เรือเดินสมุทร (อังกฤษ: Ocean liner) คือเรือโดยสารประเภทหนึ่ง ใช้ในการการขนส่งข้ามทะเลหรือมหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่ เรืออาจบรรทุกสินค้าหรือไปรษณีย์ และบางครั้งอาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ (เช่น เพื่อการล่องเรือสำราญหรือเรือพยาบาล)[1]

เรืออาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (RMS Queen Mary) ภาพถูกถ่ายขณะที่เรือยังให้บริการ ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำในลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย

เรือสินค้าที่แล่นตามตารางเวลาบางครั้งเรียก เรือเดินสมุทร-เรือประจำ[2] ไม่นับเรือข้ามฟากหรือเรือลำอื่นๆที่มีส่วนร่วมในการค้าทางทะเลระยะทางสั้น รวมทั้งเรือสำราญที่การเดินเรือมีจุดประสงค์หลักไม่ใช่การเดินทาง และไม่รวมถึงเรือจร ถึงแม้มีอุปกรณ์เพียงพอที่จะบรรทุกผู้โดยสารได้ บริษัทขนส่งบางแห่งอ้างว่าตัวเองเป็น "สายการเดินเรือ" และเรือบรรทุกสินค้าบรรจุตู้ของบริษัทซึ่งมักจะเดินเรือมากกว่าเส้นทางที่กำหนดไว้ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้นั้นเป็น "เรือเดินสมุทร-เรือประจำ"

เรือเดินสมุทรมักจะถูกสร้างขึ้นอย่างแข็งแรงพร้อมด้วยระยะกราบพ้นนํ้าสูง มีความทนทานต่อทะเลที่คลื่นลมแรงและสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยที่พบในทะเลเปิด นอกจากนี้ ยังได้รับการออกแบบให้ตัวเรือชุบเคลือบผิวด้วยโลหะที่หนากว่าที่พบในเรือสำราญ และมีจุเชื้อเพลิง อาหาร และบริโภคภัณฑ์อื่นๆ ได้สูงไว้สำหรับการเดินทางระยะยาว[3]

เรือเดินสมุทรลำแรกถูกสร้างขึ้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เช่น เครื่องจักรไอน้ำ และตัวเรือที่สร้างจากเหล็ก ทำให้เรือเดินสมุทรมีขนาดใหญ่ขึ้นและแล่นได้เร็วขึ้น สร้างการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจโลกในเวลานั้น โดยเฉพาะระหว่างสหราชอาณาจักรและเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่สอง การเดินทางด้วยเรือเดินสมุทรระหว่างทวีปกลายเป็นล้าสมัย ด้วยอากาศยานทางไกล ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางรถยนต์และรถไฟก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน หลังจากเรือ อาร์เอ็มเอส ควีน เอลิซาเบธ 2 (RMS Queen Elizabeth 2) ปลดระวางในปี ค.ศ. 2008 เหลือเพียงเรือเดินสมุทรเพียงลำเดียวที่ยังให้บริการคือ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2

อ้างอิง แก้

  1. http://www.abc.net.au/local/stories/2015/07/01/4264798.htm Chris Frame – How the Ocean Liner changed the world. ABC National.
  2. Craig, Robin (1980). Steam Tramps and Cargo Liners 1850–1950. London: Her Majesty's Stationery Office. ISBN 0-11-290315-0.
  3. http://chriscunard.com/history-fleet/translantic-liner/ Ocean Liner vs. Cruise Ship. Chris Frame's Cunard Page.
  • Rémy, Max; Le Boutilly, Laurent (2016). Les "Provinces" Transatlantiques 1882–1927 (ภาษาฝรั่งเศส). Éditions Minimonde76. ISBN 9782954181820.
  • Brouard, Jean-Yves (1998). Paquebots de chez nous (ภาษาฝรั่งเศส). MDM. ISBN 9782909313535.
  • Chirnside, Mark (2004). The Olympic Class Ships : Olympic, Titanic, Britannic. Tempus. ISBN 9780752428680.
  • Ferulli, Corrado (2004). Au cœur des bateaux de légende (ภาษาฝรั่งเศส). Hachette Collections. ISBN 9782846343503.
  • Le Goff, Olivier (1998). Les Plus Beaux Paquebots du Monde (ภาษาฝรั่งเศส). Solar. ISBN 9782263027994.
  • Mars, Christian; Jubelin, Frank (2001). Paquebots (ภาษาฝรั่งเศส). Sélection du Reader's Digest. ISBN 9782709812863.
  • Piouffre, Gérard (2009). L'Âge d'or des voyages en paquebot (ภาษาฝรั่งเศส). Éditions du Chêne. ISBN 9782812300028.
  • Scull, Theodore W. (1998). Ocean Liner Odyssey, 1958-1969. London: Carmania Press. ISBN 0951865692.
  • Scull, Theodore W. (2007). Ocean Liner Twilight: Steaming to Adventure, 1968-1979. Windsor: Overview Press. ISBN 9780954720636.
  • Scull, Theodore W. (2017). Ocean Liner Sunset. Windsor: Overview Press. ISBN 9780954702687.
  • Server, Lee (1998). L'Âge d'or des paquebots (ภาษาฝรั่งเศส). MLP. ISBN 2-7434-1050-7.