เอฟ-117 ไนท์ฮอว์ก

(เปลี่ยนทางจาก เอฟ-117 ไนท์ฮอว์ค)

เอฟ-117 ไนท์ฮอว์ก (อังกฤษ: F-117 Nighthawk) เป็นอากาศยานโจมตีภาคพื้นดินล่องหนที่อดีตเคยถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศสหรัฐ มันได้ทำการบินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2524 และเข้าปฏิบัติการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526[1] โลกได้รู้จักกับเอฟ-117เอในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531[4]

เอฟ-117 ไนท์ฮอว์ก
บทบาทเครื่องบินโจมตีล่องหน[1]
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตล็อกฮีด
ล็อกฮีด มาร์ติน
บินครั้งแรก18 มิถุนายน พ.ศ. 2524
เริ่มใช้15 ตุลาคม พ.ศ. 2526
ปลดประจำการ22 เมษายน พ.ศ. 2551[2]
สถานะปลดประจำการแล้ว
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
จำนวนที่ผลิต64 (วายเอฟ-117เอ 5 ลำและเอฟ-117เอ 59 ลำ)
มูลค่า42.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
111.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (สำหรับโครงการทั้งหมด)[3]
พัฒนามาจากล็อกฮีด แฮฟบลู

ผลงานของชรังค์ เวิร์คส์และการพัฒนาแฮฟบลูทำให้มันกลายเป็นอากาศยานลำแรกที่ใช้เทคโนโลยีการล่องหน เอฟ-117เอมีชื่อเสียงมากในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534

กองทัพอากาศได้ปลดประจำการเอฟ-117 ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551[2] โดยสาเหตุหลักคือการปรากฏตัวของเอฟ-22 แร็พเตอร์[5][6]และบี-2 สปิริทที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

การพัฒนา แก้

เอฟ-117 เกิดขึ้นหลังจากการรบในสงครามเวียดนาม เมื่อมีความกังวลต่อขีปนาวุธพื้นสู่อากาศของโซเวียตมากขึ้น เพราะเครื่องบินทิ้งระเบิดหลายลำถูกมันยิงตก[7]

ในพ.ศ. 2507 ปโยทร์ ยา. ยูฟิมท์เซฟ (Pyotr Ya. Ufimtsev) นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้เขียนเรื่อง "Method of Edge Waves in the Physical Theory of Diffraction" ซึ่งเขาได้แสดงให้เห็นว่าการสะท้อนของเรดาร์นั้นขึ้นอยู่กับรูปร่างของวัตถุ ไม่ใช่ขนาด[8] เขายังได้ขยายงานทางทฤษฎีโดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่ออาร์โนลด์ ซอมเมอร์ฟีลด์[9][10][11] ยูฟิมท์เซฟได้สาธิตว่าเขาสามารถคำนวณส่วนแบ่งของเรดาร์ตามผิวหน้าของปีกตลอดจนขอบปีกได้ ข้อสรุปคือแม้ว่าเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่าก็สามารถล่องหนได้ อย่างไรก็ดีการออกแบบของเครื่องบินจะทำให้มันสูญเสียหลักอากาศพลศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ในทศวรรษที่ 1960 ก็ยังไม่สามารถควบคุมการบินของเครื่องบินอย่างเอฟ-117 หรือบี-2 สปิริทได้ อย่างไรก็ตามในทศวรรษต่อมา เมื่อล็อกฮีดประเมินเอกสารของยูฟิมท์เซฟ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ก็ได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก และเริ่มมีการพัฒนาเครื่องบินล่องหนขึ้น[12]

ซีเนียร์เทรนด์ แก้

 
เอฟ-117เอที่ถูกทำสีเป็นสีเทา

เอฟ-117 เป็นโครงการลับจนถึงทศวรรษที่ 1980[13] โครงการเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ด้วยเครื่องต้นแบบที่ถูกเรียกว่า"โฮพเลสไดมอนด์" (Hopeless Diamond)[14][15] ในปีพ.ศ. 2520 ล็อกฮีดได้ผลิตต้นแบบไป 60% ภายใต้สัญญาแฮฟบลู โครงการแฮฟบลูเป็นการสาธิตเทคโนโลยีการล่องหนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519-2522 ความสำเร็จของโครงการแฮฟบลูนำไปสู่การสร้าง"ซีเนียร์เทรนด์" (Senior Trend) ของกองทัพอากาศสหรัฐ[16][17] เป็นโครงการที่สร้างเอฟ-117

การตัดสินใจที่จะสร้างเอฟ-117เอเกิดขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 และล็อกฮีดก็ได้สัญญาในการพัฒนาโครงการ รู้จักกันในชื่อ"ชรัง เวิร์คส์" (Skunk Works) ในเบอร์แบงค์รัฐแคลิฟอร์เนีย[18] โครงการนำโดยเบน ริช เขาได้เรียกบิล ชโรเดอร์ นักคณิตศาสตร์และเดนีส โอเวอร์โฮลเซอร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เพื่อสานต่องานของยูฟิมท์เซฟ พวกเขาได้ออกแบบโครงการคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าเอคโค่ ซึ่งทำให้มันสามารถออกแบบเครื่องบินที่แบนราบได้ ซึ่งถูกทำให้กระจายการสะท้อนของเรดาร์ถึง 99%[12][19][20]

เอฟ-117 ทำการบินครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 เพียง 31 เดือนหลังจากที่มีการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ เอฟ-117เอลำแรกถูกส่งมอบในปี 2525 และได้ไฟเขียวให้ปฏิบัติการได้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526[21] กองทัพอากาศปฏิเสธการมีตัวตนของมันจนถึงปีพ.ศ. 2531 เมื่อมีรูปถ่ายถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2533 เครื่องบินสองลำได้บินเข้าฐานทัพอากาศเนลลิสในรัฐเนวาดา ท่ามกลางการมองเห็นของคนหนึ่งหมื่นคน การพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบทำให้เกิด"วายเอฟ-117เอ"ขึ้นมา[22] มีการผลิตเอฟ-117 ขึ้นมาทั้งสิ้น 59 ลำซึ่งถูกส่งมอบตลอดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2533[23]

ตามที่กองทัพอากาศสหรัฐกล่าวเอาไว้ว่า "การจัดการโดยศูนย์ระบบอากาศพลศาสตร์ที่ฐานทัพอากาศไรท์-แพทเตอร์สันในโอไฮโอ ได้ผสมผสานเทคโนโลยีการล่องหนเข้ากับการพัฒนาและการผลิตในปัจจุบันเพื่อให้ใช้เครื่องบินได้อย่างรวดเร็วที่สุด... โครงการเอฟ-117 นั้นได้แสดงให้เห็นว่าอากาศยานล่องหนสามารถถูกออกแบบให้มีความไว้ใจได้และใช้งานได้ง่าย"[1] สถิติการดูแลรักษาเครื่องบินเทียบได้กับเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีแบบอื่น เอฟ-117 นั้นอยู่ในแนวหน้าของเทคโนโลยีในโครงการพัฒนาระบบอาวุธซึ่งอยู่ที่แพลนท์ 42 ในปาร์มเดลรัฐแคลิฟอร์เนีย

เอฟ-117 หลายลำถูกทาสีเทาในช่วงทดลองเพื่อทดสอบความมีประสิทธิภาพในการล่องหนของเอฟ-117 ในตอนกลางวัน ในปีพ.ศ. 2547-2548 ได้มีโครงการพัฒนาอายุการใช้งานของเอฟ-117 หลายครั้ง รวมทั้งการพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกส์อากาศ

การตั้งชื่อ แก้

 
เอฟ-117เอที่ฐานทัพอากาศแลงลีย์ในเวอร์จิเนีย

เครื่องบินที่ปฏิบัติการได้จะได้รับชื่อว่า"เอฟ-117เอ"[24] เครื่องบินที่ก้าวหน้าส่วนใหญ่ของสหรัฐจะใช้การตั้งชื่อแบบหลังปี 1962 ซึ่งจะใช้ "F" ที่หมายถึงเครื่องบิบขับไล่อากาศสู่อากาศ "B" ที่หมายถึงเครื่องบินทิ้งระเบิด "A" ที่หมายถึงเครื่องบินโจมตี (ตัวอย่างเช่น เอฟ-15 บี-2 และเอ-6) เครื่องบินขับไล่ล่องหนที่มีการโจมตีภาคพื้นดินเป็นหลักจึงไม่ควรใช้ "F"

การใช้"เอฟ-117" นั้นดูเหมือนว่ามีเพื่อชี้ให้เห็นว่ามันได้รับชื่อเช่นนั้นอย่างเป็นทางการก่อนระบบตั้งชื่อปี 1962 สมมติฐานคือเพื่อเปิดเผยมันต่อสาธารณะ ว่ามันน่าจะได้ใช้ชื่อว่าเอฟ-19 ซึ่งเป็นชื่อที่ยังไม่ถูกใช้ อย่างไรก็ตามมันก็ไม่มีเครื่องบินลำใดที่ใช้ชื่อ "100" หลังจากที่มีเอฟ-111 เครื่องบินของโซเวียตที่ถูกยึดได้ก็ถูกใช้ชื่อเป็นเอฟเมื่อถูกใช้โดยนักบินทดสอบของสหรัฐ

เมื่อมีเครื่องบินต่างสัญชาติบินอยู่ในบริเวณทางใต้ของเนวาดา เครื่องบินที่ถูกยึดมาจึงถูกเรียกทางวิทยุว่า 117 มันถูกใช้โดยหน่วยบิน"เรดแฮทส์/เรดอีเกิลส์ที่5588 ซึ่งมักบินเครื่องบินมิกอยู่ในบริเวณดังกล่าว การเรียกเช่นนั้นไม่มีสาเหตุอะไรและชื่อเอฟ-19 ก็ถูกพิจารณาโดยกองทัพอากาศ เป็นที่เห็นได้ชัดว่าการเรียก "117" ทางวิทยุนั้นได้กลายมาเป็นธรรมเนียมและเมื่อล็อกฮีดผลิตเครื่องบินออกมา เอฟ-117 ก็ถูกใช้เพื่อปิดบัง[25]

สารคดีทางโทรทัศน์ได้สัมภาษณ์สมาชิกอาวุโสจากทีมผู้สร้างเอฟ-117เอโดยกล่าวว่านักบินต้องการที่จะบินเครื่องบินใหม่มีแรงดึงดูดที่จะบินมันเมื่อใช้ชื่อ"F"มากกว่า"B"หรือ"A"[26]

เอฟ-117เอ็น ซีฮอว์ก แก้

ในต้นทศวรรษที่ 1990 ล็อกฮีดได้เริ่มทำการพัฒนาเครื่องเอฟ-117 ที่สามารถใช้บนเรืออบรรทุกเครื่องบินได้โดยใช้ชื่อว่า"ซีฮอว์ก"เมื่อโครงการเอ/เอฟเอ็กซ์ถูกยกเลิกไป ข้อเสนอถูกยื่นให้กับกระทรวงกลาโหม ผู้ที่ไม่ค่อยสนใจในความสามารถในการบินเดี่ยวของเครื่องบินแบบดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อมันต้องใช้เงินจากโครงการเทคโนโลยีเครื่องบินโจมตีก้าวหน้า เครื่องบินใหม่นี้จะแตกต่างจากเอฟ-117 ในหลายๆ ด้าน รวมทั้งห้องนักบินแบบพิเศษ ปีกที่ลู่น้อยกว่า และหางแบบใหม่[27] รุ่น"เอ็น"นั้นจะใช้เครื่องยนต์ใหม่คือเจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ414 นอกจากนั้นเครื่องบินจะสามารถเลือกใช้จุดติดอาวุธได้มากมาย ทำให้มันสามารถบรรทุกอาวุธได้เพื่ออีก 8,000 ปอนด์ และเรดาร์ใหม่ที่สามารถจัดการกับเป้าหมายในอากาศได้ ด้วยบทบาทนั้นเอฟ-117เอ็นจะสามารถใช้ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-120 แอมแรมได้อีกด้วย[27][28]

หลังจากที่ถูกนำออกโดยกองทัพเรือ ล็อกฮีดก็ยอมทำการเปลี่ยนข้อเสนอซึ่งรวมทั้งความสามารถในการใช้สันดาปและความหลากหลายในการทำภารกิจของเอฟ-117เอ็น ทำให้มันไม่ได้เป็นแค่เพียงเครื่องบินโจมตีเท่านั้น[28] เพื่อเพิ่มความน่าสนใจล็อกฮีดยังได้ให้ข้อเสนอของ"เอฟ-117บี"ซึ่งจะคล้ายกับเอฟ-117เอ็นแต่ใช้บนบกแทน แบบดังกล่าวถูกเสนอให้กับกองทัพอากาศของสหรัฐและอังกฤษ[29] เอฟ-117เอ็นรุ่นใหม่นี้ถูกเรียกว่า"เอ/เอฟ-117เอ็กซ์"[30] ทั้งเอฟ-117เอ็นและเอฟ-117บีไม่มีใครซื้อมัน

การออกแบบ แก้

ด้วยขนาดประมาณเอฟ-15 เอฟ-117เอที่นั่งเดียวนั้นมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนไร้สันดาปรุ่นเอฟ404 และระบบควบคุมการบิน มันสามารถทำการ[การเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ|เติมเชื้อเพลิงทางอากาศ]]ได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ ระบฟลาย-บาย-ไวร์ และส่วนอื่นๆ จึงถูกดัดแปลงมาจากเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท และเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล

ผลข้างเคียงจากความสามารถในการล่องหนของมันคือพลังขับเครื่องยนต์ที่เบาลง เพราะเสียส่วนรับและปล่อยลม ปีกที่มีอัตราทำมุมที่ต่ำมาก และปีกที่ลู่ถึง 50 องศาเพื่อลดคลื่นเรดาร์[31] ด้วยการออกแบบเหล่านี้และการที่มันไม่มีตัวทำสันดาป เอฟ-117 จึงมีความเร็วที่จำกัด

 
ด้านหน้าของเอฟ-117

เอฟ-117 มีระบบนำร่องและระบบโจมตีที่ซับซ้อนโดยทำงานร่วมกับระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบดิจิทัล มันไม่มีเรดาร์ ซึ่งเพื่อลดการส่งสัญญาณ มันอาศัยการนำทางจากจีพีเอสและระบบนำร่องเฉื่อยที่แม่นยำ ภารกิจจะถูกจัดการโดยระบบวางแผนอัตโนมัติซึ่งสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติในทุกรูปแบบภารกิจโจมตี รวมทั้งการปล่อยอาวุธ เป้าหมายจะถูกจับเป้าโดยระบบอินฟราเรดจับภาพความร้อน โดยมันจะต้องอาศัยเลเซอร์ซึ่งเป็นตัวหาระยะและกำหนดเป้าหมายให้กับระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์

ห้องเก็บอาวุธของเอฟ-117 สามารถบรรทุกอาวุธได้ 2,300 กิโลกรัม อาวุธโดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์แบบจีบียู-10 จีบียู-12 หรือจีบียู-27 ระเบิดทะลุทะลวงแบบบีแอลยู-109 สองลูก หรือระเบิดเจแดมสองลูก

ประวัติการใช้งาน แก้

ในช่วงปีแรกๆ ของโครงการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527-2535 กองบินของเอฟ-117เอได้ตั้งฐานอยู่ที่สนามบินในเนวาดา ที่ซึ่งมันทำหน้าที่ในฝูงบินยุทธวิธีที่ 4450 เพราะว่าเอฟ-117 ยังคงเป็นความลับอยู่ในตอนนั้น ฝูงบินยุทธวิธีที่ 4450 จึงถูกย้ายไปที่ฐานทัพอากาศเนลลิสในเนวาดาโดยใช้เครื่องเอ-7 คอร์แซร์ 2 ฝูงบินถูกรวมเข้ากับฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 37 ในปีพ.ศ. 2532 ในพ.ศ. 2535 ทั้งกองบินถูกย้ายไปที่ฐานทัพอากาศฮอลโลแมนที่นิวเม็กซิโก ที่ซึ่งมันทำหน้าที่ภายใต้ฝูงบินขับไล่ที่ 49

นักบินของเอฟ-117 เรียกตัวเองว่า"แบนดิทส์" (Bandits) นักบินแต่ละคนที่ต้องบินเอฟ-117 จะมีหมายเลขของตัวเอง อย่าง "แบนดิท 52" นั่นหมายถึงอันดับที่พวกเขาบินเอฟ-117 เป็นครั้งแรก[32]

เอฟ-117 ถูกใช้หลายครั้งในสงคราม ภารกิจแรกของมันคือการรุกรานปานามาของสหรัฐในปีพ.ศ. 2532[33] ในช่วงนั้นมีเอฟ-117เอสองลำที่ทิ้งระเบิดสองลูกใส่สนามบินริโอฮาโต


ในสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปีพ.ศ. 2534 เอฟ-117เอได้ทำการบินประมาณ 1,300 ครั้งและทำแต้มด้วยการโจมตีเป้าหมายสำคัญไป 1,600 เป้าหมายในอิรัก [1] ในขณะที่ทำการบินไป 6,905 ชั่วโมง[34] เอฟ-117 มีเพียง 2.5% ของเครื่องบินสหรัฐในอิรักแต่มันก็ทำการโจมตีไปมากกว่า 40% ของเป้าหมายทางยุทธศาสตร์[35] "ในขณะทำภารกิจนักบินเอฟ-117เอได้ทิ้งระเบิดนำวิถีไปกว่า 2,000 ตันโดยมีอัตราการโดนเป้าหมายมากกว่า 80% แม้ว่าฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 37 และเครื่องบินสเตลท์อีก 42 ลำจะเป็นเพียง 2.5% ของเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีทั้งหมดของพันธมิตรในสงครามอ่าว เอฟ-117เอก็ได้รับงานมากกว่า 31% ของการทิ้งระเบิดทั้งหมดใส่อิรักตลอด 24 ชั่งโมง"[34] ในสงครามมันทำงานไม่ค่อยดีนักในการทิ้งสมาร์ทบอมบ์ใส่เป้าหมายทางทหาร โดยมีอัตราการโดนเป้าหมายเพียง 40% เท่านั้น[36]

มันเป็นเครื่องบินในไม่กี่ลำของสหรัฐและกองกำลังผสมที่เข้าโจมตีแบกแดด อีกพวกหนึ่งคือเอฟ-16 ซึ่งได้โจมตีแบกแดดในช่วงกลางวันของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2534 ในภารกิจ"แพ็คเกจ คิว" (Package Q) อันเป็นการบินโจมตีครั้งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในสงคราม[37]

ตั้งแต่ที่ถูกย้ายไปยังฐานทัพอากาศฮอลโลแมนในปีพ.ศ. 2535 เอฟ-117เอและนักบินทั้งชายและหญิงของฝูงบินขับไล่ที่ 49 ก็ถูกวางพลที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้มากกว่าหนึ่งครั้ง ในการเดินทางครั้งแรกเอฟ-117 ได้บินตั้งแต่ฐานทัพอากาศฮอลโลแมนไปคูเวตโดยไม่หยุดพัก โดยใช้เวลาไปประมาณ 18.5 ชั่วโมง เป็นสถิติสำหรับเครื่องบินขับไล่หนึ่งที่นั่งที่ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้[1]

มันถูกใช้ในปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซในปีพ.ศ. 2542 ปฏิบัติการเอ็นดัวริ่งฟรีดอมในปีพ.ศ. 2544 และปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักในปีพ.ศ. 2546

การสูญเสีย แก้

 
ฝาครอบห้องนักบินของเอฟ-117 ที่ถูกยิงตกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2542 ในเซอร์เบีย

เอฟ-117 ลำหนึ่งถูกยิงตกขณะทำการรบกับกองทัพเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2542 ในสงครามคอซอวอ กองพันที่ 3 แห่งกรมขีปนาวุธป้องกันอากาศที่ 250 ภายใต้การบัญชาการของผู้พันซอลทาน ดานิ (Zoltán Dani)[38], ที่มีระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานแบบไอซาเยฟ เอส-125 เนวา ได้ยิงเอฟ-117เอที่มีชื่อรหัสว่า"เวก้า 31" หมายเลข 82-0806 ตก[39][40] ตามที่ผู้บัญชาการนาโต้เวสลีย์ คลาร์กและนายพลคนอื่นๆ กล่าว การป้องกันทางอากาศของเซอร์เบียได้ตรวจพบเอฟ-117 โดยใช้เรดาร์ของพวกเขาด้วยความยาวคลื่นที่มากกว่าปกติ ทำให้พวกมันถูกมองเห็นในเรดาร์ไม่นานก่อนถูกยิงตก

ตามที่รายงานเอสเอ-3 จำนวนมากถูกยิงจากระยะ 8 ไมล์ห่างออกไป มีลูกหนึ่งที่ระเบิดใกล้กับเอฟ-117เอจนทำให้นักบินต้องดีดตัวออก แม้ว่ามันยังคงเป็นความลับ แต่ก็เชื่อกันว่าเอฟ-117 ไม่มีเรดาร์เตือนภัย มันดูเหมือนว่านักบินจะเห็นขีปนาวุธเพราะเปลวไฟของมัน ด้วยระยะขนาดนนี้และผสมกับความเร็วนักบินจึงมีเวลาเพียง 6 วินาทีที่จะหาทางออกก่อนถูกยิง ตามการสัมภาษณ์ ซอลทาน ดานิเคลื่อนย้ายตำแหน่งขีปนาวุธของเขาบ่อยมาก และมีคนคอยตรวจหาเอฟ-117 และเครื่องบินลำอื่นๆ ของนาโต้ เขาได้ดัดแปลงเรดาร์จับเป้าของเขาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับของมัน [40] ผู้บัญชาการและทหารที่ประจำเครื่องยิงขีปนาวุธคาดเดาจากการบินของเอฟ-117เอก่อนหน้าจากเรดาร์ที่ยากที่จะเห็นและติดตั้งขีปนาวุธและคนชี้เป้าตามนั้น เชื่อกันว่าทหารประจำเอสเอ-3 และคนชี้เป้าสามารถบอกตำแหน่งและติดตามเอฟ-117เอได้ อาจด้วยระบบอินฟราเรดและระบบมองกลางคืน เขาอ้างว่าขีปนาวุธของเขาได้ยิงเอฟ-16 ตกเช่นเดียวกัน[40]

นักบินของเอฟ-117 รอดและได้รับการช่วยเหลือโดยหน่วยพลร่อมของสหรัฐ ซากของเอฟ-117 ไม่ได้ถูกทำลายทิ้ง เพราะว่าไม่มีสื่อในพื้นที่นั้น เซอร์เบียได้นำบุคคลากรของรัสเซียมาตรวจสอบซากที่เหลือ เป็นการเปิดเผยเทคโนโลยีอายุ 25 ปีของสหรัฐ[41] ซากถูกนำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์การบินในเบลเกรดใกล้กับสนามบินเบลเกรดนิโคลา เทสลา มีการระบุชื่อนักบินผิดพลาดอย่างมาก ในขณะที่"ผู้กองเคน วิซ ดเวลล์"เป็นชื่อที่ปรากฏบนฝาครอบห้องนักบิน ต่อมาก็มีการเปิดเผยว่านักบินที่บินเครื่องลำนั้นคือผู้หมวดโคล เดล เซลโค[42][43]

จากแหล่งข้อมูลบางแห่งของอเมริกากล่าวว่าเอฟ-117เอลำที่สองได้รับความเสียหายในภารกิจเดียวกัน ประมาณวันที่ 30 เมษายน[44] แม้ว่าเครื่องบินจะสามารถบินกลับฐานได้ มันก็ไม่ขึ้นบินอีกเลย[45][46]

การปลดประจำการ แก้

แม้ว่ามันจะถูกผลิตมาเพื่อการรบ เอฟ-117 ก็ถูกออกแบบด้วยเทคโนโลยีที่ล้าสมัยของทศวรรษที่1970 เทคโนโลยีล่องหนของมันด้อยกว่าบี-2 สปิริทและเอฟ-22 แร็พเตอร์ นอกจากนั้นการออกแบบที่ใช้เหลี่ยมมุมก็หมดไปเมื่อเทคโลโยลีใหม่ๆ เกิดขึ้นมา โครงการตัดทุนในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ได้เสนอให้ปลดประจำการเอฟ-117 ทั้งกองบินในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 เพื่อนำเงินไปซื้อเอฟ-22เอเพิ่ม โครงการดังกล่าวบังคับให้ปลดประจำการเครื่องบิน 10 ลำในปีพ.ศ. 2550 และอีก 42 ลำที่เหลือในปีพ.ศ. 2551 และกล่าวว่ากองทัพอากาศยังมีเครื่องบินชนิดอื่นที่สามารถทำหน้าที่แทนมันได้ อย่าง บี-2 เอฟ-22 และแจสม์[47] เดิมทีกองทัพอากาศได้วางแผนว่าจะปลดประจำการเอฟ-117 ในปีพ.ศ. 2554 ต่อมากองทัพอากาศได้ตัดสินใจที่จะปลดประจำการเอฟ-117 เร็วกว่านั้นเพื่อเพิ่มทุนในการพัฒนาเครื่องบินลำอื่น[32] สิ่งนี้จะเป็นการประหยัดงบประมาณไป 1.7 พันล้านดอลลาร์[48]

ในปลายปี 2549 กองทัพอากาศได้ปิดโรงเรียนนักบินเอฟ-117[49] และประกาศว่าเอฟ-117 ถูกปลดประจำการ[50] เครื่องบินหกลำแรกถูกปลดประจำการในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 หลังจากเสร็จสิ้นพิธีที่ฐานทัพอากาศฮอลโลแมน นายพลเดวิด โกลด์เฟน ผู้บัญชาการฝูงบินขับไล่ที่ 49 กล่าวในงานว่า "เมื่อเครื่องบินเหล่านี้ถูกนำมาใช้จนถึงวันนี้ วงจรได้สิ้นสุดลงแล้ว หน้าที่ของพวกมันในการป้องกันชาติของเขาได้เสร็จสิ้นแล้ว ภารกิจของพวกมันสมบูรณ์และทำงานได้ดี เราส่งพวกมันไปยังที่พำนักสุดท้าย บ้านที่พวกมันคุ้นเคย บ้านหลังแรกและหลังเดียวนอกฮอลโลแมน"[51]

ไม่เหมือนกับเครื่องบินส่วนใหญ่ของกองทัพอากาศซึ่งถูกปลดประจำการไปยังฐานทัพอากาศเดวิส-มอนแธน เอฟ-117 ถูกปลดประจำการไปยังสนามบินทดสอบระยะโทนาปาห์ ที่โทนาปาห์ปีกของพวกมันจะถูกนำออกและตัวเครื่องจะถูกเก็บไว้ในโรงเก็บเครื่องบิน[51] ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีการรายงานว่าเอฟ-117 ลำสุดท้ายที่ทำหน้าที่จะถูกเก็บในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551 ในที่ที่มันทำการบินเป็นครั้งแรก[32] เอฟ-117 ถูกปลดประจำการในช่วงพิธีกรรมที่ปาร์มเดลและโทนาปาห์ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551[2] เครื่องบินสี่ลำยังคงบินต่อหลังเดือนเมษายนโดยฝูงบินทดสอบที่ 410 ที่ปาร์มเดลสำหรับการบินทดสอบต่อไป เมื่อเริ่มเดือนสิงหาคมก็เหลืออยู่สองลำจากนั้นลำสุดท้ายก็ออกจากปาร์มเดลในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551[52] เมื่อเครื่องบินลำสุดท้ายบินออก ฝูงบินที่ 410 ก็ถูกยุบลงและจัดทำพิธีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551[53]

เครื่องบินที่จัดแสดง แก้

เครื่องวายเอฟ-117เอลำแรกปัจจุบันอยู่ที่ฐานทัพอากาศเนลลิส รัฐเนวาดา (36°13′38.00″N 115°3′33.28″W / 36.2272222°N 115.0592444°W / 36.2272222; -115.0592444) และสามารถมองเห็นได้จากด้านนอก วายเอฟ-117เอลำที่สองอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศแห่งสหรัฐ ที่ฐานทัพอากาศไรท์-แพทเตอร์สัน รัฐโอไฮโอ วายเอฟ-117เอ ลำที่สามอยู่ที่ฐานทัพอากาศฮอลโลแมน วายเอฟ-117เอ ลำที่สี่อยู่ที่แพลนท์ 42 ในปาร์มเดล รัฐแคลอปอร์เนีย ชิ้นส่วนของเอฟ-117เอที่ถูกยิงตกอยู่ที่พิพิธภัณฑ์การบินในกรุงเบลเกรด[54]

รายละเอียด[55] แก้

 
An orthographically projected diagram of the F-117A Nighthawk
 
An F-117 conducts a live exercise bombing run using GBU-27 laser-guided bombs.
  • ลูกเรือ 1 นาย
  • ความยาว 20.09 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสอง 13.20 เมตร
  • ความสูง 3.78 เมตร
  • พื้นที่ปีก 73 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 13,380 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 23,800 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเจเนรัล อิเลคทรอก เอฟ404-เอฟ102 สองเครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ 10,600 ปอนด์
  • ความเร็วสูงสุด 0.92 มัค (993 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พิสัย 1,720 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 45,000 ฟุต
  • น้ำหนักที่ปีกบรรทุก 330 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 0.40
  • อาวุธ

ดูเพิ่ม แก้

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

อ้างอิง แก้

อ้างอิง
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 [1], National Museum of the US Air Force, August 2009. Retrieved: 2009-08-12.
  2. 2.0 2.1 2.2 Pae, Peter. "Stealth fighters fly off the radar", Los Angeles Times, 23 April 2008. Retrieved: 27 April 2008.
  3. Aronstein and Piccirillo 1997, p. 267.
  4. Cunningham, Jim. "Cracks in the Black Dike, Secrecy, the Media and the F-117A." เก็บถาวร 2016-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Air & Space Power Journal, Fall 1991. Retrieved: 19 March 2008.
  5. "F-117: A long, storied history that is about to end", Air Force Print News, 28 October 2006.
  6. Shea, Christopher. "Now you see it..." Boston Globe, 4 February 2007. Retrieved: 11 March 2009.
  7. F-117A Nighthawk. Air-Attack.com.
  8. ""Method of Edge Waves in the Physical Theory of Diffraction"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-25. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  9. Stealth Technology เก็บถาวร 2009-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Centennial of Flight.
  10. UCI Ufimtsev, Pyotr Ya. "Method of Edge Waves in the Physical Theory of Diffraction." Journal of the Moscow Institute for Radio Engineering, 1964.
  11. Ireton, Major Colin T. "Filling the Stealth Gap." Air and Space Power Journal Fall 2006.
  12. 12.0 12.1 "The Advent, Evolution, and New Horizons of United States Stealth Aircraft". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  13. Top Gun - the F-117 Stealth Fighter
  14. Rich 1994, pp. 26-27.
  15. "F-117 History" เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. F-117 Stealth Fighter Association. Retrieved: 20 January 2007.
  16. F-117A Senior Trend
  17. "Senior Trend". Vectorsite.net, 1 April 2008.
  18. Rich 1994, p. 71.
  19. ""The Secrets of Stealth" on Discovery Military Channel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-03. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  20. "F-117A Nighthawk." AirAttack.com.
  21. Stealth Aircraft เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Centennial of Flight.
  22. "DOD 4120.15-L - Addendum", United States Department of Defense December 2007.
  23. Donald 2003, p. 98.
  24. "DOD 4120.15-L: Model Designation of Military Aerospace Vehicles" เก็บถาวร 2004-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. United States Department of Defense, 12 May 2004, p. 38. Retrieved: 20 January 2007.
  25. Miller 1990
  26. "Stealth and Beyond: Air Stealth (TV-series)". The History Channel, 2006. Retrieved: 19 March 2008.
  27. 27.0 27.1 Navy still not interested in F-117N; JAST plan due tomorrow (1993). Aerospace Daily. Vol. 167, No. 52; p. 426
  28. 28.0 28.1 Morrocco, John D. Lockheed Returns to Navy with new F-117N Design (1994). ‘’Aviation Week & Space Technology”. Vol. 140, No. 10; p. 26.
  29. Lockheed Martin targets RAF and USN for F-117 (1995). Flight International. 28 Jun 1995.
  30. Skunk Works official touts A/F-117X as Navy stealth option (1994). Aerospace Daily. Vol. 171, No. 56; p. 446
  31. Sweetman, Bill. "Unconventional Weapon." เก็บถาวร 2012-07-19 ที่ archive.today Air & Space, December 2007/January 2008. Retrieved: 19 March 2008.
  32. 32.0 32.1 32.2 Topolsky, Joshua. "Air Force's stealth fighters making final flights." CNN.com, 11 March 2008. Retrieved: 11 March 2009.
  33. Crocker 2006, p. 382.
  34. 34.0 34.1 Weapons: F-117A Stealth, PBS Frontline
  35. "Navy Looks On with Envy at Air Force Stealth Display." New York Times.
  36. Fisk 2006, p. 650.
  37. The Lucky Devils
  38. "Who shot down F-117?" เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Defence Aviation, 8 February 2007. Retrieved: 11 March 2009.
  39. How to Take Down an F-117, Strategy Page, 21 November 2005.
  40. 40.0 40.1 40.2 "Serb discusses 1999 downing of stealth." USAToday.com, 26 October 2005. Retrieved: 1 July 2009.
  41. Smith, Charles R. "Russia Offers India $8 Billion Weapons Deal" เก็บถาวร 2007-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NewsMax.com 12 December 2001. Retrieved: 20 January 2007.
  42. Dorr, Robert F. "USAF Fighter Force at 60". AirForces Monthly magazine, October 2007.
  43. Kosovo
  44. F-117 damage said attributed to full moon
  45. Riccioni, Colonel Everest E. "Description of our Failing Defence Acquisition System." Project on government oversight, 8 March 2005. Note: "This event, which occurred during the Kosovo conflict on 27 March, was a major blow to the US Air Force. The aircraft was special: an F-117 Nighthawk stealth bomber that should have been all but invisible to the Serbian air defences. And this certainly wasn't a fluke—a few nights later, Serb missiles damaged a second F-117."
  46. Nixon, Mark. "Gallant Knights, MiG-29 in Action during Allied Force." AirForces Monthly magazine, January 2002.
  47. "Program Budget Decision 720." เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Department of Defense.
  48. Tiron, Roxana. "New Mexico Air Force base at crossroads." เก็บถาวร 2017-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Hill, 22 February 2006. Retrieved: 11 March 2009.
  49. "F-117 pilot school closes." เก็บถาวร 2012-07-17 ที่ archive.today Air Force Times. Retrieved: 20 มกราคม พ.ศ. 2550.
  50. Bates, Staff Sergeant Matthew. "F-117: A long, storied history that is about to end." US Air Force, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549.
  51. 51.0 51.1 Barrier, Terri. "F-117A retirement bittersweet occasion." Aerotech News and Review, 16 March 2007.
  52. Radecki, Alan. "F-117’s final formation fling". Flight International, 8 August 2008. Retrieved: 11 March 20009.
  53. "410th FLTS 'Baja Scorpions' closes historic chapter." US Air Force, Edwards AFB, 5 August 2008.
  54. Daly, M. "Tape Reveals Stealth of Our Ukrainian Pal." Daily News. Retrieved: 2 January 2008.
  55. Lockheed F-117A Nighthawk fact sheet. National Museum of the US Air Force.
บรรณานุกรม
  • Aronstein David C. and Albert C. Piccirillo. HAVE BLUE and the F-117A. Reston, VA: AIAA, 1997. ISBN 1-56347-245-7.
  • Crickmore, Paul F. and Alison J. Nighthawk F-117 Stealth Fighter. St. Paul, Minnesota: Motorbooks, 2003. ISBN 0-7603-1512-4.
  • Crocker, H.W. III. Don't Tread on Me. New York: Crown Forum, 2006. ISBN 978-1400053636.
  • Donald, David, ed. Black Jets: The Development and Operation of America's Most Secret Warplanes. Norwalk, Connecticut: AIRtime Publishing Inc., 2003. ISBN 1-880588-67-6.
  • Fisk, Robert. The Great War for Civilisation: The Conquest of the Middle East. New York: Alfred Knopf, 2006. ISBN 1-84115-007-X.
  • Miller, Jay. Lockheed F-117 Stealth Fighter. Arlington, Texas: Aerofax Extra, 1990. ISBN 0-94254-848-5.
  • Rich, Ben R. Skunk Works. New York: Back Bay Books, 1994. ISBN 0-316-74330-5.
  • Sun, Andt. F-117A Stealth Fighter. Hong Kong: Concord Publications Co., 1990. ISBN 962-361-017-3.
  • Winchester, Jim, ed. "Lockheed F-117". Modern Military Aircraft (Aviation Factfile). Rochester, Kent, UK: Grange Books plc, 2004. ISBN 1-84013-640-5.
  • The World's Great Stealth and Reconnaissance Aircraft. New York: Smithmark, 1991. ISBN 0-8317-9558-1.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้