การเบนคนละทิศ

(เปลี่ยนทางจาก เบนคนละทิศ)

ในจักษุวิทยา การเบนคนละทิศ[1] (อังกฤษ: vergence) เป็นการขยับตาทั้งสองข้างพร้อมกันในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อดำรงการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา[2]

ตาทั้งสองจะเบนเพื่อเล็งไปที่วัตถุเดียวกัน

เมื่อสัตว์ที่มองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจ้องดูวัตถุ ตาทั้งสองจะต้องหมุนไปตามแกนแนวตั้ง เพื่อให้ภาพของวัตถุตกลงที่กลางจอตา เพื่อจะดูวัตถุใกล้ ๆ ตาจะต้องหมุนเข้าหากัน (convergence) เพื่อจะดูวัตถุไกล ๆ ตาจะต้องหมุนออกจากกัน (divergence) เมื่อตาเบนเข้ามาก นี่เรียกว่าตาเหล่เข้า แต่เมื่อมองวัตถุที่ไกล ๆ ตาจะเบนออกจนกระทั่งมีแนวตาขนานกัน โดยเท่ากับตรึงตาที่ระยะอนันต์ (คือไกลมาก)

การเบนตาคนละทิศ (vergence) สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการปรับตาดูใกล้ไกล (accommodation) ในสถานการณ์ปกติ การเปลี่ยนโฟกัสของตาทั้งสองเพื่อดูวัตถุที่ใกล้หรือไกล จะทำให้เกิดกระบวนการเบนตาคนละทิศและการปรับตาดูใกล้ไกลโดยอัตโนมัติ ซึ่งคู่กันบางครั้งเรียกว่า accommodation-convergence reflex เมื่อเทียบกับการขยับตาแบบ saccade ที่ไวถึง 500 องศา/วินาที การเบนตาคนละทิศช้ากว่ามากที่ประมาณ 25 องศา/วินาที โดยกล้ามเนื้อตาอาจมีใยประสาทสั่งการสำหรับการขยับตาแต่ละอย่างโดยเฉพาะ คือเป็นกลไกต่างหากสองอย่าง[ต้องการอ้างอิง]

การเบนเข้า แก้

ในจักษุวิทยา การเบนเข้า (convergence) เป็นการขยับตาทั้งสองข้างพร้อมกันเข้าหากัน ปกติเพื่อดำรงการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาเมื่อกำลังจ้องดูวัตถุ[3] การเบนเข้าเป็นกระบวนการ 1 ใน 3 อย่างที่ทำให้ตาส่งภาพไปยังจอตาได้อย่างถูกต้อง สำหรับตาแต่ละข้าง แกนสายตา (visual axis) จะอยู่ในแนวตรงกับวัตถุเป้าหมายเพื่อให้ภาพตกลงที่รอยบุ๋มจอตา[4] ซึ่งอำนวยด้วยกล้ามเนื้อตา medial rectus และควบคุมโดยเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา (CN-3) นี่เป็นการเบนตาคนละทิศอย่างหนึ่งที่กล้ามเนื้อด้านนอกทำ การเห็นภาพซ้อน (Diplopia, double vision) อาจเกิดขึ้นถ้ากล้ามเนื้อด้านนอกอ่อนแอกว่ากล้ามเนื้อตรงกันข้าม เพราะวัตถุที่ต้องการมองจะมีภาพตกลงในส่วนที่ไม่คล้องจองกันของจอตาทั้งสอง ทำให้สมองเห็นสองภาพ

ตาเบนเข้าไม่พอ (Convergence insufficiency) เป็นปัญหาสามัญเกี่ยวกับตา และเป็นตัวการหลักของความล้าตา ภาพไม่ชัด และปวดหัว[5] เป็นปัญหาซึ่งพบมากที่สุดในเด็ก

เมื่อตรวจการเบนของตาเมื่อมองใกล้ ๆ (near point of convergence test, NPC) แพทย์จะขยับวัตถุที่ให้มอง เช่นนิ้ว เข้าไปใกล้ ๆ หน้าของคนไข้จนกระทั่งเห็นว่า ตาได้ได้เบนออกหรือคนไข้เริ่มเห็นภาพซ้อน ค่าความห่างปกติจะอยู่ที่ 10 ซม. ถ้าค่ามากกว่านั้น ปกติก็จะเป็นเพราะมีภาวะตาเหล่ออกแฝงเมื่อมองใกล้ ๆ

การเบนออก แก้

 
left ตาขวาเบนออกในขณะที่ตาซ้ายอยู่แทบนิ่ง ๆ นี่เป็นตัวอย่างของการเบนออกเป็นบางส่วน (partial divergence)

ในจักษุวิทยา การเบนออก (divergence) เป็นการขยับตาออกพร้อมกัน ๆ ในทิศทางตรงกันข้ามกัน ปกติเพื่อดำรงการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาเมื่อกำลังจ้องดูวัตถุ เป็นการเบนตาคนละทิศอีกอย่างหนึ่ง

การทำงานผิดปกติ แก้

การเบนตาคนละทิศอาจทำงานผิดปกติได้หลายอย่าง รวมทั้ง[6][7]

  • ตาเหล่ออกแฝงแบบธรรมดา (exophoria)
  • ตาเบนเข้าไม่พอ (Convergence insufficiency)
  • อาการเห็นภาพเล็กลงเมื่อตาเบนเข้า (Convergence micropsia)
  • ตาเบนออกมากเกินไป (Divergence excess)
  • ตาเหล่เข้าแฝงแบบธรรมดา (esophoria)
  • ตาเบนเข้ามากเกินไป (Convergence excess)
  • ตาเบนออกไม่พอ (Divergence insufficiency)
  • Fusional vergence dysfunction
  • ตาเหล่แฝง (Heterophoria)

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "vergence", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (จักษุวิทยา) การเบน (คนละทิศ)
  2. Cassin, B (1990). Dictionary of Eye Terminology. Solomon S. Gainesville, Fl: Triad Publishing Company. ISBN 0-937404-68-3.
  3. Cassin, B; Solomon, S (1990). Dictionary of Eye Terminology. Gainesville, Florida: Triad Publishing Company.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Saladin, KS (2010a). "16 Sense Organs". Anatomy and Physiology: The Unity of Form and Function (5th ed.). New York: McGraw-Hill. pp. 621 (637). ISBN 978-0-39-099995-5.
  5. "FOR PARENTS, STUDENTS, FARSIGHTED CHILDREN: What is Convergence Insufficiency Disorder? Eyestrain with reading or close work, blurred vision, blurry eyesight, exophoria, double vision, problems with near vision or seeing up close, headaches, exophoric". Convergenceinsufficiency.org. สืบค้นเมื่อ 2012-03-05.
  6. "Optometric Clinical Practice Guideline: Care of the Patient with Accommodative and Vergence Dysfunction" (PDF). American Optometric Association. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2017-12-15.
  7. Duane A. "A new classification of the motor anomalies of the eyes based upon physiological principles, together with their symptoms, diagnosis and treatment." Ann Ophthalmol. Otolaryngol. 5:969.1869;6:94 and 247.1867.