เหยี่ยวรุ้ง
เหยี่ยวรุ้ง | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Accipitriformes |
วงศ์: | Accipitridae |
สกุล: | Spilornis |
สปีชีส์: | S. cheela |
ชื่อทวินาม | |
Spilornis cheela (Latham, 1790) | |
ชนิดย่อย | |
|
เหยี่ยวรุ้ง หรือ อีรุ้ง[3] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Spilornis cheela) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางจำพวกเหยี่ยวที่พบได้ในป่าในทวีปเอเชียเขตร้อน มีการกระจายพันธุ์กว้าง ด้วยความที่นกในสกุลนี้กินอาหารหลัก คือ งู จึงได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า serpent-eagle (เหยี่ยวงู หรือ อินทรีงู)
ลักษณะทั่วไป
แก้เหยี่ยวรุ้งเป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลาง ขนาดลำตัวยาวประมาณ 51-71 เซนติเมตร มีแผ่นหนังสีเหลืองสดใสบริเวณโคนปากไปจนถึงดวงตา ขนบริเวณท้ายทอยค่อนข้างยาวคล้ายมีขนหงอนที่หัว ซึ่งมีลักษณะคล้ายพัดเป็นสีดำลายซีดสีขาว ที่เมื่อเวลาโกรธหรือขู่คู่ต่อสู้ให้กลัวจะแผ่ออก[3] ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยเฉพาะที่ปีกจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ ลำตัวด้านล่างเป็นสีน้ำตาลและมีลายจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ตัวที่โตเต็มวัยขณะบินจะเห็นแถบกว้างสีขาวที่หาง และใต้ปีกชัดเจน
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
แก้พบในอินเดีย, จีน, ไหหลำ, ไต้หวัน, พม่า, ไทย, อินโดจีน, มาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคในปริมาณปานกลาง จึงมีชนิดย่อยมากถึง 20 ชนิด (ดูในตาราง) อาศัยอยู่ตามป่าที่ราบและตามป่าบนยอดเขาใกล้ ๆ แหล่งน้ำต่าง ๆ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ จาก IUCN (อังกฤษ)
- ↑ จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
- ↑ 3.0 3.1 รุ้ง ๒ น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ เหยี่ยวรุ้ง องค์การสวนสัตว์
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Spilornis cheela ที่วิกิสปีชีส์