เบลชัสซาร์
เบลชัสซาร์ (อังกฤษ: Belshazzar; อักษรรูปลิ่มบาบิโลน: Bēl-šar-uṣur,[1][2] หมายถึง "เบล พิทักษ์กษัตริย์";[3] ฮีบรู: בֵּלְשַׁאצַּר Bēlšaʾṣṣar) เป็นพระราชโอรสและมกุฎราชกุมารของนาโบนีดุส (ค. 556 – 539 ปีก่อน ค.ศ.) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งจักรพรรดิบาบิโลเนียใหม่ พระองค์อาจเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 (ค. 605 – 562 ปีก่อน ค.ศ.) ผ่านพระราชมารดา แม้ว่าสิ่งนี้มีความไม่แน่นอน และการอ้างว่าเป็นเครือญาติกับเนบูคัดเนสซาร์อาจมีต้นตอมาจากการโฆษณาชวนเชื่อของเชื้อพระวงศ์
เบลชัสซาร์ | |
---|---|
มกุฎราชกุมารแห่งบาบิโลน | |
พงศาวดารนาโบนีดุส ข้อความบาบิโลนโบราณที่บันทึกเรื่องราวการครองราชย์ของพระราชบิดาของเบลชัสซาร์และบันทึกช่วงเวลาที่เบลชัสซาร์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในบาบิโลน | |
สวรรคต | 12 ตุลาคม 539 ปีก่อน ค.ศ. (?) บาบิโลน (?) |
แอกแคด | Bēl-šar-uṣur |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์แคลเดีย (สายพระราชมารดา) (?) |
พระราชบิดา | นาโบนีดุส |
พระราชมารดา | นิโตคริส (?) (พระราชธิดาในพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2) (?) |
เบลชัสซาร์มีบทบาทสำคัญในการรัฐประหารโค่นล้มพระเจ้าลาบาชี-มาร์ดุก (ค. 556 ปีก่อน ค.ศ.) และนำนาโบนีดุสขึ้นมามีอำนาจใน 556 ปีก่อน ค.ศ. เนื่องจากเบลชัสซาร์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์หลักจากการรัฐประหาร ด้วยการยึดและสืบทอดมรดกที่ดินและความมั่งคั่งของลาบาชี-มาร์ดุก จึงเป็นไปได้ว่าพระองค์เป็นหัวหน้าผู้วางแผน เบลชัสซาร์ทำให้ตัวพระองค์เป็นรัชทายาทในการขึ้นครองราชบัลลังก์ผ่านการประกาศให้พระบิดาของตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เนื่องจากนาโบนีดุสมีพระชนมพรรษาค่อนข้างมากในเวลานั้น เบลชัสซาร์จึงคาดว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ภายในไม่กี่ปี
นาโบนีดุสหายไปจากบาบิโลนใน "การเนรเทศ" ตนเองที่ตัยมาอ์ในอาระเบียเมื่อ 553 ถึง 543 หรือ 542 ปีก่อน ค.ศ. โดยไม่ทราบเหตุผล ด้วยระยะเวลาที่พระราชบิดาหายตัวไปเป็นเวลาทศวรรษ เบลชัสซาร์จึงดำรงตำแหน่งอุปราชที่บาบิโลน เบลชัสซาร์ได้รับมอบหมายให้ดูแลสิทธิพิเศษต่าง ๆ ของราชวงศ์ เช่น การมอบสิทธิพิเศษ การบัญชาการกองทัพบางส่วน และรับเครื่องบูชาและคำสาบาน แม้ว่าพระองค์ยังคงได้รับตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมาร (mār šarri, แปลว่า "โอรสกษัตริย์") ก็ตาม โดยไม่ถือตำแหน่งกษัตริย์ (šarru) เบลชัสซาร์ยังขาดสิทธิพิเศษหลายประการในการเป็นกษัตริย์ ส่วนที่สำคัญที่สุดคือพระองค์ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำรงตำแหน่งประธานและปฏิบัติหน้าที่ในเทศกาลปีใหม่บาบิโลนที่เป็นสิทธิพิเศษของกษัตริย์ ชะตากรรมของเบลชัสซาร์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าพระองค์ถูกสังหารในช่วงการรุกรานบาบิโลเนียของเปอร์เซียโดยพระเจ้าไซรัสมหาราชเมื่อ 539 ปีก่อน ค.ศ. คาดว่าเกิดขึ้นในช่วงการล่มสลายของบาบิโลนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 539 ปีก่อน ค.ศ.
เบลชัสซาร์เป็นตัวละครหลักในเรื่องราวงานเลี้ยงของเบลชัสซาร์จากหนังสือดาเนียล[4] ซึ่งนักวิชาการถือว่าเป็นผลงานนวนิยายประวัติศาสตร์[5][6][7] เบลชัสซาร์ของดาเนียลไม่ได้ชั่วร้าย (เช่น พระองค์พระราชทานรางวัลแก่ดาเนียลจากการตีความ "คำเขียนบนผนังวัง") แต่ธรรมเนียมยิวยุคหลังแสดงเบลชัสซาร์เป็นทรราชผู้กดขี่ชาวยิว[8]
ชีวประวัติ
แก้ภูมิหลัง
แก้เบลชัสซาร์เป็นพระราชโอรสในนาโบนีดุส[9] ข้าราชบริพารสูงอายุผู้กลายเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ มีทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของนาโบนีดุส และในทางกลับกันว่าพระองค์อ้างสิทธิราชบัลลังก์อย่างไร เนื่องจากไม่มีแหล่งข้อมูลร่วมสมัยใดระบุไว้ชัดเจน เป็นไปได้ว่านาโบนีดุสสมรสกับพระราชธิดาองค์หนึ่งของเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 การเชื่อมโยงนี้ไม่เพียงแค่อธิบายถึงการก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ของนาโบนีดุส (เนื่องจากเป็นสมาชิกเชื้อพระวงศ์) เท่านั้น แต่ยังอธิบายถึงธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมาที่ระบุถึงเบลชัสซาร์ว่าเป็นลูกหลานของเนบูคัดเนซซาร์อีกด้วย ในหนังสือดาเนียลจากคัมภีร์ฮีบรู เบลชัสซาร์ได้รับการเรียกขานเป็นพระราชนัดดาในเนบูคัดเนสซาร์[10] แนวทางอีกแบบที่เป็นไปได้คือธรรมเนียมในยุคหลังที่บอกว่าเบลชัสซาร์เป็นลูกหลานของเนบูคัดเนสซาร์นั้นได้มาจากการโฆษณาชวนเชื่อของราชวงศ์ และไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับราชวงศ์แคลเดียที่เคยปกครองพื้นที่นี้[1]
เฮโรโดตุส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ระบุถึง "ราชินีผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย" ของจักรวรรดิบาบิโลนเป็นนิโตคริส แม้ว่าพระนามนั้น (หรือพระนามอื่น) ไม่ได้รับการยืนยันจากข้อมูลบาบิโลนร่วมสมัย คำอธิบายเกี่ยวกับนิโตคริสของเฮโรโดตุสมีข้อมูลในตำนานมากมาย ทำให้ยากต่อการระบุว่าเขาใช้ชื่อนี้เพื่ออ้างถึงพระมเหสีหรือพระราชมารดาของนาโบนีดุส แต่ใน ค.ศ. 1982 William H. Shea เสนอว่าเบื้องต้นอาจระบุนิโตคริสเป็นพระนามพระมเหสีของนาโบนีดุสและเป็นพระนามพระราชมารดาของเบลชัสซาร์[11]
ข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดสำหรับช่วงเวลาของเบลชัสซาร์คือพงศาวดารนาโบนีดุส ทรงกระบอกไซรัส และทรงกระบอกของนาโบนีดุส—ซึ่งแม้จะมีชื่อนี้ แต่เป็นผลงานที่ได้รับการมอบหมายจากพระเจ้าไซรัสมหาราช ผู้พิชิตชาวเปอร์เซีย[12] เนื่องจากเอกสารบาบิโลนโบราณเหล่านี้ทั้งหมดเขียนขึ้นหลังบาบิโลนถูกจักรวรรดิอะคีเมนิดเข้ายิดครอง ทำให้ข้อมูลเหล่านี้มีอคติไปทางเชิดชูไซรัส และประณามนาโบนีดุสและเบลชัสซาร์[13]
การสมคบคิดและการขึ้นครองราชย์ของนาโบนีดุส
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิ่งสืบทอด
แก้การพรรณนาในหนังสือดาเนียล
แก้ในหนังสือดาเนียล เบลชัสซาร์ (ฮีบรู: בֵּלְשַׁאצַּר, Bēlšaʾṣṣar)[1] มีบทบาทสำคัญในเรื่องราวงานเลี้ยงของเบลชัสซาร์ เรื่องราวที่เปลี่ยนจากเรื่องความอัปยศของเนบูคัดเนสซาร์ที่แสดงให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้ากษัตริย์ไม่ขออภัยโทษ[14] ในงานเลี้ยง ชาวบาบิโลนกินและดิ่มจากภาชนะที่มาจากพระวิหารของพระเจ้า และ"กษัตริย์"เบลชัสซาร์ทอดพระเนตรเห็นมือเขียนคำว่า เมเน เมเน เทเคล ฟารสิน บนผนังวัง[15] ดาเนียลตีความรูปเขียนเป็นคำตัดสินจากพระยาห์เวห์ พระเจ้าของชาวอิสราเอล ทำนายถึงการล่มสลายของบาบิโลน[16] ดาเนียลกล่าวแก่เบลชัสซาร์ว่า เนื่องจากพระองค์ไม่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า อาณาจักรของพระองค์จะถูกยกให้แก่ชาวมีเดียและเปอร์เซีย[15] เบลชัสซาร์ถูกปลงพระชนม์ในคืนนั้น และดาริอัสชาวมีเดียเข้ายึดครองอาณาจักร[17]
บรรดานักวิชาการมีความความเห็นพ้องกันอย่างกว้างขวางว่าหนังสือดาเนียลถูกรวบรวมขึ้นหลังกบฏมัคคาบีในทศวรรษ 160 ก่อน ค.ศ. เพียงไม่นาน[7] เรื่องราวงานเลี้ยงเบลชัสซาร์เป็นนวนิยายประวัติศาสตร์ และรายละเอียดหลายแห่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์[5][6] เบลชัสซาร์ได้รับการพรรณาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งบาบิโลน และ"พระราชโอรส"ในเนบูคัดเนสซาร์ แม้ว่าที่จริงพระองค์เป็นพระราชโอรสในนาโบนีดุส ผู้สืบทอดองค์หนึ่งของเนบูคัดเนสซาร์ และไม่มีวันได้เป็นกษัตริย์โดยชอบธรรมโดยพระองค์เอง และไม่เคยทรงนำการเฉลิมฉลองทางศาสนาตามที่กษัตริย์จำเป็นต้องทำ[6] ในเรื่องราวนี้ ผู้พิชิตที่ได้รับบาบิโลนคือดาริอัสชาวมีเดีย แต่ในประวัติศาสตร์กลับไม่ปรากฏบุคคลดังกล่าว และผู้รุกรานที่แท้จริงคือชาวเปอร์เซีย[6] นี่เป็น "เรื่องเล่าการต่อสู้ในราชสำนัก" แบบทั่วไปที่ความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญ[18]
การพรรณนาในธรรมเนียมยิวยุคหลัง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Chavalas 2000, p. 164.
- ↑ Glassner 2004, p. 232.
- ↑ Shea 1988, p. 75.
- ↑ Collins 1984, p. 41.
- ↑ 5.0 5.1 Laughlin 1990, p. 95.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Seow 2003, pp. 4–6.
- ↑ 7.0 7.1 Collins 2002, p. 2.
- ↑ Seow 2003, p. 7.
- ↑ Briant 2002, p. 32.
- ↑ Wiseman 1991, p. 244.
- ↑ Shea 1982, pp. 137–138.
- ↑ Waters 2014, p. 43.
- ↑ Beaulieu 1989, p. 172.
- ↑ Collins 1984, p. 70.
- ↑ 15.0 15.1 Seow 2003, pp. 75.
- ↑ Collins 1984, p. 67.
- ↑ Albertz 2003, pp. 18–19.
- ↑ Collins 1984, p. 41,67.
บรรณานุกรม
แก้- Albertz, Rainer (2003). Israel in Exile: The History and Literature of the Sixth Century B.C.E. Society of Biblical Literature. ISBN 9781589830554.
- Beaulieu, Paul-Alain (1989). Reign of Nabonidus, King of Babylon (556-539 BC). Yale University Press. doi:10.2307/j.ctt2250wnt. ISBN 9780300043143. JSTOR j.ctt2250wnt. OCLC 20391775.
- Beaulieu, Paul-Alain (2006). "Berossus on Late Babylonian History". Oriental Studies (Special Issue: A Collection of Papers on Ancient Civilizations of Western Asia, Asia Minor and North Africa): 116–149.
- Briant, Pierre (2002). From Cyrus to Alexander: A History of the Persian Empire. Eisenbrauns. ISBN 9781575061207.
- Chavalas, Mark W. (2000). "Belshazzar". ใน Freedman, David Noel; Myers, Allen C. (บ.ก.). Eerdmans Dictionary of the Bible. Eerdmans. ISBN 9789053565032.
- Collins, John J. (1984). Daniel: With an Introduction to Apocalyptic Literature. Eerdmans. ISBN 9780802800206.
- Collins, John J. (2002). "Current Issues in the Study of Daniel". ใน Collins, John J.; Flint, Peter W.; VanEpps, Cameron (บ.ก.). The Book of Daniel: Composition and Reception. Vol. I. BRILL. ISBN 978-0391041271.
- Dougherty, Raymond Philip (1929). Nabonidus and Belshazzar. Wipf and Stock Publishers (2008 reprint). ISBN 9781556359569.
- Glassner, Jean-Jacques (2004). Mesopotamian Chronicles. Society of Biblical Literature. ISBN 9781589830905.
- Henze, M.H. (1999). The Madness of King Nebuchadnezzar. Eisenbrauns. ISBN 978-9004114210.
- Laughlin, John C. (1990). "Belshazzar". ใน Mills, Watson E.; Bullard, Roger Aubrey (บ.ก.). Mercer Dictionary of the Bible. Mercer University Press. ISBN 9780865543737.
- Newsom, Carol A.; Breed, Brennan W. (2014). Daniel: A Commentary. Presbyterian Publishing Corp. ISBN 9780664220808.
- Seow, C.L. (2003). Daniel. Westminster John Knox Press. ISBN 9780664256753.
- Shea, William H. (1982). "Nabonidus, Belshazzar, and the Book of Daniel: an Update". Andrews University Seminary Studies. 20 (2): 133–149.
- Shea, William H. (1988). "Bel(te)shazzar Meets Belshazzar". Andrews University Seminary Studies. 26 (1): 67–81.
- Waters, Matt (2014). Ancient Persia: A Concise History of the Achaemenid Empire, 550–330 BCE. Cambridge University Press. ISBN 9781107652729.
- Weiershäuser, Frauke; Novotny, Jamie (2020). The Royal Inscriptions of Amēl-Marduk (561–560 BC), Neriglissar (559–556 BC), and Nabonidus (555–539 BC), Kings of Babylon (PDF). Eisenbrauns. ISBN 978-1646021079.
- Wiseman, Donald J. (2003) [1991]. "Babylonia 605–539 B.C.". ใน Boardman, John; Edwards, I. E. S.; Hammond, N. G. L.; Sollberger, E.; Walker, C. B. F. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History: III Part 2: The Assyrian and Babylonian Empires and Other States of the Near East, from the Eighth to the Sixth Centuries B.C. (2nd ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-22717-8.
บทความนี้นำข้อความมาจากสิ่งพิมพ์ที่ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ: Singer, Isidore; และคณะ, บ.ก. (1901–1906). "Belshazzar". The Jewish Encyclopedia. New York: Funk & Wagnalls.