เนชันนัลลีกนอร์ท

เนชันนัลลีกนอร์ท (อังกฤษ: National League North) หรือในอดีตคือ คอนเฟอเรนซ์นอร์ท (อังกฤษ: Conference North) คือลีกฟุตบอลระดับกึ่งอาชีพในอังกฤษที่อยู่ลำดับรองลงมาจากเนชันนัลลีก โดยแข่งขันควบคู่กับ เนชันนัลลีกเซาท์ และถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 6 ของระบบฟุตบอลลีกอังกฤษ

เนชันนัลลีกนอร์ท
ก่อตั้ง2004
ประเทศ อังกฤษ
จำนวนทีม22
ระดับในพีระมิด6
สเต็ป 2 (ระบบเนชันนัลลีก)
เลื่อนชั้นสู่เนชันนัลลีก
ตกชั้นสู่นอร์ทเทิร์น พรีเมียร์ลีก พรีเมียร์ ดิวิชัน
เซาท์เทิร์น ฟุตบอลลีก พรีเมียร์ ดิวิชัน
ถ้วยระดับประเทศเอฟเอคัพ
เอฟเอ โทรฟี
ทีมชนะเลิศปัจจุบันยุติการแข่งขันเนื่องจากการระบาดของโควิด 19
(2022–23)
เว็บไซต์National League
ปัจจุบัน: 2023–24

ในอดีตคอนเฟอเรนซ์นอร์ท เป็นการจัดการแข่งขันระหว่างสโมสรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของอังกฤษ ซัฟฟอล์ก มิดแลนด์ และภาคเหนือของเวลส์ โดยตั้งแต่ฤดูกาล 2015–16 ได้เปลี่ยนชื่อลีกเป็นเนชันนัลลีก นอร์ท[1]และมีผู้สนับสนุนหลักคือบริษัทแวนอะรามา[1]

ประวัติ แก้

ลีกคอนเฟอเรนซ์นอร์ท ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2004 จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลในระดับที่ต่ำกว่าฟุตบอลลีกในอังกฤษ[2] สโมสรที่ได้แชมป์จะเลื่อนชั้นสู่เนชันนัลลีกโดยอัตโนมัติ ส่วนสโมสรที่ได้รองแชมป์จนถึงอันดับที่ 5 จะต้องไปแข่งขันในรอบเพลย์ออฟ ผู้ชนะในรอบเพลย์ออฟจะได้เลื่อนชั้นสู่เนชันนัลลีกอีก 1 ทีม

ส่วนสโมสรที่ได้ลำดับที่ 20–22 จะตกชั้นลงสู่ลีกสมัครเล่นอย่าง นอร์ทเทิร์น พรีเมียร์ลีก และ เซาท์เทิร์น ฟุตบอลลีก สำหรับการแข่งขันชิงถ้วยเอฟเอคัพสโมสรในเนชันนัลลีก นอร์ท จะต้องแข่งขันตั้งแต่รอบคัดเลือก รอบที่ 2

ในฤดูกาล 2017–18 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการแข่งขันเพลย์ออฟเพื่อหาทีมที่จะได้เลื่อนชั้น จากเดิมทีมที่จะได้แข่งเพลย์ออฟคือทีมที่ได้อันดับ 2 ถึงอันดับ 5 เปลี่ยนเป็นทีมที่ได้อันดับ 2 และ อันดับ 3 จะได้เข้าไปแข่งในรอบ 4 ทีมสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ส่วนทีมที่ได้อันดับ 4 ถึงอันดับ 7 จะต้องแข่งขันกันเองเพื่อหา 2 ทีม เข้าไปแข่งในรอบ 4 ทีมสุดท้าย

สโมสรในฤดูกาล 2018–19 แก้

สโมสรที่แข่งขันในเนชันนัลลีกนอร์ท ในฤดูกาล 2018–19 ตามที่ปรากฏด้านล่าง:

 
สโมสรที่อยู่ในเขตพื้นที่สีแดงคือสโมสรที่ต้องเล่นในเนชันนัลลีกนอร์ท นอกจากนี้สโมสรที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สีม่วง ซึ่งเป็นเส้นกั้นอาณาเขตกับเนชันนัลลีกเซาท์ ก็สามารถเข้ามาแข่งในเนชันนัลลีกนอร์ทได้เช่นกัน
สโมสร
อันดับฤดูกาลที่แล้ว (2017–18)
อัลเฟรตัน ทาวน์ อันดับที่ 17
อัลทริงแอม แชมป์
นอร์เทิร์นพรีเมียร์ลีก
พรีเมียร์ดิวิชั่น
แอชตัน ยูไนเต็ด รองแชมป์
นอร์เทิร์นพรีเมียร์ลีก
พรีเมียร์ดิวิชั่น
(ชนะเพลย์ออฟ)
ไบลธ์ สปาตันส์ อันดับที่ 10
บอสตัน ยูไนเต็ด อันดับที่ 9
แบรคลีย์ ทาวน์ อันดับที่ 3
แบรดฟอร์ด (พาร์ก อเวนิว) อันดับที่ 7
เชสเตอร์ อันดับที่ 23
(ตกชั้นจากเนชันนัลลีก)
ชอร์ลีย์ อันดับที่ 6
เฮรีฟอร์ด แชมป์
เซาเทิร์น ฟุตบอลลีก
เคอร์ซัน แอชตัน อันดับที่ 18
ดาร์ลิงตัน อันดับที่ 12
ยูไนเต็ด ออฟ แมนเชสเตอร์ อันดับที่ 16
ไกส์ลีย์ อันดับที่ 24
(ตกชั้นจากเนชันนัลลีก)
คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส อันดับที่ 4
ลีมิงตัน อันดับที่ 19
นูเนียตัน ทาวน์ อันดับที่ 13
เซาท์พอร์ต อันดับที่ 15
สเพนนีมัวร์ ทาวน์ อันดับที่ 8
สตอคพอร์ต เคาน์ตี อันดับที่ 5
เทลฟอร์ด ยูไนเต็ด อันดับที่ 14
ยอร์ค ซิตี อันดับที่ 11

สโมสรที่คว้าแชมป์ แก้

 
ถ้วยแชมป์คอนเฟอเรนซ์นอร์ท ที่ถูกมอบให้กับสโมสรเซาท์พอร์ท ฤดูกาล 2009–10
ฤดูกาล แชมป์ ผู้ชนะเพลย์ออฟ
2004–05 เซาท์พอร์ท อัลทริงแฮม
2005–06 นอร์วิช วิกตอเรีย สแตฟฟอร์ด เรนเจอส์
2006–07 ดรอยสเดน ฟาร์สลีย์ เซลติก
2007–08 เคทเทอริง ทาวน์ บาร์โรว
2008–09 แทมเวิร์ท เกทส์เฮด
2009–10 เซาท์พอร์ท (2) ฟลีตวุด ทาวน์
2010–11 อัลเฟรตัน ทาวน์ เทลฟอร์ด ยูไนเต็ด
2011–12 ไฮด์ นูเนียตัน ทาวน์
2012–13 เชสเตอร์ ฮาลิแฟ็กซ์ ทาวน์
2013–14 เทลฟอร์ด ยูไนเต็ด อัลทริงแฮม
2014–15 บาร์โรว ไกส์ลีย์
2015–16 โซลิฮัลล์ มัวส์ นอร์ท เฟอร์ริบี้ ยูไนเต็ด
2016–17 เอเอฟซี ไฟลด์ ฮาลิแฟกซ์ ทาวน์
2017–18 ซอลฟอร์ด ซิตี แฮร์โรเกต ทาวน์
2018–19 สต็อกพอร์ต เคาน์ตี ชอร์ลีย์

ที่ตั้งของสนามในฤดูกาล 2018–19 แก้

 
 
มณฑลเกรเทอร์แมนเชสเตอร์
 
เชสเตอร์
 
ไกส์ลีย์
 
สเพนนีมัวร์
 
ไบลท์ สปาตันส์
 
ยอร์ค ซิตี
 
เซาท์พอร์ต
 
ลีมิงตัน
 
เทลฟอร์ด
 
อัลเฟรตัน ทาวน์
 
บอสตัน ยูไนเต็ด
 
แบรคลีย์ ทาวน์
 
แบรดฟอร์ดฯ
 
ชอร์ลีย์
 
ดาร์ลิงตัน
 
เฮรีฟอร์ด
 
นูเนียตัน ทาวน์
 
คิดเดอร์มินสเตอร์ฯ
ที่ตั้งของสโมสรในเนชันนัลลีกนอร์ท ฤดูกาล 2018–19 (สำหรับสโมสรที่ตั้งอยู่ในมณฑลเกรเทอร์แมนเชสเตอร์ให้ดูแผนที่ขยาย)
 
 
เคอร์ซัน แอชตัน
 
สต็อกพอร์ต เคาน์ตี
 
แอชตัน ยูไนเต็ด
 
อัลทริงแอม
สโมสรที่ตั้งอยู่ในเกรเทอร์แมนเชสเตอร์ ในเนชันนัลลีกนอร์ท ฤดูกาล 2018–19
สโมสร ชื่อสนาม ที่ตั้ง ความจุ
อัลเฟรตัน ทาวน์ อิมแพคต์ อารีน่า อัลเฟรตัน, ดาร์บิเชียร์ 3,600
อัลทริงแอม เจ.เดวิดสัน สเตเดียม อัลทริงแอม, เกรเทอร์แมนเชสเตอร์ 6,085
แอชตัน ยูไนเต็ด เฮิร์ส ครอส แอชตัน อันเดอร์ ไลน์, เกรเทอร์แมนเชสเตอร์ 4,500
ไบลธ์ สปาตันส์ ครอฟต์ พาร์ก ไบลธ์, นอร์ททัมเบอร์แลนด์ 4,435
บอสตัน ยูไนเต็ด เดอะ เจคแมนส์ สเตเดียม บอสตัน, ลิงคอล์นเชอร์ 6,643
แบรคลีย์ ทาวน์ เซนต์ เจมส์ พาร์ก แบรคลีย์, นอร์แทมป์ตันเชอร์ 3,500
แบรดฟอร์ด พาร์ก อเวนิว ฮอร์สฟอล สเตเดียม แบรดฟอร์ด, เวสต์ยอร์กเชอร์ 3,500
เชสเตอร์ สวอนส์เวย์ เชสเตอร์ สเตเดียม เชสเตอร์, เชสเชียร์ 5,376
ชอร์ลีย์ วิกตอเรีย พาร์ก ชอร์ลีย์, แลงคาเชอร์ 4,100
เฮรีฟอร์ด เอ็ดการ์ สตรีท เฮรีฟอร์ด, เฮรีฟอร์ดเชียร์ 4,913
เคอร์ซัน แอชตัน เทมไซด์ สเตเดียม เทมไซด์, เกรเทอร์แมนเชสเตอร์ 4,000
ดาร์ลิงตัน แบล็คเวลล์ มีโดว์ ดาร์ลิงตัน, เดอรัม 3,000
ยูไนเต็ด ออฟ แมนเชสเตอร์ บรอดเฮิร์สต์พาร์ก แมนเชสเตอร์, เกรเทอแมนเชสเตอร์ 4,400
ไกส์ลีย์ เนเธอร์มัวร์พาร์ก ไกส์ลีย์, เวสต์ยอร์กเชียร์ 4,000
คิดเดอร์มินสเตอร์ แฮริเออร์ส แอกก์โบโร คิดเดอร์มินสเตอร์, วุร์สเตอร์เชอร์ 6,444
ลีมิงตัน นิว วินด์มิลล์ กราวนด์ รอยัล ลีมิงตัน สปา, วาริคเชียร์ 2,300
นูเนียตัน ทาวน์ คูมบี อับบี อารีนา นูเนียตัน, วาริคเชียร์ 4,500
เซาท์พอร์ต เมอร์ซีย์เรล คอมมิวนิตี สเตเดียม เซาท์พอร์ต,เมอร์ซีย์ไซด์ 6,008
สเพนนีมัวร์ ทาวน์ เดอะ เบรเวรี ฟีลด์ สเพนนีมัวร์,เคาน์ตี เดอแรม 3,000
สต็อคพอร์ต เคาน์ตี เอ็ดเจลี พาร์ก สต็อคพอร์ต, เกรเทอแมนเชสเตอร์ 10,841
เทลฟอร์ด ยูไนเต็ด นิว บัคส์ เฮด เทลฟอร์ด,ชรอปเชอร์,เวสต์มิดแลนส์ 6,300
ยอร์ค ซิตี บู้ทแฮม เครสเซนต์ ยอร์ค,นอร์ท ยอร์คเชียร์ 8,256

สถิติของลีก แก้

สถิติทีมเหย้าชนะสูงสุด ฟลีตวูด ทาวน์ 8–0 เรดดิช ยูไนเต็ด, 14 พฤศจิกายน 2009,[3] และ อัลทริงแฮม 8–0 ฮิงค์ลีย์ ยูไนเต็ด, 17 พฤศจิกายน 2012[4]
สถิติทีมเยือนชนะสูงสุด เรดดิช ยูไนเต็ด 0–9 บอสตัน ยูไนเต็ด, 21 สิงหาคม 2010[5]
มีประตูเกิดขึ้นมากที่สุด สตาลีย์บริดจ์ เซลติก 3–7 ไฮด์, 1 มกราคม 2007 และ เฟลด์ 6–4 กลอสเตอร์ ซิตี, 25 เมษายน 2015
มีคะแนนมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล เชสเตอร์ – 107 คะแนน, ฤดูกาล 2012–13
ชนะมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล เชสเตอร์ – 34 นัด, ฤดูกาล 2012–13
แพ้น้อยที่สุดในหนึ่งฤดูกาล เชสเตอร์ – 3 นัด, ฤดูกาล 2012–13
ยิงประตูเยอะที่สุดในหนึ่งฤดูกาล เชสเตอร์ – 103 ประตู, ฤดูกาล 2012–13
มีผลต่างประตูได้เสียเยอะที่สุด เชสเตอร์ – +71, ฤดูกาล 2012–13
คว้าแชมป์มากที่สุด 2 – เซาท์พอร์ต
ชนะติดต่อกันมากที่สุด 15 นัด (21 กุมภาพันธ์ 2006 ถึง 22 เมษายน 2006) – นอร์ทวิช วิกตอเรีย
ไม่เสียประตูนานที่สุด 10 นัด (30 สิงหาคม 2010 ถึง 09 พฤศจิกายน 2010) – บอสตัน ยูไนเต็ด
ไม่แพ้นานที่สุด 30 นัด (15 กันยายน 2012 ถึง 06 เมษายน 2013) – เชสเตอร์

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "BBC Sport - Football Conference to be renamed as National League". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 11 May 2015.
  2. "Football Conference – History". Football Conference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-16. สืบค้นเมื่อ 26 October 2012.
  3. "Fleetwood Town 8–0 Redditch Utd". BBC Sport. 14 November 2009. สืบค้นเมื่อ 26 October 2012.
  4. "ALTRINCHAM VS. HINCKLEY UNITED 8 – 0". Soccerway. 17 November 2012. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  5. "Redditch United 0–9 Boston United". BBC Sport. 21 August 2010. สืบค้นเมื่อ 26 October 2012.