เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย คือ เหรียญ และตรา อันเป็นเครื่องประดับยศ เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเรียกว่า "เครื่องราชอิสริยยศ" เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยยศขึ้นอีกหลายตระกูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เปลี่ยนจากคำว่า "เครื่องราชอิสริยยศ" มาเป็นคำว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์"[1] สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดีให้แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มี 4 ประเภท ดังนี้
ประวัติ
แก้เมื่อลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกเริ่มเข้ามาคุกคามประเทศตะวันออกมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นชนวนให้คนรุ่นใหม่ในสยามประเทศเริ่มเคลื่อนไหวไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมปรับรับมือกับสิ่งใหม่ที่บรรดานักล่าอาณานิคมชาวตะวันตกนำเข้ามา ซึ่งก่อให้เกิดพัฒนาการอันเป็นพื้นฐานที่ดีต่อประเทศนานัปการ อาทิ การให้ความสนใจศึกษาเรื่องราวความเป็นมา ทั้งในด้านภาษา ศาสนา และศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ของชาติตะวันตกเหล่านั้นอย่างจริงจัง
ผู้ที่เป็นแกนนำสำคัญก็คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ที่มีพระวิสัยทัศน์กว้างไกล เมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีความพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ที่ดำเนินมาพร้อมกับการแสวงหาประโยชน์ อย่างผู้ที่ถือตนว่ามีพัฒนาการและอำนาจเหนือกว่าชาติทางแถบเอเชีย โดยได้โปรดให้ปรับเปลี่ยนธรรมเนียมแบบแผนหลาย ๆ อย่างให้เหมาะแก่กาลสมัย และสอดคล้องกับความเป็นสากลนิยม ตามแบบชาติตะวันตกที่เป็นมหาอำนาจอยู่ ณ เวลานั้น
จากเหตุการณ์ดังกล่าวนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่ง อันเป็นจุดกำเนิดของสิ่งประดับตกแต่งกับเสื้อที่เป็นเครื่องแสดงยศศักดิ์และบ่งบอกถึงฐานันดร หรือตำแหน่งหน้าที่ของผู้ที่ใช้ประดับอยู่ได้ โดยเครื่องประดับเสื้อเพื่อแสดงยศศักดิ์นี้ มีแบบอย่างมาจากชาวยุโรปเมื่อหลายร้อยปีก่อนที่มีความเป็นมาว่า แต่เดิมใช้เป็นเครื่องหมายในหมู่คณะพวกผู้ดี ที่ปฏิบัติกิจทางศาสนาเดียวกัน จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามครูเสดเพื่อแย่งชิงดินแดนปาเลสไตน์ ที่ชาวคริสต์ถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดของพระเยซู ให้รอดพ้นจากการครอบครองของชาวมุสลิม บรรดากษัตริย์และผู้มียศศักดิ์ทั้งหลายในยุโรป ได้พากันรับอาสาไปเป็นทหารครูเสดกันหลายประเทศ พระสันตะปาปาแห่งกรุงโรมจึงคิดทำเครื่องหมาย ให้แก่บรรดาทหารอาสาหรือที่เรียกกันว่า อัศวินนักรบ ผู้มีความกล้าหาญเหล่านั้น ด้วยการใช้รูป “กางเขน” เพื่อแสดงถึงความเป็นพวก ฝ่าย หรือคณะเดียวกันให้ปรากฏ โดยมีการเรียกคณะของแต่ละคณะว่า “Order”
หลังสงครามยุติลง มีการนำเครื่องหมายกางเขนมาตกแต่งให้มีรูปแบบต่างกันไปตามชั้นยศ เป็นเครื่องหมายแสดงตำแหน่งหรือความกล้าหาญ หรือเป็นบำเหน็จความชอบที่กษัตริย์พระราชทานให้ สิ่งเหล่านั้นจึงกลายมาเป็น “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” เพราะได้รับมอบจากกษัตริย์ โดยใช้คำ “Order” แทนความหมายว่า “ตระกูล” ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องประดับอาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน อาทิ The Order of Aviz ของโปรตุเกส ที่เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลแรกและเก่าแก่ที่สุดในยุโรป มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะเริ่มก่อตั้งขึ้น
ในเอเชีย สยามนับเป็นประเทศแรกที่มีการใช้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามอย่างสากล ด้วยความใฝ่ใจศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น จึงมีพระราชดำริจะสร้างเครื่องหมายแบบชาวตะวันตก จากแบบของสิ่งที่เป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ ได้แก่ ลวดลายของตราพระราชลัญจกรไอราพต ซึ่งเป็นตราประทับบนหนังสือราชการ และจากแบบของสิ่งที่เป็นมงคลเดิมของไทย ได้แก่ พลอย 9 ชนิด หรือที่เรียกว่า นพรัตน์ มาประยุกต์เข้าด้วยกันกับตราประดับเสื้อเพื่อแสดงเกียรติยศ ที่ชาวตะวันตกเรียกว่า Star โดยได้ทรงบัญญัติคำว่า “ดารา” ขึ้นมาใช้เรียกส่วนประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ตั้งแต่ชั้นที่ 2 เป็นต้นไปจนถึงชั้นสายสะพายและใช้มาตราบจนทุกวันนี้ แต่ยังคง ถือว่าเป็น “เครื่องราชอิสริยยศ” เพราะโดยมากสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่พระราชวงศ์ ส่วน “เครื่องสำคัญยศ” ที่เป็นของขุนนางมีไม่มากนัก และถือว่าเป็นต้นเค้าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยปัจจุบัน เช่น ดารานพรัตน เป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ดาราช้างเผือก เป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ฯลฯ
ชนิดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ลำดับเกียรติ[14] | แพรแถบย่อ | รายชื่อ | อักษรย่อ |
---|---|---|---|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ | ร.ม.ภ. | ||
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ | ม.จ.ก. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ | น.ร. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ | ป.จ.ว. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (พ้นสมัยพระราชทาน) | ร.ว. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า | ป.จ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 (เสนางคะบดี) | ส.ร. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก | ม.ป.ช. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ | ม.ว.ม. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก | ป.ช. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย | ป.ม. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ | ป.ภ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ | ท.จ.ว. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 (มหาโยธิน) | ม.ร. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก | ท.ช. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย | ท.ม. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นทุติยดิเรกคุณาภรณ์ | ท.ภ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า | ท.จ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 3 (โยธิน) | ย.ร. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (พ้นสมัยพระราชทาน) | ว.ภ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ | ต.จ.ว. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 (อัศวิน) | อ.ร. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นตริตาภรณ์ช้างเผือก | ต.ช. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตริตาภรณ์มงกุฎไทย | ต.ม. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นตติยดิเรกคุณาภรณ์ | ต.ภ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ | - | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า | ต.จ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นจัตุรถาภรณ์ช้างเผือก | จ.ช. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย | จ.ม. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ | จ.ภ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยานุจุลจอมเกล้า | ต.อ.จ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า | จ.จ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นเบญจมาภรณ์ช้างเผือก | บ.ช. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย | บ.ม. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นเบญจมดิเรกคุณาภรณ์ | บ.ภ. | ||
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (พ้นสมัยพระราชทาน) | ว.ม.ล. |
เหรียญราชอิสริยาภรณ์
แก้เหรียญราชอิสริยาภรณ์ มี ๔ ประเภท คือ เหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในความกล้า เหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในราชการ เหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์ และเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่ระลึก
เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ
แก้ลำดับที่ | แพรแถบย่อ | รายชื่อ | อักษรย่อ |
---|---|---|---|
เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร | ร.ม.ก. | ||
เหรียญรามมาลา | ร.ม. | ||
เหรียญกล้าหาญ | ร.ก. | ||
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ | ร.ด.ม.(ก) | ||
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน | ช.ส. | ||
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา | ช.ส. | ||
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี | ช.ส. | ||
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม | ช.ส. | ||
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 | ส.ช.๑ | ||
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 | ส.ช. ๒/๑ | ||
เหรียญราชนิยม (พ้นสมัยพระราชทาน) | ร.น. | ||
เหรียญปราบฮ่อ (พ้นสมัยพระราชทาน) | ร.ป.ฮ. | ||
เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป (พ้นสมัยพระราชทาน) | |||
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ้นสมัยพระราชทาน) | พ.ร.ธ. | ||
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 | ส.ช. ๒/๒ | ||
เหรียญศานติมาลา (พ้นสมัยพระราชทาน) | ศ.ม. |
เหรียญบำเหน็จในราชการ
แก้ลำดับที่ | แพรแถบย่อ | รายชื่อ | อักษรย่อ |
---|---|---|---|
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน หรือเข็มศิลปวิทยา (ฝ่ายทหารและตำรวจ) | |||
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน หรือเข็มศิลปวิทยา (ฝ่ายพลเรือน) | |||
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน | |||
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา | |||
เหรียญราชการชายแดน | |||
เหรียญทองช้างเผือก | |||
เหรียญทองมงกุฎไทย | |||
เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ | |||
เหรียญเงินช้างเผือก | |||
เหรียญเงินมงกุฎไทย | |||
เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ | |||
เหรียญจักรมาลา | |||
เหรียญจักรพรรดิมาลา | |||
เหรียญศารทูลมาลา (พ้นสมัยพระราชทาน) | |||
เหรียญบุษปมาลา (พ้นสมัยพระราชทาน) | |||
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 1 | |||
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 2 | |||
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 3 | |||
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1 | |||
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 2 | |||
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 3 | |||
เหรียญลูกเสือยั่งยืน |
เหรียญบำเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์
แก้ลำดับที่ | แพรแถบย่อ | รายชื่อ | อักษรย่อ |
---|---|---|---|
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 | |||
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 | |||
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 | |||
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 | |||
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 | |||
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 | |||
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 | |||
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 5 | |||
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 6 | |||
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 7 | |||
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 9 | |||
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 |
เหรียญที่พระราชทานเป็นที่ระลึก
แก้-
เหรียญศตพรรษมาลา พ.ศ. 2425
-
เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (รัชกาลที่ 5) พ.ศ. 2436
-
เหรียญประพาสมาลา พ.ศ. 2440
-
เหรียญราชินี พ.ศ. 2440
-
เหรียญรัชมงคล พ.ศ. 2450
-
เหรียญรัชมงคลาภิเศก พ.ศ. 2451
-
เหรียญบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2454
-
เหรียญชัย (เหรียญนารายณ์บันฦๅชัย) พ.ศ. 2464
-
เหรียญบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2468/69
-
เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี พ.ศ. 2475
-
เหรียญบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2493
-
เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500
-
เหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป พ.ศ. 2504
-
เหรียญรัชดาภิเษก (รัชกาลที่ 9) พ.ศ. 2514
-
เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ. 2515
-
เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. 2520
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษา 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2525
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 2 ตุลาคม พุทธศักราช 2527
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2535
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2547
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2554
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2555
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน พุทธศักราช 2558
-
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2559
-
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 พ.ศ. 2562
-
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไขเพิ่มเติม, เล่ม ๖, ตอน ๓๗, ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๒), หน้า ๓๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, เล่ม ๗๙, ตอน ๕๒ ก, ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕, หน้า ๖๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงษ์, เล่ม ๑๑, ตอน ๑๔, ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๗, หน้า ๑๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๔๒, ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๔๕๙
- ↑ พระราชบัญญัติเครื่องราชอิศริยยศจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูล ปีระกาเบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิศริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ก, ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๑๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๙, ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๔๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม, เล่ม ๑๐, ตอน ๔๑, ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๔๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๓๔, เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๒๗ ก ฉบับพิเศษ, ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดให้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ ไว้สำหรับพระราชทานแก่ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ ๑ และผู้มีอุปการคุณช่วยเหลือกิจการลูกเสือ, เล่ม ๑๐๔, ตอน ๒๔๕ ก ฉบับพิเศษ, ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ก, ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติตราวัลละภาภรณ์, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ ก, ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๔๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติตราวชิรมาลา รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ก, ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๙ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
- ↑ จัดจ้างทำแพรแถบเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๗ จำนวน ๓๖,๐๐๐ เมตร
- หนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ดูเพิ่ม
แก้- เครื่องอิสริยาภรณ์
- ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- รายชื่อเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย
- เครื่องราชอิสริยยศไทย
- ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์
- รายชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศของพระราชวงศ์ไทยแยกตามประเทศ
- เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบรมราชาธิบายเรื่องเครื่องราชอิศริยาภรณ์ของกรุงสยาม เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ๒๔๖๓, ๒๓, ๑๕ หน้า
- กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เก็บถาวร 2007-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สำนักนายกรัฐมนตรี. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย. กรุงเทพฯ : จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2535, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546. 411 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-7771-17-9
- ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การปรับราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๑, ตอน พิเศษ ๑๘๕ ง, ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๔
- ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ เก็บถาวร 2010-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน