เฟลิกซ์ ดเซียร์จินสกี

เฟลิกซ์ เอดมุนโดวิช ดเซียร์จินสกี (รัสเซีย: Фе́ликс Эдму́ндович Дзержи́нский;[1] โปแลนด์: Feliks Dzierżyński [ˈfɛlʲiɡz dʑɛrˈʐɨɲskʲi];[2]) ชื่อเล่น ไอออนเฟลิกซ์ เป็นนักปฏิวัติและนักการเมืองบอลเชวิคชาวรัสเซียเชื้อสายโปแลนด์ และรัฐบุรุษชาวโซเวียต ตั้งแต่ ค.ศ. 1917 จนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 1926 เขาเป็นผู้นำองค์กรตำรวจลับของโซเวียตสององค์กรแรก ได้แก่เชการ์และคณะกรรมการการเมืองร่วมรัฐโดยก่อตั้งองค์กรความมั่นคงของรัฐสำหรับระบอบโซเวียตหลังการปฏิวัติ เขาเป็นหนึ่งในผู้กำหนดความน่าสะพรึงสีแดง[3][4][5][6] และการขจัดคอสแซ็ก[7][8]

เฟลิกซ์ ดเซียร์จินสกี
ดเซียร์จินสกีในปี 1918
หัวหน้าคณะกรรมการการเมืองร่วมรัฐ
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน 1923 – 20 กรกฎาคม 1926
หัวหน้ารัฐบาลวลาดีมีร์ เลนิน
อะเลคเซย์ รืยคอฟ
ก่อนหน้าตัวเขาเองในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการการเมืองรัฐ
ถัดไปVyacheslav Menzhinsky
คณะกรรมการการเมืองรัฐ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ 1922 – 15 พฤศจิกายน 1923
หัวหน้ารัฐบาลวลาดีมีร์ เลนิน
ก่อนหน้าตัวเขาเองในฐานะหัวหน้าหน่วยเชการ์
ถัดไปตัวเขาเองในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการการเมืองร่วมรัฐ
หัวหน้าคณะกรรมการพิเศษ
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม 1917 – 6 กุมภาพันธ์ 1922
หัวหน้ารัฐบาลวลาดีมีร์ เลนิน
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปตัวเขาเองในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการการเมืองร่วมรัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เฟลิกซ์ เอดมุนโดวิช ดเซียร์จินสกี

11 กันยายน [ตามปฏิทินเก่า 30 สิงหาคม] 1877
Ivyanets Ashmyany county เขตผู้ว่าการวิลนา จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต20 กรกฎาคม 1926 (48 ปี)
มอสโก สาธารณรัฐรัสเซีย สหภาพโซเวียต
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพทั้งปวง (บอลเชวิค) (1917–26)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
SDKPiL (1900–17)
LSDP (1896–00)
SDKP (1895–96)
คู่สมรสSofia Sigizmudovna Muszkat
บุตรJan Feliksovich Dzerzhinsky

ดเซียร์จินสกีเกิดในตระกูลขุนนางโปแลนด์ในเขตผู้ว่าการมินสค์ (ปัจจุบันคือเบลารุส) เขายอมรับการเมืองแบบปฏิวัติตั้งแต่อายุยังน้อย และมีบทบาทในเกานัสในฐานะผู้จัดตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยลิทัวเนีย เขาถูกจับกุมบ่อยครั้งและถูกเนรเทศไปยังไซบีเรียหลายครั้งซึ่งเขาหลบหนีหลายครั้ง ดเซียร์จินสกีมีส่วนร่วมในการปฏิวัติใน ค.ศ. 1905 และดำเนินกิจกรรมการปฏิวัติเพิ่มเติมในเยอรมนีและโปแลนด์ ภายหลังการจับกุมอีกครั้งใน ค.ศ. 1912 เขาใช้เวลาสี่ปีครึ่งในคุกก่อนจะได้รับการปล่อยตัวหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ใน ค.ศ. 1917 จากนั้นเขาได้เข้าร่วมพรรคบอลเชวิคของวลาดีมีร์ เลนิน และมีบทบาทอย่างแข็งขันในการปฏิวัติเดือนตุลาคมที่นำกลุ่มบอลเชวิคขึ้นสู่อำนาจ

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1917 เลนินได้แต่งตั้งดเซียร์จินสกีให้เป็นหัวหน้าคณะกรรมการพิเศษรัสเชียทั้งปวง (เชการ์) ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยมอบหมายให้เขาปราบปรามกิจกรรมที่ต่อต้านการปฏิวัติในรัสเซียโซเวียต สงครามกลางเมืองรัสเซียทำให้อำนาจของเชการ์ขยายตัวขึ้น โดยเป็นการเปิดฉากการรณรงค์ประหารชีวิตหมู่ที่เรียกว่าความน่าสะพรึงสีแดง เชการ์ได้รับการจัดโครงสร้างใหม่เป็นคณะกรรมการการเมืองรัฐ (GPU) ใน ค.ศ. 1922 และต่อมาเป็นคณะกรรมการการเมืองร่วมรัฐ (OGPU) ในอีกหนึ่งปีต่อมา โดยดเซียร์จินสกียังคงเป็นหัวหน้าขององค์กรที่ทรงอำนาจ นอกจากนี้ เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสภาโซเวียตสูงสุดแห่งเศรษฐกิจแห่งชาติ (VSNKh) ตั้งแต่ ค.ศ. 1924

ดเซียร์จินสกีเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายใน ค.ศ. 1926 เขาได้รับการเฉลิมฉลองอย่างกว้างขวางในสหภาพโซเวียต โปแลนด์ และประเทศคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ในทศวรรษต่อ ๆ มา โดยมีสถานที่หลายแห่ง (รวมถึงเมืองดเซียร์จินสค์) ถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา และเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโซเวียตเพียงไม่กี่คนที่ถูกฝังอยู่ในสุสานแต่ละแห่งในสุสานกำแพงเครมลิน ในขณะเดียวกัน เขาก็กลายเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของการปราบปรามและความโหดร้ายต่อนักวิจารณ์ระบอบการปกครองของสหภาพโซเวียต

อ้างอิง แก้

  1. Abramovitch, Raphael (1962). The Soviet Revolution: 1917-1938. New York: International Universities Press.
  2. In isolation, Feliks is pronounced [ˈfɛlʲiks].
  3. Carr, Barnes (2016). Operation Whisper: The Capture of Soviet Spies Morris and Lona Cohen. University Press of New England. pp. 11–13. ISBN 978-1-61168-939-6.
  4. Southwell, David; Twist, Sean (2004). "The KGB". Secret Societies. Mysteries and Conspiracies. New York: The Rosen Publishing Group (ตีพิมพ์ 2007). p. 60. ISBN 9781404210844. สืบค้นเมื่อ 27 May 2019. Dzerzhinsky was the mastermind behind the Red Terror that allowed the Communists to seize and hold on to power ...
  5. Ryan, James (2012). Lenin's Terror: The Ideological Origins of Early Soviet State Violence. London: Routledge. p. 114. ISBN 9781138815681. Estimates of the total number of executed victims of the Terror vary. Rat'kovskii puts the figure at 8,000 for the period from 30 August until the end of the year, Nicolas Werth at between 10,000 and 15,000. The majority of the Terror's targets were former Tsarist officers and representatives of the Tsarist regime.
  6. Часть IV. На гражданской войнe. // Sergei Melgunov «Красный террор» в России 1918—1923. — 2-ое изд., доп. — Берлин, 1924
  7. Lauchlan, Iain (2018). "A Perfect Spy Chief? Feliks Dzerzhinsky and the Cheka". ใน Maddrell, Paul; Moran, Christopher; Stout, Mark; Iordanou, Ioanna (บ.ก.). Spy Chiefs. Vol. 2: Intelligence Leaders in Europe, the Middle East, and Asia. Georgetown University Press. ISBN 9781626165236. สืบค้นเมื่อ 27 May 2019. The Cheka's first mass operation—'Decossackization,' the deportation in April 1919 of an estimated 300,000 people—was more akin to the actions of an invading army than a police measure; it was carried out to secure the southern front against the White armies.
  8. Havlat, Alexander (2011). Victims of the Bolsheviks: 1917-1953. GRIN Verlag. p. 5. ISBN 9783640797004. สืบค้นเมื่อ 27 May 2019. In the course of the so called deCossackization, (i.e. the planned annihilation of the Cossacks as a social class) between 300 000 and 500 000 Don Cossacks were killed or deported in the years 1919/20, out of a total population of 3 million ...

บรรณานุกรม แก้

  • Blobaum, Robert. Felix Dzerzhinsky and the SDKPiL: A study of the origins of Polish Communism. 1984. ISBN 0-88033-046-5.
  • Debo, Richard K. "Lockhart Plot or Dzerhinskii Plot?." Journal of Modern History 43.3 (1971) : 413-439.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้