เลิฟเลส (อัลบั้ม)
เลิฟเลส (Loveless) เป็นอัลบั้มสตูดิโออัลบั้มที่ 2 ของวงมายบลัดดีวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวงแนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 อัลบั้มชุดนี้ใช้เวลาการบันทึกเสียงกว่า 2 ปีระหว่าง พ.ศ. 2532–2534 ในสตูดิโอไนน์ทีน เควิน ชิลด์ส นักร้องนำและนักกีตาร์ประจำวงเป็นผู้ควบคุมการอำนวยการผลิตอัลบั้มชุดนี้ เขาค้นหาเสียงดนตรีใหม่ๆที่เป็นเอกลักษณ์มาใส่ไว้ในอัลบั้มชุดนี้ และใช้เทคนิคพิเศษต่างๆเข้ามาผสมผสานในบทเพลง อาทิ การดีดกีตาร์เบาๆโดยใช้บาร์เทรเมโล, การใช้เสียงกลองไม่ชัดเจนด้วยการตีเบาๆ วิศวกรเข้ามาร่วมงานกับอัลบั้มชุดนี้ และถูกไล่ออกไปเป็นจำนวนมาก แม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว วงนี้ก็ให้เกียรติกับวิศวกร และผู้ร่วมงานทุกคนที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับอัลบั้มนี้[1] การบันทึกเสียงอัลบั้ม เลิฟเลสส์ มีข่าวลือว่าใช้เงินลงทุนถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเหตุให้ค่ายครีเอชั่นเรคอรด์สล้มละลาย
เลิฟเลสส์ | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 | |||
บันทึกเสียง | พ.ศ. 2532–2534 | |||
แนวเพลง | ชูเกซ | |||
ความยาว | 48:36 | |||
ค่ายเพลง | ครีเอชั่น (สหราชอาณาจักร) ไซร์เออ (สหรัฐอเมริกา) | |||
โปรดิวเซอร์ | เควิน ชิลด์ส, โคล์ม โอ'ซิโอซอยก์ | |||
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี | ||||
ลำดับอัลบั้มของมายบลัดดีวาเลนไทน์ | ||||
|
ความสัมพันธ์ระหว่างวงมายบลัดดีวาเลนไทน์กับค่ายครีเอชั่นเรคอร์ดสแย่ลงระหว่างการบันทึกเสียงอัลบั้มนี้ ทางวงได้ลาออกจากค่ายเนื่องมาจากรายจ่ายที่สูงของการทำงานร่วมกับเควิน ขณะที่อัลบั้มนี้ไม่ได้ประสบความสำเร็จทางการค้ามากนัก อย่างไรก็ดีอัลบั้ม เลิฟเลส ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยทั่วไป อัลบั้มนี้เป็นที่กล่าวถึงของศิลปินทั่วไปว่ามีอิทธิพลต่อแนวเพลงของพวกเขา และนักวิจารณ์ก็กล่าวกันว่า อัลบั้มนี้เป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ดีที่สุดในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990
การสร้างและบันทึกเสียง
แก้มายบลัดดีวาเลนไทน์มีกำหนดการบันทึกเสียงที่สตูดิโอแบล็กวิง ที่เซาท์วาร์ค กรุงลอนดอน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 และตั้งใจที่จะสร้างแนวคิดใหม่ๆที่จะใช้เสียงสตูดิโอ-เบส ในผลงานอัลบั้มชุดนี้[2] เควินกล่าวว่าในตอนแรกทางค่ายครีเอชันคิดว่าอัลบั้มชุดนี้จะใช้เวลาบันทึกเสียงเพียง 5 วัน ต่อมาเมื่อเขา [ค่ายครีเอชัน] รู้แล้วว่าไม่สามารถเป็นไปได้ เขาก็เริ่มมีความคิดเปลี่ยนไป"[3] หลังจากเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งงานบันทึกเสียงคืบหน้าไปไม่มาก ทางวงจึงเริ่มบันทึกเสียงใหม่ในเดือนกันยายนที่สตูดิโอใจ้ดินดิอีเลแฟนท์แอนด์แวปปิง พวกเขาใช้เวลากว่า 8 สัปดาห์ในสตูดิโอนี้ แต่ทว่าการบันทึกเสียงก็ไม่มีสิ่งใดคืบหน้า
รายชื่อเพลง
แก้ทุกเพลงเป็นผลงานการประพันธ์ของเควิน ชิลด์ส เว้นแต่เพลงที่มีหมายเหตุอยู่ด้านหลัง
- "Only Shallow" (Bilinda Butcher, Shields) – 4:17
- "Loomer" (Butcher, Shields) – 2:38
- "Touched" (Colm Ó Cíosóig) – 0:56
- "To Here Knows When" (Butcher, Shields) – 5:31
- "When You Sleep" – 4:11
- "I Only Said" – 5:34
- "Come in Alone" – 3:58
- "Sometimes" – 5:19
- "Blown a Wish" (Butcher, Shields) – 3:36
- "What You Want" – 5:33
- "Soon" – 6:58
แหล่งข้อมูล
แก้- Cavanagh, David (2000). The Creation Records Story: My Magpie Eyes Are Hungry for the Prize. (London) Virgin Books. ISBN 0-7535-0645-9.
- DeRogatis, Jim (2003). Turn On Your Mind: Four Decades of Great Psychedelic Rock. (Milwaukee) Hal Leonard Corporation. ISBN 0-634-05548-8.
- McGonigal, Mike (2007). Loveless. (New York) The Continuum International Publishing Group Inc. ISBN 0-8264-1548-2.
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Analysis of the use of noise as music in Loveless
- Analysis of the importance of Loveless in music history เก็บถาวร 2013-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน