เรืองอุไร กุศลาสัย

(เปลี่ยนทางจาก เรืองอุไร กุศลาศัย)

ศาสตราจารย์พิเศษ เรืองอุไร กุศลาสัย (สกุลเดิม: หิญชีระนันทน์ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2463 – 31 มกราคม พ.ศ. 2561) เป็นนักเขียน นักแปล ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีชื่อเสียงจากหนังสือและบทความเกี่ยวกับประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับกรุณา กุศลาสัย ซึ่งเป็นสามี ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2544 ศาสตราจารย์พิเศษ เรืองอุไร กุศลาสัย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2560

เรืองอุไร กุศลาสัย

เกิด21 มิถุนายน พ.ศ. 2463[1]
อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี
เสียชีวิต31 มกราคม พ.ศ. 2561 (97 ปี)[2]
กรุงเทพมหานคร[3]
นามปากกาเรืองอุไร
หิญชีระนันทน์
กมลากร
ก.ร.ร.
โกศล นิรุกติ
กรุณา กุศลาสัย-เรืองอุไร จูตะเสน
กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย
อาชีพนักเขียน, นักแปล, ครู
คู่สมรสกรุณา กุศลาสัย (2492 – 2552)

เรืองอุไร กุศลาสัย เดิมชื่อ อุไร หิญชีระนันทน์ เกิดที่ตำบลศิริราช อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรีของอำมาตย์ตรี พระสอนถูกระบอบ (เรือง หิญชีระนันทน์) กับนางบุญเรือน สอนถูกระบอบ (สกุลเดิม สิงหบุระอุดม) ต่อมาพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เปลี่ยนให้เป็น "เรืองอุไร" เมื่อ พ.ศ. 2485 จบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีวัดระฆัง โรงเรียนเบญจมราชาลัย และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรับราชการครูที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม (สถาบันราชภัฏจันทรเกษม) และโรงเรียนบพิตรภิมุข จนกระทั่งเกษียณอายุ[4]

เรืองอุไร สมรสครั้งแรกโดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อสกุลเป็น เรืองอุไร จูตะเสน แต่ต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับกรุณา กุศลาสัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 จนกระทั่งสามีเสียชีวิต ทั้งสองมีบุตร-ธิดาด้วยกันสองคนคือ พันโทหญิง ทันตแพทย์หญิง อังศิกา และกัมปนาท กุศลาสัย[5]

เรืองอุไร เสียชีวิตในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 เมื่อเวลา 06.00 น. ด้วยโรคชราที่บ้านพักส่วนตัว สิริอายุ 97 ปี[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. วันเกิด เรืองอุไร กุศลาสัย นักแปลงานวรรณกรรมอินเดีย
  2. 2.0 2.1 "สิ้น "เรืองอุไร กุศลาสัย" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สิริอายุ 97 ปี". MGR Online. 31 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "สิ้น "ครูเรืองอุไร กุศลาสัย" นักเขียนศิลปินแห่งชาติ". เดลินิวส์. 31 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ชีวประวัติ เรืองอุไร กุศลาสัย จาก คลังปัญญาชนสยาม
  5. "กรุณา กุศลาสัย". MyFirstBrain.com. 16 มกราคม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๑๐, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๖๔, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๑๔๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๙๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓