เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ

เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ลิมิเต็ด (อังกฤษ: Fraser and Neave, Limited) หรือ เอฟแอนด์เอ็น (F&N) เป็นกลุ่มบริษัทที่ประกอบธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และ การจัดพิมพ์และการพิมพ์ สัญชาติไทย-สิงคโปร์ ปัจจุบันอยู่ในเครือบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) ภายใต้กลุ่มทีซีซี ของเจริญ สิริวัฒนภักดี เศรษฐีชาวไทยเชื้อสายจีน

เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ลิมิเต็ด
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SGX: F99
อุตสาหกรรมหลากหลาย
ก่อตั้ง1883; 142 ปีที่แล้ว (1883) (ในชื่อ สิงคโปร์ แอนด์ สเตรทส์ เอเรเต็ด วอเตอร์)
ผู้ก่อตั้งจอห์น เฟรเซอร์
เดวิด ชาลเมอร์ส นีฟ
สำนักงานใหญ่
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักเจริญ สิริวัฒนภักดี (ประธาน)
ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม, สิ่งพิมพ์
รายได้เพิ่มขึ้น S$1.8 พันล้าน (2021)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง S$261.7 ล้าน (2021)[1]
รายได้สุทธิ
ลดลง S$140.4 ล้าน (2021)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น S$4.9 พันล้าน (2021)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น S$3.3 พันล้าน (2021)[1]
เจ้าของไทยเบฟเวอเรจ
พนักงาน
6,900+ (2021)[1]
บริษัทในเครือเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ โฮลดิ้งส์
กลุ่มไทมส์ พับลิชชิ่ง
เว็บไซต์www.fraserandneave.com

กลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ จดทะเบียนอยู่ในประเทศสิงคโปร์ มีบริษัทย่อยได้แก่ เอฟแอนด์เอ็น ฟู้ดส์ (F&N Foods), เอฟแอนด์เอ็น ครีมเมอรีส์ (F&N Creameries), Warbug Group, Yoke Food Industries และไทมส์ พับลิชชิ่ง (Times Publishing) ในปี 2023 เอฟแอนด์เอ็นมีสินทรัพย์รวมกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และมีพนักงานมากกว่า 7,200 คนใน 11 ประเทศทั่วโลก[2]

ในเดือนมกราคม 2014 กลุ่มบริษัทได้แยกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกมาดำเนินธุรกิจในนาม เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยต์ ลิมิเต็ด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์[2]

ประวัติ

แก้

การก่อตั้งและประวัติยุคแรก

แก้
 
ภาพล้อเลียนของจอห์น เฟรเซอร์

บริษัทก่อตั้งขึ้น เมื่อปี 1883 โดยจอห์น เฟรเซอร์ และ เดวิด ชาลเมอร์ส นีฟ ในชื่อ "สิงคโปร์ แอนด์ สเตรทส์ เอเรเต็ด วอเตอร์" (Singapore and Straits Aerated Water Company) ซึ่งขยายธุรกิจจากธุรกิจการพิมพ์ "สิงคโปร์ แอนด์ สเตรทส์ พริ้นติ้ง ออฟฟิศ" (Singapore and Straits Printing Office) ไปสู่การบุกเบิกธุรกิจน้ำดื่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปี 1898 ทั้งคู่ได้จัดตั้งบริษัทมหาชนแห่งใหม่ขึ้น และขายธุรกิจทั้งการพิมพ์และเครื่องดื่มให้กับบริษัทแห่งใหม่ซึ่งมีชื่อว่า เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ หรือชื่อย่อคือ เอฟแอนด์เอ็น ด้วยเงินสดและหุ้นมูลค่า 290,000 ดอลลาร์[3]

การกระจายความเสี่ยง การปรับโครงสร้าง และการขยายตัว

แก้

ในปี 1931 เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ได้ร่วมทุนกับไฮเนอเกินของเนเธอร์แลนด์ เพื่อร่วมลงทุนในธุรกิจผลิตเบียร์ และก่อตั้งโรงเบียร์มาลายัน เพื่อผลิตเบียร์ไทเกอร์ และต่อมาได้เข้าซื้อโรงเบียร์อาร์ชิเพลอาโกที่ผลิตเบียร์แองเคอร์[4]

ในปี 1936 เอฟแอนด์เอ็นด้เข้าซื้อสิทธิ์ในแฟรนไชส์เครื่องดื่ม โคคา-โคล่า หรือโค้ก ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน นอกเหนือจากเครื่องดื่มแบรนด์เอฟแอนด์เอ็น ของตนเองแล้ว บริษัทยังได้ซื้อสิทธิ์ในเครื่องดื่มแบรนด์อื่นๆ เช่น เป๊ปซี่โค, โคคา-โคลา และ แคดเบอร์รี่ ชเวปส์ เช่น เซเว่นอัพ, แฟนต้า และ ซันคิสท์ อีกด้วย

ในปี 1990 โรงเบียร์มาลายันได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเบียร์เอเชียแปซิฟิก

ประวัติยุคใหม่

แก้

ในปี 1999 เอฟแอนด์เอ็นได้ซื้อหุ้นร้อยละ 20 ในไทมส์ พับลิชชิ่ง ก่อนที่จะเข้ามามีอำนาจควบคุมส่วนใหญ่ของบริษัทในปี 2000 โดยการซื้อกิจการทั้งหมดมีมูลค่าประมาณ 570 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์[5] ส่งผลให้เอฟแอนด์เอ็นเข้าสู่ธุรกิจการพิมพ์ การจัดพิมพ์ ร้านค้าปลีกหนังสือ การขายและจัดจำหน่าย การศึกษา อินเทอร์เน็ต และการจัดประชุม ในปี พ2001 เอฟแอนด์เอ็นได้เข้าซื้อกิจการทั้งไทมส์และเซ็นเตอร์พอยต์ พร็อพเพอร์ตี้ส์

ในปี 2006 เทมาเส็กโฮลดิงส์ บริษัทลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ได้เข้าซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นในสัดส่วน 14.9% มูลค่า 900 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ส่งผลให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นอันดับสองของเอฟแอนด์เอ็น[6] ในปี 2008 เอฟแอนด์เอ็นได้ปรับโครงสร้างองค์กรและแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำหรับธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ และการพิมพ์และการจัดพิมพ์[7]

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2007 เอฟแอนด์เอ็นในสิงคโปร์เปิดตัวโลโก้ใหม่สำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อขยายตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในปี 2010 เทมาเส็กโฮลดิงส์ได้ขายหุ้นเอฟแอนด์เอ็นให้กับคิริน โฮลดิ้งส์ ของญี่ปุ่น ด้วยมูลค่า 1.33 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์[8]

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2011 ความร่วมมือในรอบ 75 ปีระหว่างเอฟแอนด์เอ็นและโคคา-โคล่า ในมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไนสิ้นสุดลง และเอฟแอนด์เอ็นไม่มีสิทธิ์ใช้แฟรนไชส์ในการผลิตและทำการตลาดเครื่องดื่มโค้กอีกต่อไป

ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2012 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นในสัดส่วน 22% จากธนาคารจีนโพ้นทะเล ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 24.1%[9]

เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เอฟแอนด์เอ็นยอมรับข้อเสนอจากไฮเนอเกินเพื่อเข้าซื้อหุ้นโรงเบียร์เอเชียแปซิฟิก ด้วยมูลค่า 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10]

ในเดือนกันยายน ไทยเบฟเวอเรจและผู้เป็นหุ้นส่วนคือทีซีซี แอสเซ็ทส์ ซึ่งทั้งสองบริษัทอยู่ในกลุ่มทีซีซี ภายใต้การควบคุมของเจริญ สิริวัฒนภักดี มหาเศรษฐีชาวไทยเชื้อสายจีน ได้ดำเนินการขัดขวางความพยายามของไฮเนอเกินที่จะเข้าซื้อกิจการโรงเบียร์เอเชียแปซิฟิก โดยเสนอซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นด้วยเงินสดมูลค่า 8.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[11] บริษัทอื่นๆ เช่น โคคา-โคลา และคิริน โฮลดิ้งส์ ยังแสดงความสนใจในธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารของเอฟแอนด์เอ็นเพื่อขยายการดำเนินงานในเอเชีย[12][13]

เมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของเอฟแอนด์เอ็นได้อนุมัติให้ขายโรงเบียร์เอเชียแปซิฟิกให้กับไฮเนอเกิน[14]

ในปี 2013 คิริน โฮลดิ้งส์ ขายหุ้นเอฟแอนด์เอ็นในสัดส่วน 15% ให้กับกลุ่มทีซีซีผ่านไทยเบฟเวอเรจ[15]

เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยต์ และเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (2013–ปัจจุบัน)

แก้

เจริญ สิริวัฒนภักดี ขยายธุรกิจเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ของไทยเบฟเวอเรจจนครอบคลุมถึงสองในสามส่วนของกลุ่มบริษัทสัญชาติสิงคโปร์นี้[16] ซึ่งความเป็นไปได้เกิดขึ้นหลังจากคิริน บริวเวอรี่ ของญี่ปุ่น ขายหุ้นร้อยละ 15 ให้กับกลุ่มทีซีซี ด้วยมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[17]

ในเดือนมกราคม 2014 กลุ่มบริษัทได้แยกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกมาจัดตั้งเป็บริษัทใหม่ในชื่อ เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยต์ ลิมิเต็ด และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์[2]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยต์ ลิมิเต็ด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โดยมีผลทั่วโลก[18]

ผลิตภัณฑ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Annual Report 2021. Fraser and Neave, Limited" (PDF). สืบค้นเมื่อ 30 May 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 "About Us: Fraser & Neave". Fraser & Neave. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "FCL" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. "Fraser and Neave, Ltd". Singapore Free Press. 27 January 1898. p. 3.
  4. Frankham, Steve (17 June 2008). Malaysia and Singapore. Footprint Travel Guides. p. 539. ISBN 978-1-906098-11-7. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
  5. Lee, H.S. (27 April 2000). "What's in Times Publishing that attracts F&N?". Business Times.
  6. Yap, E. (9 December 2006). "F&N sells 14.9% stake to Temasek for $900m". The Straits Times.
  7. Goh, E (2 July 2008). "More questions than answers in F&N's management revamp". The Straits Times.
  8. Yap, E (27 July 2010). "Temasek exits F&N with $436m profit fizz". The Straits Times.
  9. "Thai Beverage increases stake in F&N". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2012. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  10. "Heineken reaches US$4.1b deal for Asia Pacific Breweries". Channel News Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2012. สืบค้นเมื่อ 4 August 2012.
  11. "Thai group, Heineken in Tiger beer battle". CNN. 13 September 2012. สืบค้นเมื่อ 14 September 2012.
  12. "ThaiBev makes offer for F&N". ChannelNewsAsia. 13 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2012. สืบค้นเมื่อ 14 September 2012.
  13. "Thai Billionaire Bids for F&N in Hurdle for Heineken in Asia". Bloomberg. 13 September 2012. สืบค้นเมื่อ 14 September 2012.
  14. "Heineken takeover of Tiger Beer maker approved". Channel News Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2012. สืบค้นเมื่อ 28 September 2012.
  15. "Sale of Shares in Fraser and Neave, Limited and Recognition of Extraordinary Profit". Kirin Holdings Singapore. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.
  16. Head, Jonathan (3 February 2013). "Thai whiskey tycoon Charoen takes over Fraser and Neave". Asia business. BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-06. สืบค้นเมื่อ 3 February 2013. BBC News, Bangkok. What are the secrets of business success in Thailand?
  17. "Thai tycoons go for it in multi-billion deals". Investvine.com. 2013-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-12. สืบค้นเมื่อ 2013-03-15.
  18. Nikkei Asian Review (1 February 2018). "Frasers Centrepoint Renamed Frasers Property". Asia business. Nikkei NewsRise Asia Pte Ltd. สืบค้นเมื่อ 1 February 2018.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้