เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา

พันเอก เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา (เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายทหาร นักกีฬาและนักการเมืองชาวไทย ผู้อำนวยการพรรครวมไทยสร้างชาติ

เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา
เกิด28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นแซม
การศึกษาสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพทหารบก, นักการเมือง, นักกีฬาทีมชาติไทย
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2548–ปัจจุบัน
พรรคการเมืองพรรครวมไทยสร้างชาติ
คู่สมรสสุวัฒนา ชินวัตร[1]
บิดามารดาเฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา
หม่อมราชวงศ์วิมลโพยม อนิรุทธเทวา
รางวัลเหรียญทองกีฬาซีเกมส์
เหรียญทองกีฬาเอเชียนเกมส์

ประวัติ

แก้

เฟื่องวิชชุ์เป็นบุตรชายของพลเอก เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา กับหม่อมราชวงศ์วิมลโพยม (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์) มีชื่อเล่นว่า "แซม" สืบตระกูลโดยเป็นหลานชายของพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ผู้เป็นเจ้าของบ้านพิษณุโลก น้องชายของเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้เป็นเจ้าของบ้านนรสิงห์ โดยที่ตระกูลอนิรุทธเทวารับราชการทหารมาตั้งแต่รัชสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 6

เฟื่องวิชชุ์สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 33 (จปร.33) ปริญญาโทด้านการจัดการจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสามารถทางด้านกีฬาโดยเป็นนักกีฬาขี่ม้าทีมชาติไทย[2] เป็นกัปตันทีมขี่ม้า เคยได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันในกีฬาซีเกมส์และเอเชียนเกมส์

เฟื่องวิชชุ์สมรสกับสุวัฒนา ชินวัตร[1]

งานการเมือง

แก้

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในเขต 11 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยเขตดินแดงอย่างกระทันหัน แทนที่ ส.ส. เก่าคือ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ย้ายไปลงในระบบบัญชีรายชื่อแทน โดย พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ ต้องเผชิญกับคู่แข่งคนสำคัญจากพรรคไทยรักไทยคือ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ผลการเลือกตั้ง นายยุรนันท์ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนที่ห่างจาก พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ พอสมควร (นายยุรนันท์ได้ 40,176 คะแนน พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ได้ 30,497 คะแนน)

เฟื่องวิชชุ์มีตำแหน่งเป็นเลขานุการ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในสมัยรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี[3][4]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 83 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในปี 2562 เขาเป็นผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานของพรรคประชาธิปัตย์ ในเขตบางซื่อ-ดุสิต[6]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "พ.อ. เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา". Hello Thailand. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ‘เฟื่องวิชชุ์’ ตกม้าขาหัก ชวดแข่งอีเวนติ้ง อชก. วันสุดท้าย แต่ทีมไทยยังมีลุ้นเหรียญเงิน
  3. ยินดีต้อนรับ พันเอกเฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[ลิงก์เสีย]
  4. เช็กขุมกำลัง รวมคนสร้างชัย ใน ‘รวมไทยสร้างชาติ’
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  6. ปชป.เปิดตัว"หมอเอ้ก"ผู้สมัครหน้าใหม่เขตบางซื่อ-ดุสิต... อ่านต่อที่ : https://d.dailynews.co.th/politics/687215/
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๖๖, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๖, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้