พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466) มีพระนามเดิมคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาแห่งทหารเรือไทย"
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นเอก กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | |
เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2466 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา |
ถัดไป | สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา |
ประสูติ | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 (42 ปี) จังหวัดชุมพร ประเทศสยาม |
พระราชทานเพลิง | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2466 พระเมรุ ท้องสนามหลวง จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
พระชายาและหม่อม | พระชายา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ หม่อม หม่อมกิม หม่อมแฉล้ม หม่อมเมี้ยน หม่อมช้อย หม่อมแจ่ม |
พระบุตร | 11 องค์ |
ราชสกุล | อาภากร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 |
พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาใน พ.ศ. 2536 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "พระบิดาของกองทัพเรือไทย"[1] และใน พ.ศ. 2544 แก้ไขเป็น "องค์บิดาแห่งทหารเรือไทย"[2]
ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ได้มีการจัดสร้างศาลและพระอนุสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมทั้งสิ้น 217 แห่งทั่วประเทศไทย[3] เช่น มณฑลทหารบกที่ 44 ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร[4] โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[5] หรือที่พระตำหนักที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพร
พระประวัติ
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง โทศก จ.ศ. 1242 ตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ. ธิดาเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวงและเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ มีพระกนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์) และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส (พระนามเดิม:พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ ต้นราชสกุลสุริยง) พระองค์นับเป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องด้วยพระมารดาของพระองค์กับพระมารดาของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีเป็นพี่น้องกัน นอกจากนี้พระองค์นับทรงเป็นพระปิตุลา(เสด็จลุง)สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องจากทรงเป็นพระธิดาองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุทำให้ทรงเป็นพระอนุชาธิราชต่างมารดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
การศึกษา
แก้ทรงเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อมีพระชันษาได้ 13 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ที่ประเทศ สหราชอาณาจักร พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงเข้าร่วมเป็นนายทหารเรือของราชนาวีหรือ royal navy [6]ใน พ.ศ. 2436 ทรงเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยราชนาวีกรีนนิช ใน พ.ศ. 2439 ต่อจากนั้นทรงศึกษาต่อในโรงเรียนปืนใหญ่ และโรงเรียนตอร์ปิโด จนได้เลื่อนยศเป็นเรือเอก รวมเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ใน 6 ปีเศษ
รับราชการ
แก้เสด็จกลับประเทศไทย ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2443 จึงได้รับพระราชทานยศเป็น นายเรือโท (ปัจจุบันเทียบเท่า นาวาตรี)[7] ทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์"[8] ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ[9] และทรงดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ใน พ.ศ. 2449 พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ ทรงจัดเพิ่มเติมวิชาสำคัญสำหรับชาวเรือ คือวิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ พีชคณิต อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต เพื่อประสงค์ให้นักเรียนนายเรือสามารถเดินเรือทางไกลในทะเลน้ำลึกได้ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว[ต้องการอ้างอิง]
ทรงเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 ทำให้กิจการทหารเรือมีรากฐานมั่นคง และกองทัพเรือจึงยึดถือวันดังกล่าวของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ"[ต้องการอ้างอิง]
นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[10] และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[11]
พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระองค์ออกจากราชการอยู่ชั่วระยะหนึ่ง จึงได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากตำราไทย ทรงเขียนตำราสมุดข่อยด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง และรับรักษาโรคให้ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า ทรงคิดแต่เพียงค่าครูเท่านั้น ทั้งนี้พระองค์ทรงโปรดให้เรียกพระองค์ว่า "หมอพร"[12]
พ.ศ. 2460 ประเทศสยามได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกองทัพเรือยังขาดผู้มีความรู้ความสามารถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จกลับเข้ารับราชการในตำแหน่ง จเรทหารเรือ[13] และดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ[14]
พ.ศ. 2462 ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงพิเศษออกไปจัดหาซื้อเรือในภาคพื้นยุโรป เรือที่จะจัดซื้อนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "เรือรบหลวงพระร่วง" ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ นำเรือรบหลวงพระร่วงเดินเรือข้ามทวีปจากสหราชอาณาจักร เข้ามายังกรุงเทพมหานคร ด้วยพระองค์เอง[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2463 มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ขึ้นเป็นกรมหลวงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สิงหนาม ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ ฯลฯ (คำ "เขตร" ในพระนามเปลี่ยนเป็น "เขต" ด้วย)[15][16]
ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ที่เล็งเห็นการณ์ไกล พระองค์ได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานที่ดินบริเวณอำเภอสัตหีบ สร้างเป็นฐานทัพเรือ เมื่อ พ.ศ. 2465 เนื่องจากทรงเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่ น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโด มีเกาะน้อยใหญ่รายล้อม สามารถบังคับคลื่นลมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เมื่อเรือภายนอกแล่นผ่านบริเวณนี้จะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพได้[ต้องการอ้างอิง]
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2466 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เสด็จในกรมฯ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ[17] ต่อจาก จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต นับเป็นตำแหน่งทางราชการตำแหน่งสุดท้ายในพระชนม์ชีพของพระองค์[ต้องการอ้างอิง]
สิ้นพระชนม์
แก้หลังจากทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือได้ไม่นาน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้กราบถวายบังคมลาเพื่อเสด็จออกไปรักษาพระองค์ (ลาป่วย) ณ มณฑลสุราษฎร์ เป็นเวลา 1 เดือน เนื่องจากประชวรด้วยโรคประจำพระองค์ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชนิพนธ์ไว้ในพระราชบันทึกส่วนพระองค์ว่า กรมหลวงชุมพรฯ ทรงปฏิบัติตามคำแนะนำของหม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ ซึ่งได้วินิจฉัยพระอาการของพระองค์ว่าประชวรด้วยพระโรคเส้นประสาทไม่ปรกติ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงสังเกตเห็นว่า กรมหลวงชุมพรฯ เริ่มทรงพระดำเนินไม่ถนัดมาตั้งแต่งานทำบุญวันคล้ายวันเกิดของเจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2465 (ตามปฏิทินในขณะนั้น) แล้ว[18]
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ประทับพักรักษาพระองค์อยู่ที่ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร มณฑลสุราษฎร์ ระหว่างนั้นทรงประชวรด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ พระอาการทรงทรุดลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เวลา 11 นาฬิกา 40 นาที[19] สิริพระชันษา 42 ปี 151 วัน มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[20]
กองทัพเรือไทยได้ถือเอาวันที่ 19 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันอาภากร"
มวยไทย
แก้พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นผู้มีความสามารถด้านมวยไทย และในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเป็นผู้ฝึกสอนให้กับนักมวยต่างจังหวัด ทั้ง นายทับ จำเกาะ นายยัง หาญทะเล นายตู้ ไทยประเสริฐ และนายพูน ศักดา ซึ่งเป็นนักมวยที่มีฝีมือชาวโคราช[21]
งานศิลปะ
แก้พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ศิษย์เอก หลวงปู่ศุข ยังมีความสามารถในด้านศิลปะ โดยพระองค์ได้ทรงเขียนภาพพุทธประวัติไว้ที่ผนังโบสถ์ของวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท อันเป็นภาพเหตุการณ์ที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นผลงานที่ยังคงปรากฏสืบมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผลงานที่มีความละเอียดอ่อนลึกซึ้ง[22]
งานพระนิพนธ์
แก้- เพลงดอกประดู่ (เพลงสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย)
- เพลงเดินหน้า (เดิมแบ่งเป็น 2 เพลง ชื่อ "เกิดมาทั้งทีมันก็ดีอยู่แต่เมื่อเป็น" และ "เกิดมาทั้งทีมันก็มีอยู่แต่ทุกข์ภัย") สันนิษฐานว่าทรงพระนิพนธ์ขึ้นในช่วงที่ทรงออกจากราชการในสมัยต้นรัชกาลที่ 6
- เพลงดาบของชาติ ทรงพระนิพนธ์ไว้เป็นโคลงสี่สุภาพ
- เพลงสรรเสริญพระบารมี สำนวนขับร้องของทหารเรือ (ขึ้นต้นว่า "ข้าวรพุทธเจ้า เหล่ายุทธพลนาวา...")
- พระคัมภีร์ อติสาระวรรค โบราณะกรรม และปัจจุบันนะกรรม เป็นสมุดข่อยตำราแพทย์ไทยแผนโบราณที่ทรงเขียนด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2458
ดูเพิ่ม
แก้ชีวิตส่วนพระองค์
แก้ทางด้านชีวิตส่วนพระองค์อภิเษกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ พระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2444) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ กรุณาพระราชทานน้ำสังข์ในพิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง[23] แต่ในภายหลัง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ ทรงน้อยพระทัยพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ และปลงชีพพระองค์เองด้วยยาพิษ[24]
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีพระเถระที่พระองค์ทรงนับถืออย่างมาก ได้แก่ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และพระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง อินฺทโชติ) แห่งวัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร[25]
พระโอรสพระธิดา
แก้พระองค์มีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้:[26][27]
- ประสูติแต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์
- หม่อมเจ้าเกียรติอาภากร ประสูติและถึงชีพิตักษัยในวันเดียวกัน ประมาณปี พ.ศ. 2446
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489) เสกสมรสกับหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิเศษกุล)
- พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ไพเราะ กฤดากร มีบุตรธิดา 3 คน
- หม่อมราชวงศ์ทิพพเราะ อาภากร สมรสกับสุคนธ์ ศรโชติ
- หม่อมราชวงศ์ดารณี อาภากร สมรสกับพลตำรวจตรี นายแพทย์วิบูลย์ วัฒนายากร
- หม่อมราชวงศ์ชัยกร อาภากร
- ประสูติแต่หม่อมกิม อาภากร ณ อยุธยา ธิดานายตั๊น ซุ่นเพียว
- จารุพัตรา ศุภชลาศัย (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)
- อาภา ศุภชลาศัย สมรสกับหม่อมราชวงศ์สุทธิสวาสดิ์ กฤดากร
- ภากร ศุภชลาศัย สมรสกับอัจฉรา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
- จารุพันธุ์ ศุภชลาศัย สมรสกับดุษณี วสุธาร
- พรศุภศรี ศุภชลาศัย สมรสกับศรีศักดิ์ จามรมาน
- พัตราพร ศุภชลาศัย สมรสกับธนชัย จารุศร
- เริงจิตรแจรง อาภากร (7 มิถุนายน พ.ศ. 2448 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2536) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ ต่อมาทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับพระจักรานุกรกิจ (วงศ์ สุจริตกุล)
- หม่อมราชวงศ์เติมแสงไข รพีพัฒน์ สมรสกับปรีดา กรรณสูต
- หม่อมเจ้าสุคนธ์จรุง อาภากร (3 ธันวาคม พ.ศ. 2449 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2531)
- หม่อมแฉล้ม อาภากร ณ อยุธยา ธิดานายเต็กสิน
- ศิริมาบังอร เหรียญสุวรรณ (6 มิถุนายน พ.ศ. 2447 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสถาพร เหรียญสุวรรณ
- พันเอก นายแพทย์ หม่อมเจ้าดำแคงฤทธิ์ อาภากร (24 ตุลาคม พ.ศ. 2448 – 9 กันยายน พ.ศ. 2505) เสกสมรสกับหม่อมอรุณ อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สารสิน)
- ร้อยเอก หม่อมราชวงศ์สิทธิ อาภากร สมรสกับคมขำ อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม วุฒิยากร)
- หม่อมราชวงศ์อิทธินันท์ อาภากร สมรสกับสุภาวดี อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม แพ่งสภา)
- หม่อมราชวงศ์อภิเดช อาภากร สมรสกับกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัตนสุวรรณ)
- ประสูติแต่หม่อมเมี้ยน อาภากร ณ อยุธยา ธิดาหลวงพรหมภักดี เป็นพี่สาวของหม่อมแจ่ม
- ว่าที่นายเรือเอก หม่อมเจ้าสมรบำเทอง อาภากร (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2483)
- ประสูติแต่หม่อมช้อย อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิจิตรานุช)
- ธิดาหลวงอำนาจณรงค์ราญ (ปุย วิจิตรานุช)
- พลเรือเอก หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า อาภากร (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์)
- หม่อมราชวงศ์ชาย (ถึงแก่กรรมแต่วัยเยาว์)
- หม่อมราชวงศ์ทิพภากร อาภากร สมรสกับหม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ
- หม่อมราชวงศ์ชาย(ไม่ปรากฏนาม)
- หม่อมราชวงศ์ชาย(ไม่ปรากฏนาม)
- หม่อมราชวงศ์พรระพี อาภากร สมรสและหย่ากับอุมาพร ศุภสมุทร แล้วสมรสใหม่กับองค์อร อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม เลอลพ)
- ประสูติแต่หม่อมแจ่ม อาภากร ณ อยุธยา ธิดาหลวงพรหมภักดี เป็นน้องสาวของหม่อมเมี้ยน
- หม่อมเจ้ารุจยากร อาภากร (19 เมษายน พ.ศ. 2459 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549) เสกสมรสกับปอง สุขุม, มานิดา โมชดารา และจิริณี พหิธานุกร
- หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร สมรสและหย่ากับน้ำเพ็ชร พานิชพันธ์
- หม่อมราชวงศ์จิยากร อาภากร สมรสกับพยุงศักดิ์ เสสะเวช
- หม่อมราชวงศ์รุจยาภา อาภากร สมรสกับประทุมพร อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ฐปนางกูร)
- หม่อมราชวงศ์รุจยารักษ์ อาภากร สมรสกับจุฑามาศ อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม เข็มทอง)
- หม่อมราชวงศ์ชาย(ไม่ปรากฏนาม)
- หม่อมลินจง อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค)[28]
- ธิดาพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) กับคุณหญิงลิ้นจี่ (ซึ่งหม่อมลินจงได้รู้จักคุ้นเคยกับพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ตั้งแต่ครั้งยังประทับอยู่ต่างประเทศ) โดยหม่อมลินจงเป็นญาติกับเจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดาของเสด็จในกรม[29] หม่อมลินจงอาจมีอีกนามหนึ่งว่าหม่อมเดซี่[30] เนื่องจากเป็นสตรีซึ่งทรงเคยรู้จักสนิทสนมมาตั้งแต่ประทับอยู่ต่างประเทศเช่นกัน
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447)
- พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
แก้- พ.ศ. 2443 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[31]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[32]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[33]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[34]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[35]
- พ.ศ. 2447 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[36]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[37]
- พ.ศ. 2443 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[38]
- พ.ศ. 2465 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[39]
- พ.ศ. 2452 – เหรียญบุษปมาลา (ร.บ.ม.)[40]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[41]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[42]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- อิตาลี :
- พ.ศ. 2450 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญมอริซและลาซารัส ชั้นที่ 1[43]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2446 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[44]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[45]
พระสมัญญานาม
แก้- องค์บิดาแห่งทหารเรือไทย
พระยศ
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพเรือสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | พลเรือเอก นายกองโท |
พระยศทหาร
แก้- 23 เมษายน พ.ศ. 2463: นายพลเรือเอก[46]
พระยศเสือป่า
แก้- นายหมู่ใหญ่
- 30 กันยายน พ.ศ. 2454: นายกองตรี[47]
- 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455: นายกองโท[48]
- 9 กันยายน พ.ศ. 2461: นายนาวาโท ราชนาวีเสือป่า[49]
ตำแหน่ง
แก้- 13 ธันวาคม พ.ศ. 2465: รักษาราชการแทนเจ้ากรมยุทธโยธาทหารเรือ (ปัจจุบันคือกรมอู่ทหารเรือ)[50]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ [ประกาศกองทัพเรือ 11 กุมภาพันธ์ 2536]
- ↑ [ประกาศกองทัพเรือ 19 เมษายน 2544]
- ↑ เจนจบ ยิ่งสุมล. (ตุลาคม 2553). ๑๓๐ ปี ไม่มีวันตาย พลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์. สำนักพิมพ์ DK พับลิชิ่ง. ISBN 978-616-7327-07-5. หน้า 123
- ↑ เจนจบ ยิ่งสุมล. (ตุลาคม 2553). ๑๓๐ ปี ไม่มีวันตาย พลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์. สำนักพิมพ์ DK พับลิชิ่ง. ISBN 978-616-7327-07-5. หน้า 125
- ↑ เจนจบ ยิ่งสุมล. (ตุลาคม 2553). ๑๓๐ ปี ไม่มีวันตาย พลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์. สำนักพิมพ์ DK พับลิชิ่ง. ISBN 978-616-7327-07-5. หน้า 137
- ↑ ข้อมูลที่ถูกต้องจากต่างประเทศและชื่อที่ถูกต้องของวิทยาลัย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารเรือ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา (สถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ขึ้นเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์), เล่ม ๒๑, ตอน ๓๔, ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๖๐๘
- ↑ แจ้งความกรมทหารเรือ เรื่อง ตำแหน่งหน้าที่ราชการกรมทหารเรือ
- ↑ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี สมัยรัชกาลที่ 5
- ↑ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี สมัยรัชกาลที่ 6
- ↑ เวนิสา เสนีวงศ์ฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2 (2545). กรมหลวงชุมพรฯ พระบิดาทหารเรือไทย. ISBN 974-89509-6-4. หน้า 75-76
- ↑ แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
- ↑ แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๓๗, ตอน ๐ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๓, หน้า ๒๘๙
- ↑ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก ประพัฒน์ จันทวิรัช เรื่องย่อย พระนามของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ, พ.ศ. 2546, หน้า 138-139
- ↑ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ↑ วรชาติ มีชูบท. "เหตุที่กรมหลวงชุมพรฯ ถูกปลดจากทหารเรือ จากพระราชบันทึกรัชกาลที่ 6". ศิลปวัฒนธรรม กรกฎาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 2021-11-09.
- ↑ 19.0 19.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๐, ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖, หน้า ๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การพระเมรุท้องสนามหลวงเล่ม 40, ตอน ง, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466, หน้า 4101
- ↑ สมบัติ สวางควัฒน์. (2554). ย้อนตำนานแวดวงมวยไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน. สำนักพิมพ์ ก้าวแรก. ISBN 978-616-7446-13-4. หน้า 165–166
- ↑ เวนิสา เสนีวงศ์ฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2 (2545). กรมหลวงชุมพรฯ พระบิดาทหารเรือไทย. ISBN 974-89509-6-4. หน้า 70
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. การมงคลของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงษ์ แลหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์ในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช
- ↑ เวนิสา เสนีวงศ์ฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2 (2545). กรมหลวงชุมพรฯ พระบิดาทหารเรือไทย. ISBN 974-89509-6-4. หน้า 39-40
- ↑ ""เสด็จเตี่ย" กรมหลวงชุมพรฯ ตอนที่ ๓๖ – ลองของ". Sarakadee. 2022-02-09. สืบค้นเมื่อ 2022-12-21.
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน, จุฬาลงกรณราชสัตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย, พ.ศ. 2532, ISBN 974-8356-90-6 หน้า 406-411
- ↑ หม่อมลินจง อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค)
- ↑ ธนกร พันธ์บุญเกิด. 108 เทพแห่งสรวงสวรรค์ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โอม ชุมพร จุติ, หนังสือชุด ๑๓๓ year พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์. กรุงเทพฯ : บริษัท เฟิสท์พ้อย กราฟิกดีไซน์ จำกัด, มิถุนายน พ.ศ. 2545. 266 หน้า. หน้า 33.
- ↑ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2559. 296 หน้า. หน้า 98. ISBN 978-974-02-1462-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๓๕๖, ๗ ตุลาคม ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๓, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานจุจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๙๓, ๘ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๑, ๒๖ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๘๐๒, ๒๙ มกราคม ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๘๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๑๘ หน้า ๒๑๔, ๒๙ กรกฎาคม ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๓, ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญบุษปมาลา, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๔, ๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๑๓ หน้า ๓๓๒, ๓๐ มิถุนายน ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๑๒ หน้า ๑๘๑, ๒๑ มิถุนายน ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๙๒, ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๖๕
- ↑ พระราชทานยศทหารเรือ
- ↑ พระราชทานยศนายกองตรี
- ↑ พระราชทานนายกองโท
- ↑ แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า
- ↑ แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้หนังสือและบทความ
แก้- คเณศ กังวานสุรไกร และโดม ไกรปกรณ์. “ปั้นดินขึ้นรูป: การประกอบสร้างความน่าเชื่อถือต่อเรื่องเล่าอิทธิปาฏิหาริย์ในพระประวัติของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พ.ศ. 2496–2503.” วารสารไทยศึกษา 16, 1 (มกราคม–มิถุนายน 2563): 129–163.
- Ruth, Richard A. “Prince Abhakara’s Experiences with Britain’s Royal Navy: Education, Geopolitical Rivalries and the Role of a Cretan Adventure in Apotheosis.” Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia 34, 1 (March 2019): 1–47.
เว็บไซต์
แก้- พระประวัติ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เว็บไซต์กองทัพเรือ)
- พระประวัติ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
- พระประวัติ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จากเว็บไซต์ของกองทัพเรือเก็บถาวร 2006-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เว็บไซต์สำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ 3 สาขาสมุทรสาคร กรมเจ้าท่า)
- รวบรวมพระประวัติ จาก pantown
- พระประวัติจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนครเก็บถาวร 2007-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | ทำการแทนเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ (13 ตุลาคม พ.ศ. 2465 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2466) |
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา | ||
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา | เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ (1 เมษายน – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466) |
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา |