เรขาคณิตวิเคราะห์
เรขาคณิตวิเคราะห์ (analytic geometry, coordinate geometry หรือ Cartesian geometry) เป็นคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเรขาคณิต ผ่านระบบพิกัด ซึ่งแตกต่างจากเรขาคณิตสังเคราะห์ที่ไม่ใช้ระบบพิกัด แต่ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างรูปทรงเรขาคณิตแทน
เรขาคณิตวิเคราะห์เป็นพื้นฐานของฟิสิกส์และวิศวกรรมศาสตร์ ในการเดินอากาศ วิศวกรรมการบินและอวกาศ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานของเรขาคณิตสมัยใหม่เกือบทั้งหมด ซึ่งรวมไปถึงเรขาคณิตเชิงพีชคณิต เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ เรขาคณิตวิยุต และเรขาคณิตเชิงคณนา
โดยทั่วไปแล้วเรขาคณิตวิเคราะห์ใช้ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนเพื่อให้ได้สมการของระนาบ เส้นตรง และวงกลมในสองหรือสามมิติ ในหนังสือแบบเรียนทั่วไป เรขาคณิตวิเคราะห์ยังหมายรวมไปถึงการศึกษาเส้นโค้งภาคตัดกรวย เหตุผลที่พีชคณิตของจำนวนจริงสามารถพิสูจน์ผลลัพธ์ในเรขาคณิตได้เป็นผลจากสัจพจน์ของคันตอร์-เดเดคินด์
ระบบพิกัด
แก้ในเรขาคณิตวิเคราะห์ เราระบุระบบพิกัดให้แก่ระนาบ ซึ่งทำให้จุดแต่ละจุดบนระนาบมีพิกัดระบุด้วยคู่อันดับของจำนวนจริง ในทำนองเดียวกัน ปริภูมิสามมิติแบบยูคลิดสามารถให้ระบบพิกัดเป็นสามสิ่งอันดับของจำนวนจริงได้ พิกัดของจุดขึ้นอยู่กับการเลือกให้จุดได้เป็นจุดกำเนิด ต่อไปนี้เป็นระบบพิกัดที่นิยมใช้[1]
ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน
แก้ระบบพิกัดที่นิยมใช้มากที่สุดคือระบบพิกัดคาร์ทีเซียน ซึ่งแต่ละจุดจะมีพิกัดตามแนวแกน x ที่ระบุตำแหน่งตามแนวนอน และพิกัดตามแนวแกน y ซึ่งระบุตำแหน่งตามแนวตั้งเมื่อวัดจากจุดกำเนิด โดยทั่วไปจะเขียนพิกัดเป็นคู่อันดับ (x, y) และระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสามารถใช้ในสามมิติได้ และพิกัดจะเป็นสามสิ่งอันดับ (x, y, z)
ระบบพิกัดเชิงขั้ว
แก้ในระบบพิกัดเชิงขั้ว ทุกจุดบนระนาบจะมีพิกัดระบุโดยระยะทาง r ว่าห่างจากจุดกำเนิดเท่าใด และมุม θ ซึ่งวัดในแนวทวนเข็มนาฬิกาจากแกน x บวก ในระบบพิกัดเชิงขั้วเราเขียนแทนพิกัดด้วยคู่อันดับ (r, θ)
เราสามารถเปลี่ยนระบบพิกัดจากระบบพิกัดคาร์ทีเซียน และระบบพิกัดเชิงขั้วได้ด้วยสูตรดังนี้ ระบบพิกัดเชิงขั้วสามารถขยายไปยังปริภูมิสามมิติได้โดยใช้ระบบพิกัดทรงกระบอก และระบบพิกัดทรงกลม
ระบบพิกัดทรงกระบอก
แก้ในระบบพิกัดทรงกระบอก จุดแต่ละจุดจะแทนด้วยความสูง z, รัศมี r ที่วัดจากแกน z และมุม θ ที่วัดว่าภาพฉายของจุดลงบนระนาบ xy ทำมุมกับแกน x เท่าใด
ระบบพิกัดทรงกลม
แก้ในระบบพิกัดทรงกลม จุดแต่ละจุดจะแทนด้วยระยะห่าง ρ วัดจากจุดกำเนิด, มุม θ ที่วัดว่าภาพฉายของจุดลงบนระนาบ xy ทำมุมกับแกน x เท่าใด, และมุม φ ที่วัดว่าจุดนั้นทำมุมเท่าใดกับแกน z ชื่อตัวแปรของแต่ละมุมอาจต่างออกไปในวิชาฟิสิกส์[1]
สมการและเส้นโค้ง
แก้ในเรขาคณิตวิเคราะห์ คำตอบทั้งหมดของสมการที่มีตัวแปรเป็นพิกัดจะเป็นสับเซตของระนาบ ซึ่งเรียกว่าเซตผลเฉลย หรือทางเดินของจุด ตัวอย่างเช่นสมการ y = x จะได้เป็นเซตของจุดทั้งหมดบนระนาบที่พิกัด x และพิกัด y มีค่าเท่ากัน จุดเหล่านี้ประกอบกันเป็นเส้นตรง และเรากล่าวว่าสมการ y = x เป็นสมการของเส้นตรงดังกล่าว โดยทั่วไปแล้วสมการกำลังหนึ่งจะให้เส้นตรงทั้งหมด และสมการกำลังสองจะให้ภาคตัดกรวย[2]
โดยทั่วไปแล้วสมการหนึ่งสมการจะได้เป็นเส้นโค้งหนึ่งเส้นบนระนาบ แต่อาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป อาทิ สมการ x = x ได้ระนาบทั้งหมด และสมการ x2 + y2 = 0 มีเพียงจุด (0, 0) จุดเดียวเท่านั้น ในสามมิติ สมการหนึ่งสมการมักจะให้ผิว และเส้นโค้งจะเป็นรอยตัดระหว่างผิวสองผิว หรืออาจระบุด้วยระบบสมการอิงตัวแปรเสริม[3]
เส้นตรงและระนาบ
แก้เส้นตรงในระนาบที่ให้พิกัดคาร์ทีเซียนทุกเส้นได้จากสมการเส้นตรง หรือสมการกำลังหนึ่ง ในสองมิติ สมการของเส้นตรงทุกเส้นที่ไม่ใช่เส้นในแนวตั้งจะนิยมเขียนในรูปความชันและจุดตัด (slope-intercept form): เมื่อ:
- m เป็นความชันของเส้นตรง
- b คือจุดตัดแกน y ของเส้นตรง
- x เป็นตัวแปรอิสระของฟังก์ชัน y = f(x)
ในสามมิติ เราสามารถระบุระนาบได้ด้วยวิธีที่คล้ายกันกับในสองมิติ ด้วยการระบุจุดหนึ่งจุดที่อยู่บนระนาบ และเวกเตอร์หนึ่งเวกเตอร์ที่ตั้งฉากกับระนาบ (เรียกว่า เวกเตอร์ปรกติ) ที่ระบุความชันของระนาบ
ภาคตัดกรวย
แก้ในระบุพิกัดคาร์ทีเซียน กราฟของสมการกำลังสองในสองมิติจะเป็นภาคตัดกรวยเสมอ แต่มีกรณีที่อาจจะได้ภาคตัดกรวยลดรูป สมการทั่วไปที่สุดของภาคตัดกรวยคือ โดยที่ ไม่เป็น 0 พร้อมกัน
เนื่องจากเราสามารถคูณสมการข้างต้นด้วยจำนวนจริงไม่เป็นศูนย์ แล้วยังได้สมการที่มีทางเดินของจุดเป็นแบบเดิม เราสามารถมองภาคตัดกรวยว่าเป็นจุดในปริภูมิเชิงภาพฉาย ใน 5 มิติได้
สมการภาคตัดกรวยสามารถจำแนกได้โดยพิจารณาดิสคริมิแนนต์[4]
ถ้าภาคตัดกรวยไม่ใช่ภาคตัดกรวยลดรูป (คือไม่ใช่จุดหรือไม่ใช่เซตว่าง) แล้ว
- ถ้า , สมการที่ได้คือสมการของวงรี
- ถ้า และ , สมการที่ได้คือสมการของวงกลม ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะของวงรี
- ถ้า , แล้วสมการที่ได้คือสมการของพาราโบลา
- ถ้า , แล้วสมการที่ได้คือสมการของไฮเพอร์โบลา
- และถ้า , แล้วสมการที่ได้คือสมการของไฮเพอร์โบลามุมฉาก
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Stewart, James (2008). Calculus: Early Transcendentals, 6th ed., Brooks Cole Cengage Learning. ISBN 978-0-495-01166-8
- ↑ Percey Franklyn Smith, Arthur Sullivan Gale (1905)Introduction to Analytic Geometry, Athaeneum Press
- ↑ William H. McCrea, Analytic Geometry of Three Dimensions Courier Dover Publications, Jan 27, 2012
- ↑ Fanchi, John R. (2006), Math refresher for scientists and engineers, John Wiley and Sons, pp. 44–45, ISBN 0-471-75715-2, Section 3.2, page 45