เหตุฆาตกรรมวีรชัย ศกุนตะประเสริฐ
วีรชัย ศกุนตะประเสริฐ (พ.ศ. 2495/2496 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) เป็นพี่ชายของผู้พิพากษาอาวุโสของศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ถูกชาย 5 คนลักพาตัวจากหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ก่อนถูกฆาตกรรมด้วยการต่อยที่ท้อง[2] แล้วนำศพไปเผานั่งยางที่เขาใบไม้[3] โดยผู้บงการการลักพาตัวเเละฆาตกรรมในคดีนี้คือบรรยิน ตั้งภากรณ์ ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 2 สมัย[4]
วันที่ | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 |
---|---|
ที่ตั้ง |
|
ประเภท | ฆาตกรรม, การลักพาตัว, การเผานั่งยาง, การข่มขู่ |
เหตุจูงใจ | ต้องการให้ยกฟ้องในคดีโอ้นหุ้นนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง[1] |
เป้าหมาย | พนิดา ศกุนตะประเสริฐ |
ผู้เข้าร่วม |
|
เสียชีวิต | วีรชัย ศกุนตะประเสริฐ อายุ 67 ปี |
พิพากษาลงโทษ | 6 |
พิพากษาลงโทษ | บรรยิน: ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ซ่อนเร้นทำลายศพ มานัส: สนับสนุนให้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ณรงค์ศักดิ์: ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ชาติชาย, ประชาวิทย์, ธงชัย: ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย |
โทษ | บรรยิน: จำคุกตลอดชีวิต; เปลี่ยนเป็นโทษประหารชีวิต (รอการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตจากพระราชทานอภัยโทษปี 2567) ณรงค์ศักดิ์: จำคุกตลอดชีวิต; เปลี่ยนเป็นโทษประหารชีวิต;เปลี่ยนกลับเป็นจำคุกตลอดชีวิต มานัส: จำคุก 33 ปี 4 เดือน; เปลี่ยนเป็นจำคุกตลอดชีวิต;เปลี่ยนกลับเป็นจำคุก 33 ปี 4 เดือน ชาติชาย, ประชาวิทย์, ธงชัย: จำคุกตลอดชีวิต |
ภูมิหลัง
แก้บรรยิน ตั้งภากรณ์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของคนหลายคน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2534 นางสาวรสรินทร์ ศรีนุกูล ซึ่งตั้งครรภ์อ่อน ๆ ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่อำเภอพยุหะคีรีหลังจากเดินทางกลับจากร้านอาหารครัวชัยนาท[5] บรรยินได้อ้างว่ารสรินทร์หักหลบรถสิบล้อ เเล้วรถไปชนต้นสะเดา ส่งผลให้รสรินทร์เสียชีวิต ญาติได้ตั้งข้อสงสัยว่ารสรินทร์ขับรถไม่เป็นและไม่มีใบอนุญาตขับขี่ แต่ทำไมถึงเป็นคนขับรถ[6] แต่คดีดังกล่าวอัยการสั่งไม่ฟ้อง[7] ต่อมาบรรยินได้เเต่งงานกับวราภรณ์ ตั้งภากรณ์ ซึ่งครอบครัวประกอบอาชีพธุรกิจก่อสร้าง ต่อมาสราวุธซึ่งเป็นน้องชายของเธอถูกยิงเสียชีวิตในปี พ.ศ 2553 และบรรยินถูกสงสัยว่า อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรมคนมีชื่อเสียงหลายคนในจังหวัดนครสวรรค์[8] ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558 บรรยินได้ขับรถเล็กซัสไปรับชูวงษ์ แซ่ตั๊ง หรือเสี่ยจืด ไปตีกอล์ฟด้วยกัน ต่อมารถยนต์ของบรรยินชนกับต้นยูคาลิปตัสที่ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9[9] และชูวงษ์ถูกพบว่าเสียชีวิต ส่วนบรรยินไม่ได้รับบาดเจ็บ[10] บรรยินได้ให้การว่าขับรถด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอ้างว่าสาเหตุที่รถชนต้นไม้มาจากรถยนต์คันอื่นสวนมา[11] เเต่กองพิสูจน์หลักฐานพบว่าก่อนถึงที่เกิดเหตุ 900 เมตร ได้ขับด้วยความเร็ว 38 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งไม่เพียงพอให้ชูวงษ์เสียชีวิตได้[12][13] ต่อมาเจ้าหน้าที่กองปราบปรามได้รวมรวมหลักฐานเเละพบว่ากัญฐณา ศิวาธนพล, อุรชา วชิรกุลฑล, ศรีธรา พรหมา, และบรรยิน ตั้งภากรณ์ ได้ร่วมกันโอนหุ้น AECS ของชูวงษ์ ให้อุรชาซึ่งเป็นโบรกเกอร์ ก่อนจะขายหุ้นดังกล่าวเป็นมูลค่า 40 ล้านบาท[14] 2 สัปดาห์ต่อมา ทั้งสี่คนได้ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารการขยายหุ้น OSK เป็นมูลค่า 84 ล้านบาท[15] และพบหลักฐานเป็นหุ้นของชูวงษ์ที่ถูกขายเป็นเงินสดไปแล้ว 200 ล้านบาท กองปราบปรามได้เเจ้งข้อหาลักทรัพย์ ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิ์ปลอมหรือรับของโจร กับกัญฐณา, อุรชา, ศรีธรา และบรรยิน[16] โดยคดีโอนหุ้นจะนัดฟังคำตัดสินในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยมีพนิดา ศกุนตะประเสริฐ ซึ่งเป็นผู้พิพากษาอาวุโสของศาลอาญากรุงเทพใต้เป็นเจ้าของสำนวนคดี[17][18]
การก่อเหตุ
แก้ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563 บรรยินได้สั่งมานัสกับณรงค์ศักดิ์ขับรถฟอร์ดเอเวอเรสต์ จากจังหวัดนครสวรรค์มายังกรุงเทพมหานคร เพื่อสะกดรอยพนิดา ศกุนตะประเสริฐ โดยสลับไปใช้ยานพาหนะต่าง ๆ จนทราบถึงกิจวัตรของวีรชัยเเละพนิดา โดยทราบว่าวีรชัยจะนั่งเเท็กซี่จากบ้านพักที่ถนนวรจักร มาส่งพนิดาที่หน้าศาลอาญากรุงเทพเทพใต้[19] และวีรชัยมารับพนิดากลับในช่วงเย็น ต่อมาบรรยิน มานัส เเละณรงค์ศักดิ์ ได้เตรียมรถโตโยต้า สปอร์ตไรเดอร์ และติดตั้งป้ายทะเบียนปลอม ณรงค์ศักดิ์ได้ซื้อน้ำมันเบนซิน 95 เเละเตรียมยางรถยนต์เเละเเผ่นสังกะสีไว้ที่เขาใบไม้ในอำเภอตาคลี[20][21]
ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บรรยินได้ขับรถโตโยต้า สปอร์ตไรเดอร์ มายังด้านตรงข้ามของศาลเเพ่งกรุงเทพใต้ ต่อมาเวลา 17.30 น. วีรชัยได้ลงจากเเท็กซี่ ก่อนที่ บรรยิน, ณรงศักดิ์ ชาติชาย และประชาวิทย์ บรรยินที่ใส่ชุดตำรวจพร้อมกับหมวกกันน็อกเเละหน้ากากอนามัย ได้ไปขอตรวจบัตรประชาชน หลังจากนั้นณรงศักดิ์ได้ล็อกตัววีรชัย ส่วนชาติชายได้ดันตัววีรชัยขึ้นไปบนรถยนต์โตโยต้าที่จอดอยู่ตรงข้ามศาลเเพ่งกรุงเทพใต้แล้วขับรถยนต์ไปที่ด่านเก็บเงินค่าผ่านทางพิเศษสุรวงศ์ แล้วมุ่งหน้าไปทางทางพิเศษประจิมรัถยา ก่อนจะมุ่งหน้าไปทางอำเภอบางบัวทอง ระหว่างนั้นกลุ่มคนร้ายได้นำเทปกาวมาปิดปากแล้วนำถุงผ้ามาคลุมที่ศีรษะ ต่อมาพนิดาได้โทรหาวีรชัย บรรยินได้รับสายเเละบอกว่าวีรชัยประสบอุบัติเหตุ หลังจากนั้นพนิดาไปตรวจสอบที่โรงพยาบาลต่าง ๆ แต่ไม่พบตัวของวีรชัย จึงไปแจ้งตำรวจเเล้วโทรหาวีรชัยอีกครั้ง แต่บรรยินได้รับสายและข่มขู่ให้ยกฟ้องในคดีโอนหุ้นและให้คืนเงิน ต่อมาวีรชัยได้ขัดขืน ณรงค์ศักดิ์จึงต่อยวีรชัยเข้าที่สีข้าง แล้วขับรถไปตามเส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 เพื่อไปยังจังหวัดนครสวรรค์ วีรชัยได้เสียชีวิตในระหว่างทาง[22] กลุ่มผู้ก่อเหตุจึงได้เปลี่ยนจากการข่มขู่ผู้พิพากษามาเป็นการอำพรางศพ ต่อมารถยนต์โตโยต้าได้ขับมาถึงสวนนกชัยนาท มานัสได้ขับรถฟอร์ดเอเวอเรสต์ มาเปลี่ยนคนจากรถโตโยต้า แล้วขับนำหน้าเพื่อดูการตั้งด่านของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อมากลุ่มคนร้ายได้ขับรถมาถึงเขาใบไม้ ในอำเภอตาคลีซึ่งได้เตรียมอุปกรณ์ในการเผานั่งยาง[23][24]
หลังจากนั้นกลุ่มคนร้ายได้นำศพของวีรชัยมาเผานั่งยาง แล้วนำเศษเถ้ากระดูกขนาดเล็กและเเหวนของวีรชัยไปทิ้งที่พื้นที่รกร้างในบ้านวังตามา ตำบลนิคมเขาบ่อเเก้ว อำเภอพยุหะคีรี หลังจากนั้นได้นำเถ้ากระดูกที่เผาไม่หมดใส่ถุงปุ๋ย เเล้วนำไปทิ้งลงในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานตะเคียนเลื่อน ตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์[25] ส่วนอุปกรณ์ในการเผานั่งยางและทรัพย์สินของวีรชัย รวมถึงโทรศัพท์มือถือ ถูกทิ้งลงแม่น้ำปิงที่หน้าวัดไทรใต้ ในเขตเทศบาลนครสวรรค์[26][27][28]
การสืบสวนเเละการการจับกุม
แก้ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 หลังจากพนิดา ศกุนตะประเสริฐซึ่งเป็นผู้พิพากษาอาวุโสของศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้เเจ้งตำรวจว่าวีรชัยซึ่งเป็นพี่ชายของเธอถูกกลุ่มคนร้ายที่ไม่ทราบกลุ่มลักพาตัวแเละจะกักขังวีรชัยไว้จนกว่าพนิดาจะยกฟ้องในคดีโอนหุ้น แล้วต้องคืนหุ้นที่อายัดไว้ทั้งหมด[29] พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้สั่งการให้ พล.ต.ท. สุทิน ทรัพย์พ่วง, พล.ต.ต. จิรภพ ภูริเดช และ พล.ต.ต. สันติ ชัยนิรามัย ให้สืบสวนคดี กองปราบปรามได้สืบสวนจนทราบว่าบรรยิน มานัสเเละณรงค์ศักดิ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของวีรชัย ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ของกองปราบปรามได้รวมรวมหลักฐานเป็นพยานหลักฐาน, ข้อมูลกล้องวงจรปิดของศาล, ข้อมูลการใช้รถ และข้อมูลของการใช้โทรศัพท์ ก่อนจะรวบรวมหลักฐานเเละออกหมายจับบรรยิน มานัสเเละณรงค์ศักดิ์[30]
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ เมื่อเวลา 05.00 น. เจ้าหน้าที่กองปราบปรามเเละหนุมานกองปราบได้เปิดปฎิบัติการตรวจค้น 21 จุด ตรวจค้นในจังหวัดนครสวรรค์ 19 จุด เเละกรุงเทพมหานคร 2 จุด ต่อมาในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น เจ้าหน้าที่ของกองปราบปรามได้ตรวจค้นบ้านของบรรยินในตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์[31] เมื่อเวลา 06.00 น. บรรยินและลูกน้อง 2 คนได้ถูกกองปราบปรามควบคุมตัวที่จังหวัดนครสวรรค์[32] เมื่อเวลา 12.30 น. เจ้าหน้าที่กองปราบปรามได้นำหลักฐานที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุประกอบด้วยรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าสีดำเเดง รองเท้า หมวกกันน็อกสีเทา 2 ใบ และเสื้อผ้า[33] ต่อมาเวลา 15.00 น. ตำรวจกองปราบปรามเเละหนุมานกองปราบได้นำตัวบรรยินมายังกองปราบปราม บรรยินได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวด้วยสีหน้าที่ยิ้มเเย้มว่า "ยังงง ๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะถูกคุมตัวตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้าของวันที่ 23 ก.พ. และมั่นใจว่าตัวเองบริสุทธิ์[34] เพราะไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้และจนถึงขณะนี้ยังติดต่อทนายความไม่ได้"[35][36] หลังจากที่เจ้าหน้าที่กองปราบปรามได้เเจ้งข้อหากับบรรยินก่อนจะนำตัวเข้าห้องควบคุมตัว[37] บรรยินได้ตอบคำถามกับสื่อมวลชนว่า"ผมให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาครับ"[38][39][40][41][42]
สราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และโฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ได้กล่าวว่าแรงจูงใจในคดีนี้มาจากคดีการเสียชีวิตของชูวงศ์ เเซ่ตั้งและคดีโอนหุ้นชูวงศ์[43][44] ก่อนการลักพาตัววีรชัย 1 ชั่วโมงได้มีกล้องวงจรปิดจับภาพคนร้ายอย่างน้อย 3 คนมาดักรอที่หน้าศาล[45][46] และการจับตัวประกันเพื่อต่อรองเป็นเหตุร้ายเเรงที่ไม่เคยเกิดขึ้นในศาลยุติธรรมมาก่อน[47]
การจับกุมบรรยินเกิดจากมีผู้ร่วมก่อเหตุคนหนึ่งได้รับสารภาพว่าได้ก่อเหตุฆาตกรรมอำพรางวีรชัยเเล้วนำศพไปทิ้งลงเเม่น้ำในจังหวัดนครสวรรค์ โดยบรรยินมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้ด้วย[48][49]
การสืบสวน
แก้ต่อมา มานัสกับณรงค์ศักดิ์ ได้รับสารภาพที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี เเละพบไปชี้จุดที่ก่อเหตุฆาตกรรม เผานั่งยางและทิ้งชิ้นส่วนร่างกายลงเเม่น้ำ ต่อมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมธงชัย, ประชาวิทย์และชาติชายที่จังหวัดนครสวรรค์[50][51] จากการสอบสวนมานัส มานัสได้สารภาพว่าเขาเป็นคนจัดหาคนมาก่อเหตุเเละมีหน้าที่ในการขับรถรับ-ส่งผู้ก่อเหตุ ผู้ก่อเหตุลักพาตัวประกอบด้วยธงชัย, ประชาวิทย์, ชาติชายและณรงค์ศักดิ์[52][53] ในช่วงบ่ายอาสาสมัครนักประดาน้ำกู้ภัยตาคลี ได้งมพบโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่องพร้อมกับซิมการ์ด ที่เเม่น้ำปิง หน้าวัดไทรใต้ โดยห่างจากตลิ่ง 5 - 10 เมตร โดยหนึ่งใดผู้ก่อเหตุได้รับสารภาพว่านำโทรศัพท์มือถือทิ้งลงบริเวณนี้[54] ในเวลา 16.00 น. หนุมานกองปราบได้คุมควบตัวประชาวิทย์, ชาติชายและธงชัย ไปยังกองปราบปราม ผ่านทางประตูหนีไฟ โดยณรงค์ศักดิ์, ชาติชายและประชาวิทย์ได้รับสารภาพในชั้นสอบสวน ส่วนบรรยิน, มานัสและธงชัยได้ปฎิเสธในการก่อคดี ต่อมาเวลา 20.30 น. เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานได้เดินทางไปยังพื้นที่รกร้าง ที่บ้านวังตามา ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี หลังจากที่หนึ่งในผู้ก่อเหตุได้รับสารภาพว่านำร่างของวีรชัยไปเผานั่งยางที่บริเวณพื้นที่รกร้างของบ้านวังตามา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้พบเศษกระดูก,เศษยางรถยนต์ที่เผาไม่หมดและเเหวนของวีรชัย[55][56]
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ผลตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ พบว่าคราบเลือดบนโตโยต้า สปอร์ตไรเดอร์เป็นของวีรชัย[57] ส่วนแหวนรูปเต่าและหัวเข็มขัดที่พบในพื้นที่รกร้างในบ้านวังตามาเป็นของวีรชัย[58]เมื่อเวลา 05.30 น. เจ้าหน้าที่กองปราบปรามเเละหนุมานกองปราบได้ควบคุมตัวณรงค์ศักดิ์, ชาติชายและประชาวิทย์ไปแผนแผนประกอบคำสารภาพ 2 จุดได้เเก่บ้านของบรรยินที่ซอยรัชดา 33 แขวงจตุจักร ซึ่งใช้ในการวางแผน และริมถนนใต้ต้นโพธิ์ตรงข้ามศาลแพ่งกรุงเทพใต้ แขวงยานนาวา ซึ่งเป็นจุดลักพาตัว[59] ในช่วงเช้าของวันเดียวกัน นักประดาน้ำที่เเม่น้ำปิง บริเวณหน้าวัดไทรใต้ ได้งมพบโทรศัพท์มือถือเอไอเอส ลาวาสีดำ[60] ต่อมาเวลา 13.00 น. นักประดาน้ำได้งมที่ตอม่อสะพานตะเคียนเลื่อน ตำบลกลางเเดด และพบกระดูก 7 ชิ้น โดย 2 ชิ้นเป็นกระดูกของมนุษย์ โดยกระดูกชิ้นที่ 7 ไม่ใช่กระดูกมนุษย์[61] ในเวลา 22.00 น. เจ้าหน้าที่ได้พบโทรศัพท์มือถือ ซัมซุง ฮีโร่ 1 เครื่องเเละซิมโทรศัพท์ โดยเป็นโทรศัพท์มือถือที่ผู้ก่อเหตุใช้ประสานงานในการก่อเหตุ[62]
เมื่อเวลา 15.30 น. ศาลได้อนุญาตให้ฝากขังบรรยินและผู้ร่วมก่อเหตุ 5 คน เป็นเวลา 12 วัน โดยได้คัดค้านการประกันตัว เนื่องจากคดีนี้มีโทษสูงและผู้ก่อเหตุมีอิทธิพลซึ่งอาจไปข่มขู่พยาน[63] ต่อมาเวลา 16.30 น. กรมราชฑัณฑ์ได้นำตัวบรรยินเเละผู้ก่อเหตุร่วม 5 คนจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ[64] ในช่วงค่ำของวันเดียวกัน เรือนจำพิเศษกรุงเทพได้รับตัวบรรยินเเละผู้ร่วมก่อเหตุ 5 คน เข้าสู่เรือนจำ โดยได้ปฎิบัติตามขั้นตอนของการรับตัวผู้ต้องขัง[65] ซึ่งจะเเยกผู้ก่อเหตุไปคุมขังอยู่คนละเเดนและดูเเลด้านความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด[66] ซึ่งบรรยินทึ่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน โดยบรรยินนำยามารับประทานเอง ถ้ายาหมด แพทย์ของโรงพยาบาลกรมราชฑัณฑ์จะนำยามาให้[67][68]และศาลได้ปฎิเสธการประกันตัวผู้ก่อเหตุทั้งหมด[69] ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เปิดเผยหลักฐานเป็นกล้องวงจรปิดที่จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ในช่วงเวลา 10.26 น. ได้เเสดงถึงรถยนต์โตโยต้าวีโก้ สีขาวของธงชัยจอดอยู่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ผู้โดยสารในรถโตโยต้าวีโก้ประกอบด้วยชาติชาย ธงชัยและประชาวิทย์[70] ต่อมา 10.29 น. รถฟอร์ดเอเวอร์เรส สีดำของบรรยิน มานัสเป็นคนขับ บรรยินนั่งที่ด้านหน้าเเละณรงศักดิ์นั่งที่ด้านหลัง หลังจากรถฟอร์ดของบรรยินได้เข้ามาใกล้รถของธงชัย ธงชัยได้นั่งหลังรถ ณรงศักดิ์ได้พาตัวประชาวิทย์กับชาติชายไปนั่งหลังรถ ชาติชายกับประชาวิทย์เป็นลูกน้องของธงชัย[71] และธงชัยได้ลงจากรถมาไหว้บรรยินแล้วพูดคุยกันเล็กน้อย ก่อนจะขับรถออกไปตอน 10.30 น.[72] และกองปราบปรามได้นำหมายค้นฟาร์มไก่ของธงชัยที่บ้านดอนวัด อำเภอเมืองนครวรรค์ โดยพบรถกระบะโตโยต้าวีโก้สีขาวและพบรถจักรยานยนต์ฮอนด้าเวฟสีเเดงถูกบรรทุกที่ท้ายรถกระบะ เจ้าหน้าที่กองปราบปรามจึงยึดไปตรวจสอบ โดยสายชล เข็มทองซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านดอนวัด ได้ปรากฏตัวว่าเป็นเจ้าของรถกระบะและมีหน้าที่ในการดูเเลฟาร์มไก่ของธงชัย โดยสายชลได้ระบุว่ารถกระบะเป็นของสายชลซึ่งธงชัยยืมมาใช้ถูกยืมมาเป็นเวลานานเเล้ว ส่วนรถจักรยานยนต์เป็นของธงชัย โดยใช้ในการเดินทางในฟาร์มไก่ โดยสายชลได้กล่าวเสริมว่าในฐานะที่เขาสนิทสนมเเละอยู่กับธงชัยเป็นเวลานานกับธงชัย หรือที่เรียกติดปากว่าดาบอ็อด โดยสายชลได้กล่าวว่าเขาไม่เชื่อว่าธงชัยอยู่ในกลุ่มผู้ก่อเหตุ และไม่เชื่อว่าประชาวิทย์เเละชาติชาย ซึ่งเป็นลูกน้องของธงชัย มีส่วนร่วมในการก่อเหตุ เพราะทั้งสองเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งไม่น่าจะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมเหมือนที่มีการนำเสนอข่าว[73]
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
วงจรปิดชัด! รถ "พ.ต.ท.บรรยิน" พบทีมอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา, วิดีโอยูทูบ |
ในวันเดียวกัน พล.ต.ต. จิรภพ ภูริเดช ได้เปิดเผยว่า สื่อบางสื่อนำเสนอว่าธงชัยได้อยู่ที่หน้าศาลเเพ่งกรุงเทพใต้ บริเวณซอยเจริญกรุง 63 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พล.ต.ต. จิรภพได้ยืนยันว่าธงชัยไม่อยู่ที่หน้าศาลเเพ่งกรุงเทพใต้ในวันเเละเวลาดังกล่าว เพราะธงชัยอยู่ที่งานศพที่จังหวัดนครสวรรค์[74] แต่ยืนยันได้ว่าบรรยินอยู่ในที่เกิดเหตุ พล.ต.ต. จิรภพ ได้ยืนยันในความผิดของธงชัยแต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดของคดี[75][76] เมื่อเวลา 13.30 น. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้นัดสืบพยานล่วงหน้า โดยได้นำพยานมาเบิกความ 4 ปาก โดยประกอบด้วย บุคคลที่ณรงค์ศักดิ์สั่งให้ไปซื้อน้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 20 ลิตร ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ โดยเขาได้เบิกความว่า เขาไม่ทราบว่าณรงค์ศักดิ์ให้ซื้อน้ำมันไปเพื่อะไร โดยที่ผ่านมาเขาถูกณรงค์ศักดิ์ให้ไปซื้อน้ำมันหลายครั้ง เเต่ครั้งนี้เป็นครั้งเเรกที่ณรงค์ศักดิ์ให้ไปซื้อน้ำมันมากขนาดนี้ ส่วนพยานอีกคนได้เบิกความว่าเมื่อวันที่ 5 มกราคม วราภรณ์ ตั้งภากรณ์ซึ่งเป็นภรรยาของบรรยินได้ใช้ให้ไปซื้อซิมการ์ด 1 อัน แต่เขาไม่ทราบว่า ให้มาซื้อไปทำอะไร และเขายอมรับว่าเขารู้จักณรงค์ศักดิ์ และเขาเคยเห็นณรงค์ศักดิ์มาที่บ้านของบรรยินหลายครั้ง[77][78]
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ผลตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ของกะโหลกศีรษะและชิ้นส่วนกระดูกที่พบในพื้นที่รกร้างของบ้านวังตามา[79] เป็นของวีรชัย[80]
ในวันที่ 2 มีนาคม เมื่อเวลา 10.00 น. กองปราบปรามได้เปิดเผยว่าจะเรียกตัวพยานวึ่งเป็นบุคคลใกล้ชิดของบรรยินและพยานคนสำคัญมาให้การ ประมาณ 20 ปาก เพื่อให้สำนวนคดีมีความเเน่นหนาเเละรัดกุมมากขึ้น โดยได้ทำหนังสือออกหมายเรียก ร.อ.จักรวาล ตั้งภากรณ์ มาเข้าพบที่กองปราบปราม ในวันที่ 4 มีนาคม ในช่วงเลา 10.00 - 11.00 นาฬิกา เพื่อชี้เเจ้งถึงที่มาของรถโตโยต้า สปอร์ตไรเดอร์ที่ถูกใช้ในการลักพาตัว เนื่องจากการสืบสวนพบว่าจักรวาลเป็นคนไปยืมรถจาก พ.ต.ท.ประเสริฐ ผลประสาร เจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ และพนักงานสอบสวนได้เตรียมออกหมายเรียกให้วราภรณ์ ตั้งภากรณ์ซึ่งเป็นภรรยาของบรรยิน มาให้การในสัปดาห์หน้า เนื่องจากเคยสอบปากคำวราภรณ์ไปแล้วเมื่อบรรยินถูกจับกุม เเต่วราภรณ์ให้การสับสน จึงต้องเชิญมาให้การอีกครั้งเพื่อความชัดเจนและสืบสวนว่าวราภรณ์มีส่วนร่วมกับการก่อคดีนี้หรือไม่ เนื่องจากวราภรณ์เป็นคนให้คนงานในบ้านไปซื้อซิมการ์ดที่ถูกใช้ในการก่อเหตุ ,ชื่อผู้ครอบครองรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า วีโก้ซึ่งถูกใช้ในการก่อเหตุ เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดบีดับบลิวบี เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นของวราภรณ์ และที่ดินที่พบชิ้นส่วนของวีรชัยเป็นของวราภรณ์[81] โดยในวันเดียวกันนักประดาน้ำได้งมพบกับกระดูกไหปลาร้า,กระดูกแขนท่อนบน และข้อต่อของกระดูกสันหลังของวีรชัยที่แม่น้ำเจ้าพระยาในตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์[82]
ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการกองปราบปรามได้เปิดเผยถึงการหยุดงมหาชิ้นส่วนของวีรชัยว่า ในขณะนี้ชิ้นส่วนกระดูกที่นักประดาน้ำงมรวมกับชิ้นส่วนกระดูกที่พบจากจุดที่เผานั่งยางที่พบ โดยผลการตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการเป็นของวีรชัย จากการนำดีเอ็นเอไปเปรียบเทียบกับพี่ชายของวีรชัยพบว่าดีเอ็นเอจีบคู่ใกล้เคียงกว่าพนิดาซึ่งเป็นผู้หญิง โดยากการตรวจสอบพบว่าดีเอ็นเอตรงกับวีรชัย จึงยืนยันได้ว่ากระดูกที่พบเป็นของวีรชัย ซึ่งสำหรับเศษกระดูกที่พบนั้นสามารถระบุได้ว่าวีรชัยได้เสียชีวิตไปแล้ว ดังนั้นถึงนักประดาน้ำจะหยุดงมก็ไม่เป็นไร[83]
ในวันที่ 5 มีนาคม เมื่อเวลา 10.00 น. ร.อ.จักรวาล ตั้งภากรณ์ ซึ่งเป็นพี่ชายของบรรยินได้เข้ามาให้ปากคำที่กองปราบปราม หลังจากที่เขาเลื่อนการเดินทางมาให้ปากคำเมื่อวานเนื่องจากติดธุระ โดยก่อนจักรวาลจะเข้าให้ปากคำ เขาได้กล่าวว่าการเข้าพบตำรวจครั้งนี้ไม่รู้สึกหนักใจอะไร โดยเชื่อว่าสามารถชี้แจงได้ทุกประเด็น และยอมรับว่ารถโตโยต้า สปอร์ตไรเดอร์เป็นรถที่จักรวาลเคยนำไปใช้งานจริง โดยรถคันนี้เป็นของตำรวจนายหนึ่งในจังหวัดพิจิตรซึ่งรู้จักเป็นการส่วนตัว โดยถูกนำไปใช้ในการหาเสียงลงสมัครเลือกตั้งเมื่อหลายปีก่อน หากบรรยินนำรถไปใช้งานจริง ก็น่าจะไปยืมมาจากทีมหาเสียงของจักรวาล แต่ยืนยันว่าไม่ทราบว่ารถถูกนำไปใช้ในการก่อเหตุเเละไม่ได้มีส่วนข้องกับการก่อเหตุ ต่อมาเวลา 12.00 น. หลังจากการให้ปากคำเสร็จสิ้นจักรวาลได้เปิดเผยว่า เขายืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อคดี ส่วนรถถูกยืมมาตั้งเเต่ปีพ.ศ. 2561 เพื่อใช้ในการหาเสียงของเขาเเละลูกชายของบรรยิน โดยได้มีการใช้รถหมุนเวียนเพื่อใช้หาเสียง เเต่เมื่อเสร็จสิ้นการหาเสียง เขาไม่ทราบว่าทีมงานนำรถไปให้ใครใช้บ้าง[84]
ในวันที่ 10 มีนาคม เมื่อเวลา 13.30 น. วราภรณ์ ตั้งภากรณ์ได้เดินทางมายังกองปราบปรามตามวันที่นัดให้ปากคำ โดยวราภรณ์ได้กล่าวกับสื่อมวลชนก่อนให้ปากคำว่า"วันนี้มาตามนัดหมาย ตนเตรียมเอกสารต่างๆมาชี้แจงเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเองว่าไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น" หลังจากให้ปากคำในเวลา 17.00 น.วราภรณ์ได้เปิดเผยว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของเธอ แต่ไม่ทราบที่ดินถูกใช้ในการเผาทำลายศพของวีรชัย โดยขอยืนยันในความบริสุทธิ์และไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง[85]โดยจากการสอบปากคำพบว่าวราภรณ์ได้รับสารภาพว่าให้คนงานไปซื้อซิมการ์ดโดยอ้างว่าต้องการนำมาใช้ในสำนักงานเนื่องจากค่ายของโทรศัพท์จัดโปรโมชั่นประหยัดค่าโทรศัพท์ แต่ไม่ทราบว่าหลังจากนั้นมีใครนำเบอร์ไปใช้บ้าง ส่วนเรื่องที่ดินวราภรณ์ให้การว่าเป็นที่ดินที่ซื้อต่อมา โดยเคยไปยังพื้นที่ดังกล่าว 1 ครั้งเและจำไม่ได้ว่าเเปลงไหนอยู่บริเวณใดบ้าง และไม่ทราบว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุใช้ที่ดินในการเผานั่งยางศพของวีรชัยเนื่องไม่ทราบว่ามีการก่อเหตุ โดยพนักงานสอบสวนยังไม่ปักใจเชื่อในคำให้การของวราภรณ์ทั้งหมดและจะนำไปพิจารณาควบคู่กับหลักฐานอื่นๆ เพื่อหาข้อเท็จจริง[86]
ผู้ก่อเหตุ
แก้- พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อายุ 57 ปี ขณะก่อเหตุ ภูมิลำเนาจังหวัดนครสวรรค์ โดยเขาเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 2 สมัย[87]
- มานัส ทับนิล อายุ 67 ปีขณะก่อเหตุ ภูมิลำเนาจังหวัดนครสวรรค์[88]
- ณรงค์ศักดิ์ ป้อมจันทร์ อายุ 48 ปีขณะก่อเหตุ ภูมิลำเนาจังหวัดนครสวรรค์ โดยเขาเคยติดคุกและเพิ่งพ้นโทษเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเขามีลูก 1 คน
- ประชาวิทย์ หรือ ตูน ศรีทองสุข อายุ 33 ปีขณะก่อเหตุ ภูมิลำเนาจังหวัดนครสวรรค์ โดยเขาเป็นลูกน้องคนสนิทของธงชัย โดยเขามักจะเป็นคนขับรถให้กับธงชัย ซึ่งธงชัยมักจะจ้างเขามาช่วยงานในช่วงที่มีการจัดการเเข่งขันชนไก่เเละงานต่างๆของหมู่บ้าน[89]
- ชาติชาย เมณฑ์กูล อายุ 31 ปีขณะก่อเหตุ ภูมิลำเนาจังหวัดนครสวรรค์ โดยเขาเป็นลูกน้องคนสนิทของธงชัย ซึ่งธงชัยมักจะจ้างเขามาช่วยงานในช่วงที่มีการจัดการเเข่งขันชนไก่เเละงานต่างๆของหมู่บ้าน[90]
- ดาบตำรวจธงชัย วจีสัจจะ หรือ ส.จ.อ็อด อายุ 63 ปีขณะก่อเหตุ ภูมิลำเนาจังหวัดนครสวรรค์ โดยเขาเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์และเป็นเจ้าของฟาร์มไก่ โดยเขาสนิทกับบรรยินตั้งเเต่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อมาบรรยินลาออกจากการเป็นตำรวจเเล้วเข้าสู่การเมือง ธงชัยก็ลาออกจากการเป็นตำรวจแล้วเข้าสู่การเมือง โดยเขาได้ช่วยเหลือบรรยินในงานต่างๆ[91][92][93] เขาเคยถูกตรวจค้นบ้านในปีพ.ศ. 2553 เนื่องจากตำรวจสงสัยว่าบรรยินมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรมนายอำนาจ ศิริชัย นายกอบจ.นครสวรรค์ แต่ก็ไม่พบหลักฐานอะไร[94]
แผนการแหกคุก
แก้แผนการแหกคุกของบรรยิน ตั้งภากรณ์ โดยบรรยินได้วางแผนให้นักโทษอีกคนลักพาตัวภรรยาของผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อแลกกับการให้บรรยินออกไปจากเรือนจำ แต่แผนดังกล่าวเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์สืบทราบได้ก่อน[95][96][97] โดยก่อนแผนการเเหกคุกบรรยินได้ขอให้เรือนจำพิเศษกรุงเทพย้ายไปเเดนที่มีความสะดวกสะบายเเละสิทธิพิเศษต่างๆ แต่ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพปฎิเสธเนื่องจากผิดระเบียบและกฏของกรมราชฑัณฑ์[98] บรรยินจึงข่มขู่ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพให้ปล่อยตัวบรรยิน มิฉะนั้นจะลักพาตัวภรรยาของผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพ[99]
ที่ตั้ง | เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
---|---|
เหตุจูงใจ | ต้องการได้รับการปล่อยตัว |
ผู้เข้าร่วม | บรรยิน ตั้งภากรณ์, สุธน ทองศิริ ,ณัฐพล นรการ |
ผล | แผนการล้มเหลวเนื่องจากกรมราชทัณฑ์สืบทราบได้ก่อน |
พิพากษาลงโทษ | บรรยิน ตั้งภากรณ์ |
ข้อหา | กระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาลหลุดพ้นจากการคุมขังโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย |
โทษ | จำคุก 3 ปี และปรับ 50,000 บาท |
การสืบสวน
แก้ในช่วงต้นของเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนของกองปราบปรามได้จับกุมสุธน ทองศิริ หรือ โจ อายุ 42 ปี ที่บ้านพักในซอยลาดพร้าว 130 เขตบางกะปิ โดยสุธนมีหมายจับในคดีลักทรัพย์[100] โดยสุธนเพิ่งถูกประกันตัวออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยสุธนได้ให้การว่า เขาได้รับการประกันตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพจากความช่วยเหลือของทนายความของบรรยิน โดยมีข้อเเลกเปลี่ยนกับการทำงานสำคัญ 2 เรื่อง[101] โดยเรื่องที่ 1 คือ หาวิธีชิงตัวบรรยินจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรื่องที่ 2 คือ หากเรื่องที่ 1 ล้มเหลวให้ลักพาตัวภรรยาผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ต่อรองกับผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อให้ช่วยในการหลบหนีจากเรือนจำ โดยสุธนยังได้รับเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกับพ.ต.ท.นุกูล แสงศิริ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นลูกน้องเก่าของบรรยิน โดยให้ติดต่อนำตัวมาร่วมวางแผน แต่นุกูลไม่ร่วมวางแผนด้วย[102] ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้พบว่ามีผู้ร่วมก่อเหตุอีกคนเป็นอดีตนักโทษที่ชื่อว่าณัฐพล นรการ หรือ ท็อป อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ โดยณัฐพลเป็นคนจังหวัดนครสวรรค์ โดยระหว่างที่ณัฐพลถูกคุมขัง ณัฐพลได้สนิทกับบรรยิน ต่อมาณัฐพลได้รับการประกันตัวโดยญาติของเขา ณัฐพลก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามจับกุมเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน โดยณัฐพลได้รับคำสั่งให้ช่วยเหลือบรรยิน[103] ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ รองผู้บังคับการกองปราบปรามได้เปิดเผยว่าจากการสืบสวนของกองปราบปรามพบว่ามีหลักฐานชัดเจนในเรื่องแผนของการชิงตัวบรรยินระหว่างเดินทางไปศาล โดยมีทั้งพยานหลักฐานและเอกสารที่จะใช้ในการดำเนินคดี โดยในขณะนี้กำลังรวบรวมหลักฐานก่อนจะเเจ้งข้อหาบรรยิน โดยจะไม่ให้น้ำหนักคำให้การของณัฐพลเนื่องจากการสอบสวนอย่างละเอียดเเล้วพบว่าเป็นการสร้างเรื่องขึ้นมาโดยไม่มีมูลความจริง[104] หลังจากที่เจ้าหน้าที่เรือนจำทราบแผนการเเหกคุกจึงย้ายตัวบรรยินจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมายังเรือนจำกลางบางขวาง[105][106]
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการกองปราบปรามได้กล่าวถึงความคืบหน้าคดีว่า ในขณะนี้ได้สอบพยานไปแล้วหลายปากและจะดำเนินคดีกับบรรยินเท่านั้น ถึงยังไม่กระทำความผิด แต่เป็นการจ้างวานที่สำเร็จไปแล้ว จึงมีโทษ 1/3 ของทั้งหมด[107] ส่วนณัฐพลเเละสุธนยังไม่ได้ก่อเหตุถึงแม้จะถูกว่าจ้างมา ดังนั้นจึงไม่เเจ้งข้อหากับสุธนและณัฐพล[108] โดยพนักงานสอบสวนของกองปราบปรามได้นัดหมากรณ์ กันเที่ยงซึ่งเป็นทนายความที่ประกันตัวสุธน[109] และพ.ต.ท. นุกูลให้มาให้ปากคำ ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2563 ส่วนวรภัทร ตั้งภากรณ์ ลูกชายของบรรยินให้มาให้ปากคำวันที่1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[110][111]
ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 กรณ์ กันเที่ยงได้เข้าพบพนักงานสอบสวนโดยกรณ์ได้ยอมรับว่าได้รับจ้างจากญาติของสุธนเป็นเงินประมาณ 20,000 บาท เนื่องจากญาติของสุธนไม่สามารถเข้าเยี่ยมและประกันตัวได้และเนื่องจากการระบาดของโรคโควิค-19 ทำให้สุธนไม่มีงาน[112] และกรณ์ได้ปฎิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการเเหกคุกหรือชิงตัวของบรรยิน[113] ส่วนพ.ต.ท.นุกูล แสงศิริได้เข้าพบพนักงานสอบสวนและยืนยันว่าได้ได้รับการติดต่อจากสุธนให้มาช่วยวางแผนแหกคุก แต่ปฎิเสธไป[114]
ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 วรภัทร์ ตั้งภากรณ์ ลูกชายของบรรยินได้เข้าพบกับพนักงานสอบสวนของกองปราบปราม โดยได้กล่าวก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวนว่าไม่รู้เห็นกับแผนการชิงตัวและไม่รู้จักกับสุธนซึ่งเป็นอดีตนักโทษของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยจากการสืบสวนพบว่าโดยวรภัทร์เป็นเพื่อนกับณัฐพล นรการ[115]
ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เปิดเผยความคืบหน้าว่า วราภรณ์ ตั้งภากรณ์ ได้โอนเงินจำนวน35,000 บาท[116] ให้กับกรณ์ เมื่อเวลาเช้าของวันที่สุธนถูกประกันตัว และถอนเงินจำนวน27,000 บาท จากบัญชีของกรณ์ ซึ่งวราภรณ์ไม่เคยทำธุรกรรมทางการเงินกับกรณ์ ซึ่งจากการสอบปากคำวราภรณ์กับกรณ์ ทั้งสองได้ให้การปฎิเสธ ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็น[117][118]
แผนการ
แก้จากคำให้การของณัฐพลเขาได้ให้การว่า จะมีคนนำระเบิดมาวางที่ข้างเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเพื่อสร้างสถานการณ์ หลังจากนั้นเเรงระเบิดจะล้มเสาธงที่สนามหญ้าของเรือนจำแล้วบรรยินจะปีนเสาธงแล้วถูกเฮลิคอปเตอร์รับตัวไป[119] ซึ่งจากการสอบสวนของกองปราบปรามพบว่าเป็นการสร้างเรื่องขึ้นมาโดยไม่มีมูลความจริง[120]ส่วนแผนการจากคำให้การของสุธน เขาได้ให้การว่า ให้หาคนช่วยเหลือในการพาบรรยินเเหกคุก หรือ ชิงตัวบรรยินบนทางด่วนระหว่างถูกควบคุมตัวไปขึ้นศาล[121] แต่หากแผนการไม่สำเร็จ ให้ลักพาตัวภรรรยาของผู้บัญชาการเรือนจำซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในจังหวัดลำปางเพื่อต่อรองให้ปล่อยตัวบรรยินออกจากเรือนจำ โดยกองปราบปรามได้ยืนยันถึงหลักฐานในแผนตามคำให้การของสุธน[122][123]
ปฎิกิริยา
แก้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงเเผนการแหกคุกของบรรยินว่า เคยเห็นแต่ในภาพยนตร์ในNetflixและคิดว่าหากทำได้ก็แสดงว่ากรมราชทัณฑ์บกพร่องแต่มาตรการรักษาความปลอดภัย โดยส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะทำได้อยู่แล้วส่วนเรื่องจริงจะเป็นเช่นไรก็ให้ไปสอบสวน ทั้งนี้ได้ย้ำกับกรมราชทัณฑ์ไปแล้วว่าให้ดูแลสอดส่องพฤติกรรมของผู้ต้องขังให้ดี แต่ขออย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ทุกวันเพราะคนทำก็ทำไม่ทัน ซึ่งหากผลสอบสวนออกมาเป็นเช่นไรผู้ที่เกี่ยวข้องกับแผนแหกคุกก็จะต้องถูกลงโทษ[124][125]
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแผนการเเหกคุกของบรรยินว่า ไม่ทราบเรื่องเพราะกระทรวงยุติธรรมยังไม่ได้รายงาน หลังจากที่นักข่าวถามว่าถ้าเกิดการเเหกคุกขึ้นจริงถือว่าน่ากังวลหรือไม่ วิษณุจึงตอบว่า"แล้วคุณกังวลมั้ย คุณจะให้ผมสนุกหรือไง ทำอย่างกับในหนัง"[126]
การพยายามฆ่าตัวตายของบรรยิน
แก้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2563 เวลา 18.00 น. บรรยินได้พยายามฆ่าตัวตายด้วยการเเขวนคอขณะถูกคุมขังเดี่ยวในเรือนจำกลางบางขวาง แต่เจ้าหน้าที่ของเรือนจำกลางบางขวางสามารถช่วยชีวิตบรรยินไว้ได้[127] โดยสาเหตุของการพยายามฆ่าตัวตายมาจากการถูกย้ายตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครมายังเรือนจำกลางบางขวางเนื่องจากแผนการพยายามเเหกคุก[128]
การพิจารณาคดีและคำตัดสิน
แก้ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้อ่านคำพิพากษาบรรยินในความผิดฐานกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาลหลุดพ้นจากการคุมขังโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย โดยจากการไต่สวนเเละพิเคราะห์พยานหลักฐานของทั้ง 2 ฝ่าย พบว่าบรรยินมีความผิดจริง ศาลจึงพิพากษาจำคุก 3 ปี และปรับ 50,000 บาท[129]
การพิจารณาคดี
แก้เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดชได้เเถลงสรุปสำนวนการสอบสวนก่อนจะส่งสำนวนไปยังอัยการเพื่อฟ้องคดีกับบรรยินและผู้ก่อเหตุร่วม 5 คน โดยได้กล่าวว่าสำนวนคดีเสร็จสมบูรณ์เเล้ว ซึ่งสอบปากคำพยานไป 111 คน ผู้ต้องหา 6 คน โดยสำนวนคดีมีทั้งหมด 11 แฟ้ม 4,259 หน้า โดยจะส่งสำนวนคดีให้กับอัยการในวันนี้ ซึ่งจะเเจ้งข้อหาร่วมกันข่มขืนใจและพยายามข่มขืนเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นปฏิบัติการตามหน้าที่,ซ่องโจร,ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิด,ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ,ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่จนถึงแก่ความตาย,ซ่อนเร้นทำลายศพและร่วมกันแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานโดยที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ โดยบรรยินถูกเเจ้งข้อหาสวมเครื่องเเบบของเจ้าพนักงานหรือประดับของเครื่องหมายของเจ้าพนักงานโดยที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิเพิ่มเติม[130] พล.ต.ต.จิรภพได้กล่าวเพิ่มเติมว่าในขณะนี้ยังไม่พบว่าวราภร ตั้งภากรณ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุ โดยเป็นเจ้าของที่ดินที่กลุ่มผู้ก่อเหตุนำศพของวีรชัยไปเผานั่งยางในที่ดินของเธอ ส่วนจักรวาล พี่ชายของบรรยิน ซึ่งเป็นผู้ให้ยืมรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า สปอร์ตไรเดอร์ ไม่สามารถเอาผิดได้เนื่องจากเป็นการยืมโดยบริสุทธิ์ใจเเละจักรวาลไม่ทราบว่ารถยนต์คันดังกล่าวจะถูกใช้ก่อเหตุ[131][132][133] ในวันที่ 18 พฤษภาคม เจษฎา อรุณชัยภิรมย์ซึ่งเป็นอธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนของกองปราบปราม[134] โดยหลังจากการพิจารณาสำนวนการสอบสวนคณะทำงานจะเสนอความคิดเห็นไปยังเจษฎา อรุณชัยภิรมย์ซึ่งเป็นอธิบดีอัยการคดีปราบปรามการทุจริต และสิริญา อินทามระซึ่งเป็นรองอธิบดีอัยการคดีปราบปรามการทุจริตให้สั่งฟ้องบรรยินเเละผู้ก่อเหตุร่วม 5 คน โดยพนักงานสอบสวนได้มีความคิดเห็นควรไม่สั่งฟ้องชายไทยนิรนามซึ่งเป็นผู้ต้องหาคนที่ 7 เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าชายไทยนิรนามคนนั้นไปร่วมก่อเหตุกับบรรยินเเละผู้ก่อเหตุร่วม 5 คน โดยอัยการได้มีความคิดเห็นตามพนักงานสอบสวนให้ไม่สั่งฟ้องชายไทยนิรนาม ในวันเดียวกัน พนักงานอัยการได้สั่งฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยศาลนัดสอบปากคำบรรยินเเละผู้ก่อเหตุร่วม 5 คน ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพที่บรรยินเเละผู้ก่อเหตุร่วม 5 คนถูกคุมขังอยู่เนื่องจากการระบาดของโรคโควิค-19[135]
ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม เวลา 09.30 น. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้สอบคำให้การบรรยินเเละผู้ก่อเหตุร่วม 5 คน ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หลังจากที่ศาลได้อ่านคำฟ้องและอธิบายคำฟ้องโดยณรงค์ศักดิ์รับสารภาพทุกข้อหา ส่วนผู้ก่อเหตุคนอื่นๆแถลงให้การปฎิเสธ โดยศาลได้นัดตรวจสอบพยานหลักฐาน ในวันที่ 22 มิถุนายน เวลา 13.30 น. โดยให้บรรยิน และทนายความของบรรยินกับมานัสมายังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในวันที่ 22 มิถุนายน เวลา 10.00 น.[136] ส่วนมานัสเเละผู้ก่อเหตุคนอื่นๆพร้อมกับทนายความให้เดินทางมาตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานกับเจ้าพนักงานคดีในวันที่ 25 มิถุนายน เวลา 10.00 น.และเวลา 13.30 น. จะนัดตรวจสอบพยานหลักฐาน[137]
ในวันที่ 22 มิถุนายน 08.00 น. บรรยินได้ถูกเบิกตัวจากเรือนจำกลางบางขวางมายังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ตามวันที่นัดตรวจสอบพยาน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมกับอาวุธคุ้มกันรถเรือนจำเพื่อป้องกันคนมาชิงตัว[138] บรรยินได้เเถลงการ์ณต่อศาลในเรื่องขอแถลงคัดค้านพยานโจทย์และขยายเวลาส่งบัญชีพยานเนื่องจากไม่มีเวลาตรวจสอบสำนวนฟ้องของโจทย์ และขอเพิ่มเวลาในการนัดตรวจสอบพยานหลักฐานจาก30 วัน เป็น60 วัน และกล่าวปฎิเสธการลักพาตัวเเละฆาตกรรมวีรชัยโดยอ้างว่าถูกกลั่นเเกล้งใส่ความเเละในวันที่เกิดเหตุไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้น[139] โดยบรรยินยังได้ขอพบกับภรรยาเเละลูก เนื่องจากลูกชายของเขากำลังศึกษาในด้านของทนายความ เเต่ศาลปฎิเสธคำขอโดยให้เหตุผลว่าข้อกำหนดของกรมราชทัณฑ์ที่อนุญาตให้ถ่ายทอดการพิจารณาคดีกับบุคคลภายนอกที่ห้องอื่น แต่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในห้องพิจารณคดี[140] เนื่องจากต้องดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวด[141] เมื่อเวลา 12.20 น. บรรยินได้ชู 3 นิ้ว ให้กับสื่อมวลชน[142] ขณะบรรยินถูกควบคุมตัวขึ้นรถของเรือนจำเพื่อกลับไปยังเรือนจำกลางบางขวาง[143][144]
ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2563 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้นัดสืบพยาน โดยบรรยินได้ถอนคำให้การที่ปฎิเสธทุกข้อหาเป็นรับสารภาพ โดยรับสารภาพว่าเป็นคนลักพาตัวเเละสังหารวีรชัยและเเต่งชุดตำรวจไปขอตรวจประชาชนวีรชัยที่หน้าศาลเเพ่งกรุงเทพใต้เเล้วลักพาตัว[145] ซึ่งศาลได้นัดสืบพยานอีกครั้งในเดือนตุลาคม[146]
คำตัดสิน
แก้ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 น. เจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ได้เบิกตัวบรรยินจากเรือนจำกลางบางขวาง และผู้ก่อเหตุร่วม 5 คนจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมายังศาลอาญาคดีทุจริตและพฤติมิชอบกลางเพื่อฟังคำพิพาษาคดีฆาตกรรมวีรชัย ศกุนตะประเสริฐ[147] โดยบรรยินในชั้นสอบสวนบรรยินได้ให้การปฎิเสธ แต่รับสารภาพในชั้นศาล โดยศาลได้มีคำพิพากษาประหารชีวิตบรรยิน แต่ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีจึงเป็นเหตุบรรเทาโทษ จึงพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ศาลได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิตมานัสในความผิดฐานสนับสนุนให้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีจึงเป็นเหตุบรรเทาโทษ จึงพิพากษาจำคุก 33 ปี 4 เดือน ส่วนชาติชาย, ประชาวิทย์, ธงชัย และณรงค์ศักดิ์ ศาลได้มีคำพิพากษาประหารชีวิตแต่ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีจึงเป็นเหตุบรรเทาโทษ จึงพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต[148][149] แต่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ว่าไม่มีเหตุบรรเทาโทษ ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2566 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ไม่เห็นพ้องกับการลดโทษของศาลชั้นต้น จึงพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตมานัสและธงชัย และเเก้โทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิตกับบรรยินเเละณรงค์ศักดิ์ เนื่องจากณรงค์ศักดิ์รับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐานจึงไม่มีเหตุให้บรรเทาโทษ[150] ส่วนบรรยินศาลได้ให้เหตุผลว่าเคยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรี และมีทนายความที่ช่วยแก้ต่างให้ ย่อมทราบถึงขั้นตอนและวิธีพิจารณาความว่ายังสามารถใช้สิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาคําพิพากษา แต่บรรยินเเละผู้ก่อเหตุร่วมได้ใช้ใช้วิธีที่ผิดกฎหมายเพื่อบังคับและข่มขู่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้พิจารณาคดี เพื่อให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ และการก่อเหตุในที่สาธารณะโดยไม่ยําเกรงต่อกฎหมาย จึงถือว่าเป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่เป็นภัยต่อสังคมอย่างร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างและเพื่อป้องปรามไม่ให้มีการกระทําผิดลักษณะนี้อีก ดังนั้นจึงไม่สมควรลดโทษบรรยิน[151][152]
วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนประหารชีวิตบรรยิน, จำคุกตลอดชีวิตชาติชาย, ประชาวิทย์และ ธงชัย ศาลฎีกาได้ลดโทษณรงค์ศักดิ์จากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิตและลดโทษมานัสจากจำคุกตลอดชีวิตจำคุก 33 ปี 4 เดือน เนื่องจากศาลเห็นว่าคำให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนประโยชน์แก่การพิจารณาคดี ส่วนบรรยินศาลไม่ลดโทษเนื่องจากบรรยินให้การรับข้อเท็จจริงหลังจากชาติชาย, ประชาวิทย์ และณรงค์ศักดิ์ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา[153][154]
ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ บรรยินเข้าข่ายได้รับการลดโทษ และจะได้รับการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตในทั้งสองคดี[155]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ แบบอย่างงานสืบสวน
- ↑ เผย “พี่ชายผู้พิพากษา” ถูกต่อยท้องดับคารถ ก่อนเผาอำพรางโยนทิ้งแม่น้ำ
- ↑ ย้อนรอยคดี"บรรยิน" อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ หลักฐาน ป.มัดแน่น "บรรยิน" รับ "อุ้มฆ่า" พี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ อดีตสารวัตรบรรยิน
- ↑ มันก็ไม่แปลก???..."ผัว-เมีย"ก็ต้องทำแบบนี้ด้วยกันอยู่แล้ว พบอีกหลักฐานมัด "บรรยิน-อุรชา"!!!
- ↑ หลักฐานมัด'บรรยิน'สัมพันธ์'อุรชา' ป.รื้อคดีอดีตเมียดับปริศนาเป็นแนวทาง
- ↑ เปิดประวัติ “บรรยิน” คนใกล้ชิดรอบตัวล้วนตายปริศนา
- ↑ เรียกสอบ จับพิรุธ 'อุรชา' ถึงบรรยิน
- ↑ ยื่นประกันชั้นศาล ‘บรรยิน’ วาง5ล้าน-พ้นคุก!
- ↑ ลูก'เสี่ยชูวงษ์'นักธุรกิจหมื่นล. ร้อง'ประยุทธ์'สางปมดับบิดา
- ↑ ป.เดินหน้า สางปมดับเสี่ยจืด
- ↑ ย้อนรอย 1 ปี คดีหุ้นมรณะ"ชูวงษ์"
- ↑ โบรกเกอร์สาว พร้อมภรรยา 'บรรยิน' เข้าให้ปากคำคดีโอนหุ้น 'เสี่ยชูวงษ์'
- ↑ ก.ล.ต.ลงดาบ 'บล.เออีซี-ผู้บริหาร' กรณีเสี่ยชูวงษ์
- ↑ ศาลสั่งอายัดทรัพย์พริตตี้สาว ชี้คดีโอนหุ้น ‘เสี่ยชูวงษ์’ มีพิรุธเพียบ
- ↑ ส่องตำรวจ : คดีนี้...หนักกว่าคดีเก่าเยอะ
- ↑ ไต่สวนพยานล่วงหน้าคดีฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา เบิกตัวบรรยินและพวกเข้าฟังด้วย[ลิงก์เสีย]
- ↑ พลิกรับสารภาพ! อดีตส.ส. 'บรรยิน' สั่งอุ้มฆ่าโหด ต่อรองคดีหุ้นชูวงษ์-อ้างขาดสติ
- ↑ ผ่าคดี “พ.ต.ท.บรรยิน” จากหุ้น “เสี่ยชูวงษ์” ถึงอุ้มฆ่าพี่ผู้พิพากษา ทีม “บิ๊กแป๊ะ” จับยกแก๊ง
- ↑ 'บรรยิน' สารภาพกลางศาลฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา เล่าแผนสุดเลือดเย็น
- ↑ 3 ผู้ต้องหาอุ้มพี่ผู้พิพากษาพลั้งมือทุบตายกลางทาง พบจุดเผา 2 ที่ ใช้ฆ่าและตบตาตำรวจ (คลิป)
- ↑ สมุนโหดซัดทอดบรรยิน ลงมือเอง จับฆ่าเผานั่งยาง
- ↑ แจ้ง 6 ข้อหาหนัก’บรรยิน’-พวก ฝากขังศาลพรุ่งนี้ มั่นใจหลักฐานมัดแม้นไม่พบศพ’พี่ชาย’ท่านเปา
- ↑ ชัด! แก๊งโหด เผานั่งยางพี่ชายผู้พิพากษา คุม 3 คนทำแผน "จุดอุ้ม"
- ↑ ผ่าคดี “พ.ต.ท.บรรยิน” จากหุ้น “เสี่ยชูวงษ์” ถึงอุ้มฆ่าพี่ผู้พิพากษา ทีม “บิ๊กแป๊ะ” จับยกแก๊ง
- ↑ เปิดพฤติการณ์ ‘บรรยิน-พวก’ ปฏิบัติการอุ้มฆ่าเผา นั่งยางอำพรางศพ พี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ เจอแล้ว จุดเผานั่งยาง พบซากกระดูก-แหวน รวบเพิ่มอีก 3 แก๊ง "บรรยิน"
- ↑ หลักฐานวงจรปิด มัดแน่น บรรยิน อุกอาจ บุกอุ้มฆ่าพี่ผู้พิพากษา หน้าศาล ซ้ำโทรขู่ ให้ยกฟ้อง
- ↑ ป.รวบ พตท.บรรยินกับพวก อุ้มฆ่าเผา พี่ชายผู้พิพากษาฯ
- ↑ ด่วน ! กองปราบจู่โจมค้นบ้านบรรยิน
- ↑ เลขที่ 1 วิภาวดีฯ : อุ้มต่อรองคดี
- ↑ "บิ๊กแป๊ะ"บินด่วนตาคลี ตรวจหลักฐานสำคัญคดีพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ หิ้ว"บรรยิน"ถึง"กองปราบฯ"เจ้าตัวยัง"งง"ลั่นมั่นใจบริสุทธิ์
- ↑ คุมตัว พ.ต.ท.บรรยิน มาสอบปากคำ พร้อมคำพูดสุดมั่นใจ
- ↑ เผยคำพูดแรก "บรรยิน" หลังกองปราบบุกรวบ โยงคดีฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ กองปราบสอบ "บรรยิน" 2 ชม. ปฏิเสธไม่รู้เรื่อง ภาพวงจรปิดหลักฐานหน้าศาล
- ↑ จับ "บรรยิน-พวก" พันฆ่าอำพรางพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ 'บรรยิน' ยืนยันบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษาฯ
- ↑ ป.รวบ พตท.บรรยินกับพวก อุ้มฆ่าเผา พี่ชายผู้พิพากษาฯ
- ↑ "บรรยิน" ตั้งป้อมสู้ เมียมาเยี่ยมวันที่ 2-ผบก.ป.ชี้ไม่มีศพ แต่มีกระดูก
- ↑ ผบ.ตร.นำทีมรวบ "บรรยิน" พัวพันอุ้มพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ หลักฐานวงจรปิด มัดแน่น บรรยิน อุกอาจ บุกอุ้มฆ่าพี่ผู้พิพากษา หน้าศาล ซ้ำโทรขู่ ให้ยกฟ้อง
- ↑ "เลขาศาลยุติธรรม" ยันกรณีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษาเป็นเหตุร้ายแรงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
- ↑ ศาลส่งภาพวงจรปิด อุ้มพี่ชายผู้พิพากษาให้ ตร.
- ↑ เลขาฯศาล ยันเหตุอุ้มพี่ชายผู้พิพากษาร้ายแรง กระทบอิสระในการพิจารณาคดี
- ↑ “โฆษกศาล”แจงเหตุอุ้มฆ่าพี่ผู้พิพากษา ต่อรองล้มคดี
- ↑ จับ "บรรยิน-พวก" พันฆ่าอำพรางพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ กองปราบ บุกรวบ ‘บรรยิน’ และพวก พัวพันคดีฆ่าพี่ชายผู้พิพากษาใน จ.นครสวรรค์
- ↑ แฉขบวนการอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา รวบได้หมด 6 คน แยกสอบเครียด
- ↑ จับเพิ่มอีก 3 ผู้ต้องหาอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ ตำรวจตามจับเครือข่าย ‘บรรยิน’ เพิ่มอีก3 คน
- ↑ คุมทีม อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา ชี้จุด หลังสารภาพ เตรียมฝากขัง บรรยิน กับพวก 6คน
- ↑ ประดาน้ำนครสวรรค์ เจอมือถือพี่ชายผู้พิพากษา ที่แก๊งอุ้มโยนทิ้งน้ำแล้ว
- ↑ เจอแล้ว จุดเผานั่งยาง พบซากกระดูก-แหวน รวบเพิ่มอีก 3 แก๊ง "บรรยิน"
- ↑ ชัด! แก๊งโหด เผานั่งยางพี่ชายผู้พิพากษา คุม 3 คนทำแผน "จุดอุ้ม"
- ↑ พบหลักฐานสำคัญในรถ เชื่อเป็นคันที่ใช้ อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา ยัดถุงทิ้งเจ้าพระยา
- ↑ คราบเลือดบน’สปอร์ตไรเดอร์’ รถของกลาง ยันเป็นของพี่ชาย’ผู้พิพากษา’
- ↑ ชัด! แก๊งโหด เผานั่งยางพี่ชายผู้พิพากษา คุม 3 คนทำแผน "จุดอุ้ม"
- ↑ หลักฐานเศษกระดูกมัด "บรรยิน" ฆ่าเผานั่งยาง
- ↑ เจอกระดูก 7 ชิ้น ส่งพิสูจน์ ใช่ชิ้นส่วนศพพี่ชายผู้พิพากษาหรือไม่
- ↑ พบเครื่อง 2 มือถือ "แก๊งบรรยิน" โทรขู่ผู้พิพากษา โยนทิ้งน้ำปิง
- ↑ “บรรยิน” คอตกส่งเข้าเรือนจำ ศาลไม่ให้ประกันตัว
- ↑ ศาลไม่ให้ประกัน บรรยิน-พวก' เข้าเรือนจำชั้นฝากขัง
- ↑ คดีอุกฉกรรจ์ ส่งตัว "บรรยิน" เข้าแดนความมั่นคง
- ↑ ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับฝากขัง 'บรรยิน-พวก' อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ สืบพยาน 4 ปาก มัดแก๊งฆ่าเผาทมิฬ
- ↑ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเผย “บรรยิน” ป่วยเบาหวาน จับแยกขังกับลูกน้อง
- ↑ ศาลไม่ให้ประกัน "บรรยิน-พวก" คดีอุ้มพี่ผู้พิพากษา พบดักเฝ้าเหยื่อก่อนก่อเหตุ
- ↑ เปิดอกพ่อ “ตูน” แก๊งบรรยินไม่ประกันลูก ถ้าผิดจริง ส่วนเพื่อนชี้ “กลัวผี” ไม่ฆ่าพี่ผู้พิพากษา (คลิป)
- ↑ เปิดวงจรปิดมัดชัด 'บรรยิน' รวมตัวทีมอุ้มฆ่า
- ↑ ไม่ผิดตัว นาทีต่อนาที วงจรปิดมัด"บรรยิน"รวมตัวทีมอุ้ม
- ↑ ค้นฟาร์มไก่”สจ.อ๊อด”หาหลักฐานอุ้มฆ่าพี่ผู้พิพากษา
- ↑ ญาติ สจ.อ๊อด แฉยับ คนปริศนาหลอกใช้ไปฆ่าพี่ผู้พิพากษา งัดภาพอยู่วัดไม่ฆ่าคน (คลิป)
- ↑ ผู้การกองปราบยันหลักฐานเอาผิด ‘ส.จ.อ๊อด’ แน่นหนา ถึงไม่อยู่วันอุ้มฆ่าพี่ ‘ผู้พิพากษา’
- ↑ ศาลสืบพยาน พ.ต.ท.บรรยิน อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ สืบพยาน 4 ปาก มัดแก๊งฆ่าเผาทมิฬ
- ↑ ศาลสืบพยาน พ.ต.ท.บรรยิน อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ เผยผลดีเอ็นเอ 'กะโหลกศีรษะ-คราบเลือด' เป็นของพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ ดีเอ็นเอกะโหลก-คราบเลือดมัดแก๊งฆ่าเผาทมิฬ บรรยิน อ่วมจ่อโดนอีก 7 ข้อหา
- ↑ หมายเรียกเรืออากาศเอก พี่ชาย “บรรยิน” ปมยืมรถใช้อุ้มพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ งมพบกระดูกอีก 3 ชิ้น 4 มีนาคม เค้นปากพี่ชายบรรยิน-ปมยืมรถ (คลิป)
- ↑ เรืออากาศเอกจักรวาล พี่ชาย “บรรยิน” เลื่อนพบกองปราบ อ้างไม่สะดวก
- ↑ เรืออากาศเอกจักรวาล พี่ชาย “บรรยิน” พบกองปราบ ให้ข้อมูลสำคัญ ปมยืมรถ
- ↑ ยังไม่แจ้งข้อหา เมีย "บรรยิน" รับเป็นเจ้าของไร่ ไม่รู้ผัวใช้เผานั่งยาง
- ↑ สอบ “เมียบรรยิน” อ้างซิมที่ซื้อเอาไว้ไม่รู้ผัวไปใช้อุ้มฆ่า
- ↑ ผบ.ตร.นำทีมรวบ "บรรยิน" พัวพันอุ้มพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ “บรรยิน” กลับคำรับสารภาพอุ้มฆ่า "พี่ชายผู้พิพากษา"
- ↑ เปิดอกพ่อ “ตูน” แก๊งบรรยินไม่ประกันลูก ถ้าผิดจริง ส่วนเพื่อนชี้ “กลัวผี” ไม่ฆ่าพี่ผู้พิพากษา (คลิป)
- ↑ “เปรี้ยว” แก๊งอุ้มพี่ผู้พิพากษา โวยถูกซ้อมให้รับสารภาพ ป้ายันหลานใจเสาะ สัตว์ยังไม่ฆ่า (คลิป)
- ↑ ค้นฟาร์มไก่”สจ.อ๊อด”หาหลักฐานอุ้มฆ่าพี่ผู้พิพากษา
- ↑ ญาติ สจ.อ๊อด แฉยับ คนปริศนาหลอกใช้ไปฆ่าพี่ผู้พิพากษา งัดภาพอยู่วัดไม่ฆ่าคน (คลิป)
- ↑ จนท.เซ่นไหว้ขอพระแม่คงคาเปิดทางหาหลักฐานพี่ชายผู้พิพากษาถูกชำแหละทิ้งเจ้าพระยา
- ↑ ผงะ!ประวัติ “บรรยิน”อดีตรมช. พัวพันคดี "เสี่ยแซ่ตั้ง"ตายปริศนา เคยถูกจับตาคดีฆ่าโหดนายกฯนครสวรรค์
- ↑ แฉแผนลับ แหกคุกช่วย บรรยิน ระเบิดเรือนจำ จับเมียผบ.ต่อรอง
- ↑ 'บรรยิน' สารภาพกลางศาลฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา เล่าแผนสุดเลือดเย็น
- ↑ หน่วยหนุมาน คุม "บรรยิน" มาศาลฯ คดีอุ้มพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ บางขวางขังเดี่ยวบรรยิน ใช้'ชุดหนุมาน'คุมไปศาล
- ↑ 'บรรยิน' ผูกคอหวังฆ่าตัวตายในคุก จนท.ช่วยทัน
- ↑ หลายหมื่นหนีอาญา! เบื้องหลังไล่ล่า “บรรยิน” จัดฉาก อุ้มฆ่า ทลายแผนแหกคุก
- ↑ "บิ๊กแป๊ะ"ชมกองปราบทำคดีไม่ซี้ซั้วเชื่อ"บรรยิน"วางแผนแหกคุกจริง
- ↑ หยุดแผนแหกคุก
- ↑ “ฮอลลีวู้ด” ชิดซ้าย “สตอลโลน” ชิดขวา “บรรยิน”กับ แผนแหกคุก สุดเว่อร์วัง ?
- ↑ อ้างโดนปฏิบัติเยี่ยงสัตว์ ลิ้นบรรยิน ปัดแผนแหกคุก (คลิป)
- ↑ สรุปในโพสต์เดียว “บรรยิน” วางแผนแหกคุก
- ↑ หยุดแผนแหกคุก
- ↑ เรียกพยาน 3 ปากสอบคดี "บรรยิน" วางแผนแหกคุก
- ↑ ขยายผลแผน “บรรยิน” แหกคุก พบตัวละครเพิ่ม เตรียมประเคน 4 ข้อหาถึงในเรือนจำ
- ↑ สอบพยานเพิ่ม 5 ปาก หาหลักฐานมัดขบวนการวางแผนชิงตัว "พ.ต.ท.บรรยิน"
- ↑ กองปราบเตรียมเรียกอดีตส.ส.-ทนายสอบ จับ "บรรยิน" วางแผนแหกคุก
- ↑ เตรียมออกหมายเรียกสอบ อดีต ส.ส.นุกูล-สนิทบรรยิน (คลิป)
- ↑ ทนาย "บรรยิน" เข้าให้ปากคำ ยืนยันไม่รู้แผนแหกคุก
- ↑ ทนายกรณ์ปัดเกี่ยวข้องแผนชิงตัว ยันไม่รู้จัก "บรรยิน-นุกูล"
- ↑ ยืนยันไม่เกี่ยว
- ↑ ลูกชาย "บรรยิน" ให้ปากคำ ยืนยันไม่เกี่ยวข้องแผนชิงตัว
- ↑ แฉ! พบพิรุธ ‘เมียบรรยิน’ โอนเงินให้ทนายประกันตัว ‘โจ’ คนสนิทบรรยิน ออกจากคุก
- ↑ ตำรวจพบเส้นทางเงินภรรยา "บรรยิน" โอนให้ทนายประกันตัวโจ
- ↑ เมียบรรยินพบกองปราบ แจงปมเอี่ยวแผนแหกคุก หลังพบโอนเงินประกันตัวลูกสมุน
- ↑ "บิ๊กแป๊ะ"ชมกองปราบทำคดีไม่ซี้ซั้วเชื่อ"บรรยิน"วางแผนแหกคุกจริง
- ↑ "บรรยิน" เครียดฆ่าตัวในเรือนจำปมแผนแตกแหกคุก
- ↑ แฉแผนลับ แหกคุกช่วย บรรยิน ระเบิดเรือนจำ จับเมียผบ.ต่อรอง
- ↑ อ้างโดนปฏิบัติเยี่ยงสัตว์ ลิ้นบรรยิน ปัดแผนแหกคุก (คลิป)
- ↑ สรุปในโพสต์เดียว “บรรยิน” วางแผนแหกคุก
- ↑ นายกฯ เชื่อแผนแหกคุก "พ.ต.ท.บรรยิน" เป็นไปไม่ได้ สั่งราชทัณฑ์คุมเข้มสอดส่องนักโทษทุกคน
- ↑ นายกฯ เผยถึงแผนแหกคุก "บรรยิน" ถามกลับ "ดูหนังมากไปหรือเปล่า"
- ↑ อ้างโดนปฏิบัติเยี่ยงสัตว์ ลิ้นบรรยิน ปัดแผนแหกคุก (คลิป)
- ↑ 'บรรยิน' ผูกคอหวังฆ่าตัวตายในคุก จนท.ช่วยทัน
- ↑ "บรรยิน" เครียดฆ่าตัวในเรือนจำปมแผนแตกแหกคุก
- ↑ คุกอีก 3 ปี บรรยิน สั่งคนช่วยพาแหกคุกหนี-จับเมีย ผบ.เรือนจำต่อรอง แต่แผนล่ม
- ↑ ส่งฟ้อง 'บรรยิน-6ราย' 9 ข้อหา อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษาขู่ล้มคดี
- ↑ ส่งสํานวนฟ้องบรรยิน-สมุน เล่นหนัก-อุ้มฆ่าพี่ผู้พิพากษา
- ↑ สรุปสำนวน
- ↑ "บรรยิน"ไม่รอดอัยการสั่งฟ้องอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษาเจอ 10 ข้อหาหนัก
- ↑ นัดตรวจพยานหลักฐาน "บรรยิน" คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ ฟ้องบรรยินคดีอุ้ม ฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ เผย 10 ข้อหาฉกรรจ์ บรรยิน ขึ้นศาลอุ้มฆ่าพี่ผู้พิพากษา ส่ง "หนุมาน" คุมเข้ม
- ↑ ศาลสอบปากคำจำเลย อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา “บรรยิน” ยืนกรานปฏิเสธ
- ↑ ตรึงกำลังเข้มคุม “บรรยิน” ขึ้นศาลฯ คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ นัดตรวจพยานหลักฐาน "บรรยิน" คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ 'บรรยิน' ปฏิเสธคดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา ศาลนัดตรวจหลักฐาน 22 มิ.ย.นี้
- ↑ นัดตรวจพยานหลักฐาน "บรรยิน" คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ “บรรยิน”ชู 3 นิ้วระหว่างกลับเรือนจำบางขวาง
- ↑ "บรรยิน" ชู3นิ้ว ลั่นกลางศาล ไม่มีแผนแหกคุก
- ↑ ราชทัณฑ์จัดกำลังคุมเข้ม "บรรยิน" ขึ้นศาลพรุ่งนี้
- ↑ “บรรยิน” กลับคำรับสารภาพอุ้มฆ่า "พี่ชายผู้พิพากษา"
- ↑ “บรรยิน” กลับคำรับสารภาพ แต่งชุดตำรวจอุ้มฆ่าเผาพี่ชายผู้พิพากษาจริง
- ↑ ศาลนัดชี้ชะตา "บรรยิน" พร้อมพวก ก่อคดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ คุกบรรยิน - 4 สมุน ตลอดชีวิต ลดโทษประหารคดีดังอุ้มฆ่าเผาพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ ศาลสั่งประหาร "บรรยิน" คดีอุ้มฆ่าฯ สารภาพเหลือโทษ "คุกตลอดชีวิต"
- ↑ ศาลอุทธรณ์แก้โทษ “บรรยิน” เป็นประหารชีวิต คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ ศาลฯแก้โทษให้ประหารชีวิต 'บรรยิน' กับมืออุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องบางมาตรา บรรยิน กับพวก อุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ ฎีกาประหาร “บรรยิน” คดี 2 ฆ่าพี่ผู้พิพากษา
- ↑ ศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิต บรรยิน คดีอุ้มฆ่าเผา พี่ชายผู้พิพากษา
- ↑ อธิบดีราชทัณฑ์ เผย บรรยิน นช.คดีฆ่า ได้รับพระราชอภัยโทษ67 ลดโทษประหาร เหลือจำคุกตลอดชีวิต