เบญจมาศเงิน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
เผ่า: Anthemideae
สกุล: Crossostephium
Less.
ชนิดต้นแบบ
Crossostephium chinense
(A.Gray ex L.) Makino
ดอกกระจุก
ทรงพุ่ม
ภาพขยายของใบ ออกแน่นเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบมีขนสั้นมาก

เบญจมาศเงิน หรือ สกุลเบญจมาศเงิน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crossostephium; จีน: 芙蓉菊 หรือ 芙蓉菊属; พินอิน: fúróng jú หรือ fúróng jú shǔ)[1] เป็นสกุลโมโนไทป์ของพืชดอกในวงศ์ทานตะวัน[2][3] มีชนิดเดียวคือ Crossostephium chinense มีลักษณะเด่นคือใบสีเขียวอมเทาถึงสีเทาเงิน ดอกออกเป็นช่อสีเหลือง นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง

มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนเช่น เกาะไต้หวัน, กวางตุ้ง, บางส่วนของประเทศญี่ปุ่น, อินโดจีน, และฟิลิปปินส์ ได้รับการนำเข้าไปปลูกในประเทศไทย[4]

อนุกรมวิธาน แก้

ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ แอหนัง ปากหลาน ส่วนชื่อจีนคือ เล่านั่งฮวย[5] หรือเหล่าหนั่งฮวย หรือหล่าวเหรินฮฺวา (จีนกลาง)[6]

มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน นำเข้ามาปลูกในเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 และได้รับพระราชทานนามว่า “แอหนัง” ซึ่งเป็นชื่อของบุษบาขณะบวชเป็นชีในวรรณคดีเรื่องอิเหนา คนจีนมักเรียก “เล่านั่งฮวย” มีที่มาจากสีของใบที่มองดูคล้ายผมสีเทาของผู้สูงวัย[7]

ชื่ออื่นในภาษาจีนคือ 蕲艾 (ฉีไอ้), 千年艾 (ไอ้พันปี), 芙蓉 (ฝูหรง), 海芙蓉 (ฝูหรงทะเล), 白芙蓉 (ฝูหรงขาว), 玉芙蓉 (ฝูหรงหยก), 香菊 (xiāng jú) หรือ เฮียงเก็ก (แต้จิ๋ว)[6] หรือ เซียงจู๋ (จีนกลาง) (แปลว่า เบญจมาศหอม), 白香菊 (báixiāng jú; เบญจมาศขาวหอม), 白石艾 (ไอ้หินขาว), 白艾 (ไอ้ขาว), 日本海芙蓉 (ฝูหรงทะเลญี่ปุ่น)

ชื่อพ้องของ Crossostephium chinense (L.) Makino ได้แก่[8]

  • Absinthium chinense (L.) DC.
  • Artemisia chinensis L.
  • Chrysanthemum artemisioides (Less.) Kitam.
  • Crossostephium artemisioides Less.
  • Tanacetum chinense (L.) A.Gray ex Maxim.

พืชชนิดอื่นที่อาจสับสนถูกระบุว่าอยู่ใน สกุลเบญจมาศเงิน (Crossostephium) ซึ่งปัจจุบัน 2 ชนิดระบุให้อยู่ในสกุลโกฐจุฬาลัมพา (Artemisia) และ 1 ชนิดในสกุล Lepidolopsis ได้แก่

  • เซจบรัชแคลิฟอร์เนีย (Artemisia californica) ในชื่อพ้อง: Crossostephium californicum (Less.) Rydb. และ Crossostephium foliosum Rydb.
  • เสจบรัชเกาะ (Artemisia nesiotica P.H.Raven) ในชื่อพ้อง: Crossostephium insulare Rydb.
  • Lepidolopsis turkestanica Regel & Schmalh. ในชื่อพ้อง: Poljakov turkestanicum Regel & Schmalh.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

เป็นไม้พุ่มคลุมดิน[5] หลายปี ลำต้นตั้งตรงหรือเอนทอดเลื้อยได้ สูง 10−40 เซนติเมตร แตกกิ่งแขนงมาก

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปช้อน รูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับถึงรูปรี ยาว 2−4 กว้าง 0.4−0.5 เซนติเมตร เนื้อใบอวบหนา ใบมีสีเขียวอมเทาถึงสีเทาเงิน เหมือนหิมะเกาะ แตกใบมากในส่วนยอดกิ่ง ใบเล็กเรียงกันเป็นพุ่มรวมกันที่ปลายกิ่ง มีขนสั้นนุ่มสีขาวปกคลุมหนาแน่นทั่วใบ เมื่อขยี้ใบมีกลิ่นหอม[7][5] ใบแก่มักเว้าเป็น 3 แฉก ใบมีลักษณะไม่ค่อยแน่นอน[9]

ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกเป็นช่อกระจุก ดอกย่อยกลมสีเหลือง ออกที่ปลายยอดหรือตามง่ามใบปลายกิ่ง ค่อนข้างเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 มิลลิเมตร มักออกดอกในช่วงที่มีอากาศเย็น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว[7]

ผล เปลือกบางแห้ง มี 5 สัน[10]

การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่ แก้

มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บางส่วนของประเทศญี่ปุ่น, อินโดจีน, และฟิลิปปินส์[8] ได้รับการนำเข้าไปปลูกในประเทศไทย[4] และประเทศมอริเชียส[8] ในประเทศจีนพบพืชแถวบนโขดหินปะการัง ในมณฑลฝูเจี้ยน กวางตุ้ง ไต้หวัน ยูนนาน เจ้อเจียง[1]

ในธรรมชาติเป็นพืชหายากและอาจถูกคุกคาม[1] แต่มักได้รับการเพาะปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับและเป็นยา

การใช้ประโยชน์ แก้

พืชทั้งต้นใช้เป็นยารักษาอาการชักในวัยแรกเกิด[1]

ใช้ตกแต่งสวนเป็นบอนไซ นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง ไม้ประดับแปลง เป็นพืชที่ชอบดินร่วน ที่มีการระบายน้ำที่ดี มีปัญหาด้านเชื้อราเข้าทำลายทำให้ใบนั้นร่วงง่าย จึงไม่ควรตัดแต่งต้นต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของทรงพุ่ม[7]

อ้างอิง แก้

  • 昆明植物研究所. "芙蓉菊". 《中国高等植物数据库全库》. 中国科学院微生物研究所. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Crossostephium chinensis in Flora of China @ efloras.org". www.efloras.org.
  2. Lessing, Christian Friedrich. 1831. Linnaea 6: 220-221.
  3. Tropicos, Crossostephium Less.
  4. 4.0 4.1 "Crossostephium chinense (L.) Makino | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  5. 5.0 5.1 5.2 "ต้นเบญจมาศเงิน".
  6. 6.0 6.1 ไทยเกษตรศาสตร์. "ข้อมูลของแอหนัง".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "ต้นเบญจมาศเงิน หรือ แอหนัง ไม้แห่งความรุ่งเรือง โชคลาภ". ต้นเบญจมาศเงิน หรือ แอหนัง ไม้แห่งความรุ่งเรือง โชคลาภ.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Crossostephium chinense (L.) Makino | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  9. Suwit. "มหัศจรรย์แห่งสมุนไพรไทย: แอหนัง". มหัศจรรย์แห่งสมุนไพรไทย.
  10. "แอหนัง". บ้านและสวน (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]