เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004

เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ประสบอุบัติเหตุตกเนื่องจากมาจากปัญหาของเครื่องยนต์หมายเลข 1 ระหว่างทำการบิน เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 223 คน เป็นอุบัติภัยทางการณ์บินที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 28 ของโลก[1]

เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004
สรุปอุบัติการณ์
วันที่26 พฤษภาคม 2534
สรุปThrust Reverser ที่ทำหน้าที่เสมือนเบรกของเครื่องยนต์ที่ 1 เกิดการทำงานกลางอากาศ
จุดเกิดเหตุอุทยานแห่งชาติพุเตย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
ประเภทอากาศยานโบอิง B-767-3Z9ER
ชื่ออากาศยานว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท
ดําเนินการโดยเลาดาแอร์
ทะเบียนOE-LAV
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา
จำนวนคน223 คน
ผู้โดยสาร213 คน
ลูกเรือ10 คน
เสียชีวิต223 คน (ทั้งหมด)
รอดชีวิตไม่มี
เครื่องบินโบอิ้ง 767-300 แบบเดียวกับที่ประสบเหตุ
สุสานเลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004

ประวัติการบิน แก้

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534[2] เวลาประมาณ 23:02 น. ตามเวลาท้องถิ่น เที่ยวบิน NG004 ซึ่งบินมาจากท่าอากาศยานไคตั๊กที่ฮ่องกง ด้วยเครื่องบิน โบอิง 767-3Z9ER ทะเบียน OE-LAV ชื่อเครื่องบิน ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท ได้ออกจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มุ่งสู่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา มีผู้โดยสาร 213 คน และลูกเรือ 10 คน ภายใต้การควบคุมของกัปตันโทมัส เจ. เวลช์ ชาวอเมริกัน และนักบินผู้ช่วยโยเซ็ฟ ทัวร์เนอร์ ชาวออสเตรีย

เวลา 23:08 เวลช์และทัวร์เนอร์ได้รับสัญญาณภาพเตือนว่ามีความผิดพลาดทางระบบที่อาจทำให้ระบบผันกลับแรงขับ (Thrust Reverser) ที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 ทำงานขณะบิน หลังจากได้ศึกษาคู่มือแล้ว ทั้งสองลงความเห็นว่าสัญญาณเตือนนั้นเป็นเพียงเหตุการณ์ปกติและไม่ได้จัดการใด ๆ กับสัญญาณเตือน[3]

เวลา 23:17 ระบบผลักดันแรงขับที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 ทำงานระหว่างที่เครื่องบินอยู่เหนือพื้นที่ป่าและภูเขาบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้ปีกซ้ายของเครื่องบินสูญเสียแรงยก คำพูดสุดท้ายของทัวร์เนอร์ที่บันทึกไว้ได้คือ "Oh! Reverser's deployed!"[4][5]

ในวินาทีต่อมา เครื่องบันทึกเสียงห้องนักบินได้บันทึกเสียงการสั่นของโครงเครื่องบิน ตามด้วยเสียงการหักของโลหะ เครื่อง 767 ฉีกออกเป็นส่วน ๆ กลางอากาศที่ระดับความสูงต่ำกว่า 3,000 เมตร(10,000 ฟุต)เหนือระดับน้ำทะเล ซากเครื่องบินถูกพบที่ระดับความสูง 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในบริเวณซึ่งปัจจุบันเป็นอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี[5] ไม่มีผู้โดยสารและลูกเรือคนใดรอดชีวิต ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 39 คน ชาวต่างชาติ 184 คน อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นหายนะทางการเดินทางทางอากาศที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนถึงปัจจุบัน ทีมกู้ภัยพบร่างของกัปตันเวลช์ยังคงติดอยู่กับที่นั่งของนักบิน[6] หลังอุบัติเหตุ ได้มีผู้มาขโมยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอัญมณี[7] ความสามารถในการขนส่งของสายการบินหายไปถึง 1 ใน 4 จากผลของการตก[8]

หลังเหตุการณ์ นิกิ เลาดา เจ้าของสายการบิน ได้เดินทางมาอำนวยการค้นหาร่างของผู้เสียชีวิตด้วยตัวเอง

สัญชาติ ผู้โดยสาร ลูกเรือ รวม
  ออสเตรีย 74 9 83
  ออสเตรเลีย 1 0 1
  บราซิล 1 0 1
  จีน 6 0 6
  เยอรมนี 4 0 4
  ฮ่องกง 52 0 52
  ฮังการี 2 0 2
  อิตาลี 10 0 10
  ฟิลิปปินส์ 2 0 2
  โปแลนด์ 1 0 1
  โปรตุเกส 3 0 3
  สวิตเซอร์แลนด์ 7 0 7
  ไต้หวัน 3 0 3
  ไทย 39 0 39
  ตุรกี 1 0 1
  บริเตนใหญ่ 2 0 2
  สหรัฐ 2 1 3
  ยูโกสลาเวีย 3 0 3
รวมทั้งหมด 213 10 223

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 100 WORST AVIATION DISASTERS
  2. พุเตย : สำนักอุทยานแห่งชาติ
  3. Accident description at the Aviation Safety Network
  4. Job, Macarthur (1996). Air Disaster Volume 2, Aerospace Publications, ISBN 1-875671-19-6: pp.203-217
  5. 5.0 5.1 Accident Report - Lauda Air Flight 004
  6. "UN drug man 'not Thai bomb target'." The Independent. Thursday 30 May 1991.
  7. Johnson, Sharen Shaw. "Scavengers complicate crash probe." USA Today. 29 May 1991. 4A.
  8. Traynor, Ian. "Lauda's driving ambition brings triumph and disaster in tandem." The Independent. 28 May 1991.
  • กองบรรณาธิการมติชน, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, 2549, ISBN 974-323-889-1

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

14°44′N 99°27′E / 14.733°N 99.450°E / 14.733; 99.450