เสรี วงษ์มณฑา

(เปลี่ยนทางจาก เสรี วงศ์มณฑา)

รองศาสตราจารย์ ดร. เสรี วงษ์มณฑา (เกิด: 14 มีนาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก; ชื่อเล่น อี๊ด) ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ

เสรี วงษ์มณฑา
ชื่อเกิดเสรี วงษ์มณฑา
เกิด14 มีนาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
ที่เกิดอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
อาชีพนักแสดงรับเชิญ, พิธีกร, นักพูด, รองศาสตราจารย์, นักการเมือง, นักเคลื่อนไหวทางการเมือง, นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด
ช่วงปีพ.ศ. 2521 - ปัจจุบัน

ประวัติ แก้

เป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิชาการที่ต่อต้าน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และเข้าร่วมขับไล่ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ[1] และเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์รายการ เกาที่คัน ร่วมกับ รณชาติ บุตรแสนคม ทุกวันศุกร์ 21:00–22:00 น. และ รายการคลายปม ร่วมกับ รศ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ทุกวันอาทิตย์ 21:00–22:00 น. ทางสทท.

นอกจากแวดวงวิชาการและการศึกษาแล้ว ยังมีชื่อเสียงในฐานะนักพูด นักบรรยาย และพิธีกร รวมถึงเป็นนักแสดงในภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์ หรือละครเวที ด้วยในบางโอกาส อีกทั้งยังเป็นบุคคลสาธารณะในสังคมไทยคนแรกๆ ที่ยอมรับว่าตัวเองเป็นกะเทย โดยมีผลงานเด่นเป็นที่รู้จักกันดีคือละครเวทีเรื่อง "ฉันผู้ชายนะยะ" ใน พ.ศ. 2530 และนำกลับมาแสดงใหม่อีกครั้งในต้น พ.ศ. 2553[2] เป็นประธานบริหารการประกวดสาวประเภทสอง Miss International Queen อ. เสรีให้สัมภาษณ์ว่าชอบนักฟุตบอลอย่างกาก้าที่สุด นักเตะรางวัลบัลลงดอร์ปี พ.ศ. 2550

ในวัยเด็กของเสรี บิดาของเขาเป็นเสมียนที่ไปรษณีย์และมารดามีอาชีพค้าขายเกิดในช่วงที่บิดามารดาเริ่มมีฐานะ มีพี่น้องด้วยกันเจ็ดคนเสรีเป็นลูกคนที่หกและเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือและคำนวณและเรียนมัธยมศิลป์-ฝรั่งเศส โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เดิมเสรี สอบติดที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ตนไม่ชอบจึงไปเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ก็ไม่ชอบเลยโอนหน่วยกิตไปที่คณะศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การศึกษา แก้

เสรี วงษ์มณฑา หรือที่นิยมเรียกกันว่า ดร.เสรี เริ่มศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนสรรพวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แล้วย้ายมาศึกษาต่อ ณ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และสามารถสอบเข้าคณะศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวรรณคดีอังกฤษและภาษาต่างประเทศ ด้วยคะแนนอันดับหนึ่งของผู้เข้าสอบทั้งประเทศจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จนได้รับทุนไปศึกษาต่อปริญญาโท คณะ Master of Arts for Teachers (English) ที่ University of Washington เมืองซีแอทเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโท สาขา Journalism Advertising ที่ Northwestern University เมืองเอแวนสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาเอก คณะวารสารศาสตร์ ด้านสื่อสารการเมืองจาก Southern Illinois University เมือง Carbondale ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน แก้

ทางวิชาการ เคยเป็นคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์และการสื่อสารการตลาดในมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง[3]

ทางธุรกิจ เคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทเท็ด เบทส์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทฟาร์อีสแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายตลาดบริษัทสยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ประธานกรรมการเบ็ตเตอร์ อิมแพค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (BIC) และประธานกรรมการบริษัทกูด คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และ เป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร [3] และสถาบันรัชต์ภาคย์

ในทางการเมือง เคยเป็นผู้สมัครในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลด้านการศึกษา (โดยมี นายประวิทย์ รุจิรวงศ์ สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2533 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และยังเป็นที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์และรณรงค์หาเสียงให้แก่พรรคชาติไทยด้วย[4]

ได้รับรางวัลกิตติคุณสังข์เงิน บุคคลดีเด่นด้านวิชาการของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน[3]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ[5]

ตำแหน่งการงาน แก้

ผลงานการแสดงภาพยนตร์ แก้

  • ไผ่สีทอง (2522)
  • ช่างเขาเถอะ (2523)
  • ฉันผู้ชายนะยะ (2530) รับบท เต้ย
  • รักทรมาน (2530)
  • ใช่แล้วหลุดเลย (2532)
  • บุญชู 2 น้องใหม่ (2532) รับบท รศ เศรษฐศิริ
  • ผีสำออย (2533)
  • ดอกไม้ในทางปืน (2542)
  • โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน (2542)
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545) รับบท กรรมการงานประกวดร้องเพลง
  • พรางชมพู กะเทยประจัญบาน (2545) รับบท เกษม
  • ความรักครั้งสุดท้าย (2546)
  • ว๊ายบึ้ม เชียร์กระหึ่มโลก (2546) (รับเชิญ)
  • ปล้นนะยะ (2548)
  • ดรีมทีม (2551) รับบท ครูใหญ่

ผลงานกำกับภาพยนตร์ แก้

  • ดาวเรือง (2522)
  • ชีวิตเลือกไม่ได้ (2524)

ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์ แก้

  • เทพบุตร ต๊ะ ติ๊ง โหน่ง (2538)
  • กระท่อมไม้ไผ่ (2540)
  • สี่อีแสบ (2541)
  • ชาติมังกร (2543)
  • ชายไม่จริง หญิงแท้ (2560)
  • เสือ ชะนี เก้ง (2561)

ละครเวที แก้

  • ฉันผู้ชายนะยะ คืนเวที การันตีความสุข
  • นังเหมียวย้อมสี

ผลงานการแสดงมิวสิควีดีโอ แก้

คอนเสิร์ต แก้

  • คอนเสิร์ต เพลงนี้ เพลงเรา ธรรมศาสตร์ พวกเราเจ้าของ (13 ธันวาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต Day Young Show (8 - 24 กรกฎาคม 2559)

การชุมนุมทางการเมือง แก้

รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา ได้เข้าร่วมกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ในปี พ.ศ. 2549 แม้ในปี พ.ศ. 2551 จะไม่ได้เข้าร่วมด้วย แต่ก็เขียนบทความในลักษณะสนับสนุน และเข้าร่วมกับการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ในปี พ.ศ. 2555 ด้วย

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ได้เข้าร่วมกับการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) โดยขึ้นปราศรัยในแต่ละครั้งด้วยความดุเดือด เผ็ดมัน เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชุมนุม อีกทั้งเมื่อมีการแยกเวทีชุมนุมออกตามสถานที่ต่าง ๆ ก็ยังได้ร่วมกับแกนนำกปปส.คนอื่น ๆ ดูแลเวทีชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ซึ่งที่เวทีนี้ได้ตอบคำถามของสื่อมวลชนต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษแบบสด ๆ จนเป็นที่ฮือฮา[6] และยังได้ร่วมกับดารา นักแสดง จัดเวทีเฉพาะของดารา นักแสดง ขึ้นต่างหากเป็นเวทีย่อยที่บริเวณทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้าชิดลมอีกด้วย[7]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดย รศ.ดร.เสรี มีชื่อเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 26[8] [9] ซึ่งต่อมาในวันที่ 21 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ก่อนการรัฐประหารเพียงวันเดียว รศ.ดร.เสรีถูกจับที่สนามบินสุวรรณภูมิ ขณะเดินทางกลับจากต่างประเทศ[10] แต่ต่อมาก็ได้รับการประกันตัวด้วยหลักทรัพย์สมุดบัญชีเงินฝาก 600,000 บาท [11]

ในการรัฐประหาร รศ.ดร.เสรีก็ถูกควบคุมตัวเช่นเดียวกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่น ๆ ก่อนที่จะถูกปล่อยตัวออกมาหลังจากนั้นไม่กี่วัน และก็ได้เปิดเผยถึงชีวิตความเป็นอยู่ในค่ายทหารระหว่างถูกควบคุมตัวด้วย[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. ""ฉันผู้ชายนะยะ"...คืนเวที .. ยี่ห้อ "ดร.เสรี" การันตีความสุข สนุกสนานครบทุกรสชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-13.
  3. 3.0 3.1 3.2 "เปิดม่านชีวิตเกย์ 'เสรี วงษ์มณฑา' จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-01.
  4. การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์พรรคชาติไทย
  5. รับแต่งตั้งเป็น กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน
  6. ดร.เสรีปรี๊ดแตกให้สัมภาษณ์นักข่าวChannel4 จากทรูไลฟ์[ลิงก์เสีย]
  7. 'สุเทพ'รอฤกษ์ 9 โมงเช้า เคลื่อนขบวนใหญ่ 7 จุด จากไทยรัฐออนไลน์
  8. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. จับ"ดร.เสรี"คาสุวรรณภูมิตามหมายจับคดีกบฎ จากทีเอ็นเอ็น24
  11. "ดร.เสรี วงษ์มณฑา ได้ประกันตัวแล้ว หลังอัยการส่งยื่นฟ้องศาล ปฏิเสธทุกข้อหา ศาลนัดตรวจพยาน 7 กรกฎาคม 2557". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
  12. "ดร.เสรี"เล่าหมดเปลือก ชีวิตในค่ายทหาร"เช้ากินไข่ลวก เที่ยงต้มข่าไก่" จากสำนักข่าวอิศรา
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้