เอซากุ ซาโต (ญี่ปุ่น: 佐藤 栄作โรมาจิSatō Eisaku; 27 มีนาคม ค.ศ. 1901 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 1975) นักการเมืองชาวญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 39 ของญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 - ค.ศ. 1972 ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเป็นอันดับสอง เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1975

เอซากุ ซาโต
佐藤 栄作
ภาพถ่านทางการ, ค.ศ. 1964
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน 1964 – 7 กรกฎาคม 1972
กษัตริย์โชวะ
ก่อนหน้าฮายาโตะ อิเกดะ
ถัดไปคากูเอ ทานากะ
ประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม 1964 – 5 กรกฎาคม 1972
รองประธานาธิบดีโชจิโร คาวาชิมะ
เลขาธิการทั่วไป
ก่อนหน้าฮายาโตะ อิเกดะ
ถัดไปคากูเอ ทานากะ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
23 มกราคม 1949 – 3 มิถุนายน 1975
เขตเลือกตั้งยามางูจิ เขต 2
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มีนาคม ค.ศ. 1901(1901-03-27)
ทาบูเซะ จังหวัดยามางูจิ จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิต3 มิถุนายน ค.ศ. 1975(1975-06-03) (74 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พรรคการเมืองLDP (1955–1975)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
DLP (1948–1950)
JLP (1950–1955)
คู่สมรสฮิโรโกะ ซาโต (สมรส 1926)
บุตร2, รวมชินจิ
ความสัมพันธ์โนบูซูเกะ คิชิ (พี่ชาย)
ชินโซ อาเบะ (เหลนชาย)
โนบูโอะ คิชิ (เหลนชาย)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจักรวรรดิโตเกียว
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (1974)
ลายมือชื่อ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ชินจิไต佐藤栄作
คีวจิไต佐藤榮作
คานะさとう えいさく
การถอดเสียง
โรมาจิSatō Eisaku

เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1964 ถึง 1972 เขาถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนานเป็นอันดับ 3 และถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องนานสุดเป็นอันดับ 2 ซาโตเป็นที่รู้จักดีจากการรับประกันในการส่งคืนจังหวัดโอกินาวะใน ค.ศ. 1972 และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1974 ซึ่งก่อให้เกิดการโต้เถียง เขาเป็นอดีตข้าราชการชั้นสูงเหมือนกับโนบูซูเกะ คิชิ พี่ชายของเขา และสมาชิกในโรงเรียนโยชิดะเหมือนกับฮายาโตะ อิเกดะ[1]

ชีวิตช่วงต้น

แก้
 
จากซ้าย ซาโต (ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการก่อสร้าง), นายกรัฐมนตรี ชิเงรุ โยชิดะ และประธานพรรคฯ ซาเอกิ โอซาวะ (1953)

ซาโตเกิดในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1901 ที่ทาบูเซะ จังหวัดยามางูจิ โดยเป็นบุตรชายคนที่สามของฮิเดซูเกะ ซาโต นักธุรกิจ กับโมโยะ ภรรยา บิดาของเขาเคยทำงานในสำนักงานจังหวัดยามากูจิ แต่ลาออกใน ค.ศ. 1898 และเริ่มธุรกิจผลิตสาเกที่คิชิดะ ทาบูเซะ ครอบครัวมีประวัติในการผลิตสาเกและถือครองสิทธิ์ในการผลิตสาเกมาหลายชั่วรุ่น[2] ทวดของซาโตเป็นซามูไรในแคว้นศักดินาโชชู พร้อมอิทธิพลอันใหญ่หลวงในญี่ปุ่นยุคเมจิ โดยมีนายกรัฐมนตรีในยุคเมจิถึงไทโชที่มาจากจังหวัดยามางูจิมากกว่าจังหวัดอื่น พี่ชายสองคนของเขาคืออิจิโร ซาโตที่จะกลายเป็นพลเรือโท และโนบูซูเกะ คิชิ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1957-1960[3]

ซาโตศึกษากฎหมายเยอรมนีที่มหาวิทยาลัยจักรวรรดิแห่งโตเกียว และกอบผ่านข้าราชการพลเรือนชั้นสูงใน ค.ศ. 1923 ก่อนรับปริญญาในปีถัดมา เขาเข้าทำงานเป็นข้าราชการพลเรือนในกระทรวงรถไฟ เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานรถไฟโอซากะใน ค.ศ. 1944 ถึง 1946 และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมใน ค.ศ. 1947 ถึง 1948[4]

อาชีพการเมือง

แก้

หลังสงคราม เขาเข้าสู่สภาไดเอ็ตแห่งชาติในปี 1949 ในฐานะสมาชิกพรรคเสรีนิยม และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในหลายกระทรวงภายใต้รัฐบาลของชิเงรุ โยชิดะ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมในปี 1951–1952 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก่อสร้างในปี 1952–1953 และหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปี 1953–1954 ต่อมาเขาเข้าร่วมพรรคเสรีประชาธิปไตย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี 1958–1960 ภายใต้รัฐบาลของโนบูซูเกะ คิชิ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมในปี 1961–1962 ภายใต้รัฐบาลของฮายาโตะ อิเกดะ

ในปี 1964 ซาโตะได้สืบตำแหน่งต่อจากอิเคะดะในฐานะหัวหน้าพรรค LDP และนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและการเงินของญี่ปุ่น และดำรงตำแหน่งในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว

ในด้านนโยบายต่างประเทศ เขาได้ดูแลกระบวนการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีใต้ และรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา โดยยอมให้สนธิสัญญาความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ–ญี่ปุ่นต่ออายุในปี 1970 และเจรจาให้สหรัฐฯ ส่งคืนโอกินาวาให้ญี่ปุ่นในปี 1972

ในปี 1967 ซาโตะได้นำเสนอ “หลักการปลอดอาวุธนิวเคลียร์สามประการ” (ไม่ผลิต ไม่ครอบครอง และไม่ยอมให้อาวุธนิวเคลียร์เข้าสู่ประเทศ) และในปี 1968 ได้ลงนามในสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ อย่างไรก็ตาม ต่อมามีการเปิดเผยว่าเขาได้ทำข้อตกลงลับกับสหรัฐฯ ที่อนุญาตให้ละเมิดหลักการดังกล่าวได้

เมื่อเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและคะแนนนิยมที่ลดลงในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ซาโตะจึงลาออกจากตำแหน่งในปี 1972 และคากูเอ ทานากะได้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน แต่ซาโตะก็สูญเสียอิทธิพลทางการเมืองอย่างรวดเร็วเมื่อทาเกโอะ ฟูกูดะ ศิษย์เอกของเขาไม่ได้รับเลือกให้สืบตำแหน่งต่อ

เสียชีวิต

แก้

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1975 ซาโตเข้ารับประทานมื้อเย็นที่ชิกิรากุ ภัตตาคารในเขตสึกิจิของโตเกียว โดยฟูกูดะเข้าร่วมด้วย ระหว่างงาน เขาเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตกอย่างรุนแรงจนเข้าขั้นโคม่า จากนั้นจึงถูกกักตัวที่ห้องฉุกเฉินของภัตตาคารเป็นเวลา 4 วัน ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล[5] เขาเสียชีวิตเวลา 12:55 น. ของวันที่ 3 มิถุนายนที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยจิเกด้วยอายุ 74 ปี หลังจากพิธีศพสาธารณะ อัฐิของเขาถูกฝังไว้ในสุสานของครอบครัวที่ทาบูเซะ

ซาโตได้รับเกียรติหลังเสียชีวิตด้วยแถบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ถือเป็นเกียรติสูงสุดในระบบเกียรติยศของญี่ปุ่น

ชีวิตส่วนตัว

แก้
 
จากซ้าย - ฮิโรโกะ, ชินจิ, เอซากุ, รีวตาโร และฟูจิเอดะ (มัตสึโอกะ), ค.ศ. 1931

ซาโตสมรสกับฮิโรโกะ ซาโต (ญี่ปุ่น: 佐藤 寛子โรมาจิHiroko Satō; 5 มกราคม ค.ศ. 1907 – 16 เมษายน ค.ศ. 1987) ใน ค.ศ. 1926 และมีบุตรชายสองคน คือ รีวตาโรและชินจิ มัตสึซูเกะ ซาโต บิดาของฮิโรโกะ เป็นอาของเอซากุ หลังมัตสึซูเกะเสียชีวิตใน ค.ศ. 1911 ฮิโรโกะจึงได้รับการเลี้ยงดูจากทูตโยซูเกะ มัตสึโอกะ ลุงฝ่ายแม่ ลูกชายทั้งสองหันมาเล่นการเมืองตามบิดา

ในการสัมภาษณ์กับนักเขียนนวนิยายชูซากุ เอ็นโดจากชูกังอาซาฮิใน ค.ศ. 1969 ฮิโรโกะกล่าวหาซาโตเป็นคราดและผู้ตีภรรยา[6] งานอดิเรกของเขาได้แก่ กอล์ฟ ตกปลา และซาโด[4] โนบูซูเกะ คิชิ (พี่ชาย) และชินโซ อาเบะ (เหลนชาย) ก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี[7]

อ้างอิง

แก้
  1. https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-031-78527-6_6
  2. Yamada, Eizō; 山田栄三 (1988). Seiden Satō Eisaku. Shinchōsha. p. 23. ISBN 4-10-370701-1. OCLC 20260847.
  3. Kurzman, Dan (1960). Kishi and Japan: The Search for the Sun. Obolensky. ISBN 9780839210573.
  4. 4.0 4.1 "The Nobel Peace Prize 1974". Nobel Prize. สืบค้นเมื่อ 6 January 2013.
  5. Tsuda 2023, p. 19.
  6. "The Wife Tells All". Time. 10 January 1969. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2007. สืบค้นเมื่อ 6 January 2013.
  7. "1986 dual elections offer clue to Abe's plans".

ข้อมูล

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้