร์ติน แอโรนอติกส์เป็นผู้ทำสัญญารายใหญ่และสร้างการทำงานของเครื่องบินจนเสร็จ ทั้งระบบทำงานทั้งหมด ระบบภารกิจ ลำตัวส่วนหน้า ปีก และระบบควบคุมการบิน นอร์ทธรอป กรัมแมนสร้างเรดาร์เออีเอสเอ (Active Electronically Scanned Array, AESA) ระบบดีเอเอส (Infrared Distributed Aperture System, DAS) การสื่อสาร การนำร่อง การระบุ ลำตัวส่วนกลาง ช่องเก็บอาวุธ และอุปกรณ์ยึดจับ เบ ซิสเทมส์สร้างลำตัวส่วนหลัง หาง ระบบช่วยเหลือลูกเรือ ระบบสงครามอิเลคทรอนิก ระบบเชื้อเพลิง และซอฟต์แวร์ควบคุมการบิน ทางเอลีเนียจะสร้างขั้นตอนสุดท้ายให้กับอิตาลี และเครื่องบินของยุโรปทั้งหมดยกเว้นตุรกีกับสหราชอาณาจักร[52]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการฟ้องโดยอดีตลูกจ้างซอฟต์แวร์เอฟ-35 ต่อล็อกฮีด มาร์ตินในเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ถูกปิดบัง โดยกล่าวว่าซอฟต์แวร์นั้นไม่ปลอดภัยเพราะมันไม่ได้มาตรฐาน[53]

เครื่องบินรบกวนสัญญาณรุ่นใหม่ แก้

นาวิกโยธินสหรัฐกำลังพิจารณาที่จะแทนที่อีเอ-6บี โพรว์เลอร์ด้วยเอฟ-35 ซึ่งมีกระเปาะรบกวนสัญญาณอำพรางติดอยู่ด้วย[54]

ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 กองทัพเรือสหรัฐได้บอกความต้องการต่อนอร์ทธรอป กรัมแมนและกล่าวว่าการออกแบบจะต้องเป็นแบบเปิเ[55] กองทัพเรือได้เลือกบริษัทไว้ 4 บริษัทเพื่อทำการออกแบบเครื่องบินรบกวนสัญญาณรุ่นใหม่[56]

ประวัติการใช้งาน แก้

การทดสอบ แก้

ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เอฟ-35เอลำแรกได้ปรากฏตัวที่ฟอร์ธเวิร์ธรัฐเท็กซัส เครื่องบินได้รับการทดสอบบนพื้นดินที่ฐานทดสอบทางอากาศของกองทัพเรือในปีพ.ศ. 2549 ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ได้มีการทดสอบเครื่องยนต์เอฟ135 พร้อมการสันดาป โดยการทดสอบเสร็จสิ้นในวันที่ 18 ธันวาคมเมื่อมีการใช้สันดาปท้ายเต็มที่ เอฟ-35 ทำงานสมบูรณ์เป็นครั้งแรกเมื่อมันใช้เครื่องยนต์ของตนเองอย่างเต็มกำลัง[57] ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เอฟ-35เอก็ทำการบินครั้งแรกสมบูรณ์

สื่อบันเทิง แก้

F-35 ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องแรก และเรื่องเดียวในขณะนี้ คือภาพยนตร์เรื่อง Live Free or Die Hard หรือ Die Hard 4.0 ในช่วงท้ายของเรื่อง ที่พระเอกต้องขับรถขนสารพิษ และถูกไล่ล่าโดยเครื่องบินรุ่นนี้ ยังมีอีกเรื่อง กรีน แลนเทิร์น Green Lantern

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

 
ประเทศผู้ใช้งานล็อกฮีด มาร์ติน เอฟ-35 ไลท์นิง 2
 
เอฟ-35A ไลท์นิง 2 Mockup on display at Royal Australian Air Force Centenary of Military Aviation 2014
  ออสเตรเลีย
  เบลเยียม
  แคนาดา
  เดนมาร์ก
  ฟินแลนด์
  อิสราเอล
  อิตาลี
  ญี่ปุ่น
  เนเธอร์แลนด์
  นอร์เวย์
  โปแลนด์
  เกาหลีใต้
  สิงคโปร์
  สหราชอาณาจักร
  สหรัฐ


อ้างอิง แก้

  1. F-35 First Flight. TeamJSF.com. Retrieved: 10 October 2007.
  2. Gates Touts F-35 As Heart of Future Tactical Combat Aviation
  3. "Report: F-35 Work Falls Behind Two More Years." เก็บถาวร 2009-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน CQ Politics, 23 July 2009.
  4. "Lockheed Martin F-35 Lightning II". Jane's All the World's Aircraft. (online version, 21 January 2008).
  5. "Northrop Grumman Begins Assembling First F-35 Production Jet" เก็บถาวร 2008-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Northrop Grumman, 1 April 2008. Accessed on 19 April 2008. (มีไม่เกิน 8 ลำที่สร้างเสร็จก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551)
  6. F-35 Joint Strike Fighter (JSF) Lightning II – International Partners, GlobalSecurity.org
  7. "JSF program history." เก็บถาวร 2019-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน JSF.mil.
  8. "Vertiflight". Journal of the American Helicopter Society. January 2004.
  9. Hayles, John. "Yakovlev Yak-41 'Freestyle'". Aeroflight, 28 March 2005. Retrieved: 3 July 2008.
  10. "Joint Strike Fighter (JSF).", Jane's. Retrieved: 3 July 2008.
  11. Philips, E. H. "The Electric Jet." Aviation Week & Space Technology, 5 February 2007.
  12. Parker, Ian. "Reducing Risk on the Joint Strike Fighter." เก็บถาวร 2016-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Avionics Magazine, Access Intelligence, LLC, 1 June 2007. Retrieved: 8 June 2007.
  13. F-35 Lightning II status and future prospects
  14. The Lockheed Martin F-35 Joint Strike Fighter (JSF), vectorsite.net
  15. "Researchers fine-tune F-35 pilot-aircraft speech system." US Air Force, 10 October 2007.
  16. "Technology News". Technologynewsdaily.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  17. "Joint Helmet Mounted Cueing System". Boeing.com. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  18. "VSI's Helmet Mounted Display System flies on Joint Strike Fighter." เก็บถาวร 2011-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Rockwell Collins, 2007. Retrieved: 8 June 2008.
  19. Martin-Baker เก็บถาวร 2008-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jsf.org.uk
  20. "Martin-Baker, UK." เก็บถาวร 2009-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Martin-baker.com.
  21. "F-35 Capabilities" เก็บถาวร 2010-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Lockheed Martin.
  22. APG-81 (F-35 Lightning II) เก็บถาวร 2007-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Northrop Grumman Electronic Systems. Retrieved: 4 August 2007.
  23. Lockheed Martin Missiles and Fire Control: Joint Strike Fighter Electro-Optical Targeting System เก็บถาวร 2009-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Lockheed Martin. Retrieved: 11 April 2008.
  24. "Sniper Targeting Pod Attacks From Long Standoff Ranges". Aviationweek.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-15. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  25. "JSF EW Suite". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-18. สืบค้นเมื่อ 2013-07-19.
  26. "F-35 Air Combat Skills Analyzed". Military.com. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  27. Trimble, Stephen. "Rolls-Royce: F136 survival is key for major F-35 engine upgrade". Flight International, 11 June 2009.
  28. "Swivel nozzle VJ101D and VJ101E" (PDF). Vstol.org. 2009-06-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-03-15. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  29. LiftSystem. Rolls-Royce.
  30. "Going vertical. Developing a STOVL system" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-20. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  31. Second Engine Could Cut F-35 Production[ลิงก์เสีย]
  32. GE Rolls-Royce Fighter Engine Team completes study for Netherlands
  33. F-35 gun system เก็บถาวร 2009-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, General Dynamics Armament and Technical Products.
  34. "F-35 Joint Strike Fighter Media Kit Statistics" เก็บถาวร 26 มิถุนายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. JSF.mil August 2004.
  35. "F-35 specifications." GlobalSecurity.org.
  36. F-35 Lightning II status and future prospects
  37. "Lockheed orders additional F-35 carriage and release systems from Exelis". Air Force Technology. Verdict Media. 1 February 2015.
  38. 38.0 38.1 38.2 "F-35 Program Brief." เก็บถาวร 2007-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน USAF, 26 September 2006.
  39. "F-35 Lightning II News: ASRAAM Config Change For F-35." f-16.net, 4 March 2008.
  40. "Amraams". Aviationweek.com. 2007-11-08. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.[ลิงก์เสีย]
  41. Keijsper 2007, p. 239.
  42. Digger, Davis. "JSF Range & Airspace Requirements." เก็บถาวร 2008-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Headquarters Air Combat Command, Defense Technical Information Center, 30 October 2007. Retrieved: 3 December 2008.
  43. "National Review". National Review. 2007-01-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-09. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  44. Fulghum, David A. "Lasers being developed for F-35 and AC-130." Aviation Week and Space Technology, (8 July 2002). Access date: 8 February 2006.
  45. Morris, Jefferson. "Keeping cool a big challenge for JSF laser, Lockheed Martin says." Aerospace Daily, 26 September 2002. Access date: 3 June 2007.
  46. Fulghum, David A. "Lasers, HPM weapons near operational status." Aviation Week and Space Technology, 22 July 2002. Access date: 8 February 2006.
  47. "F-35 Lightning II Program" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-08-09. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  48. "F 35 Distributed Aperture System EO DAS". Youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  49. 49.0 49.1 Trimble, Stephen. "US defence policy - and F-35 - under attack." Flight International, Reed Business Information, 15 October 2008.
  50. "Fighter criticism 'unfair' and 'misrepresented'." ABC News, 25 September 2008. Retrieved: 30 October 2008.
  51. 51.0 51.1 "Setting the Record Straight On F-35". เก็บถาวร 2009-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Lockheed Martin, 19 September 2008.
  52. "Italy Wins JSF Final Assembly; U.K. Presses Maintenance, Support". Aviationnow.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  53. "Former F-35 worker sues Lockheed, alleges software lapses". Flight International
  54. "Stealthy Jammer Considered for F-35". Aviationweek.com. 2009-06-15. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.[ลิงก์เสีย]
  55. "NGJ BAA Industry_Day" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-07-19.
  56. "US Navy starts next-generation jammer bidding war". Flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  57. "Mighty F-35 Lightning II Engine Roars to Life." เก็บถาวร 2011-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Lockheed Martin, 20 September 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้