เรควีเอ็ม (โมทซาร์ท)

เรควีเอ็มแมสในบันไดเสียงดีไมเนอร์ (อังกฤษ: Requiem Mass in D minor, K. 626) เป็นผลงานประพันธ์ของว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท ในปี ค.ศ. 1791 เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายในชีวิตของโมทซาร์ทซึ่งเสียชีวิตก่อนจะแต่งได้เสร็จสิ้น ซึ่งต่อมาค็อนสตันท์เซอ โมทซาร์ท ภรรยาของเขาได้มอบหมายให้ฟรัทนซ์ ซาเวอร์ ซืสไมเออร์ ลูกศิษย์ของโมทซาร์ทแต่งต่อจนเสร็จ[1]

โมทซาร์ทแต่งเรควีเอ็มตามคำว่าจ้างของฟรันทซ์ ฟ็อน วัลเซ็ค เพื่้กพพหพึดอเร45887/456

อเป็นการไว้อาลัยในพิธีศพของอันนา ภรรยาสาวของฟ็อน วัลเซ็ค ที่เสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง 20 ปี[2] แต่เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ โมทซาร์ทป่วยเป็นโรคไตและไข้รากสาดใหญ่ ประกอบกับต้องแบ่งเวลาไปเขียนอุปรากรเรื่อง La Clemenza di Tito และ ขลุ่ยวิเศษ ทำให้บทประพันธ์ชิ้นนี้ต้องล่าช้ากว่ากำหนด ในช่วงท้ายของชีวิต โมทซาร์ทมีสุขภาพย่ำแย่จนต้องไม่สามารถเขียนได้ด้วยตนเอง ต้องให้ซืสส์มาเยอร์เป็นผู้จดบันทึกตามคำบอก โมทซาร์ทถึงกับเพ้อไปว่าตัวเขาถูกวางยาพิษ และกำลังเขียนเรควีเอ็มนี้เพื่อใช้ในงานศพของตัวเอง

มีเรื่องเล่าที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในปัจจุบัน ว่าชายลึกลับในชุดสีเทาที่เป็นผู้ว่าจ้างโมทซาร์ทให้แต่งเรควีเอ็มบทนี้ คือ อันโตนีโอ ซาลีเอรี สืบเนื่องมาจากความนิยมในบทละครเรื่อง Mozart and Salieri (1830) ของอะเล็กซานเดอร์ ปุชกิน ซึ่งดัดแปลงเป็นอุปรากรโดยริมสกี-คอร์ซาคอฟในปี ค.ศ. 1897 ซึ่งกลายมาเป็นโครงเรื่องหลักในละครเวที และภาพยนตร์ อะมาเดอุส โดยปีเตอร์ แชฟเฟอร์ ซึ่งไม่ตรงกับความจริงในประวัติศาสตร์[3]

เรควีเอ็ม แมส ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ แบ่งออกเป็นน 14 มูฟเมนต์ โดยแยกเป็น 7 ท่อนหลัก ดังนี้

  • I. Introitus: Requiem aeternam (ประสานเสียง และโซปราโนเดี่ยว)
  • II. Kyrie eleison (ประสานเสียง)
  • III. Sequentia:
    • Dies irae (ประสานเสียง)
    • Tuba mirum (โซปราโน, คอนทราลโต, เทเนอร์ และเบสเดี่ยว)
    • Rex tremendae majestatis (ประสานเสียง)
    • Recordare, Jesu pie (โซปราโน, คอนทราลโต, เทเนอร์ และเบสเดี่ยว)
    • Confutatis maledictis (ประสานเสียง)
    • Lacrimosa dies illa (ประสานเสียง)
  • IV. Offertorium:
    • Domine Jesu Christe (ประสานเสียง กับเดี่ยวควอร์เทต)
    • Versus: Hostias et preces (ประสานเสียง)
  • V. Sanctus:
    • Sanctus Dominus Deus Sabaoth (ประสานเสียง)
    • Benedictus (เดี่ยวควอร์เทต จากนั้นประสานเสียง)
  • VI. Agnus Dei (ประสานเสียง)
  • VII. Communio:
    • Lux aeterna (โซปราโนเดี่ยว และประสานเสียง)

อ้างอิง

แก้
  1. Steve Boerner (December 16, 2000). "K. 626: Requiem in D Minor". The Mozart Project.
  2. ฟ็อน วัลเซ็คเป็นนักประพันธ์สมัครเล่น และว่าจ้างให้โมทซาร์ทแต่งเรควีเอ็มโดยไม่ระบุชื่อผู้แต่ง โดยตั้งใจว่าจะระบุชื่อตนเองเป็นผู้แต่งแทน
  3. Gregory Allen Robbins. "Mozart & Salieri, Cain & Abel: A Cinematic Transformation of Genesis 4." เก็บถาวร 2008-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Journal of Religion and Film: Vol. 1, No. 1, April 1997

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Requiem, K. 626 (Mozart)