ลิแวนต์

(เปลี่ยนทางจาก เลแวนต์)

ลิแวนต์ (อังกฤษ: Levant; อาหรับ: بلاد الشام, Bilad ash-Shām) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัชชาม (อาหรับ: الشام, ash-Shām) ตามความหมายดั้งเดิมหมายถึงบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก แต่ในความหมายทางภูมิศาสตร์หมายถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวันตกทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีเทือกเขาทอรัสเป็นเขตแดนทางตอนเหนือ ทะเลทรายอาหรับทางใต้ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก ขณะที่ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาแซกรอส

ลิแวนต์
Levant
  ประเทศและแคว้นที่เคยเป็นในประวัติศาสตร์[1]
  ประเทศในลิแวนต์ในศตวรรษที่ 20[2]
  ประเทศและแคว้นที่อาจรวมในศตวรรษที่ 21
ประเทศและแคว้นจำกัดความแบบแคบ:
 ไซปรัส
 อิสราเอล
 จอร์แดน
 เลบานอน
 ปาเลสไตน์
 ซีเรีย
 ตุรกี (จังหวัดฮาทัย)
จำกัดความแบบกว้าง:
 อียิปต์
 กรีซ
 อิรัก
 Cyrenaica
 ตุรกี (ทั้งประเทศ)
ประชากรจำกัดความแบบแคบ: 44,550,926[a]
เดมะนิมLevantine
ภาษาอาหรับเลอวานต์, ฮีบรู, อราเมอิก, ซิรคาเซีย, อาร์มีเนีย, เคิร์ด, ตุรกี, โดมารี, กรีก
เขตเวลาUTC+02:00 (EET) (ตุรกีและไซปรัส)
เมืองใหญ่

ลิแวนต์เดิมมีความหมายอย่างหลวม ๆ หมายถึง "ดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของอิตาลี" มาจากภาษาฝรั่งเศสกลางที่แปลว่า "ตะวันออก" ในประวัติศาสตร์ การค้าขายระหว่างยุโรปตะวันตกกับจักรวรรดิออตโตมันเป็นเศรษฐกิจอันสำคัญของบริเวณนี้ คำว่าลิแวนต์โดยทั่วไปมีความหมายทางวัฒนธรรมมากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใดที่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง และความหมายของคำก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทัศนคติในการอ้างอิง

ประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณลิแวนต์ แก้

แผนที่ แก้

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. จำนวนประชากร 44,550,926 คน หาได้โดยการรวมจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ (ไซปรัส อิสราเอล จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย ปาเลสไตน์ และจังหวัดฮาทัย)

อ้างอิง แก้

  1. Gagarin 2009, p. 247; Encarta 2009, "Levant"; Oxford Dictionaries 2015.
  2. Gagarin 2009, p. 247
  • Braudel, Fernand, The Mediterranean and the Mediterranean World in the Age of Phillip II
  • Julia Chatzipanagioti: Griechenland, Zypern, Balkan und Levante. Eine kommentierte Bibliographie der Reiseliteratur des 18. Jahrhunderts. 2 Vol. Eutin 2006. ISBN 3981067428
  • http://www.levantine.plus.com/index.htm. Levantine Heritage Site. Includes many oral and scholarly histories, and genealogies for some Levantine Turkish families.