เรสซิเดนต์อีวิล หรือ ไบโอฮาซาร์ด (อังกฤษ: Resident Evil; ญี่ปุ่น: バイオハザードโรมาจิBaiohazādo) เป็นแฟรนไชส์สื่อของบริษัทวิดีโอเกมสัญชาติญี่ปุ่นของแคปคอม สร้างโดย ชินจิ มิกามิเป็นชุดวิดีโอเกมเอาชีวิตรอดสยองขวัญ (survival horror) โดยเริ่มต้นจาก เรซิเดนต์อีวิล ใน พ.ศ. 2539 นับตั้งแต่นั้น ชุดเกมได้ขยายสาขาออกไปรวมถึงเกมแอ็กชันด้วย และขายได้ 125 ล้านหน่วย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565

เรซิเดนต์อีวิล
สร้างโดยชินจิ มิคามิ
โทคุโระ ฟูจิวาระ
งานต้นฉบับเรซิเดนต์อีวิล (1996)
เจ้าของแคปคอม
ปี1996–ปัจจุบัน
สื่อสิ่งพิมพ์
นวนิยายรายชื่อนวนิยาย
การ์ตูนรายชื่อหนังสือการ์ตูน
ภาพยนตร์และโทรทัศน์
ภาพยนตร์รายชื่อภาพยนตร์
ละครโทรทัศน์รายชื่อรายการโทรทัศน์
เกม
วิดีโอเกมรายชื่อเกม

แฟรนไชส์ดังกล่าวได้ขยายไปถึงหนังสือการ์ตูนช่อง นิยายและการดัดแปลงเป็นนิยาย ละครเสียง ชุดภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันและแอนิเมชัน ตลอดจนสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง[1]

ข้อมูลทั่วไป

แก้
เส้นเวลาตามปีที่ออกจำหน่าย

1996 —
เรซิเดนต์อีวิล

1997
1998 —
เรซิเดนต์อีวิล 2

1999 —
เรซิเดนต์อีวิล 3: เนเมซิส

2000 —
เรซิเดนต์อีวิล เซอร์ไวเวอร์

เรซิเดนต์อีวิล โค้ด: เวโรนิกา

2001 —
เรซิเดนต์อีวิล ไกเดน

เรซิเดนต์อีวิล เซอร์ไวเวอร์ 2 โค้ด: เวโรนิกา

2002 —
เรซิเดนต์อีวิล รีเมค

เรซิเดนต์อีวิล ซีโร่

2003 —
เรซิเดนต์อีวิล: เดดเอม

เรซิเดนต์อีวิล เอาท์เบรก

2004 —
เรซิเดนต์อีวิล เอาท์เบรก ไฟล์ #2

2005 —
เรซิเดนต์อีวิล 4

2006 —
เรสซิเดนต์ อีวิล: เดดลี่ ไซเลนซ์

2007 —
เรสซิเดนต์ อีวิล: ดิอัมเบรลล่าโครนิเคิลส์

2008 —
2009 —
เรซิเดนต์อีวิล 5

เรซิเดนต์อีวิล: เดอะดาร์กไซด์ โครนิเคิลส์

2010 —
2011 —
เรซิเดนต์อีวิล: เดอะเมอร์ซีนารีส์ 3D

2012 —
เรซิเดนต์อีวิล: รีเลชั่นส์

เรซิเดนต์อีวิล: โอเปอเรชั่นแรคคูนซิตตี้

เรซิเดนต์อีวิล 6
2013 —
2014 —
2015 —
เรซิเดนต์อีวิล: รีเลชั่นส์ 2

2016 —
เรซิเดนต์อีวิล: อัมเบรลล่าคอร์ปส์

2017
เรซิเดนต์อีวิล 7

2018 —
2019 —
เรซิเดนต์อีวิล 2 (รีเมค)

2020 —
เรซิเดนต์อีวิล 3 (รีเมค)

2021 —
เรซิเดนต์อีวิล: วิลเลจ

2022 —
2023 —
เรซิเดนต์อีวิล 4 (รีเมค)

2024

วิดิโอเกมชุด เรซิเดนต์อีวิล เป็นเกมแนว ผจญภัย-สยองขวัญ ผลิตโดยบริษัท แคปคอม ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเกมที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น โดยโปรดิวเซอร์ของเกมคือ ชินจิ มิคามิ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกมสยองขวัญในอดีตที่ชื่อ สวีทโฮม (ผลิตโดย แคปคอม เช่นเดียวกัน ลงบนเครื่อง แฟมิคอมในปี ค.ศ. 1989) บวกกับอิทธิพลของซอมบี้จากภาพยนตร์ชุดของ จอร์จ เอ โรเมโร จนกลายมาเป็นเกมเรซิเดนต์อีวิล และประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงจนมีการสร้างภาคต่อออกมาอีกมากมาย

ตัวเกมเรซิเดนต์อีวิล เกือบทุกภาคมักจะใช้มุมมองบุคคลที่สามนำเสนอผ่านมุมกล้องต่างๆที่มีอยู่ตลอดทั้งเกม ด้วยการบังคับแบบรถถังคือกดเดินหน้า-ถอยหลัง และหมุนซ้าย-ขวาเพื่อเปลี่ยนทิศทาง ภาพรวมการเล่นเกมนี้จะจับเอาตัวละครของผู้เล่นมาผจญภัยในสถานที่ปิดล้อมเช่นคฤหาสน์ สถานีตำรวจ ซึ่งผู้เล่นจะต้องหาทางเอาตัวรอดไปจากสถานที่นั้นให้ได้โดยการแก้ปริศนาต่างๆ รวมถึงการต่อสู้กับสัตว์ประหลาดที่มีอยู่ทั่วไปในเกม แนวการเล่นหลักๆของเกมซึ่งมีส่วนคล้ายกันทุกภาคก็คือ ผู้เล่นจะต้องทำการหา 'กุญแจ' มาเปิดล็อกห้องต่างๆในสถานที่นั้นๆ เพื่อตามหาไอเทมต่างๆ มาใช้ไขปริศนา เช่นการกดสวิตซ์ตามลำดับ การนำเหรียญตราไปใส่ในช่องที่ถูกต้อง ตัวเกมเพิ่มความน่าติดตามเข้าไปโดยให้ผู้เล่นได้ออกจากสถานที่ที่อยู่ในตอนแรกไปชั่วขณะหนึ่ง เพื่อไปสู่สถานที่ที่สอง และทำการหา 'กุญแจ' มาเปิดห้องในสถานที่แรกที่ยังไม่ได้สำรวจอีกครั้ง ก่อนจะพบไอเทมสำคัญที่จะเป็นกุญแจนำผู้เล่นไปยังสถานที่แห่งที่สามและสี่ และต่อๆไปจนจบเกม

บรรดาสัตว์ประหลาดในเกมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตัวเกมมีความน่าสนใจ ด้วยบรรยากาศของเกมเน้นไปที่ความลึกลับสยองขวัญ บรรดาศัตรูในเกมจึงหนีไม่พ้นเหล่าผีดิบต่างๆ ซึ่งเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของวิดีโอเกมชุดนี้นั่นก็คือซอมบี้ ซอมบี้เป็นสัตว์ประหลาดที่เชื่องช้า แต่มีรูปลักษณ์และการเคลื่อนไหวที่ชวนให้ขนลุก อีกทั้งจุดที่พวกมันอยู่ในเกมก็มักจะเป็นจุดอับที่สร้างความตกใจให้กับผู้เล่น เมื่อผู้เล่นชินกับบรรดาซอมบี้ที่มีอยู่เกลื่อนกลาดในเกมช่วงแรกแล้ว ตัวเกมก็จะทำการเพิ่มสัตว์ประหลาดที่มีความน่ากลัวกว่าเดิมเข้าไปในช่วงกลางและช่วงท้ายของเกม เพื่อให้เกมมีความท้าทายมากขึ้น โดยผู้เล่นก็จะได้รับอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับเพื่อใช้ต่อกรกับสัตว์ประหลาดเหล่านี้

ในญี่ปุ่นตัวเกมใช้ชื่อว่า ไบโอฮาซาร์ด ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็น เรซิเดนต์อีวิล เมื่อออกวางจำหน่ายในฝั่งยุโรปและอเมริกา ด้วยเหตุผลทางการค้า ที่ได้รับการเปิดเผยโดยคริส เครเมอร์ หัวหน้าฝ่ายสื่อสารของแคปคอม ว่า ในอเมริกามีชื่อวงดนตรี ไบโอฮาซาร์ด ทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปแล้ว ทำให้ทางทีมงานต้องคิดหาชื่ออื่นมาลงแทน จึงเป็นที่มาของชื่อ เรซิเดนต์อีวิล โดยถูกคิดค้นโดยนักออกแบบใน แคปคอมดิจิตอลสตูดิโอส์ หรือ บริษัทกลุ่มแรกที่พัฒนาขึ้นมาในอเมริกาของ แคปคอม

ข้อมูลตัวละคร

แก้

สื่อที่เกี่ยวข้อง

แก้

ภาพยนตร์

แก้

มีภาพยนตร์ 7 เรื่องออกฉายภายใต้ชื่อ ผีชีวะ (Resident Evil) ซึ่งเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ไม่เหมือนกับในเกม แต่รวมตัวละครในเกมไปด้วย ได้แก่ จิล วาเลนไทน์ แคลร์ เรดฟีลด์ เนเมซิส คริส เรดฟิลด์ คาร์ลอส โอลิเวราและอัลเบิร์ต เวสเกอร์ ภาพยนตร์ทั้ง 6 เรื่อง เขียนและกำกับโดย พอล ดับเบิลยู. เอส. แอนเดอร์สัน ตัวเอกหลักของชุดภาพยนตร์ คือ อลิซ ซึ่งเป็นตัวละครดั้งเดิมที่สร้างขึ้นเพื่อภาพยนตร์เหล่านี้ แม้จะได้รับการตอบรับในแง่ลบจากนักวิจารณ์ ชุดภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันนี้ยังทำรายได้กว่า 1280 ล้านดอลล่าร์สหรัฐทั่วโลก[2] จนถึงปัจจุบัน ภาพยนตร์ผีชีวะยังเป็นการดัดแปลงวิดีโอเกมเพียงเรื่องเดียวที่ทำรายได้เพิ่มขึ้นในแต่ละภาคที่ออกฉาย[3] ชุดภาพยนตร์ดังกล่าวยังทำสถิติ "การดัดแปลงวิดีโอเกมเป็นภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันมากที่สุด" ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ 2012 ฉบับเกมเมอร์ ซึ่งยังได้อธิบายว่าเป็น "ชุดภาพยนตร์อิงวิดีโอเกมที่ประสบความสำเร็จที่สุด"[4]

ปี ค.ศ. 2021 ภาพยนตร์ฉบับรีบู๊ตที่อ้างอิงเนื้อหาและตัวละครจากเกมต้นฉบับและรีเมคของภาค 1 และภาค 2 เขียนบทและกำกับโดย โยฮันเนส โรเบิร์ต

ซีรีส์

แก้

ในปี 2019 เน็ตฟลิกซ์ ร่วมกับ คอนสแตนติน ฟิลม์ ผู้สร้างภาพยนตร์ทั้ง 7 ภาค ได้ประกาศสร้าง Resident Evil: ผีชีวะ ซีรีส์แปดตอนที่เดินเรื่องในจักรวาลของตัวเอง หลังจากพยายามสร้างมาตั้งแต่ปี 2014 แต่ก็ไม่มีผู้จัดจำหน่ายใดสนใจ จนได้เน็ตฟลิกซ์มาช่วย ไทม์ไลน์ของซีรีส์นั้นเกิดขึ้นหลังจากเกม Resident Evil 5 และ Resident Evil Village ใช้องค์ประกอบจากจักรวาลของแฟรนไชน์หลัก ผ่านตัวละครอัลเบิร์ต เวสเกอร์ นำแสดงโดย แลนซ์ เรดดิค (นักแสดงผิวดำคนแรก ที่แสดงตัวละครอัลเบิร์ต เวสเกอร์) ผู้ที่พาแฝดลูกสาวจากหลอดแก้วทั้งสองอย่าง เจด และ บิลลี่ มายังที่เมืองนิวแร็คคูนซิตี้ แอฟริกาใต้ ในปี 2022 เมืองอุตสาหกรรมที่ถูกสร้างขึ้นจากเมืองโรงงานที่ถูกทำลายไปในอดีต ก่อนที่จะเกิดหายนะบางอย่างที่ทำให้ 14 ปีต่อมา ปี 2036 โลกได้กลายเป็นแดนของสัตว์ประหลาด ในขณะที่อัมเบรล่ายังก่อกรรมทำเข็ญกับผู้รอดชีวิตที่เหลือรอดและทดลองเชื้อทีไวรัสอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซีรีส์มีกำหนดฉาย 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 และไม่ได้รับการไปต่อในฤดูกาลที่ ๒ หลังไม่ประสบความสำเร็จในแง่คำวิจารณ์และยอดผู้ชม

อ้างอิง

แก้
  1. "Enter The Survival Horror... A Resident Evil Retrospective". Game Informer (174): 132–133. October 2007.
  2. "Box Office History for Resident Evil Movies". The Numbers. สืบค้นเมื่อ October 25, 2010.
  3. Boxofficemojo.com
  4. Reeves, Ben (December 30, 2011). "Guinness World Records 2012 Gamer's Edition Preview". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-25. สืบค้นเมื่อ December 31, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้