"ชนะ คณะ มนะ" (เบงกอล: জন গণ মন, Jôno Gôno Mono; แปลว่า "พระผู้เป็นนายเหนือจิตใจปวงชน") เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอินเดีย บทเพลงนี้เขียนขึ้นด้วยภาษาเบงกอลสันสกฤตและประพันธ์ทำนองโดยรพินทรนาถ ฐากุร นักเขียนรางวัลโนเบลชาวเบงกอล โดยบทที่นำมาใช้เป็นเพลงชาตินี้นำมาจากบทแรกของเพลงเดิมซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญแบบพฺราหฺมะ (ব্রাহ্ম, Brahmo) ของแคว้นเบงกอล มีเนื้อหาทั้งหมด 5 บท เพลงดังกล่าวได้มีการขับร้องอย่างเป็นทางการครั้งแรกในที่ประชุมคองเกรสแห่งชาติของอินเดีย (Indian National Congress) ที่เมืองกัลกัตตา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1911 ภายหลังเพลง "ชนะ คณะ มนะ" ได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นเพลงชาติอินเดียอย่างเป็นทางการโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1950[6][7][8] [9][10][11][12]

Jôno Gôno Mono
Jana Gana Mana
ชนะ คณะ มนะ
คำแปล: พระผู้เป็นนายเหนือจิตใจปวงชน
เบงกอล: জন গণ মন
ฮินดี: जन गण मन
สกอร์เพลง ชนะ คณะ มนะ
เนื้อร้องรพินทรนาถ ฐากุร[1], ค.ศ. 1911[2][3][4][5]
ทำนองรพินทรนาถ ฐากุร[1], ค.ศ. 1911[2][4][3][5]
รับไปใช้24 มกราคม ค.ศ. 1950
ตัวอย่างเสียง
ชนะ คณะ มนะ (บรรเลง)

บทกวีต้นฉบับของรพินทรนาถ ฐากุร ได้ถูกแปลออกเป็นภาษาฮินดูสตานี (ฮินดี-อูร์ดู) โดย อะบิด อะลี บทเพลงต้นฉบับภาษาฮินดีของเพลงชนะ คณะ มนะ ซึ่งแปลโดยอะลี และอิงจากบทกวีของฐากุรนั้น มีความแตกต่างจากต้นฉบับเดิมอยู่บ้าง โดยเนื้อเพลงขึ้นต้นว่า "ศุภ สุข ไจน กี พรขา พรเส, ภารต ภาค ไห ชาคา..."

การบรรเลงเพลงชาติอินเดียเต็มเพลงอย่างเป็นทางการใช้เวลา 52 วินาที ส่วนการบรรเลงแบบสังเขปในบางโอกาส ใช้เวลาบรรเลง 20 วินาที โดยตัดเอาโน้ตท่อนแรกและท่อนสุดท้ายมาบรรเลง[6] รพินทรนาถ ฐากุรได้เขียนบทแปลภาษาอังกฤษของเพลงนี้ด้วยตนเอง[13] โดยมีมากาเร็ต เคาซินส์ (ภรรยาของ เจมส์ เฮนรี เคาซินส์ กวีชาวไอริช ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญดนตรีแบบยุโรป) ช่วยวางบทเพลงลงเป็นโน้ตดนตรีสากล ที่เมืองมฑนปัลเล รัฐอานธรประเทศ[14] ซึ่งต้องร้องอย่างช้าๆ ตามต้นฉบับเท่านั้นจึงจะถูกต้องต้องนามโน้ตเพลงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขับร้องบทเพลงในฉบับที่เป็นเพลงชาติ มักจะบรรเลงโดยโน้ตเพลงที่ปรับใช้สำหรับวงออร์เคสตร้าและการขับร้องประสานเสียงโดยเฮอร์เบิร์ต เมอร์ริล นักประพันธ์ดนตรีชาวอังกฤษ ซึ่งดำเนินการภายใต้คำขอของชวาหระลาล เนห์รู

บทเพลงอีกบทหนึ่งของฐากุร คือ อามาร์ โชนาร์ บังกลา ซึ่งเป็นบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นก่อนหน้าเพลงชนะ คณะ มนะ ต่อมาได้รับเลือกให้ใช้เป็นเพลงชาติบังกลาเทศในปี ค.ศ. 1972

บทร้อง

แก้

ตัวบทของเพลงชนะ คณะ มนะ ถึงแม้จะเป็นภาษาเบงกอล แต่ก็มีลักษณะของภาษาสันสกฤตอยู่สูงมาก เนื่องจากประพันธ์ด้วยภาษาหนังสือ (ภาษาเขียน) ที่เรียกว่า "สาธุภาษา" เนื้อเพลงนั้นเกือบทั้งหมดเขียนด้วยคำนามซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นคำกริยาได้ด้วยเช่นกัน คำนามที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นคำที่ใช้ในภาษาหลักๆ ที่ใช้ในประเทศอินเดีย ด้วยเหตุนี้ ตัวบทเพลงดั้งเดิมจึงสามารถเข้าใจได้ค่อนข้างชัดเจน และโดยข้อเท็จจริงแล้ว ยังคงเกือบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยในหลายๆ ภาษาที่ใช้แตกต่างกันออกไปในอินเดีย ด้วยความที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤตมากเช่นนี้ เพลงนี้จึงเป็นที่ยอมรับได้ในตระกูลภาษาอินดิกสมัยใหม่หลายภาษา แต่การออกเสียงย่อมจะผิดแผกกันไปตามแต่ละภาษาทั่วประเทศอินเดีย เหตุผลเบื้องต้นนั้นคือ ตระกูลภาษาอินดิกส่วนมากใช้อักษรสระประกอบ (Abugida) ซึ่งพยัญชนะที่ไม่มีเครื่องหมายใดๆ กำกับจะถือว่ามีเสียงสระกำกับอยู่ในตัวด้วย แต่ข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องนี้จะแตกต่างกันไปในระหว่างภาษาต่างๆ ของอินเดีย รูปอักษรที่ปรากฏเบื้องล่างต่อไปนี้สะท้อนถึงการออกเสียงตามภาษาเบงกอล ทั้งในรูปอักษรเบงกอลและอักษรโรมัน ข้อความต่อไปนี้เป็นบทร้องเพลงชาติฉบับที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลอินเดีย ในภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการบางภาษา

สำหรับคำแปลภาษาไทยที่ให้ไว้ในที่นี่เป็นคำแปลแบบวรรคต่อวรรค ซึ่งถอดความจากคำแปลภาษาอังกฤษของ Sitansu Sekhar Mittra [15] อีกชั้นหนึ่ง

อักษรเบงกอล ทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน รูปปริวรรตอักษรโรมัน

জনগণমন-অধিনায়ক জয় হে ভারতভাগ্যবিধাতা!
পঞ্জাব সিন্ধু গুজরাট মরাঠা দ্রাবিড় উৎকল বঙ্গ
বিন্ধ্য হিমাচল যমুনা গঙ্গা উচ্ছলজলধিতরঙ্গ
তব শুভ নামে জাগে, তব শুভ আশিষ মাগে,
গাহে তব জয়গাথা।
জনগণমঙ্গলদায়ক জয় হে ভারতভাগ্যবিধাতা!
জয় হে, জয় হে, জয় হে, জয় জয় জয় জয় হে ।।

Jônôgônômônô-odhinayôkô jôyô he
Bharôtôbhagyôbidhata
Pônjabô Sindhu Gujôratô Môraṭha
Drabiṛo Utkôlô Bônggô
Bindhyô Himachôlô Jômuna Gôngga
Uchhôlôjôlôdhitôrônggô
Tôbô shubhô name jage
Tôbô shubhô ashishô mange
Gahe tôbô jôyôgatha
Jônôgônômônggôlôdayôkô jôyô he
Bharôtôbhagyôbidhata
Jôyô he, jôyô he, jôyô he,
jôyô jôyô jôyô, jôyô he

Jana gaṇa mana adhināyaka jaya he
Bhārata bhāgya vidhātā
Punjāba Sindha Gujarāta Marāṭhā
Drāviḍa Utkala Banga
Vindhya Himāchala Yamunā Gangā
Ucchala jaladhi taranga
Tava śubha nāme jāge
Tava śubha āśiṣa māge
Gāhe tava jaya gāthā
Jana gaṇa mangala dāyaka jaya he
Bhārata bhāgya vidhāta
Jaya he jaya he jaya he
Jaya jaya jaya jaya he!

รูปปริวรรตอักษรเทวนาครี รูปปริวรรตอักษรไทย ความหมาย

जनगणमन-अधिनायक जय हे भारतभाग्यविधाता!
पंजाब सिन्ध गुजरात मराठा द्राविड़ उत्कल बंग
विन्ध्य हिमाचल यमुना गंगा उच्छलजलधितरंग
तव शुभ नामे जागे, तव शुभ आशिष मागे,
गाहे तव जयगाथा।
जनगणमंगलदायक जय हे भारतभाग्यविधाता!
जय हे, जय हे, जय हे, जय जय जय जय हे।।

ชนคณมน-อธินายก ชย เห ภารตภาคฺยวิธาตา!
ปํชาพ สินฺธ คุชราต มราฐา ทราวิฑ อุตฺกล พํค
วินฺธฺย หิมาจล ยมุนา คํคา อุจฺฉลชลธิตรํค
ตว ศุภ นาเม ชาเค, ตว ศุภ อาศิษ มาเค,
คาเห ตว ชยคาถา।
ชนคณมํคลทายก ชย เห ภารตภาคฺยวิธาตา!
ชย เห, ชย เห, ชย เห, ชย ชย ชย ชย เห।।

พระผู้เป็นนายเหนือจิตใจปวงชนจงมีชัย
พระผู้ลิขิตชะตาแห่งภารตวรรษ (ประเทศอินเดีย)
ปัญจาบ สินธุ คุชราต มราฐา
ทราวิฑ อุตกัล (โอริศา) พังคะ (เบงกอล)
เขาวินธัย เขาหิมาลัย แม่น้ำยมุนา แม่น้ำคงคา
คลื่นชลธีอันซัดสาดเป็นระลอกน้อยใหญ่
ตื่นขึ้นมาสดับศุภนามของพระองค์
วอนขอพรประเสริฐจากพระองค์
ขับขานชัยคาถาของพระองค์
พระผู้ประทานสวัสดิมงคลแก่ปวงชนจงมีชัย
พระผู้ลิขิตชะตาแห่งภารตวรรษ
จงมีชัย จงมีชัย จงมีชัย
ชโย ชโย ชโย จงมีชัย

คำแปลภาษาอังกฤษ

แก้
 
รพินทรนาถ ฐากุร ผู้ประพันธ์เพลง "ชนะ คณะ มนะ"

รพินทรนาถ ฐากุร ได้แปลเพลงนี้ออกเป็นภาษาอังกฤษด้วยตนเอง เมื่อ ค.ศ. 1919 ซึ่งรัฐบาลอินเดียยังคงเผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน (แก้ไขในปี ค.ศ. 1950 โดยเปลี่ยนคำว่า Sindhu (สินธุ) เป็น Sindh (สินธ์) เนื่องจากแคว้นสินธุได้ตกเป็นของปากีสถานหลังจากการแบ่งแยกประเทศและได้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดสินธ์) มีใจความดังนี้

Thou art the ruler of the minds of all people,
Dispenser of India's destiny.
Thy name rouses the hearts of Punjab, Sindh, Gujarat and Maratha,
Of the Dravida, Utkala and Bengal;
It echoes in the hills of the Vindhyas and Himalayas,
mingles in the music of Yamuna and Ganga and is
chanted by the waves of the Indian Ocean.
They pray for thy blessings and sing thy praise.
The saving of all people waits in thy hand,
Thou dispenser of India's destiny.
Victory, victory, victory to thee.

ซึ่งถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า

ท่านคือผู้ครองใจชนทั้งผอง
ผู้ประสาทโชคชะตาแก่ภารตะ (ประเทศอินเดีย)
ชื่อของท่านปลุกเร้าหัวใจแห่งปัญจาบ สินธุ คุชราต และมราฐา (มหาราษฏระ)
ทราวิฑ อุตกัล (โอริศา) และพังคะ (เบงกอล)
ย่อมสะท้อนในขุนเขาวินธัยและหิมาลัย
ผสานในดนตรีแห่งยมุนาและคงคา
ที่พร่ำท่องโดยกระแสคลื่นแห่งทะเลภารตะ
ชนทั้งผองร้องสรรเสริญและอวยชัย
จงปลอดภัยอยู่ในหัตถ์ของท่านเทอญ
ท่านผู้ประสาทชะตาแก่ภารตะ
ชโย ชโย ขอท่านจงมีชัยเทอญฯ

การประพันธ์ดนตรีและแปลเป็นภาษาอังกฤษ

แก้
 
สำเนาต้นฉบับบทแปลภาษาอังกฤษของเพลงชนะ คณะ มนะ ซึ่งแปลโดยรพินทรนาถ ฐากุร หน้าแรก

รพินทรนาถ ฐากุร แปลเพลง "ชนะ คณะ มนะ" จากภาษาเบงกอลเป็นภาษาอังกฤษ และปรับเนื้อร้องในเข้ากับดนตรีที่มฑนปัลเล[16] เมืองขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่ในเขตจิตตูระ (Chittoor district) รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย

ถึงแม้เพลงที่เป็นภาษาเบงกอลนี้จะได้เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 แต่คนส่วนมากไม่รู้จักเพลงนี้นอกจากผู้อ่านนิตยสาร "ตัตวะ โพธะ ประกาศิกะ" (Tatva Bodha Prakasika) ซึ่งมีฐากุรเป็นบรรณาธิการอยู่เท่านั้น

ระหว่างปี ค.ศ. 1919 ฐากุรได้ตอบรับคำเชิญจากเพื่อนและกวีชาวไอริชชื่อ เจมส์ เอช. เคาซินส์ (James H. Cousins) ในการไปเยือนวิทยาลัยเทววิทยาเบแซนต์ (Besant Theosophical College) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองมฑนปัลเลเป็นเวลา 2-3 วัน โดยฝ่ายเคาซินส์เป็นเจ้าภาพ ในเย็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 เขาได้เข้าร่วมกับกลุ่มนักศึกษาที่มารวมตัวกัน และร้องเพลงชนะ คณะ มนะ ด้วยภาษาเบงกอล ตามคำขอของเคาซินส์ ผู้บริหารของวิทยาลัยดังกล่าวหลายคนรู้สึกประทับใจอย่างยิ่งในอุดมคติอันสูงส่งของบทเพลงและการสรรเสริญพระเจ้า จึงได้เลือกเอาเพลงนี้เป็นเพลงสวดอธิษฐานพระเจ้าของวิทยาลัยนั้น หลายวันถัดมา ด้วยความหลงใหลในภูมิทัศน์ของหุบเขาเมืองมฑนปัลเล ฐากุรจึงได้เขียนคำแปลของเพลงดังกล่าว และวางบทเพลงลงเป็นโน้ตดนตรีซึ่งยังใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีมากาเร็ต เคาซินส์ (ภรรยาของ เจมส์ เฮนรี เคาซินส์ กวีชาวไอริช) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญดนตรีแบบยุโรป ช่วยในการนี้ เพลงชนะ คณะ มนะ ได้แพร่หลายไปไกลเกินกว่าพรมแดนของอินเดียโดยบรรดานักศึกษาระดับวิทยาลัย และกลายเป็น "เพลงยามเช้าของอินเดีย" (The Morning Song of India)[13] และเพลงชาติอินเดียดามลำดับ

ปัจจุบัน ต้นฉบับของบทแปลเพลงชนะ คณะ มนะ ภาคภาษาอังกฤษในชื่อ "The Morning Song of India" ได้จัดเก็บใส่กรอบรูปและจัดแสดงไว้ในหอสมุดวิทยาลัยเทววิทยาเมืองมฑนปัลเล[17]

แนวปฏิบัติ

แก้

ชนะ คณะ มนะ ในโอกาสสำคัญ

แก้

รัฐบาลอินเดีย โดยกระทรวงวัฒนธรรม เยาวชน และกีฬา เคยมอบหมายให้ เอ. อาร์. ระห์มาน นำเพลงนี้เรียบเรียงทำนองใหม่และจัดทำเป็นวิดีโอเพื่อฉลองเอกราชครบ 50 ปี ของอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2543 แต่ออกอากาศครั้งแรกทางโทรทัศน์อินเดียเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยมีนักร้องที่มีชื่อเสียงของอินเดียร่วมในวิดีโอนี้จำนวน 35 คน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Know India-National Identity Elements-National Anthem". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-08.
  2. 2.0 2.1 Rabindranath Tagore (2004). The English Writings of Rabindranath Tagore: Poems. Sahitya Akademi. pp. 32–. ISBN 978-81-260-1295-4.
  3. 3.0 3.1 Edgar Thorpe, Showick Thorpe. The Pearson CSAT Manual 2011. Pearson Education India. pp. 56–. ISBN 978-81-317-5830-4.
  4. 4.0 4.1 Sabyasachi Bhattacharya (24 May 2017). Rabindranath Tagore: An Interpretation. Random House Publishers India Pvt. Limited. pp. 326–. ISBN 978-81-8475-539-8.
  5. 5.0 5.1 "BBC News - Does India's national anthem extol the British?".
  6. 6.0 6.1 "National Anthem - Know India. Nation Portal of India". Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  7. Bhatt, P.C., บ.ก. (1999). Constituent Assembly Debates. Vol. XII. Lok Sabha Secretariat.
  8. Volume XII. Tuesday, the 24th January 1950. Online Transcript, Constituent Assembly Debates
  9. Ganpuley's Memoirs.1983. Bharatiya Vidya Bhavan.p204
  10. Rajendra Rajan (May 4, 2002). "A tribute to the legendary composer of National Anthem". The Tribune.
  11. "Controversy over Jana Gana Mana takes a new turn". Rediff. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  12. "Who composed the score for Jana Gana Mana? Gurudev or the Gorkha?". Rediff. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  13. 13.0 13.1 "The Morning Song of India". K. Ramanraj. สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  14. Vani Doraisamy. "India beats: A Song for the Nation". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.
  15. "All 5 stanzas of Jana Gana Mana with Bengali script". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-12.
  16. Vani Doraisamy (19 March 2006). "India beats: A Song for the Nation". Chennai, India: The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.
  17. "English Translation of Janaganamana". Manjula Bose. สืบค้นเมื่อ 2011-08-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้