เว่ย์ จงเสียน

(เปลี่ยนทางจาก เว่ยจงเสียน)

เว่ย์ จงเสียน (จีน: 魏忠賢) เป็น ขันที ที่มีชีวิตใน ราชวงศ์หมิง ตอนปลาย เขาได้รับการกล่าวถึงจากนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ฐานะเป็นขันทีที่มีอำนาจและฉาวโฉ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน[1] เขาเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการรับใช้ในราชสำนักของ จักรพรรดิเทียนฉี่ (ค. 2163-2170) เมื่อในที่สุดพลังอำนาจของเขาดูเหมือนจะเป็นคู่แข่งกับองค์จักรพรรดิ

เว่ย์ จงเสียน
Wei_Zhongxian.jpg
เกิด27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2111
เสียชีวิต11 ธันวาคม พ.ศ. 2170 (59 ปี)

ประวัติ แก้

ไม่ค่อยมีใครรู้จักชีวิตก่อนเข้าราชสำนักของเว่ย์ เว่ย์ไร้การศึกษา อาจเป็นสัญญาณว่าเขาเกิดในตระกูลชาวนาหรือชนชั้นพ่อค้า สันนิษฐานว่าเขาเกิดในปี ค.ศ. 1568 ในอำเภอซู่หนิง (100 ไมล์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง) ได้แต่งงานกับหญิงสาวสกุลฟางและตอนตัวเองเมื่ออายุ 21 ปี (บันทึกราชวงศ์หมิงอ้างว่าเขาทำอย่างนั้นเพื่อหนีหนี้การพนันของเขา)[2]

ก้าวเข้าสู่ราชสำนัก แก้

ผ่านทางญาติของแม่ เว่ย์สามารถเข้ารับราชการใน พระราชวังต้องห้าม[3] เป็นขันทีในราชสำนักหมิง เว่ย์ค่อย ๆ ได้รับความโปรดปรานจากขุนนางในราชสำนัก ขณะทำงานในตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่เป็นทางการ ใน ค.ศ. 1605 เขาได้รับมอบหมายงานถวายพระกระยาหารให้กับพระสนมหวังและพระโอรสองค์น้อยของพระนาง องค์ชายจู โหย่วเซี่ยว ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็น จักรพรรดิเทียนฉี่[2] ขณะทำหน้าที่นี้ เขาใกล้ชิดกับพระสนมขององค์ชาย จู โหย่วเซี่ยว มาดามเคอ เมื่อองค์ชายจู โหย่วเซี่ยว เจริญพระชันษาขึ้น พระองค์ก็ผูกพันกับมาดามเคอ และ เว่ย์ จงเสียน อย่างมาก โดยปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนพระบิดาพระมารดาโดยพฤตินัยเมื่อพระมารดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1619

เรืองอำนาจ แก้

เมื่อ จักรพรรดิว่านลี่ และผู้สืบทอดของพระองค์ จักรพรรดิไท่ชาง ทั้งสองสวรรคตพร้อมกันในปี ค.ศ. 1620 จึงได้เกิดปัญหาในการสืบราชบัลลังก์ การสวรรคตของจักรพรรดิไท่ชาง ทำให้มาดามเคอ, เว่ย์ จงเสียน และ องค์ชายจู โหย่วเซี่ยว อยู่ภายใต้การดูแลของ จักรพรรดินีหลี่ จักรพรรดินีของจักรพรรดิไท่ชาง ซึ่งองค์ชาย จู โหย่วเซี่ยว เกลียดชัง[2]

อ้างอิง แก้

  1. "Wei Zhongxian". Encyclopædia Britannica (Online Academic Edition). Encyclopædia Britannica Inc., 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 Dardess 2002, p. 35
  3. Tsai 1996, p. 4