ทาแลส

(เปลี่ยนทางจาก เธลีส)

ทาแลสแห่งมีแลโตส (กรีก: Θαλής ὁ Μιλήσιος, Thalês ho Mīlḗsios Thales of Miletus/ Tales de Mileto) ประมาณ 626/623–548/545 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นนักปรัชญาของชาวกรีกโบราณ ได้รับการยกย่องจากอริสโตเติล ว่า ทาแลสเป็นนักปรัชญาคนแรกที่บันทึกความคิดไว้เป็นหลักฐาน และได้รับเกียรติให้เป็นบิดาของวิชาปรัชญาตะวันตก เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์กล่าวว่า "วิชาปรัชญาเริ่มต้นจากเธลิส"[1]

ทาแลสแห่งมีแลโตส (Θαλής ο Μιλήσιος)
เกิดc. 626/623 BC
เสียชีวิตc. 548/545 BC (อายุประมาณ 78 ปี)
ยุคปรัชญาก่อนโสกราตีส
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักปรัชญาไอโอเนียน, โรงเรียนไมเลเซียน, ธรรมชาตินิยม
ความสนใจหลัก
จริยศาสตร์, อภิปรัชญา, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์
แนวคิดเด่น
น้ำคือสสารแรกสุด, ทฤษฎีบทของทาแลส

ประวัติ

แก้

ทาแลสเป็นนักปรัชญาชาวกรีก เป็นนักวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ทาแลสเป็นชาวเมืองมีแลโตส (Μῑ́λητος) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของตุรกีในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีผลงานของทาแลสที่เป็นข้อเขียนไม่หลงเหลือเป็นหลักฐานเลย แต่จากหลักฐานที่กล่าวอ้างถึงทาแลสโดยนักคณิตศาสตร์ผู้อื่นพบว่า ทาแลสได้เขียนตำราเกี่ยวกับการหาทิศและการเดินเรือ

ช่วงอายุของเขามีพื้นฐานคร่าว ๆ จากเหตุการณ์ที่ทราบวันที่จากแหล่งที่มาแน่นอนไม่กี่เหตุการณ์และจากการประมาณ เฮโรโดตุสอ้างว่าทาแลสได้ทำนายสุริยุปราคา ซึ่งเราสามารถระบุวันที่จากวิธีสมัยใหม่ได้ว่าเป็นวันที่ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อน ค.ศ. แต่ทาแลสเองกล่าวว่าเขาได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุริยุปราคาจากนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์

ความสำคัญ

แก้
 
การคำนวณความสูงของพีระมิด

ทาแลสเป็นคนแรกที่คำนวณหาความสูงของพีระมิดในอียิปต์โดยใช้เงา เขาได้ทำนายว่าจะเกิดสุริยคราสล่วงหน้าซึ่งได้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 42 ปี รู้จักพิสูจน์ทฤษฎีบททางเรขาคณิต เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางจะแบ่งครึ่งวงกลม มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน และมุมในครึ่งวงกลมเป็นมุมฉาก เป็นต้น

ทฤษฎี

แก้

ธรรมชาติที่เป็นหลักการแห่งการสร้างมวลสาร

แก้

ฉายาที่เป็นธรรมชาติที่สุดของทาแลสคือ " วัตถุนิยม " และ " นักธรรมชาตินิยม " ซึ่งมีพื้นฐานมาจากอูเซียและฟิสิกส์ สารานุกรมคาทอลิก ตั้ง ข้อสังเกตว่าอริสโตเติลเรียกเขาว่านักสรีรวิทยาโดยมีความหมายว่า "นักศึกษาแห่งธรรมชาติ" [2] ในทางกลับกัน เขาจะมีคุณสมบัติเป็นนักฟิสิกส์ ยุคแรก เช่นเดียวกับอริสโตเติล พวกเขาศึกษา corpora, "bodies" ซึ่งเป็นลูกหลานของสารในยุคกลาง

น้ำในฐานะเป็นหลักการข้อแรก

แก้

ความเชื่อของทาแลสที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ โลกเริ่มต้นจากน้ำ ซึ่งอริสโตเติลให้ความเชื่อเทียบเท่ากับความเชื่อของแอแนกซิมินีสที่เชื่อว่า โลกก่อกำเนิดจากอากาศ การอธิบายถึงมุมมองของทาแลสในเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือผ่านทาง อภิปรัชญาของอริสโตเติล[3] จากทฤษฏี สาระและรูปแบบ ที่ว่า "รูปแบบใดที่ทุกอย่างปรากฏอยู่และรูปแบบใดที่เกิดขึ้นก่อนก็จะเข้าไปอยู่ในนั้น เป็นส่วนหนึ่งในนั้น แต่เปลี่ยนแปลงในด้านคุณสมบัติ เหมือนกับที่กล่าวกันว่า ธาตุและองค์ประกอบหลักของวัตถุใดก็เป็นอย่างนั้น" และอีกครั้งหนึ่ง "เพื่อความจำเป็นตามธรรมชาติของมัน อะไรอย่างหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง จากอะไรที่มาเป็นอย่างอื่นและอยู่ในนั้น ... ทาแลส นั่นเองที่เป็นผู้ซึ่งพบปรัชญาที่ว่า มันคือน้ำ"

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Russell, Bertrand. "The History of Western Philosophy." 1945
  2. Turner, Catholic Encyclopedia.
  3. 983 b6 8-11
  • Burnet, John (1957) [1892]. Early Greek Philosophy. The Meridian Library. (reprinted from the 4th edition, 1930; the first edition was published in 1892). An online presentation of the Third Edition เก็บถาวร 2015-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน can be found in the Online Books Library of the University of Pennsylvania.
  • Diogenes Laertius, "Thales", in The Lives And Opinions Of Eminent Philosophers เก็บถาวร 2007-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, C. D. Yonge (translator), Kessinger Publishing, LLC (June 8, 2006) ISBN 1-4286-2585-2.
  • Herodotus; Histories, A. D. Godley (translator), Cambridge: Harvard University Press, 1920; ISBN 0-674-99133-8. Online version at the Perseus Digital Library.
  • Kirk, G.S. (1957). The Presocratic Philosophers. Cambridge: University Press. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) (subsequently reprinted)
  • G. E. R. Lloyd. Early Greek Science: Thales to Aristotle.
  • Nahm, Milton C. (1962) [1934]. Selections from Early Greek Philosophy. Appleton-Century-Crofts, Inc.
  • Pliny the Elder; The Natural History (eds. John Bostock, M.D., F.R.S. H.T. Riley, Esq., B.A.) London. Taylor and Francis, Red Lion Court, Fleet Street. (1855). Online version at the Perseus Digital Library.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้