เทียนชานในซินเจียง

ประกอบด้วยพื้นที่ 4 พื้นที่ ได้แก่ โทมูร์ คาลาจุน-เควอร์เตอหนิง ปาอินปูคูเคอ และปกตา (Tomur, Kalajun-Kuerdening, Bayinbukuke and Bogda) รวมพื้นที่ 606,833 เฮกแตร์ (6,068.33 ตร.กม. หรือ 3,792,706 ไร่) พื้นที่เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูเขาเทียนชานแห่งเอเชียกลาง ซึ่งเป็นหนึ่งในเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซินเจียงเทียนชานมีรูปลักษณะภูมิประเทศทางกายภาพที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และมีพื้นที่ที่มีทิวทัศน์งดงาม ได้แก่หิมะและภูเขาหิมะที่มียอดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ป่าและทุ่งหญ้าที่บริสุทธิ์ แม่น้ำและทะเลสาบที่ใสสะอาด และหุบเขาหินแดง ภูมิทัศน์เหล่านี้ตัดกันกับภูมิทัศน์ของทะเลทรายอันกว้างใหญ่ที่อยู่ติดกัน ก่อให้เกิดภาพตรงกันข้ามของสภาพแวดล้อมของความร้อนและความหนาว ความแห้งและความเปียก ความเปล่าเปลี่ยวและความอุดมสมบูรณ์ สภาพพื้นที่และระบบนิเวศยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ตั้งแต่ยุคไพลโอซีน และเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของกระบวนการวิวัฒนาการทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา แหล่งนี้ยังมีพื้นที่แผ่เข้าไปภายในทะเลทรายตากลิมากัน ซึ่งเป็นหนึ่งในทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดและอยู่บนพื้นที่สูงที่สุดของโลก มีชื่อเสียงด้วยเนินทรายขนาดใหญ่และพายุทรายที่รุนแรง ยิ่งไปกว่านั้น ซินเจียงเทียนชานยังเป็นถิ่นที่อยู่ของพืชพันธุ์เฉพาะถิ่นและพืชพันธุ์โบราณ ซึ่งบางชนิดหายากและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

เทียนชานในซินเจียง *
Welterbe.svg  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
Central Tian Shan mountains.jpg
The Tian Shan range on the border between China and Kyrgyzstan with Khan Tengri (7,010 m) visible at center.
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(vii) (ix)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2556 (คณะกรรมการสมัยที่ 37)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

มรดกโลกแก้ไข

เทียนชานในซินเจียงได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 37เมื่อปี 2556ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่าง ๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

อ้างอิงแก้ไข