เพ็ตตาฮ์ (ประเทศศรีลังกา)

เพ็ตตาฮ์ (อักษรโรมัน:Pettah) เป็นย่านแห่งหนึ่งทางตะวันออกของป้อมสนามใจกลางเมืองโคลัมโบ, ประเทศศรีลังกา โดยเป็นที่โด่งดังจากตลาดเพ็ตตาฮ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่คึกคักที่สุดในประเทศศรีลังกา โดยเป็นที่ตั้งของร้านขายส่งกับขายปลีก, สิ่งก่อสร้าง, สถาบันการค้าและ องค์การอื่นเป็นจำนวนมาก[2]

เพ็ตตาฮ์


පිට කොටුව

புறக் கோட்டை
ตลาดน้ำเพ็ตตาฮ์ในช่วงพลบค่ำ
ตลาดน้ำเพ็ตตาฮ์ในช่วงพลบค่ำ
เพ็ตตาฮ์ตั้งอยู่ในศรีลังกา
เพ็ตตาฮ์
เพ็ตตาฮ์
พิกัด: 6°56′12″N 79°50′59″E / 6.93667°N 79.84972°E / 6.93667; 79.84972
ประเทศศรีลังกา
จังหวัดจังหวัดตะวันตก
อำเภออำเภอโคลัมโบ 11
เขตเวลาUTC+05:30 (โซนเวลามาตรฐานศรีลังกา)
รหัสไปรษณีย์01100 [1]

ส่วนตลาดหลักถูกออกแบบให้เหมือนกับเขาวงกตขนาดยักษ์ เพราะถ้าเดินทางทั่วตลาดตั้งแต่รุ่งอรุณถึงพลบค่ำ ก็ยังไม่ได้ไปทั่วตลาดอย่างสมบูรณ์[3]

เพ็ตตาฮ์มาจากคำว่าเพ็ตไต (Pettai) คำศัพท์แบบแองโกล-อินเดียนที่ใช้กล่าวถึงชานเมืองนอกป้อมสนาม ปัจจุบัน พิตะ-โกตุวะ (pita-kotuwa; นอกป้อมสนาม) เป็นประโยคภาษาสิงหลที่กล่าวถึงที่เดียวกัน[4]

ประชากร แก้

เพ็ตตาฮ์เป็นบริเวณที่มีเชื้อชาติและศาสนาที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าพวกมัวร์, โบะฮ์ราส (Bohras) และเมมอนส์ (Memons) เป็นชนพื้นเมืองในริเวณนี้ แต่ประชากรโดยเฉลี่ยเป็นชาวสิงหลกับทมิฬ และมีชนกลุ่มน้อยได้แก่ ชาวบูร์เฆอร์ (Burghers), มาเลย์ และอื่น ๆ

ศาสนาในบริเวณนี้ได้แก่ศาสนาพุทธ, ศาสนาฮินดู, ศาสนาอิสลาม, ศาสนาคริสต์ และศาสนากับความเชื่ออื่น ๆ

สิ่งก่อสร้างและแลนด์มาร์ก แก้

แลนด์มาร์กสำคัญในย่านนี้ ได้แก่ โบสถ์โวลเวนดาล, มัสยิดญามิอุลอัลฟาร, ประตูของเคย์แมน, ศาลากลางโคลัมโบเก่า, พิพิธภัณฑ์โคลัมโบดัตช์ และหอนาฬิกาข่าน ซึ่งถูกสร้างโดยครอบครัวข่านแห่งบอมเบย์ (ปัจจุบันคือเมืองมุมไบ) ในประเทศอินเดีย

อ้างอิง แก้

  1. "Pettah Post Office - Sri Lanka Postal Codes". Mohanjith. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-04-11.
  2. "Sri Lanka - Travel Information - Colombo Pettah". Lankainfo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2013.
  3. "Colombo, The Famous Business Hub of Sri Lanka – Stories & Advice" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-12-20.
  4. "A Walk Through Pettah". Sunday Observer. 18 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 24 June 2014.