เรือหลวงปัตตานี

เรือหลวงปัตตานี (OPV-511) (อังกฤษ: HTMS Pattani)[nb 1] เป็นหนึ่งในสองเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ซึ่งทำหน้าที่โดยกองทัพเรือไทย

เรือหลวงนราธิวาส (OPV-512) หนึ่งในชุดเรือหลวงปัตตานี
ประวัติ
ประเทศไทย
ชื่อเรือหลวงปัตตานี
ตั้งชื่อตามจังหวัดปัตตานี
ผู้ให้บริการราชนาวีไทย
อู่เรือบริษัทต่อเรือแห่งรัฐของจีน เซี่ยงไฮ้
เข้าประจำการพ.ศ. 2548
รหัสระบุ
สถานะในปฏิบัติการ
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นปัตตานี
ขนาด (ระวางขับน้ำ): บรรทุกสูงสุด 1,440 ลองตัน (1,460 ตัน)
ความยาว: 95.5 m (313 ft 4 in)
ความกว้าง: 11.6 m (38 ft 1 in)
กินน้ำลึก: 3.0 m (9 ft 10 in)
ระบบขับเคลื่อน: 2 × รัสตัน16อาร์เค270 เครื่องยนต์ดีเซล, ขับสองเพลาด้วยใบพัดที่สามารถควบคุมได้
ความเร็ว: 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 29 ไมล์ต่อชั่วโมง)
พิสัยเชื้อเพลิง: 3,500 nmi (6,500 km; 4,000 mi) ที่ 15 kn (28 km/h; 17 mph)
อัตราเต็มที่: 84 นาย
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
  • 1 × เซเลกซ์ แรน-30เอกซ์/เรดาร์ตรวจจับไอมัลติโหมดร่วมกับไอเอฟเอฟ
  • 1 × ไรน์เมทัล เรดาร์ควบคุมการยิงทีเอ็มเอกซ์/อีโอ และออปโทรนิกควบคุมการยิง
  • 3 × เรย์เธียน เรดาร์เดินเรือซุทซ์เอ็นเอสซี-25 ซีสเกาต์
  • ระบบการต่อสู้: อัทลัสเอเลคโทรนิค ระบบอำนวยการรบโคซิส
  • ระบบนำทาง: เรย์เธียน อันซุทซ์ไอบีเอส/ไอเอ็นเอส เอ็นเอสซี-ซีรีส์
  • ระบบการสื่อสาร: โรเดอุนท์ชวาตส์ ระบบการสื่อสารแบบบูรณาการ
ยุทโธปกรณ์:
  • 1 × โอโตเมลารา 76/62 ซูเปอร์ความเร็วสูง
  • 2 × เดเนลแลนด์ซิสเต็ม จีไอ-2 ปืนใหญ่อัตโนมัติ 20 มม.
  • 2 × ยู.เอส. ออดแนนซ์ เอ็ม2เอชบี ปืนกลลำกล้อง .50
  • ภายใต้ข้อตกลงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 บริษัทต่อเรือแห่งรัฐของจีนได้สร้างเรือหลวงปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส ซึ่งเป็นเรือที่สร้างขึ้นรูปเดียวกันที่อู่ต่อเรือหู้ตงจงหัวในเซี่ยงไฮ้[2] ร.ล.ปัตตานี ได้รับการเปิดตัวในปี พ.ศ. 2547 และส่งมอบให้กองทัพเรือไทยเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2548[2]

    ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553 ร.ล.ปัตตานีและร.ล.สิมิลัน ซึ่งเป็นเรือสนับสนุน ได้ออกจากฐานทัพเรือสัตหีบโดยมี "กำลังพล 351 คนและกองกำลังสงครามพิเศษ 20 นาย" เข้าร่วมต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัดในอ่าวเอเดน[3] "ภารกิจครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยส่งกองกำลังไปต่างประเทศเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง"[3] โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือเฉพาะกิจผสมที่ 151 ร.ล.ปัตตานีและโดยเฉพาะอย่างยิ่งร.ล.สิมิลัน "ได้ขัดขวางการกระทำของโจรสลัด" ในเหตุการณ์สองเหตุการณ์แยกกันเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553[4] จากนั้นในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554 เรือทั้งสองลำได้กลับมาที่ท่าเรือหลังจากปฏิบัติหน้าที่ 137 วัน[5]

    ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557 ร.ล.ปัตตานี ได้รับการนำไปใช้พร้อมกับอะกุสตาเวสต์แลนด์ซูเปอร์ลิงซ์ 300 ในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370[6]

    หมายเหตุ แก้

    1. HTMS ย่อมาจาก His Thai Majesty หมายถึงเรือหลวง; ดูคำที่เติมหน้าชื่อเรือ

    อ้างอิง แก้

    1. https://www.myshiptracking.com/vessels/htmspattani-511-mmsi-567043400-imo-352416782
    2. 2.0 2.1 Prasun K. Sengupta (18 January 2006). "Thailand Acquires Chinese OPVs & APCs". indiadefence.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 7 December 2011.
    3. 3.0 3.1 "Hunt begins for Somali pirates". Bangkok Post. 11 September 2010.
    4. "Royal Thai Navy Disrupts Piracy". Combined Maritime Forces site. 29 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 6 December 2011.
    5. "Back From Pirate Hunting". Bangkok Post. 20 January 2011.
    6. ทร.ส่งเรือหลวง-ฮ.ซุปเปอร์ลิงก์ช่วยค้นหาเครื่องบินมาเลย์ - ไทยรัฐ

    แหล่งข้อมูลอื่น แก้