วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อย

(เปลี่ยนทางจาก เทห์วัตถุอายุน้อย)

วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อย (อังกฤษ: Young stellar object หรือ YSO) หมายถึง ดาวฤกษ์ที่อยู่ในขั้นต้นของการวิวัฒนาการ ในชั้นนี้จะประกอบไปด้วยวัตถุสองกลุ่ม ได้แก่ ดาวฤกษ์ก่อนเกิดและดาวฤกษ์ก่อนแถบลำดับหลัก

วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อยในเมฆซับซ้อนโรคนแบกงู
V1331 Cyg, วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อยล้อมรอบด้วยเนบิวลาสะท้อนแสง

การจัดประเภทโดยการกระจายพลังงานสเปกตรัม แก้

ดาวฤกษ์ก่อตัวจากการรวมกันของวัสดุที่ตกลงสู่ดาวฤกษ์ก่อนเกิด จากจานรอบดาวฤกษ์หรือสิ่งที่หุ้มมันอยู่ วัสดุในจานเย็นกว่าบริเวณพื้นผิวของดาวฤกษ์ก่อนเกิด ดังนั้นมันจึงแผ่รังสีคลื่นยาวที่ยาวกว่าแสงที่ถูกปล่อยมาจากการปล่อยพลังงานอินฟราเรดส่วนเกิน เมื่อวัสดุในจานหมดลงไปแล้ว อินฟราเรดส่วนเกินจะลดลง ดังนั้น วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อยมันจะถูกจัดประเภทให้เป็นขั้นวิวัฒนาการ ขึ้นกับความชันของการกระจายพลังงานสเปกตรัมของมันในย่านมิดอินฟราเรด โดยใช้แผนซึ่งถูกเสนอโดยลาดา (1987) เขาเสนอให้แบ่งการจัดประเภทเป็นสามหมวด (I, II และ III) ขึ้นกับค่าอันตรภาคของดัชนีสเปกตรัม ( ):[1]

 

โดย   คือความยาวคลื่น และ   คือความหนาแน่นของฟลักซ์

  ถูกคำนวณในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 2.2–20  (ย่านใกล้อินฟราเรดและมิดอินฟราเรด) อันเดรและคณะ (1993) เป็นผู้ค้นพบหมวด 0 ซึ่งเป็นชั้นที่วัตถุมีการปลดปล่อยซับมิลลิเมตรอย่างรุนแรง แต่เจือจางมากที่  [2] ต่อมากรีนน์และคณะ (1994) ได้เพิ่มหมวดที่ 5 หรือแหล่ง "สเปกตรัมราบ" เข้ามา[3]

  • แหล่ง หมวด 0 – ไม่สามารถตรวจพบได้ที่ค่า  
  • แหล่ง หมวด I มีค่า  
  • แหล่ง สเปตรัมราบ มีค่า  
  • แหล่ง หมวด II มีค่า  
  • แหล่ง หมวด III มีค่า  

แผนการจัดประเภทนี้สะท้อนให้เห็นลำดับการวิวัฒนาการได้อย่างคร่าว ๆ เชื่อกันว่าสิ่งที่ฝังอยู่ลึกที่สุดในแหล่งหมวด 0 จะค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นหมวด I โดยการสลายตัวของสิ่งหุ้มรอบดาวฤกษ์ จนในที่สุดแล้วพวกมันจะปรากฎให้มองเห็นได้บนเส้นเวลาเกิดดาวฤกษ์ และบนดาวฤกษ์ก่อนแถบลำดับหลัก

วัตถุในหมวด II มีจานรอบดาวฤกษ์และสัมพันธ์กันอย่างคร่าว ๆ กับการจัดประเภทดาวฤกษ์ชนิด ที วัว ขณะที่หมวด III ดาวฤกษ์ได้สูญเสียจานของตัวเองไป และสัมพันธ์โดยประมาณกับดาวฤกษ์ชนิด ที วัวอย่างอ่อน โดยในขั้นกลางที่จานสามารถตรวจพบได้ที่ความยาวคลื่นช่วงยาว (เช่น ที่  ) วัตถุเหล่านั้นจะถูกเรียกว่า วัตถุเปลี่ยนจาน (transition-disk objects)

คุณลักษณะ แก้

วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อยยังมีความเกี่ยวเนื่องกับปรากฏการณ์การวิวัฒนาการดาวฤกษ์ช่วงแรกด้วย นั่นคือ ไอพ่นและการไหลออกสองขั้ว, เมเซอร์, วัตถุเฮอร์บิก–อาโร และจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด (จานรอบดาวฤกษ์ หรือ proplyds)

การจัดประเภทตามมวล แก้

ดาวฤกษ์เหล่านี้อาจจะแตกต่างกันไปตามมวล โดยแบ่งเป็น วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อยมวลมาก (Massive YSO), วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อยมวลปานกลาง (Intermediate-mass YSO) และดาวแคระน้ำตาล

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Lada, Charles J. (1987). "Star Formation: From OB Associations to Protostars". ใน Peimbert, Manuel; Jugaku, Jun (บ.ก.). Star Forming Regions: Proceedings of the 115th Symposium of the International Astronomical Union Held in Tokyo, Japan, November 11–15, 1985. Dordrecht: D. Reidel. pp. 1–17. Bibcode:1987IAUS..115....1L. ISBN 978-90-277-2388-8.
  2. Andre, Philippe; Ward-Thompson, Derek; Barsony, Mary (March 1993). "Submillimeter Continuum Observations of   Ophiuchi A: The Candidate Protostar VLA 1623 and Prestellar Clumps". The Astrophysical Journal, Part 1. 406 (1): 122–141. Bibcode:1993ApJ...406..122A. doi:10.1086/172425.
  3. Greene, Thomas P.; Wilking, Bruce A.; Andre, Philippe; Young, Erick T.; Lada, Charles J. (October 1994). "Further Mid-infrared Study of the   Ophiuchi Cloud Young Stellar Population: Luminosities and Masses of Pre-main-sequence Stars". The Astrophysical Journal, Part 1. 434 (2): 614–626. Bibcode:1994ApJ...434..614G. doi:10.1086/174763.