เพ็งอิม (pêng¹ im¹) หรือชื่อเต็มว่า เตี่ยจิวอ่วยเพ็งอิมฮวงอั่ว (จีนตัวย่อ: 潮州话拼音方案; จีนตัวเต็ม: 潮州話拼音方案; dio⁵ ziu¹ uê⁷ pêng¹ im¹ huang¹ uan³) เป็นระบบการเขียนถอดเสียงอ่านภาษาแต้จิ๋วเป็นอักษรละติน ได้รับการเสนอขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐบาลมณฑลกวางตุ้งในเดือนกันยายน ปี 1960 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกว่างตงพินอินฟางอ้าน

ภาพรวม

แก้

เพ็งอิงมีการใช้ตัวอักษรละตินพื้นฐาน 20 ตัว (ไม่ใช้ j, q, v, w, x, y) โดยมี ê เป็นอักษรตัวเดียวที่ประกอบขึ้นจากเครื่องหมายเสริมสัทอักษร มีการใช้พยัญชนะ 2 ตัวแทนเสียงพยัญชนะเดียวอยู่ 3 ตัวได้แก่ bh, gh และ ng

การแสดงเสียงวรรณยุกต์ใช้ตัวเลข 1 ถึง 8 แทนวรรณยุกต์ทั้ง 8 เสียงของภาษาแต้จิ๋ว เขียนตามหลักแล้วจะโดยเป็นตัวยกวางไว้ที่มุมขวาบน

รูปเขียนโดยรวมยืนพื้นจากพินอินของภาษาจีนกลางจึงมีความใกล้เคียงกันมาก ทำให้ผู้รู้พินอินอยู่แล้วสามารถอ่านเพ็งอิมได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามหน่วยเสียงภาษาแต้จิ๋วมีมีความแตกต่างจากภาษาจีนกลางดังนั้นจึงมีอักษรบางตัวออกเสียงไม่เหมือนพินอิน

วรรณยุกต์

แก้

ภาษาแต้จิ๋วมีเสียงวรรณยุกต์ทั้งหมด 8 เสียง โดยในระบบเพ็งอิมจะใช้ตัวเลขระบุแต่ละเสียง อย่างไรก็ตาม เสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏจะต่างไปขึ้นอยู่กับว่าอยู่พยางค์สุดท้ายของคำหรือว่านำหน้าพยางค์อื่นเพื่อทำหน้าที่ขยายหรือเป็นคำกริยาที่มีกรรมตามหลัง

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาแต้จิ๋วแต่ละสำเนียงถิ่นแสดงดังนี้[1][2] (ด้านบนแสดงเสียงเมื่ออยู่พยางค์ท้าย และด้านล่างแสดงเสียงเมื่อนำหน้าพยางค์อื่น ตัวเลขและขีดที่แสดงในตารางนี้เป็นการแบ่งระดับเสียงสูงต่ำออกเป็น 5 ระดับ)

ท้องถิ่น 1 2 3 4 5 6 7 8
แต้จิ๋ว ˧˧ (33) ˥˧ (53) ˨˩˧ (213) ˨˩ (21) ˥˥ (55) ˧˥ (35) ˩˩ (11) ˦˦ (44)
꜕꜔ (23) ꜕꜓ (24) ꜓꜕ / ꜒꜔ (42/53) ꜔꜔ / ꜓꜓ (33/44) ꜕꜖꜔ (213) ꜕꜖ (21) ꜖꜕ (12) ꜕꜖ (21)
ซัวเถา ˧˧ (33) ˥˧ (53) ˨˩˧ (213) ˨ (2) ˥˥ (55) ˧˥ (35) ˩˩ (11) ˥ (5)
꜔꜔ (33) ꜔꜒ (35) ꜒꜒ (55) ꜒꜒ (55) ꜖꜖ (11) ꜕꜖ (21) ꜖꜕ (12) (2)
กิ๊กเอี๊ย ˧˧ (33) ˧˩ (31) ˨˩˧ (213) ˨ (2) ˥˥ (55) ˧˥ (35) ˩˩ (11) ˥ (5)
꜔꜔ (33) ꜕꜔ / ꜔꜒ (23/35) ꜔꜖ / ꜓꜕ (31/42) / (2/5) ꜕꜕ (22) ꜕꜖ (21) ꜕꜖ (21) (2)
เตี่ยเอี๊ย ˧˧ (33) ˥˧ (53) ˧˩ (31) ˩˩ (11) ˥˥ (55) ˧˩˧ (313) ˩˩ (11) ˥˥ (55)
꜔꜔ (33) ꜔꜖ (31) ꜒꜒ (55) ꜒꜒ (55) ꜖꜖ (11) ꜔꜔ (33) ꜔꜔ (33) ꜖꜖ (11)
เหยี่ยวเพ้ง ˧˧ (33) ˥˧ (53) ˨˩˧ (213) ˨˩ (21) ˥˥ (55) ˧˥ (35) ˨˩ (21) ˦˦ (44)
꜕꜔ (23) ꜔꜒ (35) ꜒꜒ (55) ꜓꜓ (44) ꜖꜕ (21) ꜕꜖ (21) ꜖꜕ (12) ꜕꜖ (21)
เถ่งไฮ่ ˧˧ (33) ˥˧ (53) ˨˩˨ (212) ˨ (2) ˥˥ (55) ˧˥ (35) ˩˩ (11) ˥ (5)
꜔꜔ (33) ꜕꜓ (24) ꜓꜕ (42) (5) ꜖꜖ (11) ꜕꜖ (21) ꜖꜖ (11) (2)

ในการเขียนทับศัพท์คำภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาไทยมักจะยึดสำเนียงซัวเถาเป็นหลัก ซึ่งอาจเขียนแทนวรรณยุกต์ได้ดังนี้

พยางค์ท้าย นำหน้าพยางค์อื่น
a1 ˧˧ (33) อา ꜔꜔ (33) อา
a2 ˥˧ (53) อ้า ꜔꜒ (35) อ๋า
a3 ˨˩˧ (213) อ่า ꜒꜒ (55) อ๊า
ah4 ˨ (2) อะ ꜒꜒ (55) อ๊ะ
a5 ˥˥ (55) อ๊า ꜖꜖ (11) อา
a6 ˧˥ (35) อ๋า ꜕꜖ (21) อ่า
a7 ˩˩ (11) อ่า ꜖꜕ (12) อ่า
ah8 ˥ (5) อ๊ะ (2) อะ

วรรณยุกต์ 4 กับ 8 นั้นสำหรับแทนคำตาย คือพยางค์ที่ลงท้ายด้วย b, g หรือ h ซึ่งก็คือตัวสะกด บ, ก หรือเสียงกักเส้นเสียง ในขณะที่วรรณยุกต์อื่นจะใช้กับคำเป็น คือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด หรือลงท้ายด้วยตัวสะกดอื่นที่ไม่ใช่ b, g หรือ h

พยัญชนะต้น

แก้

ภาษาแต้จิ๋วมีเสียงพยัญชนะต้นทั้งหมด 17 เสียง แทนด้วยเพ็งอิมดังนี้

เพ็งอิม สัทอักษรสากล เทียบเสียงไทย ตัวอย่าง
- - 阿 a1 อา
b [p] 波 bo1 ปอ
p [pʰ] พ, ผ 抱 po6 ผอ
bh [b] 無 bho5 บ๊อ
m [m] 毛 mo5 ม้อ
d [t] 刀 do1 ตอ
t [tʰ] ท, ถ 妥 to2 ท่อ
n [n] 挪 no5 น้อ
l [l] 羅 lo5 ล้อ
g [k] 哥 go1 กอ
k [kʰ] ค, ข 戈 ko1 คอ
gh [g] 鵝 gho5 ง้อ
ng [ŋ] 俄 ngo5 ง้อ
h [h] ฮ, ห 何 ho5 ฮ้อ
z [ʦ] 之 ze1 จือ
c [ʦʰ] ช, ฉ 此 ce2 ชื่อ
r [ʣ] 而 re5 ยื้อ
s [s] ซ, ส 思 se1 ซือ

ช่องเทียบเสียงไทยในที่นี้มีบางส่วนที่ไม่ได้ตรงกับภาษาไทยพอดี แค่ประมาณใกล้เคียงเท่านั้น ดังนี้

  • gh: คล้ายเสียง ง ในภาษาไทย แต่เป็นเสียงแบบไม่ออกจมูก
  • z: เหมือน z ในจีนกลาง ต่างจาก จ ในภาษาไทยเล็กน้อย
  • c: เหมือน c ในจีนกลาง ต่างจาก ช ในภาษาไทยเล็กน้อย
  • r: เป็นเสียงระหว่าง ย กับ จ

นอกจาก 4 เสียงดังกล่าวแล้ว พยัญชนะเสียงอื่นไม่มีความแตกต่างไปจากเสียงในภาษาไทย

สระและตัวสะกด

แก้

ภาษาแต้จิ๋วประกอบด้วยสระเดี่ยวและสระประสม 2 ถึง 3 เสียง โดยมีการปรากฎคู่กับตัวสะกดต่างกันไป รูปแบบประสมสระและตัวสะกดที่อาจเจอได้ทั้งหมดในภาษาแต้จิ๋วสำเนียงซัวเถาแสดงด้วยเพ็งอิมดังนี้

สระ ตัวสะกด
- n
[~]
*
m
[m]
ng
[ŋ]
b
[p̚]
g
[k̚]
h
[ʔ]
(กักเส้นเสียง)
a
อา
a

อา

an

อา*

am

อัม

ang

อัง

ab

อับ

ag

อัก

ah

อะ

e[ɯ]
อือ
e

อือ

eng

อึง

eg

อึก

ê[e]
แอ / เอ
ê

แอ

ên

แอ*

êng

เอ็ง

êg

เอ็ก

êh

แอะ

i
อี
i

อี

in

อี*

im

อิม

ing

อิง

ib

อิบ

ig

อิก

ih

อิ

o
ออ / โอ
o

ออ

ong

อง

og

อก

oh

เอาะ

u
อู
u

อู

ung

อุง

ug

อุก

uh

อุ

ai
ไอ
ai

ไอ

ain

ไอ*

ao[au]
เอา
ao

เอา

aon

เอา*

aoh

เอา(ะ)

ia
เอีย
ia

เอีย

ian

เอีย*

iam

เอียม

iang

เอียง

iab

เอียบ

iag

เอียก

iah

เอียะ

io
เอีย
io

เอีย

ion

เอีย*

iong

ยง

iog

ยก

ioh

เอียะ

iu
อิว
iu

อิว

iun

อิว*

oi
โอย
oi

โอย

oin

โอย*

oih

โอย(ะ)

ou
โอว
ou

โอว

oun

โอว*

ua
อ้ว
ua

อัว

uan

อัว*

uam

อวม

uang

อวง

uab

อวบ

uag

อวก

uah

อัวะ

uê[ue]
อวย

อวย

uên

อวย*

uêh

เอวะ

ui
อุย
ui

อุย

uin

อุย*

iao[iau]
เอียว
iao

เอียว

uai
ไอว
uai

ไอว

uain

ไอว*

(ไม่มีสระ) m

อึม

ng

อึง

ในที่นี้ n ไม่ได้แทนตัวสะกดแต่แสดงถึงการลงท้ายด้วยเสียงนาสิก ในที่นี้แทนด้วย * แต่โดยทั่วไปคนไทยไม่สามารถแยกแยะเสียงนี้ได้ จึงได้ยินเหมือนกรณีไม่มี n และเวลาเขียนเป็นคำทับศัพท์ก็มักจะละเสียงนี้ไปเลย

บางรูปสระจะออกเสียงต่างกันขึ้นอยู่กับว่ามีตัวสะกดหรือไม่ เช่น ê จะเป็นสระเอเมื่อมีตัวสะกด แต่จะเป็นสระแอเมื่อไม่มีตัวสะกด

o จะเป็นสระโอเมื่อมีตัวสะกด แต่จะเป็นสระออเมื่อไม่มีตัวสะกด

io นั้นเป็นเสียงสระอี+โอ ฟังแล้วคล้ายสระเอีย แต่ว่าเป็นคนละสระกับ ia ซึงเป็นสระอี+อา นอกจากนี้แล้วยังมีบางสำเนียงที่มีเสียง iê คือเป็นสระอี+เอ ทั้งหมดนี้คนไทยมักได้ยินเป็น "เอีย" แยกแยะได้ลำบาก

เสียง aoh เป็นสระเอาที่มีการกักเส้นเสียง ส่วน oih แทนเสียงสระโอและตัวสะกด ย ที่มีการกักเส้นเสียง เนื่องจากเป็นเสียงที่ไม่สามารถแสดงด้วยระบบการเขียนอักษรไทยได้ เวลาทับศัพท์จึงมักเขียนเป็น "เอา" และ "โอย" เฉย ๆ

ความแตกต่างระหว่างสำเนียงถิ่น

แก้

นอกจากตารางข้างต้นที่ยกมาซึ่งเป็นของสำเนียงซัวเถาแล้ว ในสำเนียงถิ่นอื่น ๆ ยังมีเสียงที่ต่างออกไปเล็กน้อยในรายละเอียด ซึ่งอาจแสดงด้วยเพ็งอิมที่ต่างกัน โดยรวมแล้วสำเนียงเหยี่ยวเพ้งเกือบเหมือนกับสำเนียงซัวเถา[3] ตารางต่อไปนี้แสดงการเปรียบเทียบเสียงในกรณีทั่วไป ไม่รวมข้อยกเว้นต่าง ๆ สำหรับบางกรณีเฉพาะ

ซัวเถา เหยี่ยวเพ้ง แต้จิ๋ว เถ่งไฮ่ โผวเล้ง[4] กิ๊กเอี๊ย เตี่ยเอี๊ย ไหฮง ตัวอย่าง
e e u i 余, 许, 猪, 祠
oi ôi ei
uin ui ui uain 跪, 柜
oin oin/êng ain ain ain ain 闲, 殿
oih eih
iao/iou iao iou iou io/iao 摇, 要
io ie ie io
ion ien ien ion
ioh ieh ieh ioh 借, 惜, 药, 石
am[am] ang[aŋ] am[am]
ab[ap] ag[ak] ap
iam[iam] iem[iem] iang[iaŋ] iam[iam]
iab[iap] ieb[iep] iag [iak] iap
im[im] ing [iŋ] im
ib[ip] ig [ik] ip 湿
ang[aŋ] ang
ag [ak] âk
iang[iaŋ] iêng[ieŋ] iang
iag [iak] iêg[iek] iâk 杰, 设
uang[uaŋ] uêng[ueŋ] uâng 全, 完, 缘, 弯
uag [uak] uêg [uek] uâk
eng [ɯŋ] eng/ing êng/ung êng[eŋ] ing[iŋ] ng/eng
eg [ɯk] êg [ek] êg [ek] ig[ik]
ing[iŋ] ing êng[eŋ] in[in]
ung[uŋ] ung un[un]

อ้างอิง

แก้
  1. "潮汕方言声调研究pdf下载_爱问共享资料". ishare.iask.sina.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2019-05-02.
  2. 邱克威 (2017). "马来西亚雪兰莪洲滨海潮州渔村澄海人方言音系比较分析". 马来亚大学华人文学与文化学刊. 5 (1): 14-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
  3. 潮州話拼音方案(2003年),根據“潮汕方言韻母內部差異表”章節。
  4. 根据里湖音、洪阳音和流沙音编写。