เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (อังกฤษ: Sustainable Development Goals หรือย่อว่า SDGs) เป็นประมวลเป้าหมายของโลก 17 ข้อที่เชื่อมโยงกัน ออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เป็น "พิมพ์เขียวเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง เพื่อประชาชนและโลก ณ บัดนี้และต่อไปในอนาคต"[1][2][3] เป้าหมาย 17 ข้อ ประกอบด้วย: (1) ขจัดความยากจน (2) ขจัดความอดอยาก (3) สุขภาพและความเป็นอยู่ดี (4) การศึกษาคุณภาพ (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (6) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล (7) พลังงานสะอาดในราคาที่ซื้อได้ (8) อาชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี (9) อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน (10) ลดความเหลื่อมล้ำ (11) นครและชุมชนยั่งยืน (12) การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ (13) การปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (14) การใช้ทรัพยากรในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน (15) การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน (16) สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง และ (17) การร่วมมือกันเพื่อเป้าหมาย เป้าหมาย SDG ให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงกันระหว่างแง่มุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการยึดความยั่งยืนเป็นศูนย์กลาง[4]

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พันธกิจ"A shared blueprint for peace and prosperity for people and the planet, now and into the future"[1]
ชนิดของโครงการไม่แสวงหาผลกำไร
ทำเลที่ตั้งทั่วโลก
ผู้ก่อตั้งUnited Nations
ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 2015 (2015)
เว็บไซต์sdgs.un.org

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) ได้จัดทำ SDG ขึ้นใน ค.ศ. 2015 เป็นส่วนหนึ่งของวาระการพัฒนาหลัง ค.ศ. 2015 (Post-2015 Development Agenda) ในความพยายามสร้างเค้าโครงการพัฒนาโลกในอนาคตเพื่อมาแทนที่เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษที่ได้สิ้นสุดลง ณ ปีนั้น[5] เป้าหมายได้รับการสื่อสารและการลงมติเห็นชอบอย่างเป็นทางการในข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly resolution) นามว่า 2030 Agenda หรือ วาระ ค.ศ. 2030[6] ข้อมติของ UNGA เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ที่ระบุเป้าหมายย่อยที่ชัดเจน (List of Sustainable Development Goal targets and indicators) สำหรับเป้าหมายแต่ละข้อและกำหนดตัวชี้วัดต่าง ๆ เพื่อวัดความก้าวหน้าของมัน[2] เป้าหมายย่อยส่วนใหญ่กำหนดให้บรรลุผลภายใน ค.ศ. 2030 แต่บางเป้าไม่มีวันสิ้นสุดชัดเจน[7]

เป้าหมายต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกัน อาทิเป้าหมาย SDG ที่ 13 การปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) มองเห็นถึงการประสานร่วมกันกับเป้าหมายที่ 3 (สุขภาพ) 7 (พลังงานสะอาด) 11 (นครและชุมชน) 12 (การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ) และ 14 (มหาสมุทร)[8][9]: 70  ในทางตรงกันข้าม นักวิจารณ์และผู้สังเกตการณ์ต่าง ๆ ได้ระบุถึงผลได้เสียระหว่างบางเป้าหมาย[9]: 67  เช่นระหว่างการขจัดความอดอยากกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม[10]: 26  ข้อกังวลอื่น ๆ เช่นเป้าหมายจำนวนมากเกินไป (ทำให้เกิดผลได้เสียที่สมทบกัน) การให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่น้อย และความยากลำบากในการติดตามตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

เวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-level Political Forum on Sustainable Development; HLPF) ของสหประชาชาติซึ่งเวทีประจำปีที่จัดขึ้นภายใต้การควบคุมดูแลของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติเป็นผู้เฝ้าสังเกตติดตามเป้าหมาย SDG ทว่าเวที HLPF เองก็มีปัญหาอันเนื่องจากการขาดการนำทางการเมืองและการถือผลประโยชน์แห่งชาติ (national interest) ที่แตกต่างกัน[11]: 206  มีการเปิดตัวเว็บไซต์ติดตามเป้าหมาย SDG ทางออนไลน์ขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 เพื่อแสดงข้อมูลทั้งหมดที่มีสำหรับตัวชี้วัดแต่ละตัว[12] การระบาดทั่วของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อเป้าหมาย SDG ทุก 17 เป้าหมายใน ค.ศ. 2020[13] งานประเมินทางวิทยาศาสตร์ถึงผลกระทบทางการเมืองของ SDG ใน ค.ศ. 2022 พบว่าจวบจนปัจจุบันยังคงส่งผลกระทบทางการเมืองซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงอยู่ในปริมาณที่จำกัด[14] แต่อย่างน้อยที่สุดได้ส่งผลต่อวิธีการที่ตัวแสดงต่าง ๆ ทำความเข้าใจและสื่อสารเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน[14]

มติเห็นชอบ แก้

 
Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development (ข้อมติสหประชาชาติที่ A/RES/70/1) ระบุเป้าหมายต่าง ๆ (ตุลาคม ค.ศ. 2015)
 
แผนภาพรายการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย

193 ประเทศในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติเห็นชอบวาระการพัฒนา ค.ศ. 2030 เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 นามว่า "Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development"[6]: 14 [15] วาระนี้ประกอบด้วย 92 ย่อหน้า ย่อหน้าที่ 59 วางเค้าโครงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย พร้อมด้วยเป้าหมายย่อย 169 เป้าและตัวชี้วัด 232 ตัวที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการนำโดยสหประชาชาติและประกอบด้วยรัฐสมาชิก 193 ประเทศและภาคประชาสังคมทั่วโลก ข้อมติเป็นความตกลงระหว่างรัฐบาลโดยกว้างซึ่งทำหน้าที่เป็นวาระการพัฒนาหลัง ค.ศ. 2015 เป้าหมาย SDG สร้างขึ้นบนหลักการที่ลงมติเห็นชอบไปในข้อมติที่ A/RES/66/288 นามว่า "The Future We Want"[16] เอกสารชิ้นนี้เป็นเอกสารที่ไม่มีผลผูกพันและเผยแพร่ออกมาอันเป็นผลจากการประชุม Rio+20 (United Nations Conference on Sustainable Development) ที่จัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2012[16]

การนำไปปฏิบัติ แก้

 
การเปรียบเทียบต้นทุนของแต่ละเป้าหมายของสหประชาชาติ

การปฏิบัติใช้เป้าหมาย SDG เริ่มต้นทั่วโลกใน ค.ศ. 2016 กระบวนการนี้เรียกว่าการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ (Localizing the SDGs) ใน ค.ศ. 2019 อังตอนียู กูแตรึช (เลขาธิการสหประชาชาติ) ออกประกาศเรียกร้องต่อโลกเกี่ยวกับทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ภายใน ค.ศ. 2030[17] ทศวรรษนี้อยู่ระหว่าง ค.ศ. 2020 ถึง 2030 โดยมีแผนให้เลขาธิการสหประชาชาติเรียกเวทีการประชุมประจำปีเพื่อขับเคลื่อนทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง[18]

มีตัวแสดงอยู่สองกลุ่มในการปฏิบัติใช้เป้าหมาย SDG กล่าวคือรัฐและตัวแสดงนอกภาครัฐ[14] ตัวแสดงที่เป็นรัฐหมายถึงรัฐบาลระดับชาติและระดับภายในประเทศ ในขณะที่ตัวแสดงนอกภาครัฐหมายถึงบรรษัทและภาคประชาสังคม[19]: 80  การมีส่วนร่วมและการเสริมอำนาจของภาคประชาสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ภายในกลุ่มนี้เองมีกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลาย[19]: 80 

การเสริมสร้างหุ้นส่วนใหม่ ๆ นั้นมีประโยชน์[19] แต่เป้าหมาย SDG ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย และถูกออกแบบมาโดยตั้งใจให้ตัวแสดงต่าง ๆ สามารถมีพื้นที่ขยับเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้น เป้าหมายจึงตีความได้แตกต่างหลากหลายโดยมักเป็นไปตามความสนใจของแต่ละกลุ่ม[14]

เป้าหมาย แก้

โครงสร้างของเป้าหมาย เป้าหมายย่อย และตัวชี้วัด แก้

 
เอกสาร Work of the Statistical Commission pertaining to the 2030 Agenda for Sustainable Development ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายย่อยและตัวชี้วัดต่าง ๆ มิถุนายน ค.ศ. 2017 (ข้อมติสหประชาชาติที่ A/RES/71/313)

รายการของเป้าหมายย่อยและตัวชี้วัดของเป้าหมาย SDG ทั้ง 17 ข้อถูกเผยแพร่ออกมาในข้อมติของสหประชาชาติในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017[2] แต่ละเป้าหมายโดยทั่วไปมี 8–12 เป้าหมายย่อย และแต่ละเป้าหมายย่อยมี 1–4 ตัวชี้วัดสำหรับการวัดความก้าวหน้าในการบรรลุแต่ละเป้า โดยมีตัวชี้วัดเฉลี่ย 1.5 ข้อต่อเป้า[20] แต่ละเป้าหมายย่อยจะเป็น เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์ (outcome targets) หรือเป้าหมายย่อยเกี่ยวกับ วิธีการในการบรรลุเป้าหมาย (means of implementation)[21] เป้าหมายย่อยชนิดที่สองถูกเพิ่มเข้ามาในภายหลังในกระบวนการต่อรองเป้าหมาย SDG ให้ครอบคลุมถึงข้อกังวลของรัฐสมาชิกบางประเทศว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย SDG ได้อย่างไร เป้าหมายที่ 17 เป็นเป้าหมายที่เกี่ยวกับวิธีการบรรลุเป้าหมาย SDG โดยเฉพาะ[21]

ระบบเลขข้อเป้าหมายย่อยเป็นดังต่อไปนี้ เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์จะใช้ตัวเลข ส่วนเป้าหมายย่อยวิธีการในการบรรลุเป้าหมายจะใช้อักษรละตินตัวพิมพ์เล็ก[21] ตัวอย่างเช่น เป้าหมายที่ 6 มี 8 เป้าหมายย่อย หกเป้าแรกเป็นเป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์และเป็นเป้าหมายย่อยข้อที่ 6.1 ถึง 6.6 ส่วนสองเป้าสุดท้ายเป็นวิธีการในการบรรลุเป้าหมายและเป็นเป้าหมายย่อยข้อที่ 6.a และ 6.b

เว็บไซต์สำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Statistics Division; UNSD) ระบุรายการของตัวชี้วัดที่เป็นทางการในปัจจุบัน ซึ่งรวมการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจนถึงสมัยการประชุมที่ 51 ของคณะกรรมาธิการสถิติฯ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020[7]

ตัวชี้วัดต่าง ๆ ของแต่ละเป้าหมายมีพัฒนาการทางระเบียบวิธีและความพร้อมใช้งานของข้อมูลในระดับโลกในระดับที่แตกต่างกัน[22] ในตอนแรก ตัวชี้วัดบางตัว (ตัวชี้วัดชั้น 3) ไม่มีระเบียบวิธีหรือมาตรฐานที่มีการกำหนดในระดับนานาชาติ ในเวลาต่อมา กรอบของตัวชี้วัดระดับโลกถูกปรับให้ตัวชี้วัดชั้น 3 บางตัวถูกยกเลิก แทนที่ หรือปรับปรุง[22] เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 มีตัวชี้วัดทั้งหมด 231 ตัว[22]

ข้อมูลหรือสารสนเทศจะต้องครอบคลุมกลุ่มเปราะบางทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเด็ก, คนชรา, คนพิการ, คนลี้ภัย, คนพื้นเมือง, คนย้ายถิ่น (Migrant worker) และคนพลัดถิ่นภายในประเทศ (Internally displaced person)[23]

การทบทวนตัวชี้วัด แก้

กรอบตัวชี้วัดทั้งหมดได้รับการทบทวนในสมัยประชุมครั้งที่ 51 ของคณะกรรมาธิการสถิติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Statistical Commission) ใน ค.ศ. 2020 และจะมีการทบทวนอีกครั้งใน ค.ศ. 2025[24] ที่การประชุมครั้งที่ 51 นั้น (จัดขึ้นในนครนิวยอร์กระหว่างวันที่ 3–6 มีนาคม ค.ศ. 2020) มีการเสนอให้คณะกรรมาธิการพิจารณาเปลี่ยนแปลงกรอบตัวชี้วัดระดับโลกทั้งสิ้น 36 จุด ตัวชี้วัดบางตัวถูกแทนที่ ปรับปรุง หรือยกเลิกไป[24] และในระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2018 กับ 17 เมษายน ค.ศ. 2020 ก็มีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เพิ่มเติมต่อตัวชี้วัด[25] แต่ถึงอย่างนั้น การวัดค่าเหล่านี้ก็ยังทำได้อย่างยากลำบาก[26]

รายการเป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมายและเป้าหมายย่อยกับตัวชี้วัด แก้

เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 1 คือการ "ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่"[27][28] การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 1 จะขจัดความยากจนขั้นรุนแรง (extreme poverty) ไปจากโลกภายใน ค.ศ. 2030 ตัวชี้วัดตัวหนึ่งคือสัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจน[27] โดยวิเคราะห์ข้อมูลตามเพศ อายุ สถานภาพการจ้างงาน และตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ (เขตเมือง (urban area)/ชนบท)

เป้าหมายที่ 1 มีเป้าหมายย่อยเจ็ดเป้า และมีตัวชี้วัด 13 ตัวในการวัดความก้าวหน้า (progress) เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์ห้าเป้าประกอบด้วย (1) การขจัดความยากจนรุนแรง (2) การลดความยากจนในทุกมิติให้ลดลงครึ่งหนึ่ง (3) การดำเนินการระบบคุ้มครองทางสังคมให้เป็นผล (4) การสร้างหลักประกันสิทธิเท่าเทียมในการถือกรรมสิทธิ์ การบริการขั้นพื้นฐาน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และ (5) การสร้างภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] SDG ที่ 1 สองเป้าประกอบด้วย (a) การระดม (mobilization) ทรัพยากรเพื่อขจัดความยากจน และ (b) การสร้างกรอบการดำเนินงานด้านนโยบายในการขจัดความยากจนในทุกมิติ[2][30][29]

เป้าหมายที่ 2: ขจัดความอดอยาก แก้

 
ทุกคนควรสามารถเข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีสารอาหารครบถ้วน

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 2 คือการ "ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร (food security) และยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน"[31][28] ตัวอย่างของตัวชี้วัดสำหรับเป้าหมายนี้เช่นความชุกของทุพโภชนาการ ความชุกของความมั่นคงทางอาหารขั้นร้ายแรง และความชุกของภาวะแคระแกร็นในเด็ก (stunted growth) อายุต่ำกว่าห้าขวบ

เป้าหมายที่ 2 มีเป้าหมายย่อยแปดเป้า และมีตัวชี้วัด 14 ตัวในการวัดความก้าวหน้า[2] เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์ห้าเป้าประกอบด้วย (1) การยุติความหิวโหยและพัฒนาการเข้าถึงอาหาร (2) การยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบ (3) ผลิตภาพทางการเกษตร (agricultural productivity) (4) การผลิตอาหารที่ยั่งยืนและแนวปฏิบัติทางการเกษตรอย่างมีภูมิคุ้มกัน และ (5) ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์ พืชเพาะปลูก ปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยง[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] SDG ที่ 2 สามเป้าประกอบด้วย (a) การลงทุน วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี (b) การแก้ไขการกีดกัน (trade restriction) และ (c) การบิดเบือนทางการค้าในตลาดเกษตรโลกและตลาดโภคภัณฑ์อาหาร (commodity market) กับตลาดอนุพันธ์[2][29]

เป้าหมายที่ 3: สุขภาพและความเป็นอยู่ดี แก้

 
แม่กับลูกที่มีสุขภาพดีในชนบทประเทศอินเดีย

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 3 คือการ "สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย"[32][28] ตัวชี้วัดสำคัญเช่นการคาดหมายคงชีพ อัตราการตายของเด็ก (Child mortality) และมารดา (Maternal Mortality) และนอกจากนั้นยังมีอัตราการตายจากความเสียหายด้านจราจรบนท้องถนน (Road traffic safety) ความชุกของการใช้ยาสูบ (Prevalence of tobacco use) และอัตราการตายจากการฆ่าตัวตาย[32]

เป้าหมายที่ 3 มีเป้าหมายย่อย 13 เป้า และมีตัวชี้วัด 28 ตัวในการวัดความก้าวหน้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์เก้าเป้าประกอบด้วย (1) การลดอัตราการตายของมารดา (2) การยุติการตายที่ป้องกันได้ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (3) การยุติการแพร่กระจายของโรคติดต่อ (4) การลดการตายจากโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease) และสนับสนุนสุขภาพจิต (5) การป้องกันและการรักษาการใช้สารในทางที่ผิด (substance abuse) (6) การลดจำนวนการตายและบาดเจ็บบนท้องถนน (Epidemiology of motor vehicle collisions) (7) การสร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงบริการสุขอนามัยทางเพศและการเจริญพันธุ์ (Sexual and reproductive health) การวางแผนครอบครัว และการศึกษาโดยถ้วนหน้า (8) การบรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal health care) และ (9) การลดจำนวนการตายและการป่วยจากสารเคมีอันตรายและมลพิษ[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สี่เป้าประกอบด้วย (a) การดำเนินงานของกรอบอนุสัญญาองค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (WHO Framework Convention on Tobacco Control) (b) การสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาวัคซีนและยาให้มีการเข้าถึงโดยถ้วนหน้าในราคาที่สามารถซื้อหาได้ (c) การเพิ่มการใช้เงินที่เกี่ยวกับสุขภาพและการสนับสนุนกำลังคนด้านสุขภาพ (Health human resources) ในประเทศกำลังพัฒนา และ (d) การเสริมระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้าความเสี่ยงด้านสุขภาพในระดับโลก[33][29]

เป้าหมายที่ 4: การศึกษาคุณภาพ แก้

 
เด็กนักเรียนที่ค่ายผู้ลี้ภัยคาคูมา ประเทศเคนยา

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 4 คือการ "สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต"[34][28] ตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ประกอบด้วยอัตราการเข้าเรียนระดับประถมศึกษา อัตราการสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา อัตราการเข้าร่วมการศึกษาขั้นตติยภูมิ (tertiary education) และอื่น ๆ เป็นต้น ในแต่ละกรณีมีการแบ่งตามตัวชี้วัดคู่เพื่อรับประกันว่าไม่มองข้ามนักเรียนที่ด้อยโอกาส (มีการเก็บข้อมูลตามเพศหญิง/ชาย ชนบท/เมือง ควินไทล์ล่าง/บนของความมั่งคั่ง และอื่น ๆ เช่นสถานภาพคนพิการและคนพื้นเมือง) นอกจากนี้ยังมีตัวชี้วัดของสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคารโรงเรียน (การเข้าถึงไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ น้ำดื่ม สุขา ฯลฯ)[34]

เป้าหมายที่ 4 มีเป้าหมายย่อยสิบเป้า และมีตัวชี้วัด 11 ตัวในการวัดความก้าวหน้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์เจ็ดเป้าประกอบด้วย (1) การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่ไม่มีค่าใช้จ่าย (2) การเข้าถึงการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (preschool) ที่มีคุณภาพ (3) การศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาที่มีราคาที่สามารถจ่ายได้ (4) การเพิ่มจำนวนผู้ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องสำหรับความสำเร็จทางการเงิน (5) การขจัดการเลือกปฏิบัติในการศึกษา (discrimination in education) ทุกรูปแบบ (6) ความสามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ (numeracy) โดยถ้วนหน้า และ (7) การศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเป็นพลเมืองของโลก[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สามเป้าประกอบด้วย (a) การสร้างและยกระดับโรงเรียนที่ปลอดภัยและสำหรับทุกคน (b) การขยายจำนวนทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และ (c) การเพิ่มจำนวนครูที่มีคุณวุฒิในประเทศกำลังพัฒนา[29]

เป้าหมายที่ 5: ความเท่าเทียมทางเพศ แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 5 คือการ "บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมอำนาจให้แก่สตรีและเด็กหญิง"[35][28] Indicators include for example having suitable legal frameworks and the representation by women in รัฐสภาระดับชาติ or in local deliberative bodies.[13] Numbers on การบังคับสมรส (forced marriage) and การขริบ/ตัดอวัยวะเพศหญิง (Female genital mutilation) are also included in another indicator.[36][13]

เป้าหมายที่ 5 มีเป้าหมายย่อยเก้าเป้า และมีตัวชี้วัด 14 ตัวในการวัดความก้าวหน้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์หกเป้าประกอบด้วย (1) การยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่ (2) การขจัดความรุนแรงและการแสวงประโยชน์จากผู้หญิงและเด็กหญิง (3) การขจัดแนวปฏิบัติที่เป็นภัย อาทิ การแต่งงานในเด็กก่อนวันอันควรโดยการบังคับและการทำลายอวัยวะเพศหญิง (4) การเพิ่มคุณค่าต่อการดูแลแบบไม่ได้รับค่าจ้าง (unpaid work) และสนับสนุนความรับผิดชอบร่วมกันภายในครัวเรือน (5) การสร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการเป็นผู้นำและการตัดสินใจ และ (6) การสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงสิทธิและสุขภาพการเจริญพันธุ์โดยถ้วนหน้า[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สามเป้าประกอบด้วย (a) การดำเนินการปฏิรูปเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิที่เท่าเทียมในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ การเข้าเป็นเจ้าของที่ดิน (land tenure) และการบริการทางการเงิน (b) การเพิ่มพูนการใช้เทคโนโลยี (Enabling technology) เพื่อส่งเสริมการให้อำนาจแก่ผู้หญิง และ (c) การเลือกใช้และเสริมความเข้มแข็งแก่นโยบายและการบังคับใช้กฎระเบียบเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศ[37][29]

เป้าหมายที่ 6: น้ำสะอาดและสุขาภิบาล แก้

 
ตัวอย่างของสุขาภิบาลเพื่อทุกคน สุขาโรงเรียน IPH school and college ที่มอหาขาลี ธากา บังกลาเทศ)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6 คือการ "สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดการน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนอย่างยั่งยืน"[38][28] โครงการตรวจสอบร่วม (Joint Monitoring Programme for and Sanitation; JMP) ของWHO และ UNICEF มีความรับผิดชอบในการตรวจสอบความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายย่อยสองเป้าแรกของเป้าหมายนี้ ตัวชี้วัดสำคัญของเป้าหมายนี้ประกอบด้วยสัดส่วนร้อยละของประชากรที่ใช้ประโยชน์น้ำดื่มที่จัดการอย่างปลอดภัยและเข้าถึงสุขาภิบาลที่จัดการอย่างปลอดภัย โครงการ JMP รายงานใน ค.ศ. 2017 ว่าคนจำนวน 4.5 พันล้านคนไม่มีการเข้าถึงการสุขาภิบาลที่จัดการอย่างปลอดภัย (Improved sanitation)[39] ตัวชี้วัดอีกหนึ่งตัววัดสัดส่วนของน้ำเสียครัวเรือนกับอุตสาหกรรมที่ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย

เป้าหมายที่ 6 มีเป้าหมายย่อยแปดเป้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์หกเป้าประกอบด้วย (1) น้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ (2) การเข้าถึงสุขาภิบาลและสุขอนามัย (WASH) และการยุติการขับถ่ายในที่โล่ง (open defecation) (3) การยกระดับคุณภาพน้ำ (water quality) การบำบัดน้ำเสีย (wastewater treatment) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reclaimed water) อย่างปลอดภัย (4) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ (water-use efficiency) และสร้างหลักประกันในทรัพยากรน้ำจืด (5) การดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม (IWRM) และ (6) การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สองเป้าประกอบด้วย (a) การขยายการสนับสนุนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านน้ำและสุขอนามัย และ (b) การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำและสุขอนามัย[40][29]

เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดในราคาที่ซื้อได้ แก้

 
แผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7 คือการ "สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนและพึ่งพาได้ในราคาที่ย่อมเยา"[41][28] ตัวชี้วัดหนึ่งของเป้าหมายนี้ดูที่สัดส่วนร้อยละของประชากรที่ไฟฟ้าเข้าถึง (มีความก้าวหน้าในการขยายการเข้าถึงบริการไฟฟ้าในหลายประเทศ เช่นอินเดีย บังกลาเทศ และเคนยา[42]) ตัวชี้วัดอื่น ๆ มองที่ส่วนผสมของพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

เป้าหมายที่ 7 มีเป้าหมายย่อยห้าเป้า และมีตัวชี้วัดหกตัวในการวัดความก้าวหน้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์สามเป้าประกอบด้วย (1) การสร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ (2) การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทน และ (3) การเพิ่มการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้เพิ่มขึ้น 2 เท่า[43][29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สองเป้าประกอบด้วย (a) การส่งเสริมการเข้าถึงการวิจัย เทคโนโลยี และการลงทุนในพลังงานที่สะอาด (Sustainable energy) และ (b) การขยายและพัฒนาการจัดส่งบริการพลังงาน (Energy system) ในประเทศกำลังพัฒนา[29]

เป้าหมายที่ 8: อาชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 8 คือการ "ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน"[44][28] ตัวชี้วัดที่สำคัญของเป้าหมายนี้รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดและอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจริงต่อหัว นอกจากนี้ยังมีอัตราการว่างงานเยาวชนและการบาดเจ็บเนื่องจากอาชีพ (occupational injury) หรือจำนวนผู้หญิงที่อยู่ในกำลังแรงงานเมื่อเทียบกับผู้ชาย[44]

เป้าหมายที่ 8 มีเป้าหมายย่อย 12 เป้า บ้างกำหนดสำหรับ ค.ศ. 2030 บ้างสำหรับ ค.ศ. 2020 เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์สิบเป้าประกอบด้วย (1) การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (2) การบรรลุการมีผลิตภาพ (productivity) ทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้นผ่านการทำให้หลากหลาย (Diversity (business)) การยกระดับเทคโนโลยี และนวัตกรรม (3) การส่งเสริมนโยบายที่สนับสนุนการสร้างงานและการเติบโตของวิสาหกิจ (4) การพัฒนาความมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (resource efficiency) ในการบริโภคและการผลิต (5) การบรรลุการจ้างงานเต็มที่และการมีงานที่สมควร (decent work) ที่มีการจ่ายที่เท่าเทียม (Equal pay for equal work) (6) การส่งเสริมการจ้างงาน การศึกษา และการฝึกอบรมเยาวชน (7) การขจัดทาสสมัยใหม่ (modern slavery) การค้ามนุษย์ (smuggling) และการใช้แรงงานเด็ก (child labour) (8) การปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย (9) การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable tourism) ที่เป็นผลดี และ (10) การเข้าถึงการธนาคาร การประกัน และบริการทางการเงิน (Financial services) โดยถ้วนหน้า[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สองเป้าประกอบด้วย (a) การเพิ่มเติมความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade) และ (b) การพัฒนายุทธศาสตร์โลกสำหรับการจ้างงานในเยาวชน[29]

เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 9 คือการ "สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม"[45][28] ตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้รวมถึงสัดส่วนของผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมการผลิต ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีเครือข่ายมือถือ (mobile network) ครอบคลุม หรือที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต[13] ตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ "การปล่อย CO2 ต่อหน่วยมูลค่าเพิ่ม"

เป้าหมายที่ 9 มีเป้าหมายย่อยแปดเป้า และมีตัวชี้วัด 12 ตัวในการวัดความก้าวหน้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์ห้าเป้าประกอบด้วย (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุม ทนทาน และยั่งยืน (2) การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน (3) การเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินและตลาด (4) การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน (5) การเพิ่มพูนการวิจัยและยกระดับเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรม[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สามเป้าประกอบด้วย (a) การอำนวยความสะดวกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนในประเทศกำลังพัฒนา (b) การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศและความหลากหลายของอุตสาหกรรม (c) การเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารโดยถ้วนหน้า[29]

เป้าหมายที่ 10: ลดความเหลื่อมล้ำ แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 10 คือการ "ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ"[46][28] ตัวชี้วัดที่สำคัญของเป้าหมายนี้รวมถึงความเหลื่อมล้ำของรายได้ เรื่องของเพศและความพิการ รวมถึงนโยบายเกี่ยวกับการอพยพและการเคลื่อนที่ของผู้คน[47] ภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้นต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้อันหนึ่งคือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับการประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในพื้นที่ศูนย์กลางความมั่งคั่งและความรู้[48]

เป้าหมายที่ 10 มีเป้าหมายย่อยสิบเป้าเพื่อบรรลุผลภายใน ค.ศ. 2030 และมีตัวชี้วัดต่าง ๆ ในการวัดความก้าวหน้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์เจ็ดเป้าประกอบด้วย (1) การลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ (Income inequality metrics) (2) การส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองสำหรับทุกคน (3) การสร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียม (equal opportunity) และขจัดการเลือกปฏิบัติ (4) การเลือกใช้นโยบายการคลังและสังคมที่ส่งเสริมความเสมอภาค (5) การพัฒนากฏระเบียบของตลาดการเงินและสถาบันการเงิน (6) การมีตัวแทนสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในสถาบันการเงินมากขึ้น และ (7) นโยบายการอพยพที่มีความรับผิดชอบและการจัดการที่ดี[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สามเป้าประกอบด้วย (a) การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนา (b) การสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (development aid) และการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาน้อยที่สุด และ (c) การลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมของการส่งเงินกลับ (remittance) ประเทศของผู้อพยพ[2][29]

เป้าหมายที่ 11: นครและชุมชนยั่งยืน แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 11 คือการ "ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน"[49][28] ตัวชี้วัดที่สำคัญของเป้าหมายนี้รวมถึงจำนวนของผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดในเขตเมือง สัดส่วนของประชากรเขตเมืองที่เข้าถึงการขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก และปริมาณพื้นที่ปลูกสร้างต่อบุคคล[13]

เป้าหมายที่ 11 มีเป้าหมายย่อยสิบเป้า และมีตัวชี้วัด 15 ตัวในการวัดความก้าวหน้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์เจ็ดเป้าประกอบด้วย (1) ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยในราคาที่สามารถจ่ายได้ (2) ระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน (sustainable transport) ในราคาที่สามารถจ่ายได้ (3) การพัฒนาเมืองให้ครอบคลุมและยั่งยืน (4) การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (cultural heritage) และทางธรรมชาติ (natural heritage) ของโลก (5) การลดผลกระทบการสูญเสียที่เกิดจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ (6) การลดผลกระทบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อม และ (7) การจัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ปลอดภัยและครอบคลุม[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สามเป้าประกอบด้วย (a) การเสริมความแข็งแกร่งของการวางแผนการพัฒนาในระดับชาติและระดับภูมิภาค (b) การดำเนินการตามนโยบายเพื่อนำไปสู่ความครอบคลุม ความมีประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร (resource efficiency) และการลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ (disaster risk reduction) และ (c) การสนับสนุนประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในการสร้างอาคารที่ยั่งยืนและทนทาน[2][29][49]

เป้าหมายที่ 12: การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 12 คือการ "สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน"[50][28] ตัวชี้วัดหนึ่งคือจำนวนของเครื่องมือเชิงนโยบายระดับชาติที่ส่งเสริมรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (sustainable consumption)[13]: 14  อีกตัวเช่นเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ในระดับโลก[13]: 14  การกระทำอื่น ๆ ที่อาจช่วยบรรลุเป้าหมายนี้คือการเพิ่ม[[การรีไซเคิลในครัวเรือนและการลดการพึ่งพาในการค้าขยะพลาสติกในระดับโลก (global waste trade)[51]

เป้าหมายที่ 12 มีเป้าหมายย่อย 11 เป้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์แปดเป้าประกอบด้วย (1) การดำเนินการให้เป็นผลตามกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (2) การบรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ (3) การลดขยะเศษอาหารต่อหัวของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภคและลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว (4) การบรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (5) การลดการเกิดของเสียโดยให้มีการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ (6) การสนับสนุนให้บริษัทรับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ (7) การส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้าง (procurement) ของภาครัฐที่ยั่งยืน และ (8) การสร้างหลักประกันว่าประชาชนในทุกแห่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและความตระหนัก (awareness) ถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สามเป้าประกอบด้วย (a) การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมความแข็งแกร่งของขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (b) การพัฒนาและใช้เครื่องมือติดตามผลกระทบการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (c) การขจัดการบิดเบือนทางการตลาด เช่นการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel subsidies) ที่นำไปสู่การบริโภคที่สิ้นเปลือง[2][29]

เป้าหมายที่ 13: การปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 13 คือการ "ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นผ่านการควบคุมการปล่อยแก๊สและการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทน"[52][28] ใน ค.ศ. 2021 ถึง 2023 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เผยแพร่รายงานการประเมินครั้งที่ 6 ซึ่งประเมินข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ เทคนิค และเศรษฐกิจสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[53]

เป้าหมายที่ 13 มีเป้าหมายย่อยห้าเป้าภายใน ค.ศ. 2030 ซึ่งครอบคลุมถึงประเด็นการรับมือต่อสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์สามเป้าประกอบด้วย (1) การเสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัว (adaptive capacity) ต่อภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ (2) การบูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในในนโยบายและการวางแผน และ (3) การเสริมสร้างความรู้และขีดความสามารถ (Capacity building) ในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สองเป้าประกอบด้วย (a) การดำเนินการให้เกิดผลตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และ (b) การส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง [29]

เป้าหมายที่ 14: การใช้ทรัพยากรในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน แก้

 
พืดหินปะการังนูซาเลิมโบงัน

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 14 คือการ "อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเล (Marine resources) อย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"[54][28] ความพยายามที่จะปกป้องมหาสมุทร สิ่งแวดล้อมทางทะเล และชาวประมงพื้นบ้านในปัจจุบันยังไม่สนองต่อความจำเป็นในการปกป้องทรัพยากรเหล่านี้[13] อุณหภูมิมหาสมุทร (Ocean temperature) ที่สูงขึ้นและออกซิเจนในมหาสมุทรที่ลดลง (Ocean deoxygenation) พร้อมกับการกลายเป็นกรดของมหาสมุทรคือ สามสหายมรณะ ของแรงกดดันจากการเปลี่ยงแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล[55]

เป้าหมายที่ 14 มีเป้าหมายย่อยสิบเป้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์เจ็ดเป้าประกอบด้วย (1) การลดมลพิษทางทะเล (marine pollution) (2) การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ (3) การลดการกลายเป็นกรดของมหาสมุทร (4) การประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable fishery) (5) การอนุรักษ์พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง (6) การยับยั้งรูปแบบการอุดหนุนที่ส่งเสริมให้เกิดการประมงเกินขีดจำกัด และ (7) การเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สามเป้าประกอบด้วย (a) การเพิ่มความรู้ การวิจัย และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์เพื่อจะพัฒนาความอุดมสมบูรณของมหาสมุทร (b) การสนับสนุนชาวประมงพื้นบ้านรายเล็ก (Artisanal fishing) และ (c) การนำกฎหมายที่สะท้อนในกฎหมายทะเล (Law of the sea) นานาชาติมาปฏิบัติและบังคับใช้[2] ตัวชี้วัดตัวหนึ่ง (14.1.1b) ในเป้าหมายที่ 14 เกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบจากมลพิษพลาสติกทางทะเล (marine plastic pollution) โดยเฉพาะ[51][29]

เป้าหมายที่ 15: การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 15 คือการ "ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรม (environmental degradation) ของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity loss)"[56][28] ตัวอย่างของตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้เช่นสัดส่วนของพื้นที่ป่าที่คงเหลือ การกลายสภาพเป็นทะเลทราย และความเสี่ยงการสูญพันธุ์ของสปีชีส์[13][57]

เป้าหมายที่ 15 มีเป้าหมายย่อย 12 เป้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์เก้าเป้าประกอบด้วย (1) การอนุรักษ์และการฟื้นฟูระบบนิเวศบนบกและในน้ำจืด (2) การหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่าและฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม (3) การต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย (desertification) และฟื้นฟูแผ่นดินที่เสื่อมโทรม (4) การสร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขา (5) การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติ (6) การปกป้องการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม (7) การยุติการล่า (poaching) และการขนย้ายชนิดพันธุ์คุ้มครอง (8) การป้องกันชนิดพันธุ์รุกรานต่างถิ่น (invasive species) ในระบบนิเวศบกและน้ำ และ (9) การบูรณาการระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปสู่การวางแผนของรัฐบาล[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สามเป้าประกอบด้วย (a) การเพิ่มทรัพยากรทางการเงินเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (b) แหล่งเงินทุนและการสนับสนุนเงินแก่การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (sustainable forest management) และ (c) การต่อสู้กับการบุกรุกล่าและการเคลื่อนย้ายทั่วโลก[29]

เป้าหมายที่ 16: สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 16 คือการ "ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ"[58][28] ตัวอย่างของตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้เช่นอัตราการลงทะเบียนการเกิดและความแพร่หลายของการให้สินบน (bribery)[59][13]

เป้าหมายที่ 16 มีเป้าหมายย่อย 12 เป้า เป้าหมายย่อยเชิงผลลัพธ์สิบเป้าประกอบด้วย (1) การลดความรุนแรง (2) การยุติการข่มแหง การใช้หาประโยชน์ การค้า (Trafficking of children) และความรุนแรงที่มีต่อเด็ก (3) การส่งเสริมนิติธรรมและสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม (4) การต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (organized crime) และการลักลอบเคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน (Illicit financial flows) (5) การลดการทุจริตและการรับสินบน (6) การพัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใส (7) การสร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทน (8) การเสริมความแข็งแกร่งของการมีส่วนร่วมในสถาบันโลกาภิบาล (global governance) (9) การจัดให้มีเอกลักษณ์ทางกฎหมายสำหรับทุกคน และ (10) การสร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (fundamental rights)[29]

เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21] สองเป้าประกอบด้วย (a) การเสริมความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติเพื่อจะป้องกันความรุนแรงและต่อสู้กับการก่อการร้ายและอาชญากรรม และ (b) การส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติ[2][29]

เป้าหมายที่ 17: การร่วมมือกันเพื่อเป้าหมาย แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 17 คือการ "เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"[60][28] การเพิ่มความร่วมมือระดับนานาชาติ (Multilateralism) ถูกมองว่าเป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุเป้าหมายทั้ง 16 เป้าที่เหลือ[61] การพัฒนาหุ้นส่วนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายเพื่อแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และการสนับสนุนทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จโดยรวมของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายนี้รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือเหนือ-ใต้และใต้-ใต้ (South-South Cooperation) และกล่าวถึงหุ้นส่วนมหาชน-เอกชนที่ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมโดยเฉพาะ[62][63]

เป้าหมายที่ 17 เป็นวิสัยทัศน์เพื่อการค้าที่เที่ยงธรรมและดียิ่งขึ้น รวมถึงการประสานงานริเริ่มลงทุนข้ามพรมแดนในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายนี้เกี่ยวกับการเสริมความแข็งแกร่งและความคล่องตัวของความร่วมมือระหว่างรัฐชาติ ไม่ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้ว โดยใช้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นกรอบงานและวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อให้นิยามวิถีทางร่วมมือกันเดินไปข้างหน้า[64] และพยายามส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและระบบการทำการค้าที่เที่ยงธรรม[60] เป้าหมายที่ 17 มีเป้าหมายย่อย 19 เป้าที่จะบรรลุภายใน ค.ศ. 2030 โดยแบ่งออกเป็นห้าหมวดหมู่อันประกอบด้วยประเด็นการเงิน เทคโนโลยี การเสริมสร้างขีดความสามารถ การค้า และเชิงระบบ และมีตัวชี้วัด 25 ตัวในการวัดความก้าวหน้า[64][65] เป้าหมายย่อยเหล่านี้ทั้งหมดเกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย[21]

ประเด็นตัดขวางและการประสานพลัง แก้

 
เยาวชนถือป้าย SDG ที่ลิมา เปรู

ในการบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งสามแง่มุมหรือมิติจะต้องผสานเข้าด้วยกัน กล่าวคือมิติทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองสังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดล้วนมีความสำคัญในขั้นวิกฤตและพึ่งพาซึ่งกันและกัน[66] ความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีการวิจัยแบบสหวิทยาการ (multidisciplinary) และข้ามสาขาวิชา (Transdisciplinarity) ตลอดทั้งสามภาคส่วน ซึ่งกลายเป็นความยากลำบากเมื่อรัฐบาลของประเทศหลัก ๆ ไม่สามารถสนับสนุนได้[66]

ประเด็นตัดขวางต่าง ๆ ประกอบด้วยความเท่าเทียมทางเพศ การศึกษา วัฒนธรรม และสุขภาพเป็นต้น ประเด็นเหล่านี้เป็นเพียงกลุ่มตัวอย่างของความเชื่อมโยงระหว่างกันต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ความเท่าเทียมทางเพศ แก้

ฉันทมติในวงกว้างระบุว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเหล่านี้ล้วนจะหยุดชะงักหากไม่ให้ความสำคัญหรือจัดการอย่างเป็นองค์รวมแก่การเพิ่มอำนาจของผู้หญิงและความเท่าเทียมระหว่างเพศ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมุ่งให้ทั้งผู้กำหนดนโยบายและผู้บริหารหรือคณะกรรมการบอร์ดภาคเอกชนทำงานร่วมกันเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ[67][68] หลายองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือสภาบำนาญและการลงทุนโลก (World Pensions & Investments Forum) กล่าวถึงผลบวกที่การลงทุนในผู้หญิงและเด็กผู้หญิงจะมีต่อเศรษฐกิจ การลงทุนในผู้หญิงในระดับชาติและระดับโลกมักเกินขอบเขตที่กำหนดไว้ในตอนแรก[69]

ความเท่าเทียมทางเพศเป็นประเด็นหลักในกรอบของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยสร้างหลักประกันให้ข้อมูลที่เก็บมานั้นแยกย่อยตามเพศอย่างมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[70]: 11 

การศึกษาและวัฒนธรรม แก้

 
การฝึกอบรบด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตกาเซเซ ยูกันดา

มีการกล่าวถึงการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESD) อย่างชัดเจนในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 4 เป้าหมายย่อยที่ 7 ที่เกี่ยวกับการศึกษา ยูเนสโกส่งเสริมให้การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global citizenship education; GCED) เป็นแนวทางเสริม[71] การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญต่อเป้าหมายที่เหลือทั้ง 16 เป้า[72]

มีการกล่าวถึงวัฒนธรรมอย่างชัดเจนในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 11 เป้าหมายย่อยที่ 4 ("เสริมความพยายามที่จะปกป้องและคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของโลก") อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมเป็นประเด็นตัดขวางเพราะส่งผลกับเป้าหมายหลายเป้า[70] ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมมีบทบาทในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยืดหยุ่น (ในเป้าหมายที่ 11 12 และ 16) ความรุ่งเรืองและความเป็นอยู่ (ในเป้าหมายที่ 8) ความครอบคลุมและการมีส่วนร่วม (ในเป้าหมายที่ 11 และ 16)[70]: 2 

สุขภาพ แก้

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป้าที่ 1 ถึง 6 กล่าวถึงความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ (health disparities) โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา กล่าวคือประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสาธารณสุขโลก (Global health) ความยากจน ความหิวโหยกับความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ การศึกษา ความเท่าเทียมทางเพศกับการเพิ่มอำนาจของผู้หญิง (women's empowerment) และน้ำกับการสุขาภิบาล.[29]

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหลายเป้าเชื่อมโยงกับสาธารณสุขในหลากหลายแง่มุม:

  • เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 1: การอยู่ใต้เส้นความยากจนส่งผลให้มีสุขภาพที่แย่กว่า และอาจแย่ยิ่งกว่าสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาที่ความยากจนขั้นรุนแรงมีอยู่มาก[73] เด็กที่เกิดมายากจนมีโอกาสเสียชีวิตก่อนอายุห้าปีมากกว่าเด็กที่เกิดในครอบครัวร่ำรวยถึงสองเท่า[74]
  • เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 2: ความหิวโหยและทุพโภชนาการที่เกิดจากปัญหาเชิงระบบส่งผลเลวร้ายขั้นสูงสุดต่อความมั่นคงทางอาหาร ประมาณการระหว่าง ค.ศ. 2014 - 2016 ชี้ว่าประชากรร้อยละ 12.9 ในประเทศกำลังพัฒนาประสบกับการขาดสารอาหาร[75]
  • เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 4 และ 5: ความเที่ยงธรรมทางการศึกษา (Educational equity) ยังไม่เกิดขึ้นทั่วโลก การขาดการศึกษาสามารถนำไปสู่สุขภาพที่แย่ลงและขัดขวางความพยายามด้านสาธารณสุข งานปริทัศน์เป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานชิ้นหนึ่งชี้ว่าเด็กที่มีบุพการีไร้การศึกษามีอัตรารอดชีวิตต่ำกว่าเด็กที่เกิดมามีบุพการีที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป[76]

การประสานพลัง แก้

การประสานพลังระหว่างเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็น "ศัตรูที่ดีของผลได้เสียต่าง ๆ"[9]: 67  ในกรณีของเป้าหมายที่ 13 เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ IPCC ชี้ให้เห็นถึงการประสานพลังระหว่างเป้าหมายที่ 3 (สุขภาพ) 7 (พลังงานสะอาด) 11 (นครและชุมชน) 12 (การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ) และ 14 (มหาสมุทร)[8][9]: 70 

ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 13 และอื่น ๆ จะต้องมีการลงทุนระยะยาวอย่างต่อเนื่องในนวัตกรรมสีเขียว เพื่อลดคาร์บอน (Decarbonization) ในทุนกายภาพ กล่าวคือโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน อุตสาหกรรม และคมนาคม และสร้างหลักประกันความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่เปลี่ยนไป เพื่ออนุรักษ์และเสริมทุนธรรมชาติ (natural capital) กล่าวคือป่าไม้ มหาสมุทร และพื้นที่ชุ่มน้ำ และเพื่อฝึกอบรมให้คนทำงานในเศรษฐกิจที่เป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศ[77][78][79]

ความท้าทาย แก้

เป้าหมายจำนวนมากเกินไปและปัญหาโดยรวม แก้

นักวิชาการชี้ให้เห็นข้อบกพร่องในการออกแบบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเป้าหมาย โครงสร้างของกรอบเป้าหมาย (เช่นโครงสร้างที่ไม่เป็นลำดับชั้น) การเกาะกันระหว่างแต่ละเป้าหมาย ความจำเพาะและความสามารถวัดของเป้าหมายย่อย ภาษาที่ใช้ในเอกสาร และการอาศัยการพัฒนาอย่างยั่งยืนแนวเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่เป็นแนวทางหลัก[80]: 161 

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอาจรักษาสถานะเดิมไว้เพียงอย่างเดียวและล้มเหลวในการนำเสนอวาระการพัฒนาที่มีความทะเยอทะยาน สถานะเดิมดังกล่าวมีการอธิบายไว้ว่าหมายถึงการแยกสวัสดิภาพของมนุษย์ออกจากความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ความล้มเหลวที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองและให้ความสนใจกับผลได้เสีย ต้นเหตุของความยากจนกับความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม และปัญหาความยุติธรรมทางสังคม[81] นอกจากนี้ มีการกล่าวว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนยังพูดถึงจุดอ่อนสำคัญอย่างโดยตรงไม่เพียงพอ กล่าวคือการเคลื่อนย้ายเงินผิดกฎหมาย หนี้สิน กฎเกณฑ์การค้าที่ไม่เป็นธรรม และอำนาจบรรษัท ในการที่จะท้าทายระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่เช่นที่ดำรงอยู่อย่างมีนัยสำคัญ[82]

บทวิจารณ์ ค.ศ. 2015 ใน ดิอีโคโนมิสต์ กล่าวว่าเป้าหมายย่อยจำนวน 169 เป้าของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นตัวเลขที่มากเกินไป โดยอธิบายว่ายืดยาว ถูกเข้าใจผิด และยุ่งเหยิงเมื่อเทียบกับเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ[83]

ผลได้เสียที่ไม่มีกล่าวถึงอย่างชัดเจน แก้

ผลได้เสียที่เกิดขึ้นระหว่างเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายอาจขัดขวางไม่ให้เกิดขึ้นจริง[9]: 66  ตัวอย่างของผลได้เสียที่เป็นอุปสรรคสามประการที่ต้องพิจารณาเช่น การยุติความหิวโหยกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมจะสามารถปรองดองกันได้อย่างไร (เป้าหมายย่อยที่ 2.3 และ 15.2) ความเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมจะสามารถปรองดองกันได้อย่างไร (เป้าหมายย่อยที่ 9.2 และ 9.4) และความเหลื่อมล้ำของรายได้กับความเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถปรองดองกันได้อย่างไร (เป้าหมายย่อยที่ 10.1 และ 8.1)[10]

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่กล่าวถึงความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างความเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน แต่ให้ความสำคัญกับแนวคิดที่มีมาอย่างยาวนานและตกเป็นที่ต้องสงสัยที่มองว่าการแยกจากกัน (decoupling) กับประสิทธิภาพทรัพยากรจะเป็นทางออกเชิงเทคโนโลยีของวิกฤติทางสิ่งแวดล้อม[80]: 145  ตัวอย่างเช่น การคงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกไว้ที่ร้อยละ 3 อย่างต่อเนื่อง (เป้าหมายที่ 8) กับเป้าหมายความยั่งยืนเชิงนิเวศวิทยาอาจไม่สามารถปรองดองกันได้ เพราะอัตราการแยกจากกันเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (eco-economic decoupling) โดยสมบูรณ์ที่จะต้องเกิดขึ้นทั่วโลกในระดับนี้สูงเกินกว่าที่ทุกประเทศเคยสัมฤทธิ์ผลในอดีต[84]

อ่อนในเรื่องความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม แก้

 
ตัวแบบเค้กแต่งงานของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแสดงแง่มุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และนิเวศวิทยาของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน[85]

นักวิชาการวิจารณ์ว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน "ล้มเหลวที่จะยอมรับว่าข้อกังวลด้านโลก ผู้คน และความเจริญรุ่งเรืองล้วนเป็นส่วนต่าง ๆ ของระบบโลกระบบหนึ่ง ว่าการปกป้องบูรณภาพของโลกไม่ควรเป็นวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย แต่เป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง"[80]: 147  เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน "ยังคงยึดติดกับแนวคิดว่าความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานต่อการบรรลุเสาหลักทั้งหมดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน"[80]: 147  และไม่ให้ความสำคัญกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม (environmental protection)[80]: 144  เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีเป้าหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสามเป้าหมาย กล่าวคือเป้าที่ 13 14 และ 15 (สภาพภูมิอากาศ ที่ดิน และมหาสมุทร) แต่ไม่มีเป้าหมายที่ครอบคลุมเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือโลกโดยรวม[80]: 144  เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงไม่ได้แสวงหาบูรณภาพของโลก[80]: 144 

ขีดจำกัดทางธรรมชาติและขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก (planetary boundaries) มีปรากฏอยู่น้อยในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น วิธีวางโครงสร้างของเป้าหมายอย่างที่เป็นอยู่นำไปสู่ความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างความยั่งยืนทางธรรมชาติกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน[86] มีคำวิจารณ์ว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่สามารถปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพได้ และอาจส่งเสริมการทำลายสิ่งแวดล้อมในนามของการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยไม่ได้ตั้งใจ[87][88]

งานศึกษาบางชิ้นงานกล่าวว่าการเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบเสรีนิยมใหม่ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นภัยต่อบูรณภาพและความยุติธรรมของโลก[14] ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้บังคับให้ต้องจำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ[80]: 145 

นักวิทยาศาสตร์เสนอหลากหลายวิธีในการจัดการกับความอ่อนแอของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม:

  • การติดตามตัวแปรสำคัญเพื่อสะท้อนถึงแก่นของระบบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อช่วยในการชี้นำการประสานงานและการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ[89]
  • การให้ความสนใจต่อบริบทของระบบทางชีวกายภาพในแต่ละพื้นที่ (เช่นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำริมชายฝั่งหรือพื้นที่ภูเขา)[90][91]
  • การทำความเข้าใจต่อผลตอบรับทั้งในระดับพื้นที่ (เช่นผ่านโลกาภิวัตน์) และเวลา (เช่นที่จะส่งผลต่อคนรุ่นต่อไป) ที่จะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จและความล้มเหลวของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด[92]

แง่มุมทางจริยธรรม แก้

มีข้อกังวลถึงแนวคิดจริยธรรมของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยกล่าวว่ายังคงใช้นัยของการพัฒนาแบบนวยุคของตะวันตกอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการวางอธิปไตยของมนุษย์ไว้เหนือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเอง (มานุษยประมาณนิยม (Anthropocentrism)) ปัจเจกนิยม (individualism) การแข่งขัน เสรีภาพ (สิทธิเหนือหน้าที่) ผลประโยชน์ส่วนตน ความเชื่อว่าตลาดจะนำไปสู่สวัสดิภาพของส่วนรวม ทรัพย์สินส่วนบุคคล (ที่ได้รับการปกป้องจากระบบกฎหมาย) การให้รางวัลบนฐานของคุณธรรม วัตถุนิยม การวัดปริมาณของมูลค่า และการทำให้แรงงานกลายเป็นเครื่องมือ[80]: 146 

งานศึกษาบางชิ้นงานกล่าวเตือนว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอาจถูกนำมาใช้อำพรางการดำเนินไปตามปรกติด้วยการปลอมตัวด้วยวาทกรรมความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายเหล่านั้น[14] งานศึกษาวิเคราะห์อภิมานและปริทัศน์ใน ค.ศ. 2022 พบว่ามีหลักฐานที่กำลังปรากฏซึ่งแสดงว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอาจส่งผลตรงกันข้าม โดยเป็นการจัดหา "ม่านควันของกิจกรรมทางการเมืองที่น่าตื่นเต้น" มาบดบังสภาพความเป็นจริงของการชะงักงัน ทางตัน และการดำเนินการตามปรกติ[11]: 220 

ความยากในการติดตามตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ แก้

ในส่วนของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักฐานที่เชื่อมโยงวิธีการในการบรรลุเป้าหมายกับผลลัพธ์ยังอยู่ในระดับที่อ่อน[21] เป้าหมายย่อยที่เกี่ยวกับวิธีการในการบรรลุเป้าหมาย (ที่ดัชนีด้วยตัวอักษรละติน) ถูกจัดความคิดไว้อย่างไม่สมบูรณ์และจัดรูปแบบไว้อย่างไม่สอดคล้องกัน และการติดตามตัวชี้วัดของเป้าหมายย่อยเหล่านี้ซึ่งเป็นเชิงคุณภาพเสียส่วนใหญ่จะทำได้อย่างยากลำบาก[21]

กลไกการเฝ้าสังเกต แก้

 
ประเทศที่เข้าใกล้กับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สุด (น้ำเงินเข้ม) และประเทศที่ยังคงเหลือความท้าทายมากที่สุด (ฟ้าเฉดอ่อนสุด) ใน ค.ศ. 2018[93]

เวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (HLPF) แก้

เวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (HLPF) มาแทนที่คณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 2012[11]: 206  ซึ่งเป็นที่ประชุมปรกติสำหรับรัฐบาลและตัวแทนนอกภาครัฐในการประเมินความก้าวหน้าในการเดินหน้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลก[11]: 206  การประชุมจัดขึ้นภายใต้การดูแลของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติและถูกจัดทางออนไลน์เป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 โดยมีวาระเป็น "การเร่งรัดการกระทำและช่องทางการเปลี่ยนแปลง การทำให้ทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจังเกิดขึ้นจริงและการส่งมอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน" และมีมติเห็นชอบปฏิญญาระดับรัฐมนตรี[13]

รายงานความก้าวหน้าระดับสูงของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งหมดได้รับการเผยแพร่เป็นรายงานโดยเลขาธิการสหประชาชาติ รายงานล่าสุดเป็นของเดือนเมษายน ค.ศ. 2020[13]

อย่างไรก็ตาม เวที HLPF ก็มีปัญหาอยู่บางส่วน[14] เพราะไม่สามารถส่งเสริมความเชื่อมโยงตลอดทั้งระบบได้ เหตุปัจจัยประกอบด้วยอาณัติที่กว้างและไม่ชัดเจน การขาดทรัพยากร และผลประโยชน์แห่งชาติที่ลู่ออกจากกัน[14] ดังนั้น ระบบการรายงานผลนี้เป็นเพียงเวทีไว้สำหรับการรายงานโดยสมัครใจและการเรียนรู้แบบสหมิตร (peer learning) ระหว่างรัฐบาล[14]

เครื่องมือและเว็บไซต์เฝ้าสังเกต แก้

การเผยแพร่ SDG-Tracker ทางออนไลน์เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 และนำเสนอข้อมูลของตัวชี้วัดทุกตัวที่มีอยู่[12] โดยใช้ฐานข้อมูลของ Our World In Data ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด.[12][94] มีการครอบคลุมทั่วโลกและการติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก[95] ระบบติดตามนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้คนในวงกว้างเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายทั้ง 17 เป้าได้[12]

Global SDG Index and Dashboards Report เป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ฉบับแรกที่ติดตามสมรรถภาพในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าของแต่ละประเทศ[96] สื่อเผยแพร่ประจำปีฉบับนี้ร่วมผลิตโดย Bertelsmann Stiftung และเครือข่ายการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Solutions Network; SDSN) และประกอบด้วยการจัดอันดับและแผงหน้าปัดที่แสดงให้เห็นความท้าทายสำคัญในการบรรลุผลเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ความพยายามของแต่ละรัฐบาลในการบรรลุผลเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

รายงานความก้าวหน้า แก้

สถานะโดยรวม แก้

รายงานจากสหประชาชาติ (เช่น UN Global Sustainable Development Report ใน ค.ศ. 2019) และจากองค์กรอื่น ๆ ที่ติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนชี้ว่ามีโอกาสน้อยที่โลกจะสามารถบรรลุผลเป้าหมายส่วนใหญ่ได้ภายใน ค.ศ. 2030[97]: 41  หรือเร็วกว่าตามที่ระบุในแต่ละเป้าหมาย โดยกล่าวว่า the world is not on track[97]: 41  ส่วนที่เป็นกังวลอย่างยิ่งในหลายเป้าหมายคือความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่เพิ่มขึ้น[97]: 41  นอกจากนั้น มีผลได้เสียระหว่างขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกกับความปรารถนาในความมั่งคั่งและสวัสดิภาพ โดยกล่าวว่า "ระบบชีวกายภาพทางธรรมชาติและทางสังคมของโลกไม่สามารถรองรับความปรารถนาในสวัสดิภาพของมนุษย์โดยถ้วนหน้าอย่างที่มีอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้"[97]: 41 

หลายประเทศมีความก้าวหน้าที่ลดลงอย่างมากเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ เช่นในทวีปเอเชีย ข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมถอยในระดับความก้าวหน้าของเป้าหมายที่ 2 8 10 11 และ 15[98] แนวทางที่แนะนำเพื่อให้ยังสามารถบรรลุผลเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเช่น การจัดลำดับความสำคัญ การเน้นใช้มิติทางสิ่งแวดล้อมของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน การทำความเข้าใจวิธีการทำงานในฐานะระบบที่จำแนกแยกจากกันไม่ได้ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการค้นหาการประสานพลังต่าง ๆ[98]

การประเมินผลกระทบของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน แก้

งานศึกษาประเมินทางวิทยาศาสตร์ใน ค.ศ. 2022 วิเคราะห์ผลกระทบทางการเมืองของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน[11] โดยรวบรวมจากบทความทางวิทยาศาสตร์กว่า 3,000 ชิ้นจากสาขาสังคมศาสตร์เป็นหลัก งานศึกษาชิ้นนี้มองที่ผลกระทบเชิงวาทกรรม บรรทัดฐาน และสถาบัน ผลกระทบทั้งสามรูปแบบนี้ในระบบการเมืองเรียกว่าผลกระทบที่สร้างความเปลี่ยนแปลง (transformative impact) ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายของวาระ ค.ศ. 2030[14]

ผลกระทบเชิงวาทกรรมหมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการพูดคุยระดับชาติและระดับโลกที่ทำให้ตรงแนวทางของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น[14] ผลกระทบเชิงบรรทัดฐานหมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกรอบของกฎหมายและข้อบังคับกับนโยบายที่เกิดขึ้นจากและทำให้ตรงแนวทางของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น ผลกระทบเชิงสถาบันหมายถึงการตั้งกระทรวงทบวงกรม คณะกรรมการ สำนักงาน หรือโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุผลเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือการปรับแนวทางของสถาบันที่มีอยู่แล้ว[14]

งานชิ้นนี้พบว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนส่งผลกระทบสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ผ่านมาได้อย่างจำกัดเท่านั้น[14] และอาจมีเฉพาะผลกระทบเชิงวาทกรรม[14] ตัวอย่างเช่น การที่นักนโยบายและนักกิจกรรมภาคประชาสังคมหยิบยกหลักการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังมาใช้เป็นผลเชิงวาทกรรมอย่างหนึ่ง เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนก็ยังส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเชิงบรรทัดฐานและเชิงสถาบันที่เป็นเอกเทศด้วย[14] ทว่ามีความคลางแคลงใจว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะสามารถนำสังคมไปสู่บูรณภาพทางนิเวศวิทยาในระดับโลกที่มากขึ้นได้หรือไม่[14] เพราะโดยทั่วไปหลายประเทศจะให้ความสำคัญกับเป้าหมายประเด็นเศรษฐกิจสังคมมากกว่า (เป้าหมายที่ 8 ถึง 12) เป้าหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (เป้าหมายที่ 13 ถึง 15) ซึ่งตรงกับแนวนโยบายการพัฒนาระดับชาติที่มีอยู่ก่อนแล้วของแต่ละประเทศ[14]

ผลกระทบจากการระบาดทั่วของโควิด-19 แก้

การระบาดทั่วของโควิด-19 ใน ค.ศ. 2020 ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้า และนับเป็น "วิกฤตการณ์ของมนุษย์และทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในชั่วชีวิตหนึ่ง"[13]: 2  การระบาดทั่วครั้งนี้เป็นภัยต่อความก้าวหน้าในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 3 (สุขภาพ) 4 (การศึกษา) 6 (น้ำและสุขาภิบาลเพื่อทุกคน) 10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) และ 17 (การร่วมมือกัน)[13]

การให้ความสำคัญกับเป้าหมายอย่างไม่เท่ากัน แก้

มีการเผยแพร่รายงานความก้าวหน้าห้าฉบับออกมาใน ค.ศ. 2019 สามฉบับมาจากสำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs; UNDESA)[99][100] อันหนึ่งจากมูลนิธิ Bertelsmann Stiftung และอีกฉบับหนึ่งจากสหภาพยุโรป[101][102] มีงานปริทัศน์ของรายงานทั้งห้าฉบับวิเคราะห์ลำดับความสำคัญที่แต่ละฉบับมอบให้แก่แต่ละเป้าหมายและว่าเป้าหมายใดถูกวางไว้ตรงท้าย[103] จากผลลัพธ์ของงานชิ้นนี้ สถาบัน Basel Institute of Commons and Economics ระบุว่าความหลากหลายทางชีวภาพ สันติภาพ และความครอบคลุมทางสังคมถูก "ทิ้งไว้ข้างหลัง"[103]

มีคำอธิบายว่ารัฐบาลและธุรกิจให้ความสำคัญกับเป้าหมายเชิงสังคมและเศรษฐกิจมากกว่าเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อม (เป้าหมายที่ 14 และ 15) ทั้งในเชิงวาทกรรมและเชิงปฏิบัติ[104]

ความเอนเอียงของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในรายงานเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนห้าฉบับหลักของโลกใน ค.ศ. 2019[103]
หัวข้อ SDG   อันดับ    อันดับโดยเฉลี่ย การกล่าวถึง
สุขภาพ 1 3.2 1814
พลังงาน
ภูมิอากาศ
น้ำ
2 4.0 1328
1328
1784
การศึกษา 3 4.6 1351
ความยากจน 4 6.2 1095
อาหาร 5 7.6 693
การเติบโตทางเศรษฐกิจ 6 8.6 387
เทคโนโลยี 7 8.8 855
ความเหลื่อมล้ำ 8 9.2 296
ความเท่าเทียมทางเพศ 9 10.0 338
ความหิวโหย 10 10.6 670
ความยุติธรรม 11 10.8 328
การอภิบาล 12 11.6 232
งานสัมมาชีวะ 13 12.2 277
สันติภาพ 14 12.4 282
พลังงานสะอาด 15 12.6 272
ชีวิตบนบก 16 14.4 250
ชีวิตใต้น้ำ 17 15.0 248
ความครอบคลุมทางสังคม 18 16.4 22

ต้นทุน แก้

ประมาณการต้นทุน แก้

สหประชาชาติประมาณการณ์ไว้ว่าจะต้องใช้เงินทุน 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทวีปแอฟริกาเมื่อพิจารณาถึงอัตราการเติบโตของประชากร กองทุนการเงินระหว่างประเทศประมาณการณ์ว่าอาจต้องใช้เงินทุน 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[105][106][107]

มีประมาณการว่าจะต้องใช้เงินทุนสูงถึง 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในการจัดหาบริการน้ำดื่มที่สะอาดและสุขาภิบาลให้แก่ประชากรโดยรวมในทุก ๆ ทวีป[108] ธนาคารโลกกล่าวว่าจะต้องทำประมาณการเป็นรายประเทศและประเมินใหม่ทุก ๆ ครั้งเมื่อเวลาผ่านไปประมาณหนึ่ง[108]

ใน ค.ศ. 2014 การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ประมาณการณ์ว่าจะต้องใช้เงินทุน 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในการบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติ[109] ประมาณการอีกชุดหนึ่งจาก ค.ศ. 2018 โดย Basel Institute of Commons and Economics พบว่าจะต้องใช้เงินทุนตั้งแต่ 2.5 สูงถึง 5.0 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งหมด[110]

การจัดสรรเงินทุน แก้

ใน ค.ศ. 2017 สหประชาชาติจัดตั้งคณะทำงานระหว่างหน่วยงานด้านการจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนา (UN IATF on FfD)[111] แหล่งเงินทุนสูงสุดห้าแหล่งสำหรับการพัฒนาในประมาณการจาก ค.ศ. 2018 ประกอบด้วยหนี้สาธารณะใหม่จริงของประเทศ OECD งบประมาณทางการทหาร (Military budget) หนี้สาธารณะใหม่ทางการของประเทศ OECD เงินส่งกลับ (remittance) จากชาวต่างชาติไปยังประเทศกำลังพัฒนา และความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (official development assistance; ODA)[110]

ใน ค.ศ. 2017 มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์กล่าวว่ากุญแจสำคัญในการจัดหาเงินทุนและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือการเคลื่อนย้ายการลงทุนของเอกชนสัดส่วนมากกว่า 200 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีลงไปในความพยายามในการพัฒนา โดยกล่าวว่าการกุศล (philanthropy) มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายนี้[112] ผู้สนับสนุนเงินทุนรายใหญ่ที่เข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบที่จัดโดยมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์กล่าวว่าแม้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นเรื่องที่จำเป็นทางศีลธรรม แต่จะล้มเหลวหากไม่เปลี่ยนวิธีการจัดหาเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อย่างสิ้นเชิง[113]

งานวิเคราะห์อภิมานจาก ค.ศ. 2022 พบว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่บ่งชี้ว่ารัฐบาลต่าง ๆ ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ว่าจะเป็นการบรรลุเป้าหมายในระดับชาติหรือนานาชาติก็ตาม เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในงบประมาณของรัฐและกลไกการจัดสรรเงินทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ เว้นเพียงแต่ในระดับของรัฐบาลท้องถิ่นบางแห่งเท่านั้น[14] งบประมาณระดับชาติไม่สามารถจัดสรรมาให้ได้โดยง่าย[19]: 81 

การลงทุนที่ขับเคลื่อนด้วย SDG แก้

การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (Capital stewardship) ถูกมองว่ามีบทบาทสำคัญต่อความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไปสู่การลงทุนอย่างยั่งยืนในทุกกลุ่มสินทรัพย์ (asset class) ภายในกรอบของเป้าหมาย SDG[68][114] แนวคิดการลงทุนที่ขับเคลื่อนด้วย SDG เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในกลุ่มนักลงทุนสถาบันใน ค.ศ. 2019[115][116]

สภาบำนาญและการลงทุนโลกจัดการประชุมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการอภิบาลใน ค.ศ. 2017 2018 และ 2019 ร่วมกับสมาชิกคณะผู้บริหารกองทุนบำนาญต่างและผู้บริหารการลงทุนอาวุโสจากประเทศกลุ่ม 20 ผู้บริหารหลายคนกล่าวว่าอยู่ในกระบวนการนำมาใช้หรือขั้นตอนการพัฒนากระบวนการลงทุนที่อ้างอิงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะมีข้อบังคับธรรมาภิบาลการลงทุนที่ทะเยอทะยานยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ความเท่าเทียมทางเพศ และความเป็นธรรมทางสังคม[117][68]

อย่างไรก็ตาม งานศึกษาบางส่วนเตือนถึงการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเลือกปฏิบัติและความเสี่ยงทางการเมืองที่อาจเกี่ยวข้องกับการลงทุนภาคเอกชนในบริบทที่ขาดแคลนการลงทุนจากภาครัฐ (public funding)[14]

การสื่อสารและการสนับสนุน แก้

 
แคทเธอรีน มาร์ (Katherine Maher) อดีตกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดียพูดเกี่ยวกับ "บทบาทของความรู้เสรีในความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ที่สต็อกโฮล์ม ค.ศ. 2019
 
A proposal to visualize the 17 SDGs in a thematic pyramid

วาระ ค.ศ. 2030 ไม่ได้ระบุถึงหน่วยงานเพื่อการสื่อสารเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามองค์กรระหว่างประเทศและท้องถิ่นต่าง ๆ ใช้ทรัพยากรที่ไม่ใช่ของรัฐในการสื่อสารเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน[118] หน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Group) ตัดสินใจสนับสนุนการรณรงค์อิสระในการสื่อสารเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปสู่ฐานผู้คนที่กว้างกว่าเดิม การรณรงค์เหล่านี้เช่น Project Everyone ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ[119] ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารกลุ่มหนึ่งพัฒนาสัญลักษณ์ขึ้นมาสำหรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทุกเป้าหมาย และย่อชื่อเหลือเพียง Global Goals เพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง[120][121]

อนุสัญญาออร์ฮูส (Aarhus Convention) เป็นอนุสัญญาสหประชาชาติใน ค.ศ. 2001 ที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพในขั้นตอนการตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม ความโปร่งใสของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสื่อสังคมออนไลน์และการมีส่วนร่วมของเยาวชนเป็นสองประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งถูกกล่าวถึงในอนุสัญญานี้[122][123]

ผู้สนับสนุน แก้

ใน ค.ศ. 2019 และ 2021 เลขาธิการสหประชาชาติอังตอนียู กูแตรึช ได้แต่งตั้งผู้สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจำนวน 17 คน[124] บทบาทหน้าที่ของบุคคลสาธารณะเหล่านี้คือเพื่อสร้างความตระหนักรู้ ความทะเยอทะยาน และแรงผลักดันสู่การดำเนินการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ประกอบด้วย

ประธานร่วม
สมาชิก

การจัดงานทั่วโลก แก้

 
โลโก Global Goals Week

Global Goals Week เป็นกิจกรรมระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่จัดขึ้นทุกปีในเดือนกันยายนเพื่อการกระทำ การตระหนักรู้ และความรับผิดชอบที่มีต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน[126] โดยเป็นพันธกรณีร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนร่วมมากกว่า 100 รายที่จะสร้างหลักประกันให้มีการกระทำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างรวดเร็วด้วยการแบ่งปันแนวคิดและการแก้ไขปัญหาที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อปัญหาต่าง ๆ จากทั่วโลก[126] งานจัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2016 และมักจัดไปพร้อม ๆ กับงาน Climate Week NYC[127]

เทศกาลภาพยนตร์อาร์กติก (Arctic Film Festival) เป็นเทศกาลภาพยนตร์ประจำปีที่จัดขึ้นโดย HF Productions และสนับสนุนโดยแพลตฟอร์มความร่วมมือของ SDG งานจัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2019 และมีแผนที่จะจัดในเดือนกันยายนของทุกปีที่ลองเยียร์เบียน สฟาลบาร์ ประเทศนอร์เวย์[128][129]

ประวัติ แก้

 
การปรึกษาหารือเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติในมารีอูปอล ประเทศยูเครน

วาระการพัฒนาหลัง ค.ศ. 2015 เป็นกระบวนการระหว่าง ค.ศ. 2012 ถึง 2015 ซึ่งนำโดยสหประชาชาติในการให้นิยามแก่กรอบการพัฒนาของโลกในอนาคต เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนที่เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษซึ่งสิ้นสุดลงไปใน ค.ศ. 2015

เมื่อ ค.ศ. 1983 สหประชาชาติจัดตั้งคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Brundtland Commission) (เป็นที่รู้จัดในภายหลังว่าคณะกรรมาธิการบรึนต์ลันน์) ขึ้นมาเพื่อให้นิยามกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนว่าคือการ "สนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่ทำลายความสามารถที่คนรุ่นต่อไปจะสนองความต้องการของตัวเองได้"[130] การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development; UNCED) หรือการประชุมสุดยอดโลก (Earth Summit) ถูกจัดขึ้นใน ค.ศ. 1992 ที่รีโอเดจาเนโร และได้พัฒนาและปรับใช้วาระเพื่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาฉบับแรก หรือที่เรียกว่าแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21)

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (UNCSD) หรือการประชุม Rio+20 ถูกจัดขึ้น 20 ปีให้หลัง UNCED ใน ค.ศ. 2012[131][132] ประเทศโคลอมเบียเป็นผู้เสนอแนวคิดของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในงานเตรียมพร้อมสู่การประชุม Rio+20 ที่ประเทศอินโดนีเซียในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011[133] ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 การประชุมองค์การนอกภาครัฐครั้งที่ 64 ของทบวงประชาสัมพันธ์แห่งสหประชาชาติ (UNDPI) ที่บ็อน ประเทศเยอรมนี รับเอาแนวคิดนี้มา ได้ผลเป็นเอกสารที่เสนอเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 เป้าหมายและเป้าหมายย่อยที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นที่พูดถึงในวงกว้างในช่วงก่อนการประชุม Rio+20 และที่การประชุมรัฐสมาชิกได้เห็นชอบข้อมติชื่อว่า "The Future We Want"[134] ตัวอย่างของหัวข้อที่เห็นชอบเช่นการขจัดความยากจน พลังงาน น้ำและการสุขาภิบาล สุขภาพ และการตั้งถิ่นฐานมนุษย์

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 คณะทำงานเปิด (Open Working Group) ว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติถูกจัดตั้งขึ้น คณะทำงานเปิดนำเสนอเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจำนวน 8 เป้าหมายและ 169 เป้าหมายย่อยที่สมัชชาใหญ่ในสมัยประชุมที่ 68 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014[135] สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรับรองรายงานสังเคราะห์ของเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งระบุว่าวาระของกระบวนการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหลัง ค.ศ. 2015 จะมีพื้นฐานอยู่บนข้อเสนอของคณะทำงานเปิด[136]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "The 17 Goals". Sustainable Development Goals. สหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2022. shared blueprint for peace and prosperity for people and the planet now and into the future
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (2017). Resolution adopted by the General Assembly on 6 July 2017, Work of the Statistical Commission pertaining to the 2030 Agenda for Sustainable Development (Report). สหประชาชาติ. A/RES/71/313. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020. มีที่วิกิมีเดียคอมมอนส์
  3. Isnaeni, Nur Meily; Dulkiah, Moh; Wildan, Asep Dadan (18 พฤศจิกายน 2022). "Patterns of Middle-Class Communities Adaptation to the Village SDGS Program in Bogor Regency". Temali: Jurnal Pembangunan Sosial. 5 (2): 173–182. doi:10.15575/jt.v5i2.20466. ISSN 2615-5028. S2CID 255705934.
  4. Schleicher, Judith; Schaafsma, Marije; Vira, Bhaskar (2018). "Will the Sustainable Development Goals address the links between poverty and the natural environment?". Current Opinion in Environmental Sustainability. 34: 43–47. doi:10.1016/j.cosust.2018.09.004.
  5. Biermann, Frank; Kanie, Norichika; Kim, Rakhyun E (1 มิถุนายน 2017). "Global governance by goal-setting: the novel approach of the UN Sustainable Development Goals". Current Opinion in Environmental Sustainability. Open issue, part II (ภาษาอังกฤษ). 26–27: 26–31. doi:10.1016/j.cosust.2017.01.010. ISSN 1877-3435.
  6. 6.0 6.1 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (2015). Resolution adopted by the General Assembly on 25 September 2015, Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development (Report). สหประชาชาติ. A/RES/70/1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020. มีที่วิกิมีเดียคอมมอนส์
  7. 7.0 7.1 "SDG Indicators - Global indicator framework for the Sustainable Development Goals and targets of the 2030 Agenda for Sustainable Development". United Nations Statistics Division (UNSD). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2020.
  8. 8.0 8.1 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2018). Masson-Delmotte, V.; Zhai, P.; Pörtner, H.-O.; Roberts, D.; Skea, J.; Shukla, P.R.; Pirani, A.; Moufouma-Okia, W.; Péan, C.; Pidcock, R.; Connors, S.; Matthews, J.B.R.; Chen, Y.; Zhou, X.; Gomis, M.I.; Lonnoy, E.; Maycock, T.; Tignor, M.; Waterfield, T. (บ.ก.). Global Warming of 1.5°C (PDF) (Report). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2023. รอตีพิมพ์
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Berg, Christian (2020). Sustainable action: overcoming the barriers. Abingdon, Oxon. ISBN 978-0-429-57873-1. OCLC 1124780147.
  10. 10.0 10.1 Machingura, Fortunate; Lally, Steven (กุมภาพันธ์ 2017). The Sustainable Development Goals and their trade-offs (PDF) (Report) (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Overseas Development Institute. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2022.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Biermann, Frank; Hickmann, Thomas; Sénit, Carole-Anne; Grob, Leonie (31 กรกฎาคม 2022). "Chapter 8: The Sustainable Development Goals as a Transformative Force?: Key Insights". ใน Biermann, Frank; Hickmann, Thomas; Sénit, Carole-Anne (บ.ก.). The Political Impact of the Sustainable Development Goals (1 ed.). Cambridge University Press. pp. 204–226. doi:10.1017/9781009082945.009. ISBN 978-1-009-08294-5.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Roser, Max; Ritchie, Hannah; Mispy, Jaiden; Ortiz-Ospina, Esteban (2018). "Measuring progress towards the Sustainable Development Goals". SDG-Tracker.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2023.
  13. 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (28 เมษายน 2020). Progress towards the Sustainable Development Goals - Report of the Secretary-General (Report). E/2020/57. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020.
  14. 14.00 14.01 14.02 14.03 14.04 14.05 14.06 14.07 14.08 14.09 14.10 14.11 14.12 14.13 14.14 14.15 14.16 14.17 14.18 Biermann, Frank; Hickmann, Thomas; Sénit, Carole-Anne; Beisheim, Marianne; Bernstein, Steven; Chasek, Pamela; Grob, Leonie; Kim, Rakhyun E.; Kotzé, Louis J.; Nilsson, Måns; Ordóñez Llanos, Andrea; Okereke, Chukwumerije; Pradhan, Prajal; Raven, Rob; Sun, Yixian (20 มิถุนายน 2022). "Scientific evidence on the political impact of the Sustainable Development Goals". Nature Sustainability (ภาษาอังกฤษ). 5 (9): 795–800. doi:10.1038/s41893-022-00909-5. ISSN 2398-9629.   ข้อความคัดลอกมาจากต้นฉบับนี้ ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา 4.0 International
  15. "World leaders adopt Sustainable Development Goals". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2015.
  16. 16.0 16.1 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (11 กันยายน 2012). Resolution adopted by the General Assembly on 27 July 2012 - 66/288. The future we want (PDF) (Report). สหประชาชาติ. A/RES/66/288. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มกราคม 2018.
  17. "Decade of Action". United Nations Sustainable Development (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2022.
  18. Guterres, António. "Remarks to High-Level Political Forum on Sustainable Development". www.un.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 2022-09-27.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Llanos, Andrea Ordóñez; Raven, Rob; Bexell, Magdalena; Botchwey, Brianna; Bornemann, Basil; Censoro, Jecel; Christen, Marius; Díaz, Liliana; Hickmann, Thomas (31 กรกฎาคม 2022). "Chapter 3: Implementation at Multiple Levels". ใน Biermann, Frank; Hickmann, Thomas; Sénit, Carole-Anne (บ.ก.). The Political Impact of the Sustainable Development Goals (1 ed.). Cambridge University Press. pp. 59–91. doi:10.1017/9781009082945.004. ISBN 978-1-009-08294-5.
  20. Kim, Rakhyun E. (1 เมษายน 2023). "Augment the SDG indicator framework". Environmental Science & Policy (ภาษาอังกฤษ). 142: 62–67. doi:10.1016/j.envsci.2023.02.004. ISSN 1462-9011. S2CID 256758145.
  21. 21.00 21.01 21.02 21.03 21.04 21.05 21.06 21.07 21.08 21.09 21.10 21.11 21.12 21.13 21.14 21.15 21.16 21.17 21.18 21.19 21.20 21.21 Bartram, Jamie; Brocklehurst, Clarissa; Bradley, David; Muller, Mike; Evans, Barbara (ธันวาคม 2018). "Policy review of the means of implementation targets and indicators for the sustainable development goal for water and sanitation". NPJ Clean Water. 1 (1): 3. doi:10.1038/s41545-018-0003-0. S2CID 169226066.   ข้อความคัดลอกมาจากต้นฉบับนี้ ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา 4.0 International
  22. 22.0 22.1 22.2 "IAEG-SDGs - Tier Classification for Global SDG Indicators". สำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2020.
  23. "Leaving no one behind — SDG Indicators". สำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2019.
  24. 24.0 24.1 "IAEG-SDGs 2020 Comprehensive Review Proposals Submitted to the 51st session of the United Nations Statistical Commission for its consideration". United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Statistics Division. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2020.
  25. "SDG Indicator changes (15 October 2018 and onward) - current to 17 April 2020" (PDF). United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Statistics Division. 17 เมษายน 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2020.
  26. Winfried, Huck (2019). "Measuring Sustainable Development Goals (SDGs) with Indicators: Is Legitimacy Lacking?". ใน Iovane, Massimo; Palombino, Fulvio; Amoroso, Daniele; Zarra, Giovanni (บ.ก.). The Protection of General Interests in Contemporary International Law: A Theoretical and Empirical Inquiry. Oxford University Press. doi:10.2139/ssrn.3360935. S2CID 203377817.
  27. 27.0 27.1 "Goal 1: No poverty". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
  28. 28.00 28.01 28.02 28.03 28.04 28.05 28.06 28.07 28.08 28.09 28.10 28.11 28.12 28.13 28.14 28.15 28.16 "ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs". ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
  29. 29.00 29.01 29.02 29.03 29.04 29.05 29.06 29.07 29.08 29.09 29.10 29.11 29.12 29.13 29.14 29.15 29.16 29.17 29.18 29.19 29.20 29.21 29.22 29.23 29.24 29.25 29.26 29.27 29.28 29.29 29.30 29.31 29.32 "ชื่อเป้าหมายย่อย และตัวชี้วัด". ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
  30. Roser, Max; Ritchie, Hannah; Mispy, Jaiden; Ortiz-Ospina, Esteban (2018). "Sustainable Development Goal 1 - End poverty in all its forms everywhere". SDG-Tracker.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2023.
  31. "Goal 2: Zero hunger". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
  32. 32.0 32.1 "Goal 3: Good health and well-being". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2023.
  33. Roser, Max; Ritchie, Hannah; Mispy, Jaiden; Ortiz-Ospina, Esteban (2018). "Sustainable Development Goal 3 - Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages". SDG-Tracker.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2023.
  34. 34.0 34.1 "Goal 4: Quality Education". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2023.
  35. "Goal 5: Gender Equality". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2023.
  36. "Female genital mutilation". www.unicef.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2020. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2020.
  37. Roser, Max; Ritchie, Hannah; Mispy, Jaiden; Ortiz-Ospina, Esteban (2018). "Sustainable Development Goal 5 - Achieve gender equality and empower all women and girls". SDG-Tracker.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2020.
  38. "Goal 6: Clean Water and Sanitation". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2023.
  39. WHO; UNICEF (2017). Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene: 2017 Update and SDG Baselines (Report). Geneva: World Health Organization (WHO) and the United Nations Children's Fund (UNICEF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2023.
  40. United Nations (2018). Sustainable Development Goal. 6, Synthesis report 2018 on water and sanitation. New York: United Nations. ISBN 9789211013702. OCLC 1107804829.
  41. "Goal 7: Affordable and Clean Energy". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2023.
  42. IEA; IRENA; UNSD; WB; WHO (2019). Tracking SDG 7: The Energy Progress Report 2019 (PDF) (Report). Washington DC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 ธันวาคม 2020.
  43. Roser, Max; Ritchie, Hannah; Mispy, Jaiden; Ortiz-Ospina, Esteban (2018). "Sustainable Development Goal 7 - Ensure access to affordable, reliable, sustainable and modern energy for all". SDG-Tracker.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มีนาคม 2023.
  44. 44.0 44.1 "Goal 8: Decent work and economic growth". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2023.
  45. "Goal 9: Industry, innovation and infrastructure". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2023.
  46. "Goal 10: Reduced inequalities". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2023.
  47. United Nations (2020). Sustainable development goals report (PDF) (Report). New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 ธันวาคม 2020.
  48. Goralski, Margaret A.; Tay Keong Tan (2020). "Artificial Intelligence and Sustainable Development". The International Journal of Management Education. 18 (1). doi:10.1016/j.ijme.2019.100330. ISSN 1472-8117.
  49. 49.0 49.1 "Goal 11: Sustainable cities and communities". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2023.
  50. "Goal 12: Responsible consumption and production". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2023.
  51. 51.0 51.1 Walker, Tony R. (August 2021). "(Micro)plastics and the UN Sustainable Development Goals". Current Opinion in Green and Sustainable Chemistry. 30: 100497. doi:10.1016/j.cogsc.2021.100497.
  52. "Goal 13: Climate action". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2023.
  53. IPCC. "AR6 Synthesis Report: Climate Change 2023". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2023.
  54. "Goal 14: Life Below Water". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2023.
  55. "Ocean acidification (Issues Brief)" (PDF). IUCN (International Union for Conservation of Nature). พฤศจิกายน 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2020.
  56. "Goal 15: Life on land". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2023.
  57. "Desertification, land degradation and drought .:. Sustainable Development Knowledge Platform". sustainabledevelopment.un.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2020.
  58. "Goal 16: Peace, justice and strong institutions". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2023.
  59. "Progress for Every Child in the SDG Era" (PDF). UNICEF. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2018.
  60. 60.0 60.1 "Goal 17: Partnerships For The Goals". โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
  61. Pierce, Alan (26 พฤศจิกายน 2018). "SDG Indicators: why SDG 17 is the most important UN SDG". Sopact. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2020.
  62. "Sustainable Development Goal 17". Sustainable Development Goals. 16 พฤศจิกายน 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017.
  63. Peccia, T.; Kelej, R.; Hamdy, A.; Fahmi, A. (2017). "A reflection on Public-Private Partnerships' contribution to the attainment of Sustainable Development Goals". Scienza e Pace. VIII (1): 81–103. ISSN 2039-1749. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020.
  64. 64.0 64.1 Pierce, Alan (26 November 2018). "SDG Indicators: why SDG 17 is the most important UN SDG". Sopact. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
  65. "#Envision2030Goal17: Partnerships for the goals". United Nations Department of Economic and Social Affairs (UNDESA). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2020.
  66. 66.0 66.1 "Sustainable Development Goals 2016-2030: Easier Stated Than Achieved – JIID" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 21 สิงหาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2016.
  67. Firzli, Nicolas (5 เมษายน 2017). "6th World Pensions Forum held at the Queen's House: ESG and Asset Ownership" (PDF). Revue Analyse Financière. Revue Analyse Financière. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2017.
  68. 68.0 68.1 68.2 Firzli, Nicolas (3 เมษายน 2018). "Greening, Governance and Growth in the Age of Popular Empowerment". FT Pensions Experts. Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2018.
  69. "Gender equality and women's rights in the post-2015 agenda: A foundation for sustainable development" (PDF). Oecd.org. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2016.
  70. 70.0 70.1 70.2 UNESCO (2019). Culture | 2030 Indicators (PDF) (Report). ปารีส: องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ. ISBN 978-92-3-100355-4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020., CC-BY-ND 3.0 IGO
  71. UNESCO (2015). Global Citizenship Education: Topics and learning objectives (PDF) (Report). ISBN 978-92-3-100102-4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2018.
  72. UNESCO (2017). Education for Sustainable Development Goals: Learning Objectives (PDF). ปารีส: UNESCO. p. 7. ISBN 978-92-3-100209-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2017.
  73. "NCCP | Child Poverty". www.nccp.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2015.
  74. "Child poverty". กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2023.
  75. "2018 World Hunger and Poverty Facts and Statistics". www.worldhunger.org. Progress in reducing the number of hungry people. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2023.
  76. Balaj, M.; York, H. W.; Sripada, K.; Besnier, E.; Vonen, H. D.; Aravkin, A.; Friedman, J.; Griswold, M.; Jensen, M. R.; Mohammad, T.; Mullany, E. C.; Solhaug, So.; Sorensen, R.; Stonkute, D.; Tallaksen, A.; Whisnant, J.; Zheng, P.; Gakidou, E.; Eikemo, T. A. (14 สิงหาคม 2021). "Parental education and inequalities in child mortality: a global systematic review and meta-analysis". Lancet. 398 (10300): 608–620. doi:10.1016/S0140-6736(21)00534-1. PMC 8363948. PMID 34119000.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  77. Bank, European Investment (14 ธันวาคม 2020). The EIB Group Climate Bank Roadmap 2021-2025 (ภาษาอังกฤษ). European Investment Bank. ISBN 978-92-861-4908-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มีนาคม 2023.
  78. Bhattacharya, Amar; Ivanyna, Maksym; Oman, William; Stern, Nicholas (26 พฤษภาคม 2021). "Climate Action to Unlock the Inclusive Growth Story of the 21st Century". IMF Working Papers (ภาษาอังกฤษ). 2021 (147): 1. doi:10.5089/9781513573366.001. S2CID 242841434.
  79. "Grand Duchy of Luxembourg International Climate Finance Strategy" (PDF). The Government of the Grand Duchy of Luxembourg, Ministry of the Environment, Climate and Sustainable Development. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2023.
  80. 80.0 80.1 80.2 80.3 80.4 80.5 80.6 80.7 80.8 Kotzé, Louis J.; Kim, Rakhyun E.; Burdon, Peter; du Toit, Louise; Glass, Lisa-Maria; Kashwan, Prakash; Liverman, Diana; Montesano, Francesco S.; Rantala, Salla (2022), Sénit, Carole-Anne; Biermann, Frank; Hickmann, Thomas (บ.ก.), "Chapter 6: Planetary Integrity", The Political Impact of the Sustainable Development Goals: Transforming Governance Through Global Goals?, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 140–171, doi:10.1017/9781009082945.007, ISBN 978-1-316-51429-0
  81. Schleicher, Judith; Schaafsma, Marije; Vira, Bhaskar (2018). "Will the Sustainable Development Goals address the links between poverty and the natural environment?". Current Opinion in Environmental Sustainability. 34: 43–47. doi:10.1016/j.cosust.2018.09.004. separating human wellbeing and environmental sustainability, failing to change governance and to pay attention to trade-offs, root causes of poverty and environmental degradation, and social justice issues
  82. McCloskey, Stephen (2015). "From MDGs to SDGs: We Need a Critical Awakening to Succeed". Policy and Practice: A Development Education Review. 20: 187. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2023.
  83. "The 169 commandments". The Economist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2016.
  84. Hickel, Jason (กันยายน 2019). "The contradiction of the sustainable development goals: Growth versus ecology on a finite planet". Sustainable Development. 27 (5): 873–884. doi:10.1002/sd.1947. S2CID 159060032.
  85. "The SDGs wedding cake". www.stockholmresilience.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2022.
  86. Wackernagel, Mathis; Hanscom, Laurel; Lin, David (11 กรกฎาคม 2017). "Making the Sustainable Development Goals Consistent with Sustainability". Frontiers in Energy Research. 5: 18. doi:10.3389/fenrg.2017.00018.
  87. The University of Queensland (6 กรกฎาคม 2020). "Latest U.N. sustainability goals pose more harm than good for environment, scientists warn". phys.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2020.
  88. Zeng, Yiwen; Maxwell, Sean; Runting, Rebecca K.; Venter, Oscar; Watson, James E. M.; Carrasco, L. Roman (ตุลาคม 2020). "Environmental destruction not avoided with the Sustainable Development Goals". Nature Sustainability. 3 (10): 795–798. doi:10.1038/s41893-020-0555-0. S2CID 220260626.
  89. Reyers, Belinda; Stafford-Smith, Mark; Erb, Karl-Heinz; Scholes, Robert J; Selomane, Odirilwe (มิถุนายน 2017). "Essential Variables help to focus Sustainable Development Goals monitoring". Current Opinion in Environmental Sustainability. 26–27: 97–105. doi:10.1016/j.cosust.2017.05.003. hdl:11858/00-001M-0000-002E-1851-0.
  90. Scown, Murray W. (พฤศจิกายน 2020). "The Sustainable Development Goals need geoscience". Nature Geoscience. 13 (11): 714–715. Bibcode:2020NatGe..13..714S. doi:10.1038/s41561-020-00652-6. S2CID 225071652.
  91. Kulonen, Aino; Adler, Carolina; Bracher, Christoph; Dach, Susanne Wymann von (2019). "Spatial context matters in monitoring and reporting on Sustainable Development Goals: Reflections based on research in mountain regions". GAIA - Ecological Perspectives for Science and Society. 28 (2): 90–94. doi:10.14512/gaia.28.2.5. S2CID 197775743.
  92. Reyers, Belinda; Selig, Elizabeth R. (สิงหาคม 2020). "Global targets that reveal the social–ecological interdependencies of sustainable development". Nature Ecology & Evolution. 4 (8): 1011–1019. doi:10.1038/s41559-020-1230-6. PMID 32690904. S2CID 220656353.
  93. Sachs, J.; Schmidt-Traub, G.; Kroll, C.; Lafortune, G.; Fuller, G. (2019). Sustainable Development Report 2019 (Report). New York: Bertelsmann Stiftung และ Sustainable Development Solutions Network (SDSN). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มกราคม 2023.
  94. IISD's SDG Knowledge Hub. "SDG-Tracker.org Releases New Resources" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2019.
  95. "Eerste 'tracker' die progressie op SDG's per land volgt". www.fondsnieuws.nl (ภาษาดัตช์). 29 มิถุนายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2019.
  96. SDSN; Bertelsmann Stiftung. "SDG Index". SDG Index and Dashboards Report (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2019.
  97. 97.0 97.1 97.2 97.3 SEI; CEEW (18 พฤษภาคม 2022). "Stockholm+50: Unlocking a Better Future" (PDF). doi:10.51414/sei2022.011. S2CID 248881465. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤษภาคม 2023. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  98. 98.0 98.1 "Let's get the SDGs back on track". Stockholm Environment Institute. 1 ตุลาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2022.
  99. The Sustainable Development Goals report 2019. United Nations. 2019. ISBN 978-92-1-101403-7. OCLC 1117643666.
  100. Report of the inter-agency task force on financing for development 2019: financing for sustainable development report 2019. United Nations. 2019. ISBN 978-92-1-101404-4. OCLC 1098817400.
  101. Independent Group of Scientists 2019 (2019). The Future is Now – Science for Achieving Sustainable Development (PDF) (Report). Global Sustainable Development Report 2019. New York: United Nations. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020.
  102. "Sustainable development in the European Union". Eurostat. 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2022.
  103. 103.0 103.1 103.2 "Leaving Biodiversity, Peace and Social Inclusion behind" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Basel Institute of Commons and Economics. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2019.
  104. Forestier, Oana; Kim, Rakhyun E. (กันยายน 2020). "Cherry‐picking the Sustainable Development Goals: Goal prioritization by national governments and implications for global governance". Sustainable Development (ภาษาอังกฤษ). 28 (5): 1269–1278. doi:10.1002/sd.2082. ISSN 0968-0802. S2CID 225737527.
  105. European Investment Bank (19 ตุลาคม 2022). Finance in Africa - Navigating the financial landscape in turbulent times (ภาษาอังกฤษ). European Investment Bank. doi:10.2867/049837. ISBN 978-92-861-5382-2.
  106. United Nations; Inter-agency Task Force on Financing for Development (2021). Financing for Sustainable Development Report 2021 (PDF) (Report). New York: United Nations. ISBN 978-92-1-101442-6. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2023.
  107. United Nations. "Population growth, environmental degradation and climate change". United Nations (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2022.
  108. 108.0 108.1 Hutton, Guy (15 พฤศจิกายน 2017). "The Costs of Meeting the 2030 Sustainable Development Goal Targets on Drinking Water, Sanitation, and Hygiene" (PDF). World Bank. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017.
  109. "Developing countries face $2.5 trillion annual investment gap in key sustainable development sectors, UNCTAD report estimates | Press Release". UNCTAD. 24 มิถุนายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2019.
  110. 110.0 110.1 Dill, Alexander (2018). The SDGs are public goods - Costs, Sources and Measures of Financing for Development (PDF) (Report). Basel Institute of Commons and Economics. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020.
  111. "About the IATF". United Nations | IATF on FfD. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2019.
  112. Madsbjerg, Saadia (19 กันยายน 2017). "A New Role for Foundations in Financing the Global Goals". มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2018.
  113. Burgess, Cameron (มีนาคม 2018). "From Billions to Trillions: Mobilising the Missing Trillions to Solve the Sustainable Development Goals". Sphaera.world. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2018.
  114. Firzli, M. Nicolas J. (ตุลาคม 2016). "Beyond SDGs: Can Fiduciary Capitalism and Bolder, Better Boards Jumpstart Economic Growth?". Analyse Financiere. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2016.
  115. Firzli, Nicolas (10 กุมภาพันธ์ 2020). "G7 Pensions Roundtable: Les ODD ('SDGs') Désormais Incontournables". Cahiers du Centre des Professions Financières. CPF. SSRN 3545217.
  116. McGregor, Jena (20 สิงหาคม 2019). "Group of top CEOs says maximizing shareholder profits no longer can be the primary goal of corporations". เดอะวอชิงตันโพสต์. WP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2020.
  117. Firzli, Nicolas (7 ธันวาคม 2018). "An Examination of Pensions Trends. On Balance, How Do Things Look?". BNPSS Newsletter. BNP Paribas Securities Services. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2019.
  118. Mulholland, Eric (มกราคม 2019). Communicating Sustainable Development and the SDGs in Europe: Good practice examples from policy, academia, NGOs, and media (PDF). ESDN Quarterly Report 51. EUROPEAN SUSTAINABLE DEVELOPMENT NETWORK. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2023.
  119. "Project Everyone". Project-everyone.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 11 October 2016.
  120. Wudel, Katie (24 กันยายน 2015). "How This Great Design Is Bringing World Change to the Masses". GOOD Magazine (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017.
  121. "Global Festival of Action". globalfestivalofideas.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017.
  122. "The Aarhus Convention safeguards transparency and supports disaster risk reduction and measurement of Sustainable Development Goals". www.unece.org. 1 พฤศจิกายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2020.
  123. Mamadov, Ikrom (2018). "Youth, Aarhus and the Sustainable Development Goals" (PDF). Geneva: Youth Group on the Protection of the Environment. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 เมษายน 2023.
  124. "United Nations Secretary-General António Guterres has Appointed 17 Sustainable Development Goals Advocates". The Global Goals. 10 พฤษภาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2020.
  125. "UN Secretary-General António Guterres announces Founder and CEO of Chobani, Mr. Hamdi Ulukaya as SDG Advocate". SDG Advocates (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2022.
  126. 126.0 126.1 "OUR SHARED COMMITMENT". Global Goals Week. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2020.
  127. "Global Goals Week 2019". IISD SDG Knowledge Hub. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2020.
  128. "Arctic Film Festival". FilmFreeway (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2019.
  129. "The Arctic Film Festival - United Nations Partnerships for SDGs platform". sustainabledevelopment.un.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2019.
  130. World Commission on Environment and Development. "Our Common Future, Chapter 2: Towards Sustainable Development - A/42/427 Annex, Chapter 2 - UN Documents: Gathering a body of global agreements". www.un-documents.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2017.
  131. "Major Agreements & Conventions .:. Sustainable Development Knowledge Platform". United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2020.
  132. "Resources .:. Sustainable Development Knowledge Platform". United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2020.
  133. Caballero, Paula (29 เมษายน 2016). "A Short History of the SDGs" (PDF). Deliver 2030. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2017.
  134. "Future We Want – Outcome document .:. Sustainable Development Knowledge Platform". Sustainabledevelopment.un.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2016.
  135. "Home .:. Sustainable Development Knowledge Platform". Sustainabledevelopment.un.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2016.
  136. "United Nations Official Document". Un.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2016.