เห็ดสมองวัว[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gyromitra esculenta) เป็นเห็ดราแอสโกไมโคตาในสกุล Gyromitra พบได้ทั่วทั้งทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ โดยปกติจะเติบโตในดินทรายใต้ต้นสนช่วงฤดูใบไม้ผลิและต้นฤดูร้อน ดอกเห็ดของชนิดนี้เป็นหมวกเห็ดสีน้ำตาลเข้ม รูปร่างผิดปกติและคล้ายสมอง สามารถสูงได้ถึง 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) และกว้าง 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) ยืดออกมาจากก้านเห็ดหนาสีขาวที่สูงได้ถึง 6 เซนติเมตร (2.4 นิ้ว)

เห็ดสมองวัว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: เห็ดรา
หมวด: แอสโกไมโคตา
ชั้น: Pezizomycetes
อันดับ: Pezizales
วงศ์: Discinaceae
สกุล: Gyromitra
(Pers. ex Pers.) Fr. (1849)
สปีชีส์: Gyromitra esculenta
ชื่อทวินาม
Gyromitra esculenta
(Pers. ex Pers.) Fr. (1849)
ชื่อพ้อง[1]

เห็ดสมองวัวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในแถบสแกนดิเนเวีย ยุโรปตะวันออก และภูมิภาคทะเลสาบใหญ่ตอนบนของทวีปอเมริกาเหนือ แม้ว่าเห็ดชนิดนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเมื่อรับประทานดิบ ในประเทศสเปน มีการห้ามไม่ให้จำหน่ายเห็ดชนิดนี้แก่สาธารณชน แม้ว่าเห็ดชนิดนี้จะได้รับความนิยามในเขตบางเขตของเทือกเขาพิรินีตะวันออก ในประเทศฟินแลนด์ เห็ดชนิดนี้สามารถขายในสภาพสดได้แต่ต้องมีคำเตือนและคำแนะนำในการเตรียมสำหรับการประกอบอาหารที่ถูกต้อง

โดยปกตินั้น ผู้คนมักจะนำเห็ดสมองวัวไปลวกก่อนนำไปประกอบอาหาร แต่มีหลักฐานชี้ว่าวิธีการลวกไม่อาจทำให้เห็ดชนิดนี้ปลอดภัยโดยสิ้นเชิงสำหรับการบริโภค[3] เมื่อบริโภคเห็ดชนิดนี้เข้าไป สารตัวสำคัญ คือ ไจโรมิตริน (Gyromitrin) จะผ่านกระบวนการสลายด้วยน้ำ และกลายเป็นมอนอเมทิลไฮดราซีน (MMH) ซึ่งเป็นสารประกอบมีพิษ พิษนี้ส่งผลกระทบต่อตับ ระบบประสาทส่วนกลาง และไตในบางครั้ง อาการที่ตามมา ได้แก่ อาเจียน และท้องเสียเป็นเวลาหลายชั่วโมงหลังบริโภค ตามด้วยอาการเวียนศีรษะ ง่วงงุน และปวดหัว กรณีที่รุนแรงอาจทำให้เกิดอาการเพ้อ นำไปสู่อาการโคม่าและเสียชีวิตภายหลังจากนั้น 5 ถึง 7 วัน

อ้างอิง แก้

  1. "GSD Species Synonymy: Gyromitra esculenta (Pers.) Fr". Species Fungorum. CAB International. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2015.
  2. "เห็ดพิษ (Poisonous mushroom)" (PDF). ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย. สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม.
  3. Dart, Richard C. (2004). "Mushrooms". Medical toxicology. Philadelphia: Williams & Wilkins. pp. 1719–35. ISBN 978-0-7817-2845-4.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้