เมธ รัตนประสิทธิ์
นายเมธ รัตนประสิทธิ์ หรือ หลวงวิลาสวันวิท[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 1 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 เป็นอดีตหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย และเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนการป่าไม้ จังหวัดแพร่ จนได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "ผู้เริ่มงานโรงเรียนการป่าไม้"[2]
เมธ รัตนประสิทธิ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2440 |
เสียชีวิต | 2 มกราคม พ.ศ. 2512 (61 ปี) |
พรรคการเมือง | เสรีประชาธิปไตย |
คู่สมรส | บุญยวง รัตนประสิทธิ์ |
ประวัติ
แก้เมธ รัตนประสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2440 เป็นบุตรของนายนิล กับนางตุ่น รัตนประสิทธิ์ มีพี่น้อง 6 คน อาศัยอยู่บ้านพักแถวถนนวิชยานนท์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเชลยศักดิ์ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาย้ายไปเข้าเรียนที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จนถึงชั้นมัธยมปีที่ 2 จึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร เมื่อจบชั้นมัธยมแล้วจึงสอบชิงทุนไปศึกษาวิชาการป่าไม้ ที่ประเทศพม่า ใช้เวลา 3 ปี จึงกลับมารับราชการในสังกัดกรมป่าไม้
เมธ รัตนประสิทธิ์ สมรสกับนางบุญยวง รัตนประสิทธิ์ (สกุลเดิม วุฒิรัตน์) มีบุตร 5 คน
การทำงาน
แก้เมธ รัตนประสิทธิ์ เข้ารับราชการในสังกัดกรมป่าไม้ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าพนักงานป่าไม้ภาคแพร่ และผู้อำนวยการโรงเรียนการป่าไม้คนแรก ในปี พ.ศ. 2478[3][4] เป็นหัวหน้ากองค้นคว้าและของป่า ในปี พ.ศ. 2485-2487[5] และตำแหน่งสุดท้ายก่อนจะลาออกจากราชการ ในปี พ.ศ. 2488 คือ หัวหน้ากองคุ้มครอง กรมป่าไม้
เมื่อลาออกจากราชการ เขาได้เข้าทำงานกับบริษัท วนการ จำกัด และร่วมงานกับสมาคมชาวเหนือในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ เป็นเหรัญญิก และเป็นผู้มีส่วนในการระดมทุนเพื่อสนับสนุนให้นายเมธ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่[6] จนเขาได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2495[7][8]
ในปี พ.ศ. 2498 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคน จัดตั้งพรรคเสรีประชาธิปไตย[9] โดยนายเมธ รัตนประสิทธิ์ รับตำแหน่งหัวหน้าพรรค และมีนายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคดังกล่าวมีแนวนโยบายโน้มเอียงไปในทางสังคมนิยมเสรี
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้เมธ รัตนประสิทธิ์ เสียชีวิตในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2512 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2513
อนุสาวรีย์
แก้โรงเรียนการป่าไม้แพร่ ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์หลวงวิลาสวันวิท ณ โรงเรียนการป่าไม้ จังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2523
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2483 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[10]
- พ.ศ. 2480 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[11]
- พ.ศ. 2489 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ ผู้บริหารอดีต-ปัจจุบัน - กรมป่าไม้
- ↑ เดลินิวส์ (2512) “หลวงวิลาสวันวิท ผู้เริ่มงานโรงเรียนป่าไม้” ใน ส่วนหนึ่งของอัตชีวประวัตินายเมธ รัตนประสิทธิ์ เกี่ยวกับประวัติของกรมป่าไม้ .พระนคร : บริษัท ธีระพานิช จำกัด
- ↑ โรงเรียนป่าไม้ : ข่าวสดออนไลน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติโรงเรียนป่าไม้แพร่
- ↑ รายนามผู้บริหารสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้
- ↑ สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551
- ↑ "ย่านถนนช้างม่อย(๓๘)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2018-03-09.
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๔๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๘๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๒, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๙๕๖, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๙