เส้นขนานที่ 45 องศาใต้

เส้นขนานที่ 45 องศาใต้ คือวงกลมละติจูดที่ 45 องศา ด้านใต้ของระนาบศูนย์สูตรโลก

Line across the Earth
45°
เส้นขนานที่ 45 องศาใต้
แผนที่พิกัดทั้งหมด กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML

เส้นขนานนี้เป็นจุดกึ่งกลางทางทฤษฎีระหว่างเส้นศูนย์สูตรและขั้วโลกใต้ จุดกึ่งกลางที่แท้จริงอยู่ที่ 16.2 กิโลเมตร (10.1 ไมล์) ทางใต้ของเส้นขนานเนื่องจากโลกไม่ได้เป็นทรงกลมที่สมบูรณ์ แต่ป่องที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรและแบนที่บริเวณขั้วโลก[1]

แตกต่างจากคู่เส้นขนานทางซีกโลกเหนือซึ่งเกือบทั้งหมดของเส้นขนานนี้ (ร้อยละ 97) ผ่านพื้นที่ที่เป็นมหาสมุทร เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย ออสตราเลเชีย (ผ่านนิวซีแลนด์แต่พึ่งพ้นจากรัฐแทสเมเนีย) มหาสมุทรแปซิฟิก และทวีปอเมริกาใต้

ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง 37 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 8 ชั่วโมง 46 นาที ในระหว่างเหมายัน

รอบโลก แก้

เริ่มต้นที่เส้นเมริเดียนแรก และมุ่งหน้าไปทางตะวันออก โดยเส้นขนานที่ 45° ใต้ลากผ่านพื้นที่ดังนี้:

พิกัด ประเทศ ดินแดน หรือพื้นน้ำ หมายเหตุ
45°0′S 0°0′E / 45.000°S 0.000°E / -45.000; 0.000 (Prime Meridian) มหาสมุทรแอตแลนติก
45°0′S 20°0′E / 45.000°S 20.000°E / -45.000; 20.000 (Indian Ocean) มหาสมุทรอินเดีย
45°0′S 147°0′E / 45.000°S 147.000°E / -45.000; 147.000 (Pacific Ocean) มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแทสมัน
45°0′S 167°8′E / 45.000°S 167.133°E / -45.000; 167.133 (นิวซีแลนด์)   นิวซีแลนด์ เกาะใต้, ผ่านทางเหนือของเมืองโออามารุ แนซบาย โครมเวล และควีนส์ทาวน์ และเมืองเล็ก ๆ อย่างเบค
45°0′S 171°6′E / 45.000°S 171.100°E / -45.000; 171.100 (Pacific Ocean) มหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านทางใต้ของเกาะแกรบลิน,   ชิลี
45°0′S 74°23′W / 45.000°S 74.383°W / -45.000; -74.383 (Chile)   ชิลี หมู่เกาะในกลุ่มเกาะโชนอส รวมถึงเกาะเจมส์และเกาะเมลชอว์ และแผ่นดินใหญ่ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 7 ที่กังปูกรังจีประมาณ 100 กม. ตอนเหนือของโกไยเก
45°0′S 71°33′W / 45.000°S 71.550°W / -45.000; -71.550 (Argentina)   อาร์เจนตินา
45°0′S 65°35′W / 45.000°S 65.583°W / -45.000; -65.583 (Atlantic Ocean) มหาสมุทรแอตแลนติก

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้