เนสลีชาห์ ซุลตาน

ฟัตมา เนสลีชาห์ ซุลตาน (ตุรกีออตโตมัน: فاطمه نسل شاہ سلطان‎; 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 – 2 เมษายน พ.ศ. 2555) เป็นเจ้าหญิงออตโตมัน เป็นพระธิดาของเชห์ซาเด เออเมร์ ฟารุก กับซาบีฮา ซุลตาน ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเป็นพระราชนัดดาของเคาะลีฟะฮ์อับดุลเมจิดที่ 2 กับเชห์ซูวาร์ ฮานึม พระมเหสีองค์แรก และเป็นพระราชนัดดาของสุลต่านเมห์เมดที่ 6 กับนาซีเคดา คาดึน พระมเหสีองค์แรก

เนสลีชาห์ ซุลตาน
เจ้าหญิงแห่งออตโตมัน
เจ้าหญิงแห่งอียิปต์
ประสูติ4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464
คอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิออตโตมัน
สิ้นพระชนม์2 เมษายน พ.ศ. 2555 (91 ปี)
อิสตันบูล ประเทศตุรกี
พระสวามีมุฮัมมัด อับดุล อัลมุนาอิม
พระบุตรเจ้าชายอับบาส ฮิลมี
เจ้าหญิงอิกบาล
ราชวงศ์ออตโตมัน
พระบิดาเชห์ซาเด เออเมร์ ฟารุก
พระมารดาซาบีฮา ซุลตาน
ศาสนาอิสลาม

หลังราชวงศ์ออตโตมันล่มสลาย เนสลีชาห์เสด็จลี้ภัยออกจากแผ่นดินแม่ขณะมีพระชันษาเพียงสามปี เจริญพระชันษาที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส

พระประวัติ แก้

เจ้าหญิงเนสลีชาห์เป็นพระธิดาพระองค์แรกจากทั้งหมดสามพระองค์ของเชห์ซาเด เออเมร์ ฟารุก (Șehzade Ömer Faruk) กับซาบีฮา ซุลตาน (Sabiha Sultan) พระชนกและพระชนนีต่างเป็นชนชั้นเจ้า พระชนกเป็นพระราชโอรสในเคาะลีฟะฮ์อับดุลเมจิดที่ 2 ส่วนพระชนนีเป็นพระราชธิดาในสุลต่านเมห์เมดที่ 6 หลังการล่มสลายของราชวงศ์ออตโตมันเนสลีชาห์เสด็จลี้ภัยออกจากแผ่นดินแม่ขณะมีพระชันษาเพียงสามปี เจริญพระชันษาที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส

เสกสมรส แก้

พ.ศ. 2483 เนสลีชาห์เสกสมรสกับมุฮัมมัด อับดุล อัลมุนาอิม พระราชโอรสในเคดิฟอับบาส ฮิลมีที่ 2 ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งอียิปต์ อีกตำแหน่งหนึ่ง[1][2] แต่สองปีก่อน มุฮัมมัดเคยขอพระราชานุญาตและใช้พระราชทรัพย์จำนวน 50,000,000 ดอลลาร์สหรัฐจากพระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์เพื่อสู่ขอเจ้าหญิงมือเซเยน (2452–2512) พระขนิษฐาของพระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย[3] แต่ไม่สำเร็จ จึงเสกสมรสกับเจ้าหญิงเนสลีชาห์แทน

หลังเกิดการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2495 มุฮัมมัดพระภัสดาถูกเลือกเป็นประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่มีอยู่สามคน ต่อมากลุ่มผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สามคนถูกยุบเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2495 มุฮัมมัดจึงกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองคืเพียงพระองค์เดียว[4] ส่วนเนสลีชาห์ในฐานะพระชายาของเจ้าชายผู้สำเร็จราชการได้กลายเป็นพระราชินีโดยพฤตินัย ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเสด็จพระกอบพระกรณียกิจเกี่ยวกับงานการกุศลของพระสวามี และทรงร่วมเข้าแข่งขันกีฬาโปโลและเทนนิสระดับนานาชาติ[5]

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แก้

หลังการดำรงตำแหน่งในการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของเจ้าชายมูฮัมหมัด ท้ายที่สุดอียิปต์ก็ทำการปฏิวัติยกเลิกระบอบสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ต่อมาในปี ค.ศ. 1957 พระสวามีและพระองค์ถูกจับกุมด้วยข้อหาวางแผนต่อต้านนายพลกาเมล อับเดล นัสซอร์[6] ในเวลาต่อมาทั้งสองได้ถูกเนรเทศอีกครั้งซึ่งครั้งนี้เจ้าหญิงฟัตมาทรงพำนักในยุโรประยะหนึ่ง ก่อนที่จะเสด็จนิราศไปประทับในนครอิสตันบูล ประเทศตุรกี[7] จนท้ายที่สุดเจ้าชายโมฮัมหมัดได้สิ้นพระชนม์ลงที่นั้นในปี ค.ศ. 1979

เจ้าหญิงฟัตมา เนสลีชาห์ ทรงใช้ชีวิตบั้นปลายพระชนม์พำนักอยู่ในนครอิสตันบูลร่วมกับพระธิดาที่ไม่เสกสมรสคือ เจ้าหญิงอิกบาล[5] และเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงองค์สุดท้ายของราชวงศ์ออตโตมัน[8]

สิ้นพระชนม์ แก้

เจ้าหญิงฟัตมา เนสลีชาห์ เจ้าหญิงองค์สุดท้ายของราชวงศ์ออตโตมัน สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2012 ด้วยพระอาการพระหทัยพิการ สิริพระชนมายุได้ 91 พรรษา[9][10] และมีพิธีฝังพระศพในวันอังคารที่ 3 เมษายนปีเดียวกัน ณ นครอิสตันบูล อดีตราชธานีของจักรวรรดิออตโตมัน[11]

อ้างอิง แก้

  1. Montgomery-Massingberd 1980, p. 35
  2. Montgomery-Massingberd 1980, p. 247
  3. "TO WED KING ZOG'S SISTER; Prince Abdul Moneim Receives Egyptian Ruler's Permission". The New York Times. 12 July 1938.
  4. Rizk, Yunan Labib (27 January – 2 February 2005). "Royal help". Al-Ahram Weekly (727). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
  5. 5.0 5.1 Raafat, Samir (March 2005). "Egypt's First Ladies". Egy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  6. http://news.google.com/archivesearch?q=It+said+a+relative+of+former+King+Farouk%2C+Prince+Abdel+Moneim%2C+and+his+socialite+wife%2C+Nazli+Shaa%2C+had+been+arrested+in+connection+with+the+plot.&btnG=Search&um=1&ned=uk&hl=en&scoring=a
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-27. สืบค้นเมื่อ 2009-10-27.
  8. http://www.ottomanfamily.com/index.php?page=4
  9. "Death of HIH The Princess Fatma Neslişah" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Possenhofen. 5 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "Eldest member of Ottoman dynasty, Neslişah Sultan, dies" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Today's Zaman. 2 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-04. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "Neslisah Sultan, Last Ottoman Dynasty Member, Dies at 91" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). The Inquisitr. 4 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้